แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชี้กษัตริย์จอร์แดนถูกม็อบขับ เหตุขาดท่อน้ำเลี้ยง

ที่มา Voice TV

 ชี้กษัตริย์จอร์แดนถูกม็อบขับ เหตุขาดท่อน้ำเลี้ยง


นักวิเคราะห์ชี้เหตุที่กษัตริย์จอร์แดนถูกฝูงชนขับไล่หลังขึ้นราคา น้ำมัน เป็นเพราะบรรดาชาติอาหรับได้ตัดท่อน้ำเลี้ยง ยุติส่งเงินหนุนระบอบปกครองของอับดุลเลาะห์

เมื่อวันศุกร์ ผู้สนับสนุนกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ได้เข้าร่วมกับฝูงชนราว 3,000 คนในกรุงอัมมาน ตะโกนขับไล่กษัตริย์อับดุลเลาะห์ ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐ

จอร์แดนตกอยู่ในสถานการณ์ระอุที่รายรอบ ทางด้านเหนือของประเทศ ซีเรียกำลังเกิดสงครามกลางเมือง  ทางด้านตะวันตก อิสราเอลกำลังถล่มฉนวนกาซา ขณะจอร์แดนเองต้องพึ่งพาน้ำมันจากอิรัก พึ่งเงินจากซาอุดีอาระเบีย

ประเทศนี้เป็นหนึ่งในแค่ 2 ชาติอาหรับที่ลงนามสนธิสัญญาสันติภาพกับอิสราเอลนอกเหนือจากอียิปต์ หากจอร์แดนเกิดความวุ่นวาย ชาติตะวันตกย่อมวิตกถึงเสถียรภาพของทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง ขณะที่บรรดากษัตริย์ของเหล่าชาติพันธมิตรอาหรับก็จะวิตกถึงกระแสลุกฮือที่ อาจลามมาถึงตนด้วย

วาเลอรี ยอร์ก ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจอร์แดนในกรุงลอนดอน บอกว่า ถ้าอับดุลเลาะห์ถูกโค่น ก็นับเป็นระบอบกษัตริย์รายแรกที่หมดอำนาจในบริบทของอาหรับสปริง

ราชอาณาจักรแห่งนี้ได้พึ่งพาการหนุนหลังของชาติตะวันตก และเงินช่วยเหลือจากบรรดาประเทศอ่าวเปอร์เซียมาโดยตลอด โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย

ทว่าตั้งแต่ซาอุดีได้ส่งท่อน้ำเลี้ยงเป็นเงิน 1,400 ล้านดอลลาร์เมื่อปลายปี 2554 เพื่อพยุงจอร์แดนให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ นับแต่นั้น รัฐบาลริยาดยังไม่ได้ให้ความช่วยเหลือก้อนใหม่อีกเลย

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ทำไมซาอุดีอาระเบียจึงหยุดค้ำจุนจอร์แดนไปเฉยๆ ทั้งๆที่เมื่อปีที่แล้วยังมีทีท่าว่าจะโอบอุ้มระบอบปกครองของอับดุลเลาะ ห์ต่อไป

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ หรือจีซีซี (GCC-Gulf Cooperation Council) ซึ่งมีสมาชิก 6 ประเทศ มีซาอุดีอาระเบียเป็นหัวเรือใหญ่ ได้ยอมรับให้จอร์แดนเข้าร่วมกลุ่ม หลังจากเมินคำขอมาตลอด 15 ปี ซึ่งเป็นสัญญาณว่า บรรดากษัตริย์ผู้ปกครองประเทศในแถบนั้นต้องการผนึกกำลังกันรับมือกับการ ลุกฮือของประชาชน

ซาอุดีอาระเบียต้องการผนึกกำลังพันธมิตร หลังจากได้เห็นฮอสนี มูบารัก ประธานาธิบดีอียิปต์ ถูกโค่นอำนาจ โดยสหรัฐไม่ได้เข้าช่วยปกป้องเลย ทั้งนี้ กลุ่มจีซีซี ประกอบด้วย ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) กาตาร์ และบาห์เรน

เวลานี้ จอร์แดนต้องดิ้นรนไปตามลำพัง เมื่องบประมาณขาดมือ จึงต้องตัดเงินอุดหนุนราคาน้ำมันเมื่อวันอังคาร ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ตั้งเป็นเงื่อนไขให้ทำ ก่อนที่จะปล่อยเงินกู้ 2,000 ล้านดอลลาร์

เมื่อปี 2532 การขึ้นราคาน้ำมันได้จุดกระแสความขุ่นเคืองในหมู่ประชาชน ทำให้กษัตริย์ฮุสเซนผู้วายชนม์ต้องเอาใจมวลชน ด้วยการผ่อนคลายทางการเมือง ยอมให้มีการเลือกตั้งโดยเสรี ซึ่งได้เปิดทางให้กลุ่มภราดรภาพมุสลิม ครองเสียงข้างมากในสภา

แต่หลังจากนั้น มีการแก้ไขกฎกติกาการเลือกตั้ง เพื่อเอื้อให้ฐานอำนาจของฝ่ายกษัตริย์ ซึ่งเป็นชนเผ่าทางตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน หรือที่เรียกกันว่า ชาวอีสต์แบงก์ ได้เข้ามาร่วมถืออำนาจด้วย

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กษัตริย์อับดุลเลาะห์ได้ยอมรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยอมมอบอำนาจของตนบางส่วนให้แก่สภา และเปิดทางให้สภาเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรีแทนตน

อย่างไรก็ดี อับดุลเลาะห์ยังไม่ยอมยกเครื่องกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งถูกมองว่ากีดกันชนเชื้อสายปาเลสไตน์ อันเป็นฐานเสียงของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ในการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนมกราคมนี้ กลุ่มอิสลามิสต์ดังกล่าวจึงประกาศบอยคอต

บรรดาปีกเสรีนิยมและอิสลามิสต์ได้เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงโดยสันติ ไม่ใช่การปฏิวัติ ในจอร์แดน มาช้านาน  แต่ในเหตุประท้วงล่าสุดได้เกิดคำขวัญขับไล่กษัตริย์ เช่นเดียวกับที่เคยมีกระแสแบบเดียวกันในประเทศอาหรับอื่นๆ

ชาวอีสต์แบงก์ซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของกษัตริย์ หวั่นเกรงว่า อับดุลเลาะห์จะลงมือปฏิรูปบนการสูญเสียของฝ่ายตน คนเหล่านี้ไม่เห็นด้วยกับมาตรการรัดเข็มขัด การลดตำแหน่งงานราชการ และการยกเลิกสิทธิประโยชน์ต่างๆที่พวกตนเคยได้รับจากพระราชวัง

สำหรับชาติตะวันตก แม้ปากบอกว่าสนับสนุนการปฏิรูปประชาธิปไตย แต่ก็โอบอุ้มระบอบกษัตริย์ซึ่งช่วยให้จอร์แดนมีเสถียรภาพอยู่ได้ในท่ามกลาง ภูมิภาคอันเปราะบาง ซึ่งจอร์แดนทำหน้าที่เป็นแนวกันชนสำหรับอิสราเอลทางพรมแดนด้านตะวันออกของ รัฐยิว

"ชาติตะวันตกต้องการเสถียรภาพ มากกว่าความเปลี่ยนแปลง และได้ให้การสนับสนุนจอร์แดนตลอด 30-40 ปีที่ผ่านมา แต่ก่อนเป็นการสนับสนุนทางการเงิน ตอนนี้เป็นการสนับสนุนทางการเมือง" ยอร์กกล่าว

Source : Reuters ; AFP (image)
17 พฤศจิกายน 2555 เวลา 11:18 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น