แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นักวิชาการชี้ ไทยยังขาดกลไกทางกม. รองรับประชาคมศก.อาเซียน

ที่มา ประชาไท


เสวนาเรื่องโอกาสของนักกฎหมายในการเปิดเสรีอาเซียน นักวิชาการมองไทยจำเป็นต้องปฎิรูปกฎหมายเพื่อให้ทันสมัยกับการค้าและการลง ทุนในประชาคมเศรษฐกิจ ในขณะที่ประเทศอย่างสิงคโปร์เตรียมปรับกฎหมายให้พร้อมตั้งแต่เมื่อสิบกว่าปี ที่แล้ว
16 พ.ย. 55 - เมื่อเวลา 13.00 น. มีการจัดวงเสวนาทางวิชาการเรื่อง "เปิดเสรีอาเซียน: โอกาสและความท้าทายของวิชาชีพกฎหมาย" ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์มาพูดคุยถึงโอกาสและผลกระทบของวิชาชีพ กฎหมาย เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยนักวิชาการที่มาร่วมเสวนาต่างมองว่า ยังจะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อวิชาชีพกฎหมายในประเทศไทยมากนัก เนื่องจากวิชาชีพกฎหมายมิได้อยู่ใน 8 วิชาชีพที่ไหลเวียนได้อย่างเสรี (8 อาชีพดังกล่าว ได้แก่ ช่างสำรวจ, แพทย์, ทันตแพทย์, พยาบาล, วิศวกร, สถาปนิก, นักบัญชี) แต่ชี้ว่า ผู้ประกอบอาชีพกฎหมาย ควรเตรียมพร้อมเรื่องภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านเช่น จีน หรือบาฮาซาให้ดี เนื่องจากจะมีการลงทุนมายังสิงคโปร์ มาเลเซียและไทยมากขึ้น ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้ทนายที่มีความสามารถตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ  
ศาสตราจารย์พิเศษสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล อดีตเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา กล่าวถึงความพร้อมของประเทศในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจจากแง่มุมทางกฎหมาย ว่า ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายในประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ ในขณะที่สิงคโปร์ได้เริ่มตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว คือ มีการแก้ไขกฎหมายแพ่งในปี 2542  ให้มีความทันสมัยมากขึ้น ประกอบด้วย 28 บท ประกอบด้วยพ.ร.บ. ต่างๆ ตั้งแต่กฎหมายแพ่ง กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายญาโตตุลาการ ไปจนถึงกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเตรียมพร้อมการเข้าสู่การค้าในประชาคมอาเซียน ในขณะที่กฎหมายของไทยที่จำเป็นกับการเปิดการค้า ยังคงเดิมมาเป็นเวลาหลายสิบปี เขากล่าวว่า จากการพูดคุยกับ บวรศักดิ์ อุวรรณโน (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549) ได้ทราบว่ายังไม่มีการแก้ไขกฎหมายใดๆ ทั้งๆ ที่มีกว่า 200 ฉบับที่จำเป็นต้องแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับ AEC ทำให้น่าเป็นห่วงว่า เมื่อถึงการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 ประเทศไทยจะมีความพร้อมจริงหรือไม่ 
 
ในขณะที่ศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด กล่าวถึงมาตรการการส่งเสริม SME ที่เกี่ยวเนื่องกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ เออีซี ว่า ผู้ประกอบการยังไม่มีข้อมูลด้านกฎหมายของประเทศในอาเซียนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะด้านการลงทุน จึงเสนอว่ารัฐบาลควรตั้งศูนย์ข้อมูลกฎหมายอาเซียน เพื่อให้นักธุรกิจจากภาคเอกชน นักกฎหมาย นักวิชาการและภาคส่วนต่างๆ เข้าถึงและสามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรฐกิจและวิชาการในประเทศและในประชาคมอาเซียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น