แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จดหมายจากศ.ด้านกฎหมายนานาชาติระดับโลกถึงนายกฯยิ่งลักษณ์ขอให้รบ.ไทยรับรองเขตอำนาจICC กรณีการสังหารพลเรือนในกทม.เมื่อปี 2553

ที่มา uddred

 ทีมข่าว นปช.

11 กันยายน 2555

เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ดักลาส คาสเซล(Douglass Cassel)ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยนอเตรอะ ดาม(Notre Dame University) ประเทศสหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์ กีร์ต-ยาน อเล็กซานเดอร์ นุป (Geert-Jan Alexander Knoop) แห่งมหาวิทยาลัยยูเทร็คต์(Utrecht University)ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ ได้ร่วมกันเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยส่งผ่าน นปช. ขอให้รัฐบาลไทยรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศในกรณีอาชญกรรมที่กระทำ โดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของไทย ต่อผู้ชุมนุมที่เป็นพลเรือนในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.2553 โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้




...............


จดหมายจาก ศาสตาราจารย์คาสเซล และ ศาสตราจารย์นุป ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ ถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอให้รัฐบาลไทยรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศในกรณีอาชญกรรมที่กระทำ โดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของไทย ต่อผู้ชุมนุมที่เป็นพลเรือนในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.2553


(คำแปลภาษาไทย)

โรงเรียนนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเตรอะ ดาม

9 พฤศจิกายน 2555

ถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำเนียบรัฐบาล ดุสิต กทม.ประเทศไทย

  กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์​ ชินวัตร

                  ข้าพเจ้าดังมีรายชื่อด้านล่างในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้เขียนหนังสือเพื่อร้องขอให้รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองเขตอำนาจศาล อาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court)  ในกรณีอาชญกรรมที่กระทำโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของไทย ต่อผู้ชุมนุมที่เป็นพลเรือนในกรุงเทพมหานครเมื่อฤดูใบไม้ผลิ (เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม) ปี พ.ศ.2553 ประเทศไทยสามารถรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะเรื่อง โดยไม่จำเป็นต้องนำกรณีอื่นๆเข้าอยู่ภายในเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ด้วยการออกประกาศตามธรรมนูญของศาลอาญาระหว่างประเทศมาตราที่ 12 (3) โดยอาศัยการลงนามอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเท่านั้น

           มีเหตุผลสำคัญสองประการในการที่รับรองเขตอำนาจไอซีซีต่อกรณีการสังหาร พลเรือนประมาณ90คน บาดเจ็บกว่าพันคน และถูกขังในเรือนจำที่กระทำต่อผู้ประท้วงที่เป็นพลเรือนเมื่อปี พ.ศ. 2553

         ประการแรกคือความปรารถนาที่จะได้รับความเป็นธรรมของเหยื่อ มีหลักฐานหนักแน่นที่ชี้บ่งว่า ความรุนแรงนี้มีการวางแผน และบงการโดยผู้นำระดับสูงของรัฐบาล และกองทัพในยุคนั้น ทว่ากระบวนการการสืบสวนสอบสวนที่ล่าช้าของตำรวจไทย อาจจะไม่สามารถนำไปสู่การดำเนินการฟ้องร้องต่อระดับสูงของรัฐบาลและข้า ราชการทหารที่มีความรับผิดชอบสูงสุดต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในครั้งนี้ มีเพียงแต่การยอมรับเขตอำนาจศาลอาชญกรรมระหว่างประเทศต่ออาชญากรรมครั้งนี้ โดยรัฐบาลของ ฯพณฯ เท่านั้นที่น่าจะนำพวกเขาไปสู่กระบวนการยุติธรรมได้

         การยอมรับเขตอำนาจศาลไม่ได้หมายความว่า กระบวนการยุติธรรมทั้งหมดต้องดำเนินการโดยศาลอาญาระหว่างประเทศเท่านั้น ถ้าหากรัฐบาลของฯพณฯรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ อัยการของอาญาระหว่างประเทศจะเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเพื่อสนับสนุนตำรวจ อัยการและศาลยุติธรรมของไทยในการดำเนินไปตามครรลองของหลักการยุติธรรมใน ประเทศไทย ภายใต้ระบบศาลของไทย มีเฉพาะกรณี ที่ผู้มีอำนาจฝ่ายไทยไม่ยินยอมพร้อมใจ หรือไม่สามารถที่จะนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้เท่านั้น ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะมีบทบาทเข้ามาเกี่ยวข้อง

เหตุผลประการที่สองในการยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ คือเพื่อยุติ คตินิยมในการสังหารหมู่ประชาชนอย่างสยดสยองโดยกองทัพซึ่งเกิดขึ้นครั้งแล้ว ครั้งเล่าในประเทศไทย ดังที่ ฯพณฯ ทราบเป็นอย่างดีแล้วว่า กรณี 2553 มิใช่กรณีแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ในหลายรอบทศวรรษที่ผ่านมา อาชญากรรมเช่นนี้จะหมดไปได้ ก็ต่อเมื่อ ผู้กระทำผิดต้องได้รับการลงโทษตามกฏหมายเท่านั้น การยอมรับเขตอำนาจศาลอาชญกรรมสงครามระหว่างประเทศ จะช่วยสร้างหลักประกันว่า ในอนาคตกองกำลังความมั่นคงจะไม่ถูกใช้ในการทำลายล้างสิทธิขั้นพื้นฐานของ พลเมืองไทยอีกต่อไป

ฝ่ายตรงข้ามของการยอมรับเขตอำนาจศาลอาชญกรรมระหว่างประเทศได้นำเสนอข้อโต้ แย้งที่ไม่ถูกต้องและนำไปสู่ความเข้าใจผิดอย่างต่อเนื่อง ข้าพเจ้าขอตอบข้อกล่าวหาหลักๆหลายประการของพวกเขา ดังต่อไปนี้

ประการแรก การยอมรับเขตอำนาจศาลอาชญกรรมระหว่างประเทศ ในกรณีอาชญากรรมปี พ.ศ.2553 มิได้ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงตกอยู่ในความเสี่ยงทางกฏหมายเลย ไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกถึงความรับผิดชอบของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่ออาชญากรรม ดังกล่าว และไม่ว่าจะพิจารณาจากแง่มุมใดๆ ก็ไม่อาจจะนำไปสู่การสอบสวนสถาบันพระมหากษัตริย์โดยศาลอาญาระหว่างประเทศได้ เลยแม้แต่น้อย ศาลอาญาระหว่างประเทศจะพุ่งเป้าไปสู่ผู้นำระดับสูงของรัฐบาลและข้าราชการกอง ทัพระดับสูงต่างหากซึ่งเป็นผู้วางแผนและบงการสังหารและความรุนแรงอื่นๆ

ประการที่สองไม่มีความจำเป็นที่รัฐสภาจะต้องประกาศรับรองหรือพระมหากษัตริย์ จะต้องทรงลงพระปรมาภิไธยยอมรับ เขตอำนาจศาลอาญาระหวางประเทศเป็นการเฉพาะกรณีต่อกรณีอาชญกรรมปี พ.ศ. 2553 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ.2550 มาตรา 190 การประกาศรับรองโดยรัฐสภาและการลงพระปรมาภิไธยโดยองค์พระมหากษัตริย์จะมี ความจำเป็นก็ต่อเมื่อไทยประกาศยอมรับสนธิสัญญาระหว่างประเทศเท่านั้น แต่การประกาศรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศตามมาตรา 12.3 ของธรรมนูญกรุงโรมไม่ถือเป็นสนธิสัญญา แต่เป็นการกระทำในฐานะรัฏฐาธิปัตย์แต่เพียงฝ่ายเดียวของประเทศไทยเท่านั้น

โดยคำนิยามแล้วสนธิสัญญาหมายถึง ข้อตกลงระหว่างประเทศไทยและหน่วยงานอื่น เมื่อเทียบดูแล้ว มาตรา12.3 ธรรมนูญกรุงโรม ไม่ใช่สนธิสัญญาระหว่างประเทศไทย กับศาลอาญาระหว่างประเทศ การประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลไอซีซีตามมาตรา12.3 จะมีผลบังคับใช้ทางกฏหมายได้นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียวของรัฐบาลของ ฯพณฯ เท่านั้น แล้วก็ส่งสารนั้นไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศ รัฐบาลของ ฯพณฯ สามารถลงนามประกาศรับรองได้  โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการรับรองจากรัฐสภาและลงพระปรมาภิไธยโดย พระมหากษัตริย์

ประการที่สาม ไม่จำเป็นที่จะต้องชะลอการประกาศรับรอง ตามมาตรา 12.3 เพื่อแก้ไขกฏหมายใดในประเทศไทย กฏหมายต่างๆดังกล่าวหากมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไข   ก็ยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน หรืออาจจะหลายปีด้วยซ้ำไป สิ่งเหล่านี้สามารถรอได้ การประกาศรับรองควรลงนามในทันที

ประการที่สี่ และเป็นประการสุดท้าย  การประกาศรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ต่อกรณีอาชญากรรมปี พ.ศ. 2553 จะไม่เปิดโอกาสให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจศาลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนหน้านี้

การประกาศรับรองเขตอำนาจศาลตามมาตรา 12.3 บ่งบอกเฉพาะว่า ประเทศไทยยอมรับเขตอำนาจศาลเหนืออาชญากรรมต่อพลเรือนที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้น ปี พ.ศ. 2553เท่านั้น ผลทางกฏหมายก็คือ ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีเขตอำนาจศาลเหนือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าปี พ.ศ. 2553

ด้วยเหตุผลทั้งปวงข้างต้น ข้าพเจ้าขอสนับสนุนให้รัฐบาลของ ฯพณฯ ได้ดำเนินการประกาศรับรองเขตอำนาจศาลตามมาตรา 12.3 ต่ออาชญากรรมทำลายล้างพลเมืองที่เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2553 (เพื่อความสะดวก ของฯพณฯ เราได้ส่งสำเนาของประวัติผลงานของข้าพเจ้ามาด้วยแล้ว) เราขอขอบพระคุณที่ ฯพณฯ ให้การพิจารณา ขอแสดงความนับถือ



(ดักลาส คาสเซล)

ศาสตราจารย์ด้านนิติศาสตร์ โรงเรียนนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเตรอะ ดาม ประเทศสหรัฐอเมริกา



(จี เจ อเล็กซานเดอร์ นุป)

ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยยูเทร็คต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์



(สำเนาถึง ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ)



...............


สำหรับต้นฉบับจดหมายภาษาอังกฤษและประวัติของศาสตราจารย์คาสเซล และศาสตารจารย์นุป ผู้เขียนจดหมายฉบับนี้ สามารถอ่านได้ที่นี่

จดหมายจากศดักลาสถึงนรมยิ่งลักษณ์เรื่องไอซีซี9พย55

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น