แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

แอมเนสตี้ฯ ไทยชวนเขียนจดหมายถึงรัฐบาล-ขอให้ปล่อยตัว "สมยศ พฤกษาเกษมสุข"

ที่มา ประชาไท


แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดกิจกรรมเขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี-รมว.ยุติธรรม และ กสม. เรียกร้องปล่อยตัวและยกเลิกข้อกล่าวหาต่อ "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" ชี้เป็นนักโทษทางความคิด และไม่ควรมีรัฐไหนมากล่าวหาว่าการกระทำของสมยศเป็นความผิด
ตามที่เมื่อวันที่ 11 ม.ค. ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ส่งข้อความถึงสมาชิกทั่วโลกแสดงความกังวลว่า นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสารชาวไทยอาจถูกตัดสินลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม โดยคดีของเขาจะมีการพิพากษาในวันที่ 23 ม.ค.นี้
ทั้งนี้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ถือว่านายสมยศเป็นนักโทษทางความคิด (prisoner of conscience) ที่ถูกควบคุมตัวเพราะการใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบ
โดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ขอความร่วมมือจากสมาชิกให้ร่วมกันส่งจดหมายร้องเรียนถึงรัฐบาลไทยผ่านทาง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และสำเนาถึงนายประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีข้อเรียกร้องได้แก่ หนึ่ง ยกเลิกข้อกล่าวหาต่อนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และให้มีการปล่อยตัวโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข สอง จัดให้มีการเยียวยาชดเชยนายสมยศจากการถูกจองจำเป็นเวลาหลายเดือน และให้แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยที่มีต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง และให้พักการใช้กฎหมายมาตรานี้จนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมในลักษณะดังกล่าว
ล่าสุดเมื่อวานนี้ (18 ม.ค.) ที่สำนักงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดกิจกรรม "เขียนจดหมาย ลงลายเซ็นเพื่อปฏิบัติการด่วน: บรรณาธิการไทยเสี่ยงจะถูกตัดสินลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม" โดยเป็นการเขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอให้ปล่อยตัวนายสมยศดังกล่าว
โดย น.ส.สุธารี วรรณสิริ ผู้ประสานงานฝ่ายรณรงค์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่าในรอบประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ติดตามสถานการณ์เรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย และพบว่ามีการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่เป็นการใช้ทางการเมือง และใช้เพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน โดยในกรณีของนายสมยศ เรายืนยันว่า เราพิจารณาว่าเขาเป็นนักโทษทางความคิด ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ถูกคุมขัง ถูกจำกัดเสรีภาพทางร่างกาย เพราะการแสดงความเห็น หรือเพราะความเชื่อทางการเมือง ศาสนาของตน หรือเพราะมีชาติพันธุ์ เพศ หรือผิวต่างจากคนอื่นๆ ในสังคม
ส่วนข้อเรียกร้องหนึ่งที่ให้ยกเลิกข้อกล่าวหาต่อนายสมยศนั้น ถือว่าไม่ได้มีเจตนาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม หรือการทำงานของศาลใดๆ ทั้งสิ้น แต่การเรียกร้องให้ยกเลิกข้อกล่าวหาเนื่องจากเป็นการแสดงจุดยืนต่อการละเมิด สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นกับนายสมยศ ทั้งนี้นายสมยศ ไม่ได้ทำอะไรที่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย
"สิ่งที่ทำคือการใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบ ในการที่จะสื่อสารความคิดและความเชื่อของเขาเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่มีรัฐบาลไหน หรือควรไม่มีรัฐใดๆ ที่จะมากล่าวได้ว่าการกระทำในลักษณะนี้ของคุณสมยศเป็นการกระทำผิด"
ผู้ประสานงานฝ่ายรณรงค์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวด้วยว่าทั้งนี้ กรณีของ นายสมยศคือการทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ซึ่งเป็นการใช้เสรีภาพแสดงออกตามที่ระบุไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยให้สัตยาบรรณ เป็นภาคีสมาชิกซึ่งมีพันธะกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม
นอกจากนี้สิ่งที่ยังเป็นห่วงก็คือทางการไทยปฏิเสธคำขอประกันตัวของคุณสม ยศ พฤกษาเกษมสุข ทั้งหมดจนถึงตอนนี้ 12 ครั้งด้วยกัน โดยไม่ได้ให้เหตุผลอย่างเพียงพอ ทั้งที่มีข้อกำหนดตามมาตรา 40 (7) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 107 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าจะต้องจำกัดการควบคุมตัวระหว่างการรอไต่สวนให้เหลืออยู่ในเฉพาะกรณีที่จำ เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่เห็นว่ากรณีนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องออก มาแสดงท่าทีต่อการปกป้องสิทธิของนายสมยศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น