แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

"วีรพัฒน์ ปริยวงศ์" : ดีเอสไอตั้งข้อหา "อภิสิทธิ์-สุเทพ" แรงเกินเอาผิดยาก ??

ที่มา uddred

 มติชน 14 ธันวาคม 2555




วันที่ 13 ธันวาคม 2555  กลายเป็นอีกวันหนึ่งในบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ไปรับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล จากการเสียชีวิตของ ในการชุมนุมทางการเมือง ปี 2553



มติชนออนไลน์ สัมภาษณ์   วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฏหมายอิสระ ถึงมุมมองในคดีนี้

 ดีเอสไอเรียก คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ไปรับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันฆ่าโดยเจตนา มองข้อหานี้อย่างไร

มองว่าเป็นเรื่องปกติที่จะแจ้งข้อหาแรงไว้ก่อน ฆ่าคนตายโดยเจตนาในฐานะเป็นผู้สั่งการให้ทหารดำเนินการ แต่ก็สงสัยว่าทำไมมีเพียงข้อหาเดียว น่าจะมีข้อหาอื่น แม้อาจจะไม่แรง แต่ก็อาจจะมีวิธีพิสูจน์ไม่ยากเท่าฆ่าคนตายโดยเจตนา  ซึ่งฆ่าคนตายโดยเจตนาโดยเป็นตัวการ ที่ใช้คำว่า เจตนาเล็งเห็นผลค่อนข้างจะยาก ที่จะพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่า คุณอภิสิทธิ์ และคุณสุเทพ รู้ เล็งเห็นผลได้แน่นอน ว่าทหารใช้กระสุนจริงต้องทำให้ประชาชนตายได้แน่นอน อันนี้เป็นเรื่องการพิสูจน์ในศาล

แต่ผมอยากเสนอว่า ดีเอสไอ น่าจะพิจารณาข้อหาอื่นด้วย เช่น มาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ หรือโดยทุจริต ตรงนี้ก็อาจจะยากอีกแบบเพราะต้องมีเจตนาพิเศษ แต่ถ้าคุณพิสูจน์ได้ว่า หน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายคือการใช้ความระมัดระวัง และคุณละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตรงนั้น เช่น การไปอนุญาตให้เขาใช้กระสุนจริง ถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ คุณควรจะมีหน้าที่บังคับบัญชาให้เขาใช้ความระมัดระวังหรือไม่

หรืออีกมาตรา คือ มาตรา 165 พนักงานเจ้าหน้าที่ไปขัดขวางป้องกันไม่ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งต้องตีความ การปฏิบัติตามกฎหมาย คือ การใช้ความระมัดระวังสมสัดส่วน ถ้ามีคนเสนอในที่ประชุมว่า คุณอภิสิทธิ์ คุณสุเทพ

กระสุนจริงน่าจะรุนแรงเกินไป แล้วคุณยังไปสั่งให้ใช้ ศาลก็ต้องตีความว่า นี่เหมือนกับเป็นการป้องกันไม่ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่ต้องเคารพสิทธิและความ เป็นอยู่ของประชาชนหรือเปล่า ซึ่งยังมีวิธีการตีความอีกมาก

บางคนอาจจะบอกว่า คุณอภิสิทธิ์ ไม่ใช่เจ้าพนักงานก็ได้ ก็ต้องไปเถียงต่อในศาล แต่ผมมองว่า โดยภาพรวมน่าจะมีหลายข้อหามากกว่านี้  เพราะถ้าคุณพิสูจน์เรื่องฆ่าคนตายไม่ได้ แปลว่าหลุดเลยหรือ มันก็แปลกไปหน่อย

คุณธาริต เพ็งดิษฐ์ (อธิบดีดีเอสไอ) เคยบอกว่า มีการต่อเนื่องของการตาย ควรจะสั่งหยุดได้แต่ไม่สั่ง จะเป็นข้อต่อสู้ในคดีหรือไม่

เป็นไปได้ คุณธาริต ตั้งคดีฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ความรุนแรงขนาดนั้นแล้วคุณยังไม่สั่งให้หยุดมันก็ผิด แต่คุณอภิสิทธิ์ก็อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน  การจะสั่งการอะไรดูไม่ง่าย ไม่เหมือนขับรถชนคน หรือขับรถเข้าไปในตลาดที่คนเยอะๆ แล้วทับคนตาย คุณอาจจะไม่ตั้งใจฆ่าใคร แต่เล็งเห็นได้ว่าเข้าไปแล้วชน แต่เวลานั้นมีปัจจัยเยอะ แล้วต้องไม่ลืมว่า พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน  มีมาตรา 17 ที่ระบุว่า เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ต้องรับผิดทางอาญาถ้าสุจริตไม่เลือกปฏิบัติ เท่าที่จำเป็น มีกฏหมายที่คุ้มกันเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินไว้อีก ชุดหนึ่ง ผมจึงเสนอว่า คุณธาริตจะตั้งฟ้องแบบนั้นก็ตั้งได้ แต่ทำไมไม่มองข้อหาอื่นด้วย ที่อาจจะพิสูจน์ได้ง่ายกว่า

ทำไมทหารที่เป็นผู้กระทำ ถึงไม่ถูกดำเนินคดี การเลือกแค่ คุณอภิสิทธิ์ กับคุณสุเทพ เป็นการหวังผลทางการเมืองมากกว่าหรือเปล่า

ผมก็สงสัยว่ารัฐบาล ยิ่งลักษณ์ จะเลือกแสดงจุดยืนอย่างไร ท่านพูดมาตลอดว่าจะเคารพประชาชน แต่ ณ วันนี้วัฒนธรรมที่ไม่แตะต้องกองทัพจะดำเนินการต่อไปหรือเปล่า  แน่นอนว่าทหารที่ปฏิบัติงานมีกฏหมายอาญาค้ำเอาไว้

ถ้าเชื่อว่าถูกสั่งมาและต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยสุจริตก็ไม่ต้องรับผิด แต่ที่น่าสนใจ  คือ ระดับผู้บัญชาการทหารที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจกับคุณอภิสิทธิ์ ถึงบอกว่าการที่จะไปบอกว่าเขาเจตนาฆ่าคนยาก แต่ผมเชื่อว่าคนที่

เป็นทหารมืออาชีพต้องรู้ดีว่า สถานการณ์แบบนั้นถ้าปล่อยให้ทหารใช้กระสุนจริง มันมีโอกาสจะทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตายหรือไม่ คุณอาจจะไม่ได้ตั้งใจให้เขาตาย อาจจะเอาผิดเรื่องฆ่าคนตายไม่ได้ แต่มองได้ว่าคุณละเว้น

การปฏิบัติหน้าที่โดยมีเจตนาเล็งเห็นได้ว่า คนอื่นจะเสียหาย หรือไปขัดขวางป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ใช้วิธีการที่เหมาะสมมากกว่านั้น  แต่กฎหมายอาญาข้อหนึ่งก็ระบุว่า คุณจะตีความกฏหมาย ตีความขยายความไม่ได้ ต้องตี

ความให้ชัดเจนและแคบ

เรื่องนี้อย่างน้อยก็เป็นนิมิตหมายที่ดีว่าอาจจะเป็นครั้งแรกในประวัติ ศาสตร์ไทย ที่จะเห็นศาลไทยเอาตัวผู้บังคับบัญชาระดับสูง เช่น คุณอภิสิทธิ์ หรือคุณสุเทพ มาดำเนินคดี ให้ท่านพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามกระบวนการ แต่ผมอยากให้รัฐบาลชุดนี้มีความชัดเจนว่า เวลาศาลเรียกไปแล้วทหารไม่มา หรือ ตำรวจ ดีเอสไอ ไปถามบอกว่าเป็นความลับ ท่านต้องมีท่าทีที่ชัดเจนเพราะประชาชนรอความจริงอยู่

นับจากที่คุณอภิสิทธิ์ คุณสุเทพ ไปรับทราบข้อกล่าวหาแล้ว คดีจะดำเนินไปอย่างไรต่อ

ผมคิดว่าคงจะเป็นไปตามปกติ มีการนัดพิจารณา รับทราบข้อกล่าวหาแล้ว คุณธาริตพูดชัดเจนไม่มีการขัง เพราะไม่คิดว่าจะหนี ศาลก็คงนัดพิจารณาต่อไป แต่ที่อยากขยายความ คำสั่งที่ศาลอาญาสั่งว่าตายด้วยฝีมือทหาร เรียกว่าคำสั่งวินิจฉัยการตาย กฎหมายเขียนชัดเจนว่าไม่ผูกพันคำพิพากษาว่าจะผิดหรือไม่ผิด หมายความว่าคุณอภิสิทธิ์ คุณสุเทพ ยังมีสิทธิ์จะพิสูจน์ว่า แม้จะตายโดยทหาร เขาอาจจะไม่ผิดก็ได้ โดยหาเหตุผลมาสู้ คำสั่งที่บอกว่าตายเพราะกระสุนปืนทหาร เป็นแค่ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ศาลสั่ง แต่ตรงนี้เป็นนัยยะสำคัญที่จะนำไปสู่การสู้คดีต่อไป

การตั้งข้อหาแรงไว้ก่อนจะกลายเป็นมุมกลับให้คุณอภิสิทธิ์ คุณสุเทพ หลุดคดีได้ง่ายขึ้นหรือเปล่า

ผมก็กังวลนิดหนึ่ง มีคนตั้งข้อสงสัยว่าหลอกประชาชนหรือเปล่า ตั้งข้อหาแรงๆ ไว้แต่รู้ว่าหลุดแน่นอน ผมคิดว่าคุณธาริตต้องชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจ ว่ามีข้อหาอื่น ต้องใช้กฎหมายในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายฟ้องไปเลย แล้วศาลอาญาจะตัดสินเองว่าเกินไปหรือเปล่า ตรงหรือเปล่า แต่หน้าที่คือต้องพยายามหาพยานหลักฐาน อาจจะหาว่าฆ่าคนตายไม่ได้ อย่างน้อยเรื่องหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายใช้ความระมัดระวัง ตรงนี้คุณธาริตและดีเอสไอต้องกลับไปพิจารณาใหม่

กระบวนการที่เดินไปแล้ว หากจะปรับข้อกล่าวหาใหม่ต้องเริ่มต้นใหม่เลยหรือเปล่า

ไม่ต้องทำใหม่ ถ้ามีพยานหลักฐาน สรุปสำนวนแล้วเห็นว่ามีข้อกล่าวหาที่ต้องแจ้งข้อหาเพิ่มก็ดำเนินการไป ดีเอสไอ ชำนาญเรื่องนี้อยู่แล้ว คำถามคือคุณมองเห็นหรือเปล่า หรือคุณอาจจะมองแล้วเห็นว่าฟ้องไม่ได้ ผมว่าคุณต้อง

พยายามฟ้องนิดหนึ่งเพราะนี่เป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจ และอย่าลืมว่า การตั้งข้อกล่าวหา ไม่ได้แปลว่า คุณตัดสินเขา คนที่จะตัดสินคุณอภิสิทธิ์ คุณสุเทพ ได้ คือ ศาล ศาลคือ ผู้ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม หน้าที่ของดีเอสไอ คือ พยายามเสาะหาวิธีตรวจสอบผู้ใช้อำนาจ ผมคิดว่า เรื่องนี้ไม่ต้องมองไปถึงการฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่แค่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ละเว้นใช้ความระมัดระวังตามที่กฎหมายกำหนดก็อาจจะผิดได้เหมือนกัน


กระบวนการกว่าจะรู้ผลนานไหมครับ

คดีในศาลไทยแล้วแต่ ยิ่งมีข้อเท็จจริงเยอะ มีพยานรู้เห็นเยอะ ต้องใช้เวลาในการนำสืบเยอะ ผมก็หวังอยากจะให้เร็วที่สุด และปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะต้องไม่ลืม ยังมีคดีและความตายที่หลายกรณีที่รออยู่ เชื่อว่าศาลอาญาเข้าใจตรงนี้ดี เพราะฉะนั้น ศาลคงไม่สามารถตัดสินให้เร็วได้ เพราะศาลรู้ว่าวางหลักอะไรไปอาจจะกระทบถึงคดีหลัง บอกว่าให้เร็วเกินไปหลุดง่ายๆ ก็เป็นปัญหาอีก ฉะนั้น อยากให้ทุกฝ่ายใช้เวลาให้เต็มที่ แต่อย่างน้อยสื่อมวลชนเมื่อไปสอบถามว่าฝ่ายไหนดำเนินการถึงไหน นัดแล้วทำไมต้องขอเลื่อน อันนี้ประชาชนต้องถาม สื่อต้องเข้าไปช่วยประชาชนตรวจสอบ แต่คดีนี้คงเป็นปี ไม่ใช่เร็วๆ นี้แน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น