แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เตรียมนำศพผู้ต้องขังเสื้อแดงกลับบ้าน แม่วอนรัฐบาลช่วยนักโทษการเมือง

ที่มา ประชาไท



30 ธ.ค.55 ที่วัดสาครสุ่นประชาสรรค์ ย่านลาดพร้าว คนเสื้อแดงเป็นเจ้าภาพงานสวดอภิธรรมศพ นายวันชัย รักสงวนศิลป์ ผู้ต้องชังคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำหลักสี่ และเสียชีวิตในเรือนจำเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยในวันพรุ่งนี้จะมีการเคลื่อนศพไปสวดอภิธรรมต่อที่ภูมิลำเนาจังหวัด อุดรธานี
ก่อนหน้าจะมีการตั้งศพที่วัน เวลาประมาณ 13.30 น.คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งได้เดินทางพร้อมด้วยนางทองมา เที่ยงอวน มารดาของผู้เสียชีวิตไปร่วมรองรับศพนายวันชัยซึ่งตรวจพิสูจน์อยู่ที่สถาบัน นิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เบื้องต้น น.พ.สลักธรรม โตจิราการ ซึ่งเข้าร่วมผ่าชันสูตรศพนายวันชัยด้วย ได้แจ้งว่า เบื้องต้นมีแผลถลอกตามแขนขาเล็กน้อยและมีรอยฟกช้ำที่ศอกซ้าย เข้าได้กับประวัติการเล่นกีฬา ไม่มีรอยช้ำตามลำตัวหรือศีรษะ ไม่มีเลือดออกที่สมองและอวัยวะภายในอื่นๆ มีเพียงเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตัน การตรวจชิ้นเนื้อของหลอดเลือดหัวใจเพื่อหาสาเหตุของเส้นเลือดหัวใจอุดตันว่าอุดตันเฉียบพลันหรือตีบมาก่อนแล้วและมากำเริบใหม่ ส่วนเรื่องสารพิษในอาหาร เลือดและปัสสาวะต้องรอผลอีก1-2 วันเป็นอย่างน้อย
นางทองมา มารดาของวันชัย กล่าวทั้งน้ำตาว่า รู้สึกเสียใจที่สุดกับเหตุการณ์นี้ แม้ไม่ติดใจเอาความ แต่อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือนักโทษการเมืองให้ได้รับการประกันตัว หรือให้ได้ปล่อยออกมา ไม่ควรต้องถูกขังอย่างไม่รู้ชะตากรรม
“หวังอยากได้ลูกชายได้ออกมา แต่ตอนนี้ได้แต่ร่างไม่มีวิญญาณ ไม่อยากให้มีแบบนี้อีกแล้ว” นางทองมากล่าวและว่า จะนำศพกลับไปประกอบพิธีกรรมที่จังหวัดอุดรฯ และยังไม่เป็นแน่นอนว่าจะตั้งสวดกี่วัน และจะจัดพิธีฌาปนกิจศพเมื่อไร

นางทองมา มารดาของนายวันชัย
 
นางทองมากล่าวด้วยว่า วันชัยเป็นลูกชายคนเดียวในจำนวนลูก 3 คน และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการหารายได้เลี้ยงครอบครัว เขาจบการศึกษาชั้น ป.6 มีอาชีพรับจ้าดายหญ้า และรับจ้างทั่วไป วันเกิดเหตุเขาดายหญ้าอยู่ที่สถานีตำรวจ ส่วนเธอรับจ้างเกี่ยวข้าวอยู่ในนา ทราบเรื่องอีกทีก็ตอนลูกชายโดนจับและถูกคุมขัง จากนั้นผ่านไปกว่า 1 ปีจึงได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 16 ส.ค.54 ก่อนศาลจะพิพากษาในวันที่ 28 ต.ค.54 ให้จำคุก 20 ปี 6 เดือน พร้อมด้วยจำเลยคนอื่นๆ อีก 4 คน ซึ่งมีโทษลดหลั่นกันไป
นางทองมากล่าวอีกว่า สำหรับตนเองนั้นได้เปลี่ยนอาชีพมาเป็นกรรมกรก่อสร้าง เดินทางไปทำงานในจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับลูกสาวได้ค่าจ้างคนละ 200 บาทต่อวัน และสามารถเดินทางมาเยี่ยมวันชัยได้เพียงเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งล่าสุดวันชัยยังพูดคุยปกติ แม้จะมีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง เขายังบอกให้แม่สบายใจเพราะอยู่ที่นี่มีเพื่อน และเจ้าหน้าที่ก็น่ารัก
ขณะที่คนเสื้อแดงที่ร่วมในงานสวดอภิธรรมรายหนึ่งระบุว่า นำอาหารกลางวันไปเลี้ยงผู้ต้องขังทุกสัปดาห์ เจอวันชัยเป็นประจำ บุคลิกเป็นคนร่าเริง ขี้เล่น และมีน้ำใจ เขาจะลงมาหิ้วอาหารขึ้นไปให้เพื่อนๆ เสมอ และในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนเสียชีวิต เขาบ่นว่ามีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยสะดวก ส่วนการเสียชีวิตนั้นเกิดขึ้นหลังจากทางเรือนจำจัดการแข่งขันกีฬาส่งท้ายปี ซึ่งนายวันชัยก็ได้ร่วมเล่นกีฬาด้วย มีลักษณะปกติดี แต่หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันไม่นานจู่ๆ วันชัยก็ล้มลงหมดสติ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลราชทัณฑ์
ด้านเว็บไซต์มติชน รายงานว่า นายสรสิทธิ์ จงเจริญ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ กล่าวถึงผลการชันสูตรศพนายวันชัยว่า สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากระบบการหายใจและไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย ล่าสุดทางญาติไม่ได้ติดใจและจะนำศพกลับไปทำพิธีตามปกติ สำหรับผู้ต้องขังที่เสียชีวิตก่อนหน้านี้แม้จะมีสภาพร่างกายภายนอกดูแข็งแรง แต่ทราบจากมารดาผู้เสียชีวิตว่าก่อนหน้านี้ลูกชายเคยบอกว่ามีอาการแน่นหน้า อก มารดาจึงแนะนำให้แจ้งผู้คุมแต่ผู้เสียชีวิตไม่ได้บอกถึงอาการที่เป็น
ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ กล่าวต่อว่า หลังการเสียชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำทำให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์สั่งกำชับให้ ดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังอย่างใกล้ชิด โดยในส่วนของเรือนจำชั่วคราวหลักสี่จะมีพยาบาลเข้าไปตรวจร่างกายให้ผู้ต้อง ขังทุกคนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ผู้ต้องขังที่ต้องโทษคดีที่เกี่ยวข้องทางการเมืองถือเป็นกลุ่มผู้ต้องขังที่ ต้องระมัดระวังเรื่องความเครียดเป็นพิเศษ เพราะเท่าที่พบผู้ต้องขังกลุ่มนี้มักมีอาการเครียดเรื่องคดีและเป็นกังวล เรื่องที่ไม่ได้รับการประกันตัว ทั้งที่ผู้ต้องขังคดีเดียวกันหลายรายได้รับการประกันตัวออกไปแล้ว โดยบางรายต้องให้จิตแพทย์เข้าไปพูดคุยเพื่อบำบัดอาการ
สำหรับเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ขณะนี้มีผู้ต้องขังทั้งสิ้น 21 คน ในจำนวนนี้เป็นหญิง 1 คน
ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา53 ( ศปช.) ระบุด้วยว่า ในระหว่างเกิดเหตุการณ์เผาศาลากลาง วันชัยถูกเจ้าหน้าที่ทหารทำการจับกุมและทำร้ายร่างกายโดยการเหยียบและใช้ ท่อนไม้กระแทกที่แผ่นหลัง ก่อนที่จะถูกแจ้งความดำเนินคดี ในข้อหา ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกสถานที่ราชการโดยมีอาวุธ,ทำให้เสียทรัพย์, ขัดขวาง เจ้าพนักงาน ฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินฯ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ ยกฟ้องข้อหาทำให้เสียทรัพย์และขัดขวางเจ้าพนักงาน แต่ลงโทษข้อหาวางเพลิงอาคารศาลากลางหลังเก่า โดยให้จำคุก รวม  20 ปี 6 ด. และให้จำเลยร่วมกันชดใช้  57.7 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย7.5% /ปี

ประชามติ พลวัต ตัวเลข คะแนนนิยม

ที่มา Thai E-News



การแปลนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง 
พลวัตตัวเลขคะแนนนิยม ประชามติ
เส้นแบ่งแห่งนัยยะความสำคัญในการทำประชามติ

ทักษิณร่วมประชุมพรรคเพื่อไทยผ่านSkype
29 ธันวาคม 2555 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยืนยันข่าว นายพานทองแท้ ชินวัตร 
บุตรชาย พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 
ได้มีนัดเข้าประชุมที่พรรคเพื่อไทย 
โดยเป็นการประชุมเฉพาะกิจหารือปมแก้รัฐธรรมนูญ 
โดยมี "พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร" สไกป์ร่วมถกด้วย 
โดยผลการหารือในเบื้องต้นระบุว่าจะเดินหน้าทำประชามติต่อ 
รวมทั้งมีการสอบถามความเห็นจากนักวิชาการทางด้านกฎหมายมาประกอบ



http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=43989.0

นิติราษฎร์:แก้รธน.'56-ย้อนดูต้นแบบคณะราษฎร์

ที่มา Thai E-News


ใน ปี ๒๕๕๖ ที่ใกล้จะมาถึง น่าจะเป็นปีที่ตลบอบอวลไปด้วยบรรยากาศของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และคงจะมีประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญให้ได้ถกเถียงกันตลอดปี.. ข้าพเจ้า ขอยืนยันว่าในปี ๒๕๕๖ คณะนิติราษฎร์จะยกร่างรัฐธรรมนูญตามความคิดของคณะนิติราษฎร์ให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นต้นแบบหนึ่งในการนำไปถกเถียงรณรงค์ต่อสาธารณะต่อไป

โดย ปิยะบุตร แสงกนกกุล
ที่มา เว็บไซต์นิติราษฎร์
จากบทความดั้งเดิมชื่อ:ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ คือ รัฐธรรมนูญทางประวัติศาสตร์ฉบับแรกของระบอบประชาธิปไตย


« Comme on l’a vu chez Sieyès, le moment négatif du pouvoir constituant (« dé-constituant ») est suivi du moment contructif (« re-constituant ») de l’édiction d’une nouvelle constitution ».
“ดังที่เราได้เห็นจาก ความคิดของ Sieyès นั้น ห้วงขณะแห่งการปฏิเสธอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ-อำนาจก่อตั้งระบบการเมืองกฎหมาย หนึ่ง (ถอดรื้อระบบการเมืองกฎหมาย) จะติดตามมาด้วยห้วงขณะแห่งการก่อตั้ง (ฟื้นสร้างระบบการเมืองกฎหมาย) ของการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่”
Olivier Beaud, La puissance de l’Etat, PUF, 1994, p.263. 

- ๑-
ร่าง “ราชาธรรมนูญ” ก่อน ๒๔๗๕ 

การ เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มักถูกฝ่ายนิยมเจ้าโจมตีว่า “ชิงสุกก่อนห่าม” เพราะพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้อยู่แล้ว จึงจำเป็นต้องย้อนกลับไปพิจารณาบรรดาร่างรัฐธรรมนูญสมัยระบอบเก่าที่พวก กษัตริย์นิยมอ้างกันว่าเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่กษัตริย์เตรียมจะมอบให้อยู่ แล้ว แต่คณะราษฎรมา “ชิงสุกก่อนห่าม” ไปเสียก่อน เพื่อพิสูจน์ว่าร่างรัฐธรรมนูญเหล่านั้นไม่ได้เป็นรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย

มีร่างรัฐธรรมนูญอยู่ ๓ ฉบับที่ฝ่ายกษัตริย์นิยมมักอ้างอยู่เสมอว่า เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่กษัตริย์เตรียมมอบให้กับประชาชนฉบับแรก ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ ๑ ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม ซึ่ง สันนิษฐานว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ เป็นผู้ยกร่างในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ เนื้อหาของร่างพระราชกฤษฎีกาที่ ๑ ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม มีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญตามแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริง ในมาตราแรก พระเจ้าอยู่หัวมีอำนาจครอบคลุมแดนใดบ้าง เป็นผู้มีคุณธรรม ในมาตรา ๒ พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชอาญาสิทธิ์เด็ดขาดในการตัดสินใจทั้งหมด ในมาตรา ๓ พระเจ้าอยู่หัวเป็นเจ้าครองแผ่นดิน เป็นบ่อเกิดความยุติธรรม เป็นบ่อเกิดฐานันดรศักดิ์ เป็นจอมทัพ เป็นพุทธศานูปถัมภก และพระราชดำรัสเป็นกฎหมาย ในมาตราอื่นๆ ได้รับรองการมีอยู่ของ รัฐมนตรีสภา องคมนตรีสภา เสนาบดีสภา ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ทั้งหมด และอำนาจสุดท้ายอยู่ที่กษัตริย์

ฉบับที่สอง ยกร่างโดยพระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี แซร์) ๒๔๖๙  ในมาตราแรก ยืนยันชัดเจนว่าอำนาจสูงสุดของราชอาณาจักรเป็นของกษัตริย์ ในมาตรา ๒ กษัตริย์มีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีต้องถวายขอความเห็นจากกษัตริย์ และต้องปฏิบัติตามคำสั่งกษัตริย์ (มาตรา ๖) อำนาจตุลาการอยู่ภายใต้อำนาจสูงสุดของกษัตริย์ โดยให้ศาลฎีกาเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ (มาตรา ๑๐) ส่วนอำนาจนิติบัญญัติก็เป็นของกษัตริย์ (มาตรา ๑๑)

ฉบับที่สาม ยก ร่างโดยเรยมอนด์ บี สตีเวนส์, พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) เมื่อปี๒๔๗๔ กำหนดให้มีอภิรัฐมนตรีสภาเป็นที่ปรึกษากษัตริย์ และกษัตริย์ มีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีมาบริหารประเทศ มีสภานิติบัญญัติ ที่มาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ทั้งหมด หรืออาจให้มีการเลือกตั้งบางส่วนคณะอภิรัฐมนตรีได้พิจารณาเนื้อหาสาระและ สถานการณ์แล้วเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะประกาศใช้

จะเห็นได้ว่าร่างฯ ทั้งสามฉบับนี้ไม่เป็นรัฐธรรมนูญในความหมายสมัยใหม่แบบประชาธิปไตย เพราะ รัฐธรรมนูญสมัยใหม่แบบประชาธิปไตยต้องกำหนดให้อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน เท่านั้น มีการแบ่งแยกอำนาจ รับรองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และหากจะเก็บตำแหน่งพระมหากษัตริย์ไว้ต่อไปก็ต้องกำหนดให้กษัตริย์อยู่ใต้ รัฐธรรมนูญ และกษัตริย์ไม่ต้องรับผิด เพราะไม่มีอำนาจกระทำการใดโดยลำพัง

หาก มีการประกาศใช้เป็นกฎหมาย ร่างฯทั้งสามก็เป็นเพียง “ราชาธรรมนูญ” หรือ “ธรรมนูญของราชา” ที่เข้ามาจัดการปัญหาและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยระบอบเก่าเท่า นั้น ไม่ได้ลดอำนาจกษัตริย์ ประชาชนไม่ได้เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด ไม่ได้ทำให้คนเป็นพลเมือง เป็นผู้ทรงสิทธิ เพราะ “ราชาธรรมนูญ” ไม่มีที่ให้กับประชาชน

หากไม่มีคณะราษฎร หรือหากไม่มีการลงมือเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เราจะคาดหวังได้เพียงใดว่ากษัตริย์และบรรดาองค์กรรายล้อมจะยินยอมปรับตัวและ “มอบ” รัฐธรรมนูญให้ และถึงแม้กษัตริย์ยินยอมมอบรัฐธรรมนูญให้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่ารัฐธรรมนูญนั้นจะมีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยที่ยึดหลัก การอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน

- ๒ -
รัฐธรรมนูญทางประวัติศาสตร์ฉบับแรกของระบอบประชาธิปไตย

พระ ราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกตามระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย แต่สาเหตุที่ไม่ใช้ชื่อรัฐธรรมนูญนั้น นายปรีดี พนมยงค์ อธิบายไว้ว่า “เมื่อ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ ขณะที่ยังมิได้มีผู้ใดตั้งศัพท์ไทยว่า “รัฐธรรมนูญ” เพื่อถ่ายทอดคำอังกฤษและฝรั่งเศส “Constitution” นั้น คณะราษฎรจึงใช้คำว่า “ธรรมนูญ” ประกอบกับคำว่า “การปกครองแผ่นดิน” เพื่อให้ราษฎรเข้าใจได้ง่ายๆว่า “กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองแผ่นดิน” ส่วนคำว่า “รัฐธรรมนูญ” นั้น “กรม หมื่นนราธิปฯขณะยังทรงพระอิสรยศ “หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร” ได้ทรงเสนอผ่านทางหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติ” ว่าคำว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” นั้นยืดยาวไป จึงสมควรใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” คณะอนุกรรมการฯและรัฐบาลเห็นชอบด้วยตามที่หม่อมเจ้าวรรณฯเสนอ เพราเป็นคำกะทัดรัด ได้ความตรงกับคำว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” ซึ่งถ่ายทอดมาจากคำอังกฤษและคำฝรั่งเศส “Constitution” รัฐบาลจึงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเห็นชอบด้วยแล้ว คณะอนุกรรมการฯจึงแก้คำว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” ในต้นร่างและใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” แทน”

ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีเอกลักษณ์หลายประการ ดังนี้

ประการแรก รัฐธรรมนูญทางประวัติศาสตร์ฉบับแรกของระบอบใหม่ (La Première Constitution historique)
การ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยอาศัยกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมที่รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ เป็นการ “แก้ไข” โดยอาศัยกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเดิม เป็นกรณีที่มีรัฐธรรมนูญเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็น “สายโซ่” เดียวกันกับรัฐธรรมนูญเดิม อย่างไรก็ตาม มีการก่อตั้งรัฐธรรมนูญอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นการตัดขาด “สายโซ่” จากรัฐธรรมนูญเดิม เปลี่ยนหลักการมูลฐานจากระบอบเก่าตามรัฐธรรมนูญเดิม การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญแบบนี้ คือ การปฏิวัติทางกฎหมาย

การปฏิวัติ ทางกฎหมายแยกออกจากการปฏิวัติทางการเมือง ในบางกรณี การปฏิวัติทางการเมืองนำมาซึ่งการปฏิวัติทางกฎหมาย เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส ๑๗๘๙ เป็นการปฏิวัติทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองอย่างถึงราก จากกษัตริย์มีอำนาจล้นพ้นเด็ดขาด มาเป็นกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อำนาจสูงสุดเป็นของชาติ ยกเลิกอภิสิทธิ์ของชนชั้นขุนนางและพระ การปฏิวัติทางการเมืองนี้นำมาซึ่งการปฏิวัติทางกฎหมาย คือ การประกาศใช้คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ๑๗๘๙ และรัฐธรรมนูญ ๑๗๙๑ เป็นต้น แต่ในบางกรณี การปฏิวัติทางการเมืองเกิดขึ้นโดยปราศจากการปฏิวัติทางกฎหมาย เช่น  การยึดอำนาจของนาซีในเยอรมนีเมื่อปี ๑๙๓๓ ซึ่งไม่มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญไวมาร์ หรือการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการสู่ประชาธิปไตยในประเทศยุโรปตะวันออกบาง ประเทศและประเทศในอดีตสหภาพโซเวียต หลังปี ๑๙๘๙ เป็นต้น

การก่อตั้ง รัฐธรรมนูญที่วางกฎเกณฑ์รากฐานใหม่โดยไม่อาจสืบทอดความต่อเนื่องทางกฎหมาย เดิมได้เลย การก่อตั้งรัฐธรรมนูญนั้น คือ การก่อตั้งรัฐธรรมนูญทางประวัติศาสตร์ฉบับแรก (La Première Constitution historique) รัฐธรรมนูญฉบับแรกทางประวัติศาสตร์ไม่ใช่หมายถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรกในประวัติ ศาสตร์ของประเทศ หรือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกตั้งแต่ก่อตั้งประเทศขึ้นมา แต่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เปลี่ยนแปลงหลักการมูลฐานจากระบบการ เมือง-กฎหมายเดิม หรือเป็นรัฐธรรมนูญ “ฉบับแรก” ของระบอบใหม่นั่นเอง  รัฐธรรมนูญนี้เกิดจากอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญหรืออำนาจก่อตั้งระบบการ เมือง-กฎหมาย (Pouvoir constituant)  เป็นอำนาจที่เกิดขึ้นในสภาวะไม่มีรัฐธรรมนูญเดิม (Pre-constitution)

เมื่อ พิจารณาธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ แล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกทางประวัติศาสตร์ของระบอบใหม่ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์มีอำนาจเป็นล้นพ้น เด็ดขาด ปกครองประเทศได้ตามอัธยาศัย มาเป็นกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญนี้ได้จัดวางหลักการมูลฐานใหม่ ได้แก่
๑.) อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย
๒.) กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองหนึ่งซึ่งมีพระราชอำนาจได้เท่าที่รัฐธรรมนูญ กำหนด ดังนั้น พระราชอำนาจใดของกษัตริย์ที่มีมาแต่เดิม พระราชอำนาจใดของกษัตริย์ที่ตกทอดกันมาตามธรรมเนียมโบราณ (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริง หรือไม่ว่าจะเป็นการสร้างเรื่องขึ้นหลอกลวง) ย่อมต้องถูกยกเลิกไป และจัดระเบียบใหม่ทั้งหมด เมื่อระบอบใหม่ “อนุญาต” ให้กษัตริย์เป็นประมุขของรัฐต่อไปโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจของกษัตริย์จะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและสอดคล้องกับ ประชาธิปไตยตามระบอบใหม่ ดังนั้น การเพิ่มพระราชอำนาจให้กษัตริย์โดยผ่าน “ประเพณี” ย่อมไม่ถูกต้อง
๓.) กษัตริย์ไม่อาจกระทำการใดได้โดยลำพัง การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นการปฏิวัติทางการเมือง โดยคณะราษฎรได้ยึดอำนาจจากกษัตริย์ อำนาจสูงสุดของกษัตริย์ที่ดำรงอยู่ในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้ถูกโอนไปยังคณะราษฎร โดยมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้ “อำนาจการปกครองชั่วคราว” เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ และในประกาศคณะราษฎรก็ได้แสดงถึงวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญไว้ว่า “ส่วนผู้เป็น ประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา”  

ในวันที่ ๒๔ ๒๕ และ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ อำนาจสูงสุดอยู่ที่คณะราษฎรโดยมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นการชั่วคราว จากนั้นในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ การปฏิวัติทางกฎหมายก็เกิดขึ้นตามมา เมื่อพระปกเกล้าฯ “ยอม” ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม นั่นคือ พระปกเกล้าฯยอมตามที่คณะราษฎรยื่นข้อเสนอ คือ ยินยอมลงมาเป็นกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ และในวันนั้นเอง อำนาจสูงสุดก็มาเป็นของประชาชน ดังที่ปรากฏในมาตราแรกของธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ดังนั้น การปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ คือ การปฏิวัติทางการเมืองอันนำมาซึ่งการปฏิวัติทางกฎหมาย

เมื่อ “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย”  แล้ว ก็แปลความได้โดยปริยายทันทีว่ากษัตริย์ไม่ได้เป็นเจ้าของและผู้ทรงอำนาจสูง สุดของประเทศอีกต่อไป และ “อำนาจสูงสุดของประเทศ” ไม่มีวันกลับไปสู่กษัตริย์ได้อีก แม้ในเวลาต่อมาจะเกิดรัฐประหารอีกหลายครั้ง จะเกิดรัฐธรรมนูญใหม่อีกหลายฉบับ ก็ไม่ปรากฏว่ามีการบัญญัติให้ “อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของกษัตริย์” ดังนั้น การสร้างคำอธิบายว่าในระบอบประชาธิปไตยไทย “อำนาจอธิปไตยอยู่ที่พระมหากษัตริย์และประชาชน” หรือการสร้างคำอธิบาย “อำนาจอธิปไตยไหลย้อนกลับ” ไปยังกษัตริย์ทุกครั้งหลังรัฐประหาร  จึงเป็นการทึกทักเอาเองและไม่ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย

ประการที่สอง รัฐธรรมนูญที่กำเนิดโดยการตกลงกันระหว่างกษัตริย์กับราษฎร 
ธรรมนูญ การปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ไม่ได้เป็นรัฐธรรมนูญที่กษัตริย์มอบให้ด้วยความเต็มใจหรือเจตจำนงของตนเอง ในพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ พระปกเกล้าฯบันทึกไว้ว่า “ได้เห็นรัฐ ธรรมนูญฉบับแรกที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้นำมาให้ข้าพเจ้าลงนาม ข้าพเจ้าก็รู้ทันทีว่า หลักการของผู้ก่อการกับหลักการขอขงข้าพเจ้าไม่พ้องกันเสียแล้ว... แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าเวลานั้นเป็นเวลาฉุกเฉิน และสมควรจะรักษาความสงบไว้ก่อนเพื่อหาโอกาสผ่อนผันในภายหลัง ข้าพเจ้าจึงได้ยอมผ่อนผันตามประสงค์ของคณะผู้ก่อการฯในครั้งนั้น ทั้งที่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับหลักการนั้นเลย”

นัก กฎหมายรัฐธรรมนูญหลายท่าน เช่น นายไพโรจน์ ชัยนาม เห็นว่าธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากการตกลงกันระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Pacte ในขณะที่หลวงประเจิดอักษรลักษณ์ เรียกรัฐธรรมนูญที่เป็นสัญญาระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ว่า Constitution contractuelle

นอกจากนี้ เราอาจพิจารณาจากประกาศคณะราษฎรประกอบ

“เหตุ ฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการทหารและพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึ่งรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะ ราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลาย ๆ ความคิด ดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะ ราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา...” 

จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญนี้เริ่มต้นจากคณะราษฎร “ได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว” และ “อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” เมื่อ กษัตริย์พิจารณาแล้ว ก็ตัดสินใจยอมลงมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ ด้วยการลงนามประกาศใช้ กษัตริย์ไม่ได้มอบรัฐธรรมนูญให้ด้วยความเต็มใจเอง แต่คณะราษฎรยึดอำนาจและเสนอให้กษัตริย์ลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และกษัตริย์ก็ยินยอม

ประการที่สาม ผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 
นาย ปรีดี พนมยงค์ได้บันทึกไว้ในหลายที่ว่าธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น เดิมไม่มีคำว่า “ชั่วคราว” พระปกเกล้าได้ขอให้เติมคำว่า “ชั่วคราว” ไว้ และรับสั่งว่าให้ใช้ธรรมนูญฯนั้นไปชั่วคราวก่อน ความข้อนี้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าคณะราษฎรไม่ได้ต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่เป็นพระปกเกล้าฯที่ “ทำให้” รัฐธรรมนูญนี้กลายเป็นของชั่วคราว

นอก จากนี้หากพิจารณาจากเนื้อหาในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ก็จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติในหลายเรื่องแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของผู้ร่างที่ ต้องการให้รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้เป็นการถาวรตลอดไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญนี้ต้องมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยแบ่งสภาผู้แทนราษฎรเป็น ๓ สมัย ในสมัยแรก ประกอบไปด้วยสมาชิก ๗๐ คน มาจากการแต่งตั้งโดยผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ในสมัยที่สอง ๖ เดือนถัดมา ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งบวกกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดิม อีก ๗๐ คน และในสมัยที่สาม เมื่อราษฎรสอบไล่ชั้นประถมเกินครึ่ง หรือไม่เกิน ๑๐ ปีนับแต่ประกาศใช้ธรรมนูญฯนี้ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

ประการที่สี่ กษัตริย์อาจถูกดำเนินคดีอาญาได้ 
ในมาตรา ๖ ของธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ บัญญัติว่า “กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย” นั่น หมายความว่า กษัตริย์อาจถูกดำเนินคดีอาญาได้ เพียงแต่ว่าศาลไม่อำนาจพิจารณา และให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย ในเรื่องนี้ หลวงประเจิดอักษรลักษณ์มีความเห็นต่อไปว่า “คดีอาชญาซึ่งกษัตริย์ทำผิดจะ ต้องถูกฟ้องร้องต่อสภาผู้แทนราษฎรนั้นไม่ฉะเพาะแต่ความผิดที่บัญญัติไว้ใน กฎหมายอาชญาเท่านั้น ยังหมายความเลยไปถึงความผิดซึ่งกษัตริย์กระทำการบกพร่องอย่างสำคัญในการ บริหารราชการแผ่นดิน ตัวอย่างเช่น ละเมิดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกระทำผิดต่อสัญญาทางพระราชไมตรีอันเป็นเหตุจะนำมาซึ่งความเสียหายแก่ ประเทศบ้านเมือง นี่เป็นความเห็น คือว่า ในคดีอาชญาไม่หมดความฉะเพาะแต่ความผิดซึ่งบัญญัติไว้ในกฎหมายอาชญา ร.ศ. ๑๒๗ แต่กินความเลยไปถึงการกระทำของกษัตริย์ซึ่งเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ ปกครองแผ่นดินสยามมาตราใดมาตราหนึ่ง หรือว่ากระทำการผิดสัญญาทางพระราชไมตรี ซึ่งจะนำความเสียหายมาสู่ประเทศบ้านเมือง ในกรณีเหล่านี้กษัตริย์ควรจะต้องรับผิดชอบและถูกฟ้องร้องตามมาตรา ๖"

ประการที่ห้า ระบบรัฐบาลโดยรัฐสภา
การ ปกครองในระบบรัฐบาลโดยรัฐสภา คือ การปกครองที่บริหารประเทศโดยไม่มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างรัฐสภากับรัฐบาล รัฐสภาครอบงำฝ่ายบริหาร โดยรัฐสภามีอำนาจเลือกคณะบุคคลคณะหนึ่งเข้าไปเป็นรัฐบาลบริหารประเทศภายใต้ การควบคุมของรัฐสภา และรัฐสภามีอำนาจปลดรัฐบาลได้ ส่วนรัฐบาลไม่อาจยุบสภาได้ การปกครองในระบบนี้มักใช้ในช่วงเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบหนึ่งไปอีกระบบ หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ระบอบใหม่ที่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้า ไปยึดกุมอำนาจในรัฐสภา ดังปรากฏให้เห็นในฝรั่งเศสช่วง ๑๗๙๓

ธรรมนูญ การปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ กำหนดการปกครองแบบรัฐบาลโดยรัฐสภา โดยให้คณะกรรมการราษฎรมาจากการแต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคือ สภาผู้แทนราษฎรเลือกเอาสมาชิก ๑ คนเป็นประธานกรรมการราษฎร  และให้ประธานฯเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก ๑๔ คนเป็นกรรมการราษฎร และคณะกรรมการราษฎรต้องบริหารประเทศไปตามวัตถุประสงค์ที่สภาผู้แทนราษฎร กำหนด สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจปลดกรรมการราษฎรได้ และคณะกรรมการราษฎรไม่มีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร


- ๓ -
คณะราษฎร : ต้นตำรับการ “ปรองดองแห่งชาติ” ?

เมื่อ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ถูกทำให้เป็น “ชั่วคราว” โดยการเติมคำว่า “ชั่วคราว” ลงไปโดยพระปกเกล้าฯ ก็ต้องมีการทำรัฐธรรมนูญถาวรขึ้น คณะกรรมการราษฎรและคณะราษฎรได้จัดให้มีคณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วยกรรมการ ๗ คน ได้แก่ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาเทพวิทุร พระยามานวราชเสวี พระยานิติศาสตร์ไพศาล พระยาปรีชานฤเบศร์ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม และนายพันตรีหลวงสินาดโยธารักษ์ ต่อมาพระยามโนปกรณ์นิติธาดาขอเพิ่มอนุกรรมการอีก ๒ คน คือ พระยาศรีวิศาลวาจา (เป็นผู้ยกร่าง “เค้าโครงการเปลี่ยนรูปแบบรัฐบาล” ร่วมกับนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ เมื่อปี ๒๔๗๔ ตามที่พระปกเกล้าฯมอบหมาย) และนายพลเรือโทพระยาราชวังสัน จากรายชื่อคณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว มีเพียงนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เท่านั้นที่มาจากสายคณะราษฎร

การยกร่างรัฐ ธรรมนูญในครั้งนั้น คณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้สอบถามความเห็นจากพระปกเกล้าฯสม่ำเสมอ ดังที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประธานคณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรว่า “ในการ ร่างพระธรรมนูญนี้ อนุกรรมการได้ทำการติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดเวลา จนถึงอาจจะกล่าวได้ว่าได้ร่วมมือกันทำข้อความตลอด ในร่างที่เสนอมานี้ได้ทูลเกล้าฯถวายและทรงเห็นชอบด้วยทุกประการแล้ว และที่กล่าวได้ว่าทรงเห็นชอบนั้น ไม่ใช่แต่เพียงเห็นชอบอย่างข้อความที่กราบบังคมทูลขึ้นไป ยิ่งกว่านั้นเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก”

พระยามโนปกรณ์นิติธาดายังกล่าวถึงบทบาทของพระปกเกล้าฯต่อคำปรารภในรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ไว้ว่า “ใน เมื่อเราทำรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้นำไปทูลเกล้าฯถวายทอดพระเนตร ก็โปรดปรานเป็นที่พอพระราชหฤทัยมากถึงได้ทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐ ธรรมนูญนี้และโปรดเกล้าฯให้พระสารประเสริฐไปร่างประกาศนี้ ซึ่งแต่แรกทรงหวังที่จะให้อาลักษณ์อ่านในเวลาที่จะพระราชทาน เมื่อพระสารประเสริฐได้ร่างแล้วก็นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายทอดพระเนตร แล้วก็พระราชทานมาให้คณะกรรมการราษฎรดู คณะกรรมการราษฎรพิจารณาเห็นว่าถ้อยคำที่เขียนมานั้น ถ้าจะใช้เป็นพระราชปรารภในรัฐธรรมนูญก็จะเหมาะและงดงามดี จึงได้นำความกราบบังคมทูล ก็โปรดเกล้าฯว่าจะให้เป็นพระราชทานปรารภในรัฐธรรมนูญได้ เมื่อเช่นนี้พระราชปรารภก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ หาเป็นประกาศไม่”

คำปรารภของธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ เขียนไว้อย่างกะทัดรัดว่า “... โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และโดยที่ได้ทรงยอมรับตามคำร้องของคณะราษฎร จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ไว้โดยมาตราต่อไปนี้” ในขณะที่คำปรารภของรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม กลับเป็นไปในทำนองว่าเป็นพระปกเกล้าฯเองที่ปรารถนาพระราชทานรัฐธรรมนูญ ดังเช่น “ทรง พระราชดำริเห็นว่า สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินในพระบรมราชจักรีวงศ์ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ผ่านสยามพิภพ ทรงดำเนินพระราโชบายปกครองราชอาณาจักร ด้วยวิธีสมบูรณาญาสิทธิราชภายในทศพิธราชธรรมจรรยาทรงทำนุบำรุงประเทศให้ รุ่งเรืองไพบูลย์สืบมาครบ ๑๕๐ ปีบริบูรณ์ ประชาชนชาวสยามได้รับพระบรมราชบริหารในวิถีความเจริญนานาประการโดยลำดับ จนบัดนี้มีการศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลโนบายสามารถนำประเทศชาติของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี  สมควรแล้วที่จะ พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการใน ภายภาคหน้า จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นการชั่วคราวพอให้สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมการราษฎร ได้จัดรูปงานดำเนินประศาสโนบายให้เหมาะสมแก่ที่ได้เปลี่ยนการปกครองใหม่” หรือ  “...บัดนี้ อนุกรรมการได้เรียบเรียงรัฐธรรมนูญฉะบับถาวรสนองพระเดชพระคุณสำเร็จลงด้วยดี นำเสนอสภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาปรึกษาลงมติแล้ว จึ่งทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายคำปรึกษาแนะนำด้วยความยินยอมพร้อมที่จะตราเป็น รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินได้ เมื่อและทรงพระราชวิจารณ์ถี่ถ้วนกระบวนความแล้ว ทรงพระราชดำริเห็นสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติ...”

ในด้านเนื้อหา รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ได้เปลี่ยนแปลงหลักการของธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ไปหลายกรณี เช่น 

  • ใน มาตราแรกของรัฐธรรมนูญฉบับแรก ได้ประกาศหลักการพื้นฐานของระบอบใหม่ไว้ว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” แต่รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ เปลี่ยนเป็นมาตรา ๒ ว่า “อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยามพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
  • กรณี กษัตริย์ไม่อาจถูกดำเนินคดีอาญาในศาล แต่ให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้วินิจฉัยตามมาตรา ๖ ก็ถูกยกเลิกไป และมีมาตรา ๓ มาแทนว่า “องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้”
  • มาตรา ๗ “การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ” ถูกยกเลิกไป และมีมาตรา ๕๗ มาแทน “ภายในบังคับแห่งมาตรา ๓๒ และ ๔๖ บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ท่านว่ารัฐมนตรีนายหนึ่งต้องลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบ”
  • ยกเลิกระบบรัฐบาลโดยสภา เปลี่ยนเป็นระบบรัฐสภา
  • ยกเลิกคำว่า “คณะกรรมการราษฎร” ให้ใช้ “คณะรัฐมนตรี” แทน
  • คำว่า “กษัตริย์” กลายเป็น “พระมหากษัตริย์”
  • ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิยับยั้งชั่วคราวของกษัตริย์ในการประกาศใช้กฎหมายจากเดิม ๗ วัน เป็น ๓๐ วัน บวก ๑๕ วัน๑๐
รัฐ ธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ จึงเป็นผลิตผลของการปรองดองกันระหว่างคณะราษฎรกับฝ่ายเจ้า หากต้องการให้วันที่ ๑๐ ธันวาคมเป็นวันสำคัญ ก็คงเป็นวันสำคัญในฐานะเป็นวันต้นแบบของการปรองดองแห่งชาติ ไม่ใช่วันรัฐธรรมนูญ เพราะวันรัฐธรรมนูญหมายถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก ก็ต้องกำหนดให้วันที่ ๒๗ มิถุนายน เป็นวันรัฐธรรมนูญ

ภายหลังระบอบ รัฐธรรมนูญดำเนินการเรื่อยมา คณะราษฎรยังได้แสดงไมตรีจิตต่อพวกนิยมเจ้าอีกหลายกรณี ด้วยหวังว่าจะสมัครสมานสามัคคีและปรองดองกับพวกนิยมเจ้าเพื่อร่วมมือกัน พัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไปตามวิถีทางรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย กรณีที่เห็นประจักษ์ชัดกรณีหนึ่ง คือ กรณีอภัยโทษให้นายรังสิตประยูรศักดิ์ รังสิต ณ อยุธยา (กรมขุนชัยนาทนเรนทร) และคืนสถานะและฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ให้๑๑  หลังจากนั้นกรมขุนชัยนาทนเรนทรก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในทางประวัติศาสตร์การ เมืองไทย อีกสองกรณี คือ กรณีรัชกาลที่ ๘ สวรรคต ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ และกรณีรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐

กรณีแรก นายปรีดี พนมยงค์ (ในฐานะโจทก์คดีหมิ่นประมาททางแพ่ง) เขียนไว้ในคำฟ้องของโจทก์ คดีหมายเลขดำที่ ๘๖๑๒/๒๕๒๑ ศาลแพ่ง วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑" ว่า

"ข้อ ๙.๑
...
(๗) เมื่อรัฐมนตรีมหาดไทยและอธิบดีกรมตำรวจจะจัดการชัณสูตรบาดแผลที่พระนลาฏ (หน้าผาก) ของในหลวงรัชกาลที่ ๘ แต่กรมขุนชัยนาทฯ โบกพระหัตถ์ให้รัฐมนตรีมหาดไทยและอธิบดีกรมตำรวจ โดยแสดงว่าห้ามมิให้แตะต้องพระบรมศพ เมื่อรัฐมนตรีมหาดไทยมองดูโจทก์ โจทก์ ก็ไม่กล้าที่จะสั่งตรงกันข้ามกับกรมขุนชัยนาทฯ ที่เป็นพระบรมวงศ์อาวุโส เพราะจะเป็นการเหลื่อมล้ำไปสู่องค์พระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตนั้น ฉะนั้น โจทก์จึงขอเชิญเสด็จกรมขุนชัยนาทฯ ลงมาชั้นล่างพระที่นั่งบรมพิมานเพื่อร่วมประชุมกับพระบรมวงศานุวงศ์ที่กล่าว นามมาแล้วว่า จะทรงมีความเห็นเกี่ยวกับกรณีสวรรคต โจทก์และรัฐมนตรี มหาดไทยกับนายดิเรกฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ก็ได้ร่วมประชุมด้วย โจทก์ได้ทูลถามกรมขุนชัยนาทฯ ว่า สมเด็จพระอนุชาและพระราชชนนีทรงมีความเห็นประการใดเกี่ยวกับกรณีสวรรคตนั้น บ้าง กรมขุนชัยนาทฯ รับสั่งว่า นางสาวจรูญ (นามสกุล "ตะละภัฏ") ได้ทูลสมเด็จพระอนุชา (ในหลวงองค์ปัจจุบัน) ว่า "ในหลวงยิงองค์เอง" และนายชิต สิงหเสนี ก็ทูลเช่นนั้นเหมือนกัน โจทก์จึงได้เรียกให้นายชิต ลงมาชั้นล่างของพระที่นั่งบรมพิมานและสอบถามพฤติการณ์สวรรคต นายชิตก็ยืนยันว่า ในหลวงปลงพระชนม์เอง กรมขุนชัยนาทฯ ซึ่งได้รับสั่งตรงตามที่ พ.ต.ท.ประเสริฐ ลิมปอักษร พนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้ ซึ่งปรากฎในบันทึกคำอภิปรายของรัฐสภากรณีสวรรคต...
 ...
(๙) โจทก์และคณะรัฐมนตรีที่ได้ร่วมประชุมกับพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าวพระนามไว้ แล้วนั้น จึงทูลและถามที่ประชุมให้สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์กรณีสวรรคตว่าอย่างไร  พระบรมวงศานุวงศ์และโจทก์กับคณะรัฐมนตรีก็เห็นชอบพร้อมกันว่า ควรแถลงไปตามที่กรมขุนชัยนาทฯ พระบรมวงศ์อาวุโสทรงเข้าพระทัยว่าเป็นอุบัติเหตุ..."๑๒
กรณี ที่สอง ภายหลังจากรัชกาลที่ ๘ สวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชย์ แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ รัฐสภาจึงลงมติตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วย  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร เป็นประธาน และพระยามานวราชเสวี โดยมีข้อตกลงว่าในการลงนามเอกสารราชการนั้น ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ลงนาม  และคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ปฏิญาณตนต่อรัฐสภาว่าจะรักษาและปฏิบัติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ต่อมา ผิน ชุณหะวัณได้ก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๐ “ฉีก”รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๐ เป็นจุดเริ่มต้นของ “วงจรอุบาทว์” ในระบอบการเมืองไทย และนับแต่นั้น รัฐธรรมนูญฉบับที่สืบเนื่องต่อมา ก็เป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกตัดตอนจากอุดมการณ์ประชาธิปไตยของคณะราษฎร

กรมขุน ชัยนาทนเรนทรได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญต่อรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ โดยได้ลงนามในฐานะคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ซึ่งเป็นการลงนามเพียงคนเดียว

นายปรีดี พนมยงค์ เห็นว่าการลงนามของกรมขุนชัยนาทนเรนทรในรัฐธรรมนูญ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ เป็นโมฆะ เพราะ “หัว เรื่องรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เขียนตำแหน่งผู้ลงนามแทนพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ “คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ซึ่งในภาษาไทยคำว่า “คณะ” หมายถึงบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แต่เหตุใดจึงมีผู้ลงนามเพียงคนเดียว คือ “รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร”๑๓  และเมื่อ "... ผู้สำเร็จราชการที่ตั้งโดยรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ นี้ก็ได้ปฏิญาณตนต่อรัฐสภาว่า "จะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ดั่งนั้นถ้ากรมขุนชัยนาทฯได้ปฏิบัติตามที่ปฏิญาณและไม่ยอมลงพระนามแทนองค์ พระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม และปฏิบัติหน้าที่จอมทัพแทนองค์พระมหากษัตริย์ขณะทรงพระเยาว์แล้ว ระบอบแห่งรัฐธรรมนูญใต้ตุ่มอันเป็นบ่อเกิดให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญต่อมาอีก หลายฉบับ จนมวลราษฎรจำกันไม่ได้ว่ามีกี่ฉบับก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้..."๑๔

เหตุการณ์ ในช่วง ๑๕ ปีแรกของคณะราษฎรที่หยิบยกมานี้ เป็นตัวอย่างอันดีที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการของคณะราษฎรในการปรองดองกับ ฝ่ายกษัตริย์นิยม เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติและร่วมมือกันพัฒนาชาติตามระบอบรัฐธรรมนูญ เริ่มตั้งแต่การยึดอำนาจได้เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ และเปิดโอกาสให้พระปกเกล้าฯได้กลับมาเป็นกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ เปิดโอกาสให้รัฐธรรมนูญฉบับแรกกลายเป็นของชั่วคราว และรัฐธรรมนูญฉบับถัดมาก็เป็นการยกร่างภายใต้การเจรจาประนีประนอมกับพระปก เกล้าฯ แม้คณะราษฎรจะเจอขบวนการโต้อภิวัฒน์หลายครั้งหลายหน เมื่อคณะราษฎรจัดการปราบปรามได้ ก็ลดหย่อนผ่อนโทษให้กับกบฏหลายคนด้วยเห็นแก่ไมตรีของคนร่วมชาติ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลสมัยนั้นยังได้ดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่กรมขุนชัยนาทนเรนทร และต่อมาก็สถาปนาฐานันดรศักดิ์กลับคืนตามเดิม และเป็นกรมขุนชัยนาทนเรนทรนี้เองที่มีบทบาทในการห้ามชันสูตรพระบรมศพของ ในหลวงอานันท์ฯ และชี้นำให้รัฐบาลแถลงว่าการสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ เกิดจากอุบัติเหตุ

เมื่อมองประวัติศาสตร์ย้อนกลับไป เราอาจหวนคิดถึงการคาดการณ์ของจอมพล ป. พิบูลสงครามในเรื่องการต่อสู้กันระหว่างระอบเก่ากับระบอบใหม่ ตามที่เขาแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในปี ๒๔๘๓ ไว้ว่า “ผมขอยืนยันว่า ในชั่วชีวิตเรา บางทีลูกเราด้วย จะต้องรบกันไปอีก และแย่งกันในระบอบเก่ากับระบอบใหม่นี้ เพราะเหตุเราจะต้องประสานกัน เราต้องการความสงบสุข เราต้องการสร้างชาติ เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น เราจึงไม่ได้ทำอะไรเลยกับพวกที่เห็นตรงกันข้าม ใครจะไปไหนก็ได้ ทำอะไรก็ได้ เมื่อเปรียบกับในต่างประเทศ ท่านทั้งหลายจะเห็นว่า เราทำมาผิดกันไกล เช่นฝรั่งเศสปฏิวัติกัน เขาก็ฆ่ากันนับพัน ๆ คน จนถึงกับเอาใส่รถใส่เกวียนไปฆ่ากัน ส่วนเราเปลี่ยนกัน เปลี่ยนทั้งพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนทั้งอำนาจอะไรต่ออะไรด้วย เราก็ไม่ได้ทำอะไรกันเลย มิได้มีการเสียเลือดเสียเนื้อกันเลย และผมคิดว่า ในชีวิตเรา ในชีวิตลูกของเรา พวกรักระบอบเก่าแก้แค้นก็ไม่หมด เพราะว่าเราปล่อยไว้...พวกผมขอให้หมดปิดฉากพยาบาทกัน แต่พวกตรงข้ามเขาไม่ยอม ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร เขาแสดงทีท่าว่า ต่อให้ถึงลูกหลานเหลนของเราก็ต้องรบกันอยู่นั่นเอง ก็มีปัญหาขึ้นว่า ถ้าเช่นนั้นทำไมจึงไม่แก้เล่า ถ้ามีแก้ ก็ต้องทำเด็ดขาดอย่างพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงปฏิบัติกับพวกเจ้าตาก ซึ่งได้ผลดีมาแล้ว แต่เราทำไม่ได้ จะไปล่มเรือฆ่ากันอย่างนั้นพ้นสมัย และกลัวบาปด้วย แต่ฆ่า ๑๘ คนเท่านี้ก็พออยู่แล้ว เป็นประวัติการณ์ที่เรายังไม่ลืมเหตุการณ์อันนี้ ถ้าเราจะให้หมดไปจริง ๆ ที่จะให้ระบอบใหม่นี้มั่นคงแล้วจะเป็นอย่างไร ดูอย่างฝรั่งเศสเมื่อครั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ นั้น เอาไปประหารกันทีเดียว"๑๕

อาจกล่าว ได้ว่า คณะราษฎรเป็นต้นแบบของการปรองดองแห่งชาติ แต่ผลลัพธ์ที่คณะราษฎรได้กลับมาเป็นอย่างไร ท่านผู้อ่านพึงพิจารณาได้ด้วยปัญญาญาณของตนเอง

- ๔ -

ท่าน ผู้อ่านอาจสงสัยว่าทำไมข้าพเจ้าต้องหมั่นเขียนเรื่องเกี่ยวกับการปฏิวัติ สยาม ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ตลอดจนรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐? จริงอยู่ แม้เรื่องเหล่านี้จะถูกพูดถึงกันในแวดวงอื่นๆมานานแล้ว แต่ในแวดวงกฎหมายซึ่งส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยอุดมการณ์กษัตริย์นิยม กลับไม่สนใจเรื่องเหล่านี้เท่าไรนัก

นักกฎหมายจำนวนมากผ่านการศึกษา เติบโตและบ่มเพาะภายใต้อุดมการณ์กษัตริย์นิยม ในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ในวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย เราสามารถไล่ไปได้ถึงสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ กฎหมายตราสามดวง คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ศาสนาพุทธ พราหมณ์ การปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ การปฏิรูปศาลและการจัดทำประมวลกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ ๕ ๖ และ ๗ เพื่อทำให้สยามเป็นอารยะประเทศ และรอดพ้นจากการล่าอาณานิคม พอมาถึงรัชกาลที่ ๗ ทุกอย่างก็จบลง

ภายใต้อิทธิพลของการสร้างคำ อธิบายของนักกฎหมายรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พวกเขาจะสำนึกไปว่าเหตุการณ์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ไม่ใช่การอภิวัฒน์ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่จากระบอบเก่าไปสู่ระบอบใหม่ แต่เป็นการแย่งชิงอำนาจจากกษัตริย์มาแล้วกลับนำมาใช้ในทางที่ผิดจนเกิดวงจร อุบาทว์ รัฐประหารบ่อยครั้ง ระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญของประเทศนี้เกิดจากกษัตริย์ยอมเสียสละพระราช ทานอำนาจอธิปไตยแก่ประชาชน ระบบการเมือง-กฎหมายในระบอบปัจจุบันมีความต่อเนื่องกับระบอบเก่า ไม่มีการตัดตอน

คำอธิบายของนักกฎหมายรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นความพยายามในการสร้าง myth ที่กลับหัวกลับหางจากความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ โดยเปลี่ยนให้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นการแย่งชิงอำนาจของกษัตริย์ไป คณะราษฎรเป็น “ต้นแบบ” ของรัฐประหาร และสร้างให้กษัตริย์เป็น “พระบิดา” ของประชาธิปไตย สถาบันกษัตริย์เป็นเนื้อเดียวกันกับประชาธิปไตย

ปัญญาชนฝ่ายกษัตริย์ นิยมปรารถนาให้สังคมไทยกลับไปใกล้เคียงกับระบอบเก่าให้มากที่สุด โดยให้สถาบันกษัตริย์มีบทบาทและอำนาจมาก แต่พวกเขาก็ตระหนักดีว่า ประการแรก หากเขียนรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเพิ่มอำนาจให้กษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ คงเป็นไปได้ยากที่สังคมโลกจะยอมรับ เพราะ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็คือเผด็จการรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่กระแสโลกสมัยปัจจุบัน "บังคับ" ให้ทุกประเทศต้องเป็นประชาธิปไตย และการเสนออะไรที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง ย่อมทำให้ปัญญาชนฝ่ายกษัตริย์นิยมแลดูโง่เขลาเกินไป

นอกจากนี้ หากกำหนดอำนาจและบทบาทให้กับสถาบันกษัตริย์มากขึ้นลงไปในรัฐธรรมนูญลาย ลักษณ์อักษร กษัตริย์มีอำนาจโดยแท้ในการตัดสินใจหรือกระทำการโดยลำพังย่อมหมายความว่า การวิจารณ์ การแสดงความไม่เห็นด้วย ย่อมพุ่งตรงไปที่กษัตริย์ ซึ่งเป็นสภาวะอันไม่พึงประสงค์ของพวกเขา

เมื่อใจลึกๆต้องการเพิ่ม อำนาจและบทบาทให้สถาบันกษัตริย์ แต่อีกด้านหนึ่งสถานการณ์ปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยให้ทำอย่างตรงไปตรงมา และไม่ต้องการให้สถาบันกษัตริย์ต้องรับผิดชอบจากการใช้อำนาจ แล้วพวกเขาจะทำอย่างไร?

ฝ่ายกษัตริย์นิยมต้องการให้เป็นแบบระบอบเก่า แต่ก็ต้องแสดงให้คนเห็นว่าเป็นระบอบใหม่ พวกเขาจึงคิดค้นนวัตกรรมใหม่ขึ้น นั่นคือ การนำเอาลักษณะแบบระบอบเก่าที่พวกเขาปรารถนา เข้ามาตัดต่อพันธุกรรมผสมเข้ากับระบอบใหม่ เมื่อผสมกันแล้ว ลูกที่ได้ออกมาก็ให้ชื่อว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"

วิธีการตัดต่อ พันธุกรรม ต้องกระทำในรูปของกฎเกณฑ์ เป็นกฎเกณฑ์ที่พวกเขาสร้างขึ้นเอง และให้เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ได้ เพราะ จะปรากฏชัดเจนจนเกินไป พวกเขาจึงสร้างกฎเกณฑ์ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมา อันได้แก่ "ธรรมเนียมประเพณี" - "วัฒนธรรมสังคมไทย" - "เอกลักษณ์" - "บารมีของกษัตริย์" - "การดำรงอยู่ของกษัตริย์ในแผ่นดินนี้อย่างต่อเนื่อง" - "ศาสนา" ฯลฯ ทั้งหลายเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มอำนาจและบทบาทกษัตริย์  และยังเปิดทางต่อไปอีกว่า อำนาจและบทบาทเหล่านี้เปลี่ยนไปตามกาลสมัย แล้วแต่บารมีของกษัตริย์แต่ละองค์อีก

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่กลับหลักการทุกสิ่งทุกอย่างจากเดิม ให้ “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ยกเลิกอำนาจอันล้นพ้นของกษัตริย์ และให้กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองหนึ่งอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ทำให้ประชาชนเป็นผู้ทรงสิทธิ ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจ ประชาชนไม่ได้ขึ้นกับใคร แต่เป็นผู้มีอัตวินิจฉัยในการตัดสินใจดำเนินชีวิตและสร้างชะตากรรมของตนเอง ฐานคิดของ ๒๔๗๕ จึงมีความจำเป็นต่อนักกฎหมายในสมัยระบอบใหม่ การเปลี่ยนระบบคิดของนักกฎหมายไทยที่อิงกับอุดมการณ์กษัตริย์นิยม ให้มาสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และการต่อสู้ทางความคิดเพื่อสถาปนาความคิดแบบประชาธิปไตยใหม่เข้าไปแทนที่ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่แพ้การออกแบบรัฐธรรมนูญ


ในปี ๒๕๕๖ ที่ใกล้จะมาถึง น่าจะเป็นปีที่ตลบอบอวลไปด้วยบรรยากาศของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และคงจะมีประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญให้ได้ถกเถียงกันตลอดปี  ข้าพเจ้าขอเชิญชวนท่านผู้อ่านได้ลองกลับไปทบทวนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เรื่องการลบล้างผลพวงรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙  และกรอบรัฐธรรมนูญฉบับคณะนิติราษฎร์ อีก ครั้ง ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าในปี ๒๕๕๖ คณะนิติราษฎร์จะยกร่างรัฐธรรมนูญตามความคิดของคณะนิติราษฎร์ให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นต้นแบบหนึ่งในการนำไปถกเถียงรณรงค์ต่อสาธารณะต่อไป

เชิงอรรถ

 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (สัมภาษณ์), ประสบการณ์และความเห็นบางประการของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์, คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง ๑๐๐ ปี ชาตกาลนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส, ๒๕๔๖, หน้า ๖.

 เพิ่งอ้าง, หน้า ๕.

 ความคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญทางประวัติศาสตร์ฉบับแรก ผู้เขียนรับมาจาก Louis FAVOREU et autres,Droit constitutionnel, Dalloz, 2012, pp.103-111.

 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม ๒, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕, หน้า ๑๘๒-๑๘๓.

 โปรด ดูคำอภิปรายของผู้เขียนในงานนิติราษฎร์เสวนาเรื่อง “รัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ” เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์http://prachatai.com/journal/2012/10/42914  และดูการวิจารณ์ของปฤณ เทพนรินทร์ได้ใน ปฤณ เทพนรินทร์, “อุดมการณ์ราชาชาตินิยมกับกระบวนการแปลงเจตจำนงมหาชนให้กลายเป็นเจตจำนงแห่ง ราชา”, ฟ้าเดียวกัน, ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๕, หน้า ๖๑-๖๔.

 โปรดดู สุพจน์ ด่านตระกูล, ประวัติรัฐธรรมนูญ, สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม, ๒๕๕๐, หน้า ๒๐.

 หลวงประเจิดอักษรลักษณ์, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, คำสอนภาค ๑ ชั้นปริญญาตรี, ๒๔๗๗, หน้า ๗๕. - เน้นข้อความโดยผู้เขียน

 โปรดดู ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ๒๔๗๕ และ ๑ ปีหลังการปฏิวัติ, สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓, หน้า  ๑๑๘.

 เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๑๙.

๑๐ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕
มาตรา ๘ สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจออกพระราชบัญญัติทั้งหลายพระราชบัญญัตินั้นเมื่อกษัตริย์ได้ประกาศให้ใช้แล้วให้เป็นอันใช้บังคับได้
ถ้ากษัตริย์มิได้ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัตินั้นภายในกำหนด ๗ วัน นับ แต่วันที่ได้รับพระราชบัญญัตินั้นจากสภาโดยแสดงเหตุผลที่ไม่ยอมทรงลงพระนาม ก็มีอำนาจส่งพระราชบัญญัตินั้นคืนมายังสภา เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งถ้าสภาลงมติยืนตามมติเดิม กษัตริย์ไม่เห็นพ้องด้วย สภามีอำนาจออกประกาศพระราชบัญญัตินั้นใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ 
มาตรา ๓๙ ถ้า พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัตินั้น จะได้พระราชทานคืนมายังสภาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่นายกรัฐมนตรีนำทูลเกล้าฯ ถวายก็ดี หรือมิได้พระราชทานคืนมายังสภาภายในหนึ่งเดือนนั้นก็ดี สภาจะต้องปรึกษากันใหม่และออกเสียงลงคะแนนลับโดยวิธีเรียกชื่อ ถ้าและสภาลงมติตามเดิมไซร้ ท่านให้นำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชทานลงมาภายในสิบห้าวันแล้ว ท่านให้ประกาศพระราชบัญญัตินั้น ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

๑๑ เหตุการณ์ ดังกล่าว โปรดดูเอกสารประวัติศาสตร์ ที่ค้นคว้าและนำเสนอลำดับเหตุการณ์เรื่องราวอย่างละเอียดโดยนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุลในเว็บไซต์ของคณะนิติราษฎร์ได้ที่ http://www.enlightened-jurists.com/directory/185

๑๒ คำฟ้องของโจทก์ คดีหมายเลขดำที่ ๘๖๑๒/๒๕๒๑ ศาลแพ่ง วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑, สันติสุข โสภณสิริ (บรรณาธิการ). คำตัดสินใหม่กรณีสวรรคต ร.๘ โดยคำพิพากษาศาลแพ่ง, เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๔๓, หน้า ๖๒ – ๖๕ โปรดดู http://www.enlightened-jurists.com/directory/185

๑๓ ปรีดี พนมยงค์, ชีวประวัติย่อของนายปรีดี พนมยงค์, สำนักพิมพ์แม่คำผาง, พิมพ์ครั้งที่ ๕, ๒๕๕๓, หน้า ๒๒๙.

๑๔ ปรีดี พนมยงค์, จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน ๑๔ ตุลาคม, พิมพ์ครั้งที่ ๕, ๒๕๔๓, หน้า ๗๐.

๑๕ นาย พลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี โปรดดู ภาคสุนทรพจน์ เรื่อง คำอภิปรายของนายกรัฐมนตรีกล่าวแด่มวลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ สภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวแก่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมบทฉะเพาะกาล พุทธศักราช ๒๔๘๓ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๘๓. ใน ข่าวโฆษณาการ, ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๖ (๒๔๘๓). หน้า ๑๔๖๐ - ๑๔๗๑. เอกสารชิ้นนี้ สามารถเข้าถึงได้ที่ http://www.enlightened-jurists.com/directory/226  ซึ่งนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุลเป็นผู้ค้นคว้าและนำมาเก็บไว้

วรพล พรหมิกบุตร: จดหมายเปิดผนึกถึงสาวน้อยหมวกแดง

ที่มา Thai E-News

 โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรพล  พรหมิกบุตร

ท่ามกลาง บรรยากาศการเคลื่อนไหวสนับสนุนและถ่วงรั้งคุกคามการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ภายหลังความสำเร็จในการบริหารประเทศครบรอบ ๑ ปีของรัฐบาลสาวน้อยหมวกแดง   การถกเถียงระดมความคิดในหมู่ญาติมิตรครอบครัวของสาวน้อยหมวกแดงว่าพวกตนควร จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวอย่างไร  เมื่อไร  หรือไม่ (ปล่อยทิ้งค้างไว้อีกระยะหนึ่งเป็นการซื้อเวลาเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคง ในอำนาจจากวาระการดำรงตำแหน่งต่อไป)  ก็ยังคงเป็นประเด็นถกแถลงสำคัญเพราะมีคำประกาศนโยบายหาเสียงเลือกตั้งของตน ค้ำคออยู่อย่างหนักแน่น   การถกแถลงของญาติมิตรและเครือญาติในหมู่บ้านของสาวน้อยหมวกแดงถูกจับตามอง ทุกฝีก้าวจากฝูงสุนัขป่าหลากหลายสายพันธุ์ที่มีอุดมการการเมืองร่วมกันว่าจะ ขย้ำทั้งตัวสาวน้อยหมวกแดงและหมู่บ้านของเธอให้ราบคาบเมื่อโอกาสมาถึง  ท่ามกลางบรรยายกาศการเมืองเหล่านั้น สุนัขป่าเฒ่าเก่าแก่ในเสื้อคลุมครุยยาวดำน่าเกรงขามสบโอกาสแปลงโฉมเป็น “ยาย” เข้ากระชิบแนะนำสาวน้อยหมวกแดงให้ลงมือทำประชามติว่าคนในหมู่บ้านทั้งหมด ต้องการให้มีการลงมติวาระสามรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑ ในสภาผู้แทนราษฎรต่อไปหรือไม่   หลังจากเคยพยายามจะลงมือขย้ำสาวน้อยหมวกแดงแต่ไม่สำเร็จมาแล้วหลายครั้ง  ครั้งนี้สุนัขป่ามาในรูปของ “ยาย” ผู้เมตตาหวังดีต่อสาวน้อยหมวกแดง


ญาติฝ่าย หนึ่งบอกสาวน้อยหมวกแดงว่าให้เดินหน้าบอกประธานสภาหมู่บ้านให้ประชุมลงมติ วาระสามให้เสร็จสิ้นเสียก่อนโดยยังไม่ต้องทำประชามติ  ญาติอีกฝ่ายหนึ่งบอกสาวน้อยหมวกแดงว่าเพื่อความระมัดระวังรอบคอบและเพี่อ เอาประชาชนเป็นกำแพงพิงหลังก็ควรทำประชามติที่แม้จะยากเย็นแสนเข็ญเป็นไปไม่ ได้ตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด แต่จะพยายามทำให้ได้   สาวน้อยหมวกแดงฉุกคิดและแถลงว่าจะต้องศึกษาให้ชัดเจนถ่องแท้ก่อน

บนเส้น ทางลดเลี้ยวเคี้ยวคดในป่าการเมืองไทยตั้งแต่ปลายปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ สาวน้อยหมวกแดงกำลังเดินอยู่บนเส้นทางที่สุนัขป่ากำลังพยายามล่อหลอกให้เธอ เดินออกนอกเส้นทางที่ปลอดภัยเพื่อพลัดหลงเข้าไปใน “พื้นที่สังหาร” ที่ฝูงสุนัขป่าจะรุมขย้ำต่อไปได้ง่ายขึ้นโดยญาติมิตรครอบครัวของสาวน้อยหมวก แดงจะไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงทีอีกต่อไป  สุนัขป่าในคราบเสื้อคลุมดำยาวของ “ยาย” ล่อหลอกเธอว่าน่าจะเดินออกจากเส้นทางไปเก็บดอกไม้ในป่าใส่ตะกร้าไปด้วย

นิทาน เรื่องนี้ยังไม่จบและเรายังไม่รู้ในวันนี้ (วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕) ว่าสาวน้อยหมวกแดงจะเดินออกนอกเส้นทางแล้วพลัดหลงเข้าไปในพื้นที่สังหารของ สุนัขป่าในคราบนักบุญ หรือในที่สุดเธอจะตัดสินใจมุ่งหน้าเดินไปตามเส้นทางเพื่อนำร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑ ที่ใส่อยู่ในตะกร้าที่เธอถือมาอยู่แล้วนำส่งไปให้ถึงบ้านที่มีญาติมิตรครอบ ครัวเฝ้ารออยู่ด้วยความกระวนกระวายและกังวลในสวัสดิภาพความปลอดภัยของเธอ


บทส่งท้าย

รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดหลักการและกรอบวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าให้ ดำเนินการได้ตามบทบัญญัติ มาตรา ๒๙๑ ในรัฐธรรมนูญดังกล่าว  ขั้นตอนดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่กำหนดในมาตรา ๒๙๑ ประกอบบทบัญญัติในกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจนตามตัวอ้กษรว่าการ ประชุมพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในขั้นตอนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ดำเนินการ เป็นสามวาระ (วาระที่ ๑ วาระที่ ๒ และวาระที่ ๓ ตามลำดับ) โดยไม่ต้องมีการจัดทำประชามติจากประชาชนว่าจะให้รับหรือไม่รับร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญดังกล่าว  ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำประชามติโดยคำสั่งคณะรัฐมนตรีหรือประธานรัฐสภา   ข้อเสนอแนวทางให้รัฐบาลหรือสภาผู้แทนราษฎรไปจัดทำประชามติก่อนการประชุม เพื่อลงมติวาระสามดังกล่าวจึงเป็นข้อเสนอให้รัฐบาลและ/หรือประธานสภาผู้แทน ราษฎรดำเนินการเบี่ยงเบนไปจากกรอบวิธีการที่รัฐธรรมนูญกำหนด (ความเบี่ยงเบนดังกล่าวสามารถถูกศาลรัฐธรรมนูญใช้ดุลยพินิจตีความและ วินิจฉัยให้เป็นหรือไม่เป็นความผิดหรือเป็นโทษต่อผู้สั่งการให้ทำประชามติ เรื่องนี้ได้  หากมีผู้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไปว่าการทำประชามติดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่)

ดังนั้น  การผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อระบอบประชาธิปไตยมาก ที่สุดในปัจจุบันคือการผลักดันให้มีการลงมติรับ “ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑” วาระสามในสภาผู้แทนราษฎรให้สำเร็จลุล่วงก่อน  แล้วจึงดำเนินการชั้นตอนอื่น ๆ ต่อไปตามที่กฎหมายกำหนด   การจัดให้มีการประชุมเพื่อลงมติวาระสามดังกล่าวเป็น “เส้นทางตามรัฐธรรมนูญ” ที่ตรงไปตรงมาและมีทั้งหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรมรับรองอย่างหนักแน่น  ทั้งยังมีการสนับสนุนความชอบธรรมทางการเมืองจากประชาชนโดยส่วนรวมของประเทศ  แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ด้วยการเริ่มต้นจากการแก้ไขมาตรา ๒๙๑ ในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว  ควรเป็น “แนวทางหลัก” สำหรับการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดอื่น ๆ ในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ต่อไป  ขณะที่แนวทางอื่นที่ไม่ขัดแย้งกับแนวทางหลักดังกล่าว (เช่น แนวทางการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาและจัดทำข้อเสนอร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาขององค์กรที่มีอำนาจแก้ไขรัฐ ธรรมนูญตามแนวทางหลัก) อาจถูกเลือกใช้เป็นส่วนประกอบเท่านั้นและไม่ควรใช้เป็นแนวทางหลักทดแทนแนว ทางที่ริเริ่มด้วยการเสนอ “ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑” มาก่อนแล้วจนผ่านวาระสองในสภาผู้แทนราษฎร

การผลัก ดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตาม “เส้นทางหลัก” ดังกล่าวมีความปลอดภัยทางการเมืองและยังมี “เกราะคุ้มกันทางกฎหมาย” ทั้งจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและจากกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง  การใช้เส้นทางหลักดังกล่าวช่วยให้องค์กรที่ผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย  แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ  รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร    รวมทั้งสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน) สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และวิธีการแก้ไขปัญหารายละเอียดที่จะปรากฎขึ้นต่อไปได้ชัดเจน  แม่นยำ  สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นจริงได้ง่ายขึ้น  แต่การเลือกใช้เส้นทางที่เบี่ยงเบนออกไปจากเส้นทางหลักดังกล่าวในปัจจุบัน (ไม่ว่าเส้นทางประชามติหรือเส้นทางคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ)  จะเป็นการชักนำรัฐบาล/สภาผู้แทนราษฎร/และประชาชนให้เดินทางเข้าไปใน “พื้นที่อันตราย” ที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขปัจจัยอันมิอาจคาดเดาได้ชัดเจนว่าจะเกิดอันตรายทั้ง ต่อองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญและต่อหลักการของ ระบอบประชาธิปไตยโดยองค์รวมอย่างไร ในช่วงเวลาใด หรือในขั้นตอนกระบวนวิธีลับลวงพรางอย่างไรต่อไป  เนื่องจากขั้นตอนนอกเส้นทางหลักดังกล่าวเป็นขั้นตอนที่มิได้กำหนดไว้ในรัฐ ธรรมนูญ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ความเห็น อ. คณิน ต่อ การโหวตวาระ 3 การลงประชามติ และ มาตรา 165



วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บุคคลแห่งปี 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร'

ที่มา Voice TV




วอยซ์ ทีวี ได้มีการรวบรวมรายชื่อบุคคลแห่งปี ประจำปี 2555 จำนวน 10 คน โดยคนแรกที่ได้รับการคัดเลือก คือนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นปีที่ 2 ของการทำงานที่มีผลงานโดดเด่นในเรื่องเดินสายลงพื้นที่ภายในประเทศและต่าง ประเทศมากที่สุดในรอบ 1 ปี ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศได้อย่างเข้มแข็ง แม้จะถูกโจมตีเรื่องของภาวะความเป็นผู้นำก็ตาม


ก้าวเข้าสู่การทำงานปีที่ 2 ของอายุรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บทบาทที่โดดเด่นที่สุดคือการเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เพราะตลอดทั้งปี นายกรัฐมนตรีที่เดินสายประชุม พบปะผู้นำหลายๆประเทศ รวมทั้งการต้อนรับผู้นำจากต่างประเทศ


ซึ่ง การเดินสายของนายกรัฐมนตรีไปต่างประเทศทั้งหมดอย่างเป็นทางการ จำนวน 33 ครั้งใน 27 ประเทศ เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่เดินสายในต่างประเทศมากที่สุด และยังผู้นำพานักลงทุนชาวไทยเดินสายไปพร้อมกันด้วยทุกครั้ง เพื่อไปพูดคุยกับนักลงทุนต่างประเทศในการเปิดตลาดใหม่ให้กับการค้าการลงทุน


รวม ถึงให้การต้อนรับระดับผู้นำ 16 ครั้งใน 13 ประเทศจากทั่วโลกที่มาเยือนประเทศไทย โดยเฉพาะผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่างนายบารัก โอบามา ประธานธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา และนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีน ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน


นอกจากนี้ ยังเป็นนายกรัฐมนตรีที่ ได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร รวมทั้งนายกรัฐมนตรียัง ได้เข้าเฝ้าฯ เจ้าชาย นารุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ที่พระราชวัง Imperial เพื่อถวายรายงานสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ด้วย


ส่วนภารกิจในประเทศ เดินสายการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรนอกสถานที่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ อุดรธานี ภูเก็ต กาญจนบุรี ชลบุรี สุรินทร์ สุราษฏร์ธานีและนครศรีธรรมราช ทั้งหมด 7 ครั้ง เพื่อไปรับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่นำงบประมาณลงไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในจังหวัดเหล่านั้นและในจังหวัดใกล้เคียง


และ ยังติดตามสถานการณ์น้ำ แก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ จากจังหวัดอุตรดิตถ์ถึงจังหวัดปทุมธานี และการลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำจากจังหวัดปทุมธานีถึงจังหวัดตาก รวม 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอุทกภัยไม่ให้เกิดขึ้นเหมือนปี 2554


ด้านการรับมือการอภิปรายของฝ่ายค้าน ในนามรัฐบาลยิ่งลักษณ์ครั้งแรก นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นภาวะผู้นำ  ตอบคำถาม ฝ่ายค้าน จนเกิดวาทะแห่งปี "คำว่าลอยตัวนั้นต่างกับคำว่าไม่รับผิดชอบ "หลังถูกกล่าวหาเรื่องการขาดความรับผิดชอบ ลอยตัวเหนือปัญหา ไม่ชี้แจงประเด็นที่ถูกกล่าวหา โดยเฉพาะเรื่องนโยบายรับจำนำข้าว


แม้จะถูกบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบถึงบทบาทในการบริหารประเทศ แต่ในมุมมองของประชาชนส่วนใหญ่ กลับแสดงความชื่นชม โดยวัดจากผลสำรวจของศูนย์ วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือ กรุงเทพโพล สำรวจเรื่อง "ที่สุดของความคิดสร้างสรรค์แห่งปี 2555" ซึ่งร้อยละ 52.1 ยกให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นนักการเมืองของไทย ที่มีผลงานสร้างสรรค์มากที่สุด
29 ธันวาคม 2555 เวลา 11:52 น.

โลกวัชชะจากฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคนสู่อร่อยจนลืมกลับวัด

ที่มา Voice TV




Back Story  ประจำวันที่ 29 ธันวาคม 2555

กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ อีกครั้งกับภาพถ่ายปิดผนังร้านอาหารญี่ปุ่นที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นภาพพระ ว. วชิรเมธี กำลังฉันเพลและมีข้อความกำกับไว้ว่า "อร่อยจนลืมกลับวัด" พร้อมลายเซ็น  แม้จะยืนยันว่าไม่ผิดพระธรรมวินัย แต่ทำให้เกิดข้อสงสัยเรื่องความเหมาะสมและย้อนไปถึงวาทะ "ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน" และ "อย่างมงายในวิทยาศาสตร์" จนเกิดกรณีโลกวัชชะในโลกออนไลน์ ติดตามในแบล็กสตอรี่

อร่อยจนลืมกลับวัด ข้อความที่กำกับใต้ภาพ พร้อมลายเซ็นต์พระมหาวุฒิชัย หรือ พระว.วชิรเมธี พระนักเทศน์ชื่อดัง ปิดที่ผนังร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของบรรดาพุทธศาสนิกชนในโลกออนไลน์อีกครั้ง แม้พระวอ จะชี้แจงว่า ไม่ผิดพระธรรมวินัยและเป็นข้อความที่ให้กำลังใจลูกศิษย์ แต่มีการตั้งข้อสังเหตุถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะคำว่า อร่อย และลืม ซึ่งเป็นกริยาสะท้อนอาการติดในกาม รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และการขาด สติ กระแสวิพากษ์วิจารณ์วาทะ ของพระ ว. ผ่านโลกออนไลน์เริ่มขึ้น จากการสนทนาธรรมกับพิธีกรชื่อดัง เรื่องอภินิหารของผู้สำเร็จธรรมะขั้นสูง จนถูกกล่าวหาอวดอุตริมนุสธรรม เพราะขัดกับหลักคำสอนเรื่องความเชื่อตามหลักกาลามาสูตร 10

จากวาทะ อย่างมงายในวิทยาศาสตร์ นำมาสู่ ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน ที่พระว.ได้โพสต์ผ่านทวิตเตอร์ แม้จะมีจุดประสงค์เพื่อสอนให้เห็นถึงคุณค่าของเวลา ที่ต้องมีสติในการดำเนินชีวิต ตามหลักธรรมคำสอนของพุทธองค์ แต่กลับถูกวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งทางการเมือง ก่อนการชุมนุมขับไล่รัฐบาล ช่วงเมษายนและพฤษภาคม 2553

หลักการพูดตามพุทธวจน ซึ่งถือเป็นวาจาไม่มีโทษ และวิญญูชนไม่ติเตือน ประกอบด้วย กล่าวแล้วควรแก่เวลา กล่าวแล้วตามสัจจ์จริง กล่าวแล้วอย่างอ่อนหวาน กล่าวแล้วอย่างประกอบด้วยประโยชน์ และ กล่าวแล้วด้วยเมตตาจิต และลักษณะการพูดของตถาคตอย่าง 1คือ วาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น ขณะที่ โลกวัชชะ คือ โทษทางโลก หรือ การถูกตำหนิ ติเตียนว่าไม่สมแก่สมณะ ซึ่งหน้าทั้ตักเตือนกันเมื่อการกระทำและแสดงออกไม่เหมาะสม เป็น 1 ในหน้าที่ของพุทธบริษัท 4
29 ธันวาคม 2555 เวลา 17:28 น.

กลุ่มคนเสื้อแดงจัดกิจกรรมแห่ศพนักโทษการเมือง

ที่มา Voice TV




กลุ่มคนเสื้อแดงและญาติ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมแห่ศพนักโทษการเมืองไปยังศาลอาญารัชดา เพื่อเรียกร้องให้มีมาตรการที่ดีขึ้นสำหรับนักโทษการเมืองในอนาคต พร้อมกับเรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมืองที่เป็นผู้ต้องหา ทั้งหมด

ญาตินักโทษการเมือง และกลุ่มคนเสื้อแดงหลากหลายเครือข่าย ได้ร่วมกันมารับผลชันสูตรและรับศพนายวันชัย รักสงวนศิลป์ นักโทษการเมืองคนเสื้อแดง ชาวจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเสียชีวิตในเรือนพิเศษหลักสี่ จำเมื่อวันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมา ก่อนจะประกอบกิจกรรมแห่ศพไปรอบกรุงเทพมหานคร

โดยนางสาวสุดา กล่าวว่าการเสียชีวิตของนายวันชัย คือสิ่งที่สะท้อนความเป็นสองมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยได้เป็น อย่างดี ซึ่งหากนายวันชัยและนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ได้รับการประกันตัวหรือการนิรโทษกรรม นายวันชัยก็ย่อมได้รับการดูแลที่ดีกว่านี้ และอาจจะไม่ต้องพบกับความตายเช่นนี้ โดยทางกลุ่มญาติยังขอเรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษทางการเมืองทั้งหมด ในอนาคตด้วย

ทั้งนี้เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น.นางทองมา เที่ยงอวน มารดาของนายวันชัย  ได้มารับศพของนายวันชัยจากสถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อนำไปประกอบกิจกรรมแห่รอบเมือง และพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดต่อไป โดยเริ่มต้นตั้งขบวนจากบริเวณสวนลุมพินีวัน ก่อนจะออกเดินทางไปแยกราชประสงค์ เข้าสู่แยกประตูน้ำ ตรงไปยังถนนดินแดง แล้วจึงหยุดทำกิจกรรมบริเวณหน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก จากนั้นจึงเคลื่อนศพมาตั้งสวดพระอภิธรรม 1 คืนที่วัดสาครสุ่นประชาสรรค์ ก่อนจะนำศพเคลื่อนย้ายกลับจังหวัดอุดรธานีในวันพรุ่งนี้ โดยบรรยากาศในกิจกรรมเป็นไปอย่างเศร้าโศก มีการเปิดเพลงประกอบกับการปราศรัยตลอดเส้นทาง โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำทั้งรถส่วนบุคคล รถรับจ้าง และรถจักรยานยนต์เข้าร่วมขบวนแห่จำนวนมาก

ทั้งนี้นายวันชัย เป็นคนเสื้อแดงจากจังหวัดอุดรธานี เข้าร่วมชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้มีการหยุดสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553 โดยต่อมาได้กลายมาเป็นผู้ต้องหาในคดีละเมิดพระราชกำหนดการบริหารแผ่นดินใน สถานการณ์ฉุกเฉิน บุกรุกทำลายทรัพย์สินของทางราชการ และเผาสถานที่ราชการ โดยก่อนจะเสียชีวิต ได้ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลากว่า 20 ปี และกำลังอยู่ในระหว่างการต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์
29 ธันวาคม 2555 เวลา 18:22 น.

เผด็จการธรรมวินัย

ที่มา ประชาไท

 

วิจักขณ์ พานิช
กลุ่มพุทธศาสน์ของราษฎร
 
"อยากชวนคณะสงฆ์เป็นอิสระจากรัฐ เพื่อให้ชาวพุทธกลุ่มต่างๆมีอิสระตรวจสอบกันเอง และ ต้องการยืนยันว่าถ้าคณะสงฆ์ยังขึ้นต่อรัฐก็ต้องอ้างอิงกรอบพระธรรมวินัยใน การจำกัดอำนาจ ตรวจสอบบทบาทของมหาเถรและสังฆะภายใต้ระบบนี้อยู่ครับ"     -- สุรพศ ทวีศักดิ์
 
"ธรรมวินัยมันมีบางอย่างที่ชัดเจน ไม่ต้องตีความ มีบางอย่างที่ต้องตีความ มีหลักฐานบันทึกเทียบเคียงความสอดคล้องได้ อย่างส่วนที่เป็นวินัยสงฆ์นี่ชัดเจนเหมือนกฎหมายเลยว่าทำอย่างนี้ผิด อย่างนั้นถูก มันถึงเป็นหลักความประพฤติที่ตรวจสอบเห็นตรงกันได้  ...ธรรม วินัยไม่ได้อิงมหาเถร ไม่ได้อิงสมบูรณาฯ เพราะธรรมวินัยเถรวาทที่อ้างอิงกันอยู่คือธรรมวินัยที่สืบเนื่องมาจากการ สังคายนาครั้งที่ 1 มีมาก่อนสมบูรณาไทยเป็นพันๆ ปี ธรรมวินัยจึงเป็นกรอบอ้างอิงหลักเสมอ เพราะธรรมวินัยไม่เกี่ยวกับอำนาจรัฐ แต่เป็น “ระบบสังฆะเถรวาท” ที่เป็นอิสระจากรัฐมาแต่ก่อน"      -- สุรพศ ทวีศักดิ์
 
"หลักธรรมวินัยของพุทธศาสนาเถรวาทเป็นหลักสากลที่ชาวพุทธเถรวาท ทั่วโลกต่างยึดถือร่วมกัน ไม่ต่างจากที่สังคมประชาธิปไตยยึดหลักประชาธิปไตยหรอก"   -- สุรพศ ทวีศักดิ์
 
………………………..
 
จากข้อความทั้งหมดข้างต้น ตรรกะที่ผิดพลาดของอ.สุรพศ เกิดขึ้นจากการที่ อ.สุรพศไม่กล้าวิพากษ์หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร แต่กลับดีเฟนด์การใช้หลักธรรมวินัยแบบมหาเถรในฐานะกฏเกณฑ์สูงสุดของพุทธ เถรวาท (สากล? เทียบเท่าหลักประชาธิปไตย?) โดยอ้างว่าคณะสงฆ์สามารถตรวจสอบได้โดยโปร่งใส ไม่มี 112 
 
คำถามของผมคือ ตั้งแต่มีมหาเถรสมาคมเป็นต้นมา เราสามารถตรวจสอบอะไรพระได้บ้าง? หรือพระในคณะสงฆ์ (ใน scale ใหญ่) สามารถตรวจสอบอะไรกันเองได้บ้าง? พระใช้หลักธรรมวินัยในการตรวจสอบกัน แล้วช่วยให้สังฆะมีวัตรปฏิบัติที่งดงามและสร้างสรรค์ขึ้นได้จริงหรือไม่? การตรวจสอบที่อาจารย์สุรพศบอกว่าทำได้ทุกเรื่อง เอาเข้าใจจริงทำอะไรได้บ้าง นอกจากการจับผิดพระมีเซ็กซ์
 
สมมติฐานของผม คือ ในโครงสร้างแบบที่เป็นอยู่ จริงๆ แล้วพระตรวจสอบไม่ได้ครับ และพระก็ไม่ได้ใช้ธรรมวินัยตรวจสอบกันและกันด้วย สิ่งที่ทำได้อย่างเดียวก็คือการไล่ปรับอาบัติปาราชิก หรือพูดง่ายๆ คือ จับพระมีเซ็กซ์เท่านั้นที่ตรวจสอบได้ นอกนั้นดิ้นได้หมด สิ่งที่อ.สุรพศ เขียนมาทั้งหมด ก็เพื่อ validate ข้อเรียกร้องกรณีให้มหาเถรใช้หลักธรรมวินัยตรวจสอบอธิการ มหาจุฬาฯ มีเซ็กซ์เท่านั้น  
 
ธรรมวินัยแบบรัฐทุกวันนี้ยึดโยงอยู่กับอุดมการณ์ของรัฐแบบสมบูรณาญา สิทธิราชย์ และอุดมการณ์นี้คือชุดอุดมการณ์ที่ใช้ตีความธรรมวินัยแบบเถรสมาคม พระสงฆ์มีอำนาจล้นฟ้า แล้วยังมีหลักธรรมวินัยที่ตีความเข้าข้างตัวเองเป็นหลักสูงสุด ตัดสินโดยองค์กรสงฆ์ที่ปกครองตัวเอง มีการตีความแบบเฉพาะของตัวเอง และไม่มีภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบอะไรต่อสังคมประชาธิปไตยเลย  ตราบใดที่ยังประพฤติพรหมจรรย์ (ที่ถูกตีความเหลือแค่ไม่มีเซ็กซ์) พระสงฆ์ทำอะไรก็ได้ ไม่ผิด
 
ยกตัวอย่างง่ายๆ กรณี ว.วชิรเมธี ที่เราด่ากันสนุกปากทุกวันนี้ เราจะหวังให้มหาเถรตรวจสอบธรรมวินัยของ ว.วชิรเมธี ไหมครับ อย่างที่ออกมาเรื่อง "อร่อยจนลืมกลับวัด" ว.วชิรเมธี ก็อ้างหลักธรรมวินัยเหมือนกัน และท่านก็ตีความธรรมวินัยแบบเดียวกับมหาเถรนั่นแหละ นั่นก็คือ ฉันจะทำอะไรก็ไม่ผิด ตราบใดที่ฉันยังไม่มีเซ็กซ์ เอาเข้าจริง ถ้าเราไปคาดหวังกับกระบวนการตรวจสอบตามหลักธรรมวินัยแบบมหาเถร เราตรวจสอบอะไรว.วชิรเมธี ในแง่ธรรมวินัยได้บ้าง? 
 
ธรรมวินัยในชุดอุดมการณ์นี้ ไม่ได้เอาไว้ตรวจสอบตัวเองหรอกครับ แต่เอาไว้ปกป้องสถานะอันไม่เป็นประชาธิปไตยของตัวเองต่างหาก
 
กรณีนี้ต่างกับพระในวัดบ้านนอกนะครับ ที่เขายังมีธรรมวินัยที่มีความสัมพันธ์แบบมนุษย์ มนุษย์อยู่ นั่นเขาก็ยังพอตรวจสอบกันได้ คือตักเตือนกันได้ เพราะพระบ้านๆ เขาไม่ได้มองธรรมวินัยเป็นกฏเพียวๆ ไร้บริบทความสัมพันธ์อย่างที่ถูกตีความโดยมหาเถร หรือโดยพระ/มหาเปรียญที่ถูกกล่อมเกลามาจากการศึกษาแบบคณะสงฆ์ไทยโดยไม่ตั้ง คำถาม
 
เมื่อธรรมวินัยถูกอ้างอย่างไร้บริบท ราวกับกฏหมายอันศักดิ์สิทธิ์สูงสุดโดยตัวมันเอง เป็น “สากล” เป็น “กติกากลาง” ที่ชาวพุทธต้องยอมรับอย่างไม่อาจตั้งคำถามหรือตีความได้  ธรรมวินัยก็กลายเป็นอำนาจนิยมธรรมวินัย เผด็จการธรรมวินัย เป็นสีลัพพตปรามาส (ความเชื่อว่าการถือศีลจะทำให้คนบริสุทธิ์) ซึ่งถือเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ไม่ต่างจากอันตรายที่เกิดขึ้นเวลาธรรมะถูกเทศนา ถูกสั่งสอน ถูกอ้างถึงอย่างไร้การคำนึงถึงบริบทเลย
 
ข้อสรุปของผมคือ การตีความหลักธรรมวินัยแบบรัฐเช่นนี้แหละครับที่เป็นปัญหา และการอ้างความเป็น absolute truth ของหลักธรรมวินัยเพื่อให้คณะสงฆ์ของรัฐใช้อ้างกันเอง ตรวจสอบกันเองนี้แหละที่เป็นปัญหา  มันทำให้สงฆ์เป็นอภิสิทธิ์ชนตรวจสอบอะไรไม่ได้ พูดอะไรไม่เคยผิด ทำอะไรไม่เคยผิด ยกเว้นถูกจับได้ว่ามีเซ็กซ์  เมื่ออาจารย์สุรพศไม่กล้าวิพากษ์หลักธรรมวินัยแบบรัฐ แต่กลับอ้างว่าแม้ศาสนาจะไม่แยกจากรัฐ คณะสงฆ์ภายใต้มหาเถรก็มีสิทธิ์จะใช้ธรรมวินัยตรวจสอบกันเองตามหลักเสรีภาพ ทางศาสนา  ข้อคิดเห็นของอ.สุรพศ ก็ยิ่งไปเสริมอำนาจผูกขาดการตีความธรรมวินัยแบบมหาเถร ผลักผู้ที่เห็นต่างจากการอ้างธรรมวินัยแบบนี้ให้เป็นอื่น และที่น่าเศร้าที่สุด คือ มันขัดแย้งโดยตรงกับหลักการพื้นฐานของกระบวนการแยกศาสนาออกจากรัฐ (secularization) อันเป็นข้อเสนอสูงสุดที่จะช่วยแก้ไขปัญหาคาราคาซังของสถานะอันไม่เป็น ประชาธิปไตยของพุทธศาสนาในปัจจุบัน 
 
และที่เป็นอันตรายยิ่งกว่าพระมีเซ็กซ์ ก็คือ แนวคิดแบบนี้แหละครับที่ไปส่งเสริม “วัฒนธรรม” อำนาจนิยมศาสนาแบบ buddhist fundametalism ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมาธิปไตย เผด็จการโดยธรรม รัฐศาสนาแอบแฝง แนวคิดแบบ buddhist puritans เช่น ศีลธรรมจับผิดคนสูบบุหรี่กินเหล้าของสสส. มาตรการเรต “ห” ของคณะกรรมการเซ็นเซอร์ …ซึ่งทั้งหมดส่งผลกระทบโดยตรงต่อบรรยากาศทางสังคมในทิศทางที่ขัดแย้งอย่าง รุนแรงกับการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตย  โอเคครับ อธิการ มจร. อาจถูกตรวจสอบ อาจถูกจับสึก แต่แล้วยังไงต่อ? ตราบใดที่อุดมการณ์ในการตีความธรรมวินัยยังเป็นแบบนี้ อำนาจรัฐยังผูกติดกับพุทธศาสนาแบบนี้ พระสามารถถูกตรวจสอบได้ทุกเรื่องอย่างที่อาจารย์สุรพศอ้างจริงๆ หรือเปล่า? 
 
สมมติฐานของผมอาจจะผิดก็ได้ ถ้าใครสามารถยกตัวอย่างว่า มีการอ้างธรรมวินัยแบบมหาเถรตรวจสอบกันและกัน แล้วมีกรณีที่ทำให้พระถูกจำกัดอำนาจล้นฟ้า และประพฤติตนอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมพระ และสังคมโลกมากขึ้น ก็ช่วยบอกผมด้วยละกันครับ 
 
……………….
 
คำถามต่อไปคือ แล้วแบบนี้ไม่ต้องตรวจสอบพระเลยหรือ ชาวพุทธจะทนเห็นพระแอบมีกิ๊ก มีสีกาอยู่ได้ยังไง?  แน่นอนว่าในฐานะพุทธบริษัท ๔ หน้าที่ตรวจสอบพระเป็นสิ่งสำคัญ ทว่าหากจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง ชาวพุทธจำเป็นต้องมีโยนิโสมนสิการ และกระทำการอย่างสอดคล้องไปกับหลักการประชาธิปไตยด้วย ข้อเสนอของผมมีดังต่อไปนี้
 
1. จากข้อเรียกร้องของ อ.สุรพศ ที่ว่า "พระและวัดรับเงินภาษีจากประชาชนปีละ 4000 ล้าน ก็จำเป็นต้องถูกตรวจสอบจากประชาชนเหมือนนักการเมืองและข้าราชการทั่วไป"  
ทว่าประชาชนในที่นี้ต้องหมายถึงประชาชนทั้งหมดครับ ไม่ใช่แค่ชาวพุทธที่ยึดหลักธรรมวินัยเท่านั้น [สมมติว่าหากผมไม่นับถือพุทธศาสนา แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้เงินภาษีของผมไปใช้จัดงานพุทธชยันตี หรือสวดมนต์ข้ามปี ผมจะทำอะไรได้บ้าง? และการอ้างเสรีภาพในการนับถือศาสนาของชาวพุทธในกรณีใช้ได้หรือไม่?]  ในความคิดเห็นของผม  หากพระและวัดดำเนินงานโดยใช้เงินภาษีจากประชาชน ก็ต้องถูกตรวจสอบได้จากประชาชนทุกคน หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ ก็ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับรัฐ  ไม่ใช่บอกว่ารับเงินภาษีจากประชาชนแล้วต้องตรวจสอบได้ แต่กลับสนับสนุนให้ตรวจสอบกันเองโดยใช้หลักธรรมวินัย 
 
2. ในสถานการณ์ปัจจุบันที่พุทธศาสนายังผูกพันอยู่กับอำนาจรัฐท่ามกลางการ เปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย หากชาวพุทธต้องการตรวจสอบพระภายใต้อำนาจมหาเถรสมาคมอย่างสร้างสรรค์ตามหลัก ธรรมวินัยของสมณะโคดมนั้น ควรกระทำ และสามารถกระทำได้ ซึ่งหากกระทำการอย่างมีอุปายโกศล ก็จะเป็นการยืนยันว่า การประพฤติพรหมจรรย์ คือการประพฤติตนอย่างติดดิน เรียบง่าย เพื่อการประพฤติปฏิบัติธรรมของนักบวชทางศาสนา ไปพร้อมๆ กับการส่งเสริมจิตวิญญาณประชาธิปไตยด้วย 
 
วิธีการตรวจสอบจำเป็นต้องยึดโยงอยู่กับสติปัญญาของภาคประชาชน สื่อต้องทำหน้าที่ตรวจสอบ มีการยกกรณีศึกษาจากปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นจริง รับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน  เปิดทัศนะการตีความธรรมวินัยที่หลากหลายจากนักวิชาการ นักคิดหลากสาขา ประชาชนทั่วไป (ไม่ใช่อะไรๆ ก็ไปสัมภาษณ์ความเห็นของพระชื่อดัง) ทั้งนี้ต้องรวมถึงความคิดเห็นจากคนศาสนาอื่น เยาวชน พุทธนิกายอื่น หรือคนนอกศาสนา ที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมของพระสงฆ์ หรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับหลักพุทธศาสนา  --- ซึ่งข้อ 2 นี้จะว่าไปถือว่าเป็นการแก้ปัญหาเพียงได้เฉพาะหน้าเท่านั้น ยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ฝังรากลึกในเชิงโครงสร้าง
 
3. ข้อเสนอสุดท้าย ซึ่งถือเป็นข้อเสนอที่สำคัญที่สุด และจำเป็นจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อจะช่วยปลดปล่อยให้พลังแห่งการตื่นรู้ของพุทธศาสนากลับคืนสู่ประชาชนและ เติบโตงอกงามอย่างเป็นอิสระในโลกสมัยใหม่อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง นั่นคือ กระบวนการแยกรัฐกับศาสนาออกจากกัน (secularization)  ทุกวันนี้การที่พระผิดธรรมวินัยกันดาษดื่น มีอำนาจล้นฟ้า ตรวจสอบไม่ได้ ไม่ใช่เป็นเพราะมหาเถรไม่เอาจริงในการตรวจสอบตามหลักธรรมวินัยหรอกครับ แต่เป็นเพราะอำนาจและสถานะอันไม่ยึดโยงอยู่กับประชาชนของพุทธศาสนาใน ปัจจุบันต่างหาก เมื่อพุทธศาสนาไม่ยึดโยงอยู่กับประชาชน รวมศูนย์อย่างอิงแอบอยู่กับอำนาจรัฐ ผูกขาดการตีความแบบเดียว แม้จะอ้างหลักธรรมวินัยว่าบริสุทธิ์อย่างไร ธรรมวินัยนั้นก็ไม่อาจช่วยให้พรหมจรรย์ของสงฆ์สง่างามและสร้างสรรค์อย่าง สัมพันธ์อยู่กับสังคมสมัยใหม่ได้  
 
ในสถานการณ์ปัจจุบัน secularization จะเป็นหนทางเดียวในการส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา (และทุก ๆ ศาสนา) ให้กลับมามีพลวัตแห่งการตื่นรู้ สัมพันธ์อยู่กับบริบทความทุกข์ของผู้คน และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความเชื่อ (โดยเฉพาะที่ส่งผลเสียต่อกรณีความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้)  ธรรมวินัยถูกตีความอย่างมีจิตวิญญาณ เกิดการตักเตือนและตรวจสอบกันภายในชุมชนด้วยความสัมพันธ์ฉันกัลยาณมิตร ปลดปล่อยบุคลากรทางศาสนาสู่สถานะความเป็นคนธรรมดาสามัญ ส่งเสริมหลักการความเสมอภาค การมีส่วนร่วม จิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสังคมที่ตนอยู่ ส่งเสริมบรรยากาศอันเปิดกว้างทางความคิด ความเชื่อ และเคารพความเห็นต่าง อันสอดคล้องกับเสรีภาพในการนับถือศาสนา   ส่งเสริมให้สติปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม เติบโตและเจริญงอกงามอย่างยั่งยืน ไปพร้อมๆ กับการส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตยในสังคมไทยอย่างแท้จริง 
 
.................................
 
รายละเอียดของข้อเสนอ การแยกรัฐกับศาสนาออกจากกัน อ.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ได้เคยเขียนข้อเสนอนี้ไว้แล้วโดยละเอียด ในบทความที่มีชื่อว่า "ปัญหาธรรมกาย-พระไพศาล-มหาเถรสมาคม-สุรพศ และบททดลองเสนอเกี่ยวกับสถานะของสถาบันศาสนาในสังคมไทย" 
ซึ่งจะขอยกบางส่วนมาให้ใคร่ครวญกันอีกครั้ง เป็นการปิดท้ายบทความชิ้นนี้
 
"รัฐกับศาสนาเป็นสิ่งที่มีอิสระจากกัน/ไม่ขึ้นต่อกัน รัฐจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการทางศาสนา ไม่เป็นสปอนเซอร์ให้แก่ศาสนา ในทางกลับกัน ศาสนาต่างๆ มีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมของตนเองได้เต็มที่ ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับกฎหมายหรือไปละเมิดกับชีวิต ทรัพย์สิน และเสรีภาพของบุคคลอื่น – สรุปง่ายๆคือ วัดและองค์กรศาสนาต้องการเลี้ยงตัวเอง จ่ายภาษี และทำตัวเองเสมือนๆกับองค์กรอื่นๆในสังคม"
 
"รัฐจะต้องแปรรูปกิจการพุทธศาสนาทั้งหมดให้เป็นของเอกชน (privatization) คือ รัฐต้องไม่ให้เงินกับวัดและสถาบันทางศาสนา สถาบันศาสนาและคำสอนของศาสนาควรยอมรับว่า ศาสนาของตนจะอยู่ได้ในสังคมประชาธิปไตยก็ต่อเมื่อคำสอนของตนเองเป็นสิ่งที่ ทนต่อการพิสูจน์ได้อย่างไม่มีการบังคับ แต่ต้องขึ้นกับศรัทธาของศาสนิกชนเองที่จะเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อ จะสนับสนุนทั้งด้านการเงินและทรัพยากรแก่สถาบันเหล่านั้นหรือไม่ก็ได้ ถ้าศาสนิกชนเห็นว่ามีประโยชน์ก็ให้การสนับสนุน แต่หากไม่มีประโยชน์ก็เลิกสนับสนุน ไม่ต่างจากคนไปซื้อขายของในตลาดที่มีสินค้ามากมายให้เลือก"

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: คัดค้านทุบอาคารเก่าศาลยุติธรรม

ที่มา ประชาไท


อาคารเก่าศาลยุติธรรมที่ตั้งอยู่บริเวณริมคลองข้างสนามหลวงนั้น เป็นอาคารที่มีความหมายอย่างยิ่งทั้งในด้านความเป็นมาทางสถาปัตยกรรม และทางประวัติศาสตร์ แต่ในขณะนี้ ศาลฎีกาได้มีการดำเนินการให้รื้อถอนเพื่อจะสร้างอาคารหลังใหม่ทีสูงกว่าเดิม ท่ามกลางเสียงคัดค้านทั้งจากกรมศิลปากร และจากนักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมและด้านประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะผู้มีบทบาทสำคัญก็คือ ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทั้งนี้ อาคารเก่าศาลยุติธรรมที่มีความสำคัญก็คือ อาคารหลัก ๓ หลังที่เรียงเป็นรูปตัววี ตามประวัติความเป็นมา อาคารศาลยุติธรรมกลุ่มนี้ ออกแบบโดยพระสาโรชรัตนนิมมานก์(สาโรช สุขยางค์) สถาปนิกไทยที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น อาคารหลังแรกเริ่มสร้าง พ.ศ.๒๔๘๒ และทำพิธีเปิดเมื่อ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๔ หลังที่สองด้านคลองคูเมืองสร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๖ แต่อาคารหลังที่สามด้านสนามหลวง ยังไม่ได้สร้างเพราะเงื่อนไขสงครามโลก เพิ่งจะมาสร้างใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ ตามแบบแผนเดิมที่วางไว้แล้ว และสร้างเสร็จ พ.ศ.๒๕๐๖
แนวคิดการก่อสร้างกลุ่มอาคารศาลนั้นเป็นสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับกระแสของสถาปัตยกรรมช่วงก่อนสงครามโลก มีข้อมูลที่เปิดเผยว่า ต้นแบบของอาคารมาจากอาคารศาลสูงแห่งสหพันธรัฐสวิส ที่ตั้งอยู่ที่เมืองโลซานน์ ความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ก็คือ อาคารศาลยุติธรรมนี้เป็นกลุ่มอาคารที่สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ เนื่องจากการที่ประเทศไทยได้รับเอกราชทางการศาลคืนมาโดยสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ โดยการดำเนินการของคณะราษฎร หลังจากที่เคยเสียเอกราชทางการศาลให้กับประเทศมหาอำนาจตามเงื่อนไขสิทธิสภาพ นอกอาณาเขต ตั้งแต่สนธิสัญญาบาวริงในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา  และอาคารหลังแรกนั้น ได้สร้างเสาหน้าอาคาร ๖ ต้น ซึ่งสื่อแสดงสัญลักษณ์ถึงหลัก ๖ ประการของคณะราษฎรด้วย
แต่ต่อมา เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ เกิดข้อเสนอให้รื้อถอนอาคารกลุ่มนี้ แล้วให้สร้างอาคารขึ้นใหม่ในที่เดิมด้วยรูปแบบใหม่คือ เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจในช่วงนั้น อีกทั้งยังมีเสียงคัดค้านว่าอาคารศาลฎีกามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง เชิงการอนุรักษ์และการพัฒนาเมืองเก่า โครงการนี้จึงมิได้มีการดำเนินการ จนกระทั่งถึงสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ศาลฎีกาจึงได้รื้อฟื้นโครงการรื้อถอนอาคารเก่าของศาลขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อจะสร้างอาคารใหม่แบบไทยประยุกต์  และในที่สุด โตรงการนี้ได้รับการอนุมัติในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยงบประมาณ ๓,๗๐๐ ล้านบาทมาดำเนินการ
ชาตรี ประกิตนนทการ ได้ทำจดหมายเผยแพร่ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม นี้ โดยเสนอคัดค้านการรื้ออาคารเก่าของศาล ด้วยเหตุผลดังนี้
ประเด็นแรก การที่ศาลจะสร้างอาคารใหม่ขึ้นแทนโดยเป็นอาคารสูง ๓๒ เมตร เป็นเรื่องที่ขาดความชอบธรรมในทางกฎหมายอย่างมาก เพราะกฎหมายเรื่องความสูงของอาคารที่บังคับในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ห้ามสร้างอาคารสูงเกิน ๑๖ เมตร และยังบังคับใช้อยู่ หน่วยงานอื่นต่างก็ปฏิบัติตาม เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องสร้างหอสมุดใหม่ลงไปใต้ดิน มหาวิทยาลัยศิลปากรก็คับแคบขยายไม่ได้ และสร้างตึกสูงไม่ได้ หน่วยราชการอื่นที่ต้องการการขยาย ก็ต้องย้ายออกไปอยู่นอกบริเวณเป็นส่วนใหญ่ แต่ศาลยุติธรรมเองกลับใช้วิธีการเลี่ยงกฎหมาย โดยการขออนุมัติเป็นกรณีพิเศษ ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑ ในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องการขอละเว้นกฎหมายโดยหน่วยงานที่ควรเป็นต้นแบบของการรักษา กฎหมายอย่างเคร่งครัด จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
ประเด็นที่สอง คือเรื่องความเป็นโบราณสถานของกลุ่มอาคารศาลฎีกา จากการที่โฆษกศาลอ้างว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกามิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร  แต่ความจริงอาคารกลุ่มนี้ มีลักษณะเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และได้รับการรับรองจากกรมศิลปากรแล้วตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ดังนั้น ห้ามมีการรื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากร
ประเด็นที่สาม ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ก็ไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่า อาคารนั้นเสื่อมสภาพในระดับที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และจะเป็นอันตรายในระดับที่อาจจะมีการพังถล่มในวันข้างหน้า เพราะงานวิจัย ที่ทำโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๐ ก็ไม่ได้สรุปไปในทิศทางที่แสดงให้เห็นเลยว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกาเสื่อมสภาพในระดับที่อาจจะพังถล่มโดยเร็ว และเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมแต่อย่างใด
ประเด็นที่สี่ ว่าด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ที่โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า การออกแบบอาคารศาลฎีกาใหม่ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมไทยมากมายหลายท่าน ถูกระเบียบแบบแผนทางสถาปัตยกรรมไทย และสอดรับกับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง แต่ประเด็นสำคัญคือ การได้มาซึ่งอาคารใหม่นั้น ทำลายอาคารเดิมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลง และ มีความสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออกแบบและหน้าตาอาคารจะสวยงามแค่ไหน ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ
ชาตรีได้เสนอว่า การเก็บรักษาอาคารเก่าไว้ ไม่ได้หมายถึงการรักษาในลักษณะแช่แข็ง ห้ามทำอะไรเลย ความก้าวหน้าในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่ และหลักการด้านการอนุรักษ์ที่ก้าวหน้าขึ้นในโลกปัจจุบัน สามารถที่จะทำการอนุรักษ์อาคารเก่าโดยที่สามารถตอบสนองการใช้สอยสมัยใหม่ได้ อย่างเต็มที่ ดังนั้น การรื้อถอนและสร้างใหม่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถใช้สอยพื้นที่ได้ดีกว่านั้น จึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องอีกแล้ว จึงขอเรียกร้องให้ศาลพิจารณาระงับการรื้อถอนอาคารออกไปก่อน จนกว่าจะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ
สำหรับ นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร ได้แถลงว่า กรมศิลปากรได้ส่งหนังสือไปถึงเลขานุการศาลยุติธรรมสำเนาถึงประธานศาลฎีกา ให้ยุติการรื้อถอนอาคารเก่าศาลยุติธรรมและศาลอาญากรุงเทพแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม และอธิบายว่า แม้อาคารทั้งสองหลังจะยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน แต่ก็ถือเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และควรค่าแก่การอนุรักษ์ หากศาลฎีกายังคงยืนยันเดินหน้ารื้อถอน กรมศิลปากรคงต้องหารือกับฝ่ายกฎหมายหาแนวทางดำเนินการต่อไป
ปรากฏว่าในวันที่ ๒๓ ธันวาคม นายวิรัช ชินวินิจกุล  เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ยืนยันว่า โครงการทั้งหมดก็เดินหน้าไปแล้ว ถ้าจะมาขอให้ชะลอการรื้อถอนตอนนี้คงไม่ได้ และยืนยันว่า    ผู้พิพากษาที่ทำงานอยู่ที่ศาลฎีกาไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัยจากสภาพ อาคารที่ทรุดโทรม ขณะที่กลุ่มอาคารในโครงการสร้างใหม่นี้ ศาลไม่ใช่ผู้ริเริ่มด้วยซ้ำ และการก่อสร้างอาคารศาลฎีกาใหม่ตามแบบความเห็นชอบที่กระทำในรูปคณะกรรมการฯ ก็ต้องเดินหน้าต่อไป เพราะการก่อสร้างอาคารยังคงความมุ่งหมาย ของความเป็นศาลฎีกาในการทำหน้าที่ประสิทธิประศาสตร์ความยุติธรรมให้กับ ประชาชน ศาลยุติธรรมไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และขอยืนยันอีกครั้งว่า ศาลไม่ได้ทำอะไรเองโดยพลการ
ขณะที่คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์เห็นว่า ศาลฎีกาไม่ควรอ้างเรื่องโครงสร้างอาคารเก่าจนบูรณะไม่ได้มาเป็นเหตุผลในการ รื้อถอน เพราะมั่นใจว่าโครงสร้างอาคารทั้งสองหลัง ซึ่งใหม่กว่าอาคารกระทรวงกลาโหมถึง ๘๐ ปี  ยังมั่นคงแข็งแรงและสามารถใช้งานได้ พร้อมทั้งแนะกรมศิลปากรแจ้งความจับผู้รับเหมาเพื่อชะลอการรื้อถอน ก่อนที่จะเสียสมบัติของชาติไป
สรุปแล้ว กรณีนี้จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ประชาชนจะต้องจับตาพฤติกรรมของศาล ที่มุ่งจะทำลายอาคารเก่าอันทรงคุณค่า และไม่รับฟังข้อเสนอทักท้วง นี่ก็จะเป็นตัวอย่างแห่งความเสื่อมแห่งวิจารณญานของศาลอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งเราเห็นได้หลายกรณีแล้วในระยะ ๖ ปีที่ผ่านมานี้



เผยแพร่ครั้งแรกที่: โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ ๓๙๒  วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๕

ล้านคำบรรยาย (พิเศษ) การ์ตูนเซีย 28/12/55 ส่งท้ายปีเก่า..รอของขวัญปีใหม่

ที่มา blablabla



365 วัน ใกล้ผ่านแล้ว
เสียงเจือยแจ้ว สุขสันต์ สุดหรรษา
ส่งดวงใจ ถึงพี่น้อง ผองประชา
ทั่วแผ่นฟ้า ร่าเริง บันเทิงภิรมย์....

ทิ้งการเมือง เรื่องเก่าๆ ที่เน่าเบื่อ
เอียนจนเฝือ จงลืมมัน วันสุขสม
เริ่มเรื่องดี สิ่งสดใส ไ้ว้ชื่นชม
เกมส์โสมม ลดละเลิก เบิกฟ้าวิไล....

ขอส่งท้าย ปีเก่า ตามเราเห็น
หลากประเด็น ทั้งถูกผิด คิดทำใหม่
สิ่งที่หวัง ทางข้างหน้า ประชาธิปไตย
เป็นของขวัญ ให้ชาวไทย ได้สมปอง....

ขออวยชัย ให้สุขสม อารมณ์หวัง
เติมพลัง เพื่อก้าวไป ไทยทั้งผอง
ให้ชีวิต จรัสฟุ้ง รุ่งเรืองรอง
เพื่อน พี่ น้อง ฉลองชัย ปีใหม่เอย....

ด้วยรัก..ขอบคุณที่ติดตามการ์ตูนเซีย และกลอนบรรยายใต้ภาพด้วยดีเสมอมา..
พบกันใหม่ปีแห่งความสุข ๒๕๕๖ ครับ

เซีย ไทยรัฐ / ๓ บลา ประชาไท
๒๘ ธ.ค.๕๕

ไม่น่าเชื่อเลยว่า "ทุกประโยคนี้" มาจากปากนายอภิสิทธิ์ทั้งสิ้น

ที่มา Thai Free News

 ลูกชาวนาไทย






 มีคนรวบรวมคำพูดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประโยคเด็ดๆ ตามภาพข้างล่างนี้ไว้ 
นายอภิสิทธิ์ พูดต่างกรรมต่างวาระกัน 
สมัยเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านในยุครัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 
แต่ไม่เน่าเชื่อว่า "คำเหล่านี้มันเหมือนกับ" การผายลม  หรือตด
ที่พ่นออกมาจากปากนายอภิสิทธิ์ เท่านั้น 
มันไม่ได้มีความหมายว่าจิตใจเขาจะมีความเชื่อ และความคิดอย่างที่เขาได้พูดออกมาเลย

ดังนั้น คนอย่างนายอภสิทธิ์ คิดและเชื่ออย่างไร 

เราต้องดูที่ "การกระทำของเขาอย่างเดียว" 
อย่าไปสนใจสิ่งที่นายคนนี้พูด เพราะเขาเป็นนักพูด นักโต้วาที 
เขาจะหยิบเอาคำพูดสวยหรู ประโยคงดงาม ออกมาจากหนังสือ 
แต่มันไม่ได้หมายความว่า เขาคิดและเชื่ออย่างที่เขาพูด

ผมไม่เคยเห็นนักการเมืองคนไหน ชั่วที่ใจ อย่างคนๆนี้มาก่อน


 http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=43928.0

โพลล์: เชิญมอบฉายาสื่อกระแสหลักปี55

ที่มา Thai E-News



สำรวจจากท่านผู้อ่านไทยอีนิวส์ระหว่างวันที่ 22-28 ธันวาคม 2555 โดยมีโหวตจำนวนทั้งสิ้น 1,265 ครั้ง

โพลล์: สวดยวดบุคคลอัปรีย์2555

ที่มา Thai E-News



สำรวจจากท่านผู้อ่านไทยอีนิวส์ระหว่างวันที่ 18-24 ธันวาคม 2555 โดยมีโหวตจำนวนทั้งสิ้น 1924 ครั้ง

"รมว.ยุติธรรม" สั่งดูแลสุขภาพเสื้อแดงในคุก หวั่นตายเพิ่มอีก

ที่มา go6tv



 28 ธันวาคม 2555 go6TV - รมว.ยุติธรรม สั่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ นำศพนายวันชัย รักสงวนศิลป์ ผู้ต้องขังคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่งสถาบันนิติเวช ตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตอย่างละเอียด
 

พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ที่ จ.อุดรธานี ถึงกรณีที่นายวันชัย รักสงวนศิลป์ ผู้ต้องขังคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และวางเพลิงเผาศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ที่ถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปี 8 เดือน เสียชีวิตในเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ เมื่อวานนี้ว่า ได้รับรายงานว่านายวันชัยเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจล้มเหลว และได้สั่งการให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์ นำศพส่งให้สถาบันนิติเวชตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตอย่างละเอียด เมื่อเกิดเหตุการณ์เสียชีวิตในขณะถูกคุมขังเช่นนี้ จึงได้สั่งการให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์เข้าไปดูแลเรื่องสุขภาพของผู้ถูกคุมขัง โดยให้มีการตรวจสุขภาพซ้ำอีกครั้ง เพราะเกรงจะเกิดเหตุซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก ซึ่งจะมีการดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ.

ไทยรัฐยืนยัน "พานทองแท้" ประชุมพรรคเพื่อไทย หารือถกปมแก้รัฐธรรมนูญ

ที่มา go6tv


ภาพถ่ายนายพานทองแท้ ชินวัตร ในงานครบรอบ 3 ปี VoiceTV
29 ธันวาคม 2555 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยืนยันข่าว นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีนัดเข้าประชุมที่พรรคเพื่อไทย โดยเป็นการประชุมเฉพาะกิจหารือปมแก้รัฐธรรมนูญ โดยมี "พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร" สไกป์ร่วมถกด้วย โดยผลการหารือในเบื้องต้นระบุว่าจะเดินหน้าทำประชามติต่อ รวมทั้งมีการสอบถามความเห็นจากนักวิชาการทางด้านกฎหมายมาประกอบ
ภาพข่าว "พานทองแท้" ล่าสุดจาก "ไทยรัฐ"
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อเวลา 02.00น. ที่ผ่านมาเว็บไซท์ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเป็นสำนักข่าวเดียวที่เผยแพร่ข่าวดังกล่าว ถือเป็นครั้งแรกที่สื่อมวลชนกระแสหลักยืนยันการเข้าประชุมของ นายพานทองแท้ ชินวัตร ที่พรรคเพื่อไทย ซึ่งคาดว่าความเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองไทยในปีหน้าจะเข้มข้นมากขึ้น ก่อนหน้านี้ นายพานทองแท้ โพสต์เฟสบุ๊กส์ส่วนตัวจนเป็นข่าวโด่งดังมาแล้วตลอดปี 2555 โดยมีผู้ติดตามรวมทั้งกดถูกใจสูงถึงหนึ่งแสนสองหมื่นคน