แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

"ฮุน เซน" วอน "ประชาธิปัตย์" อย่าโยงกัมพูชาเข้าเรื่องการเมืองไทย

ที่มา ประชาไท


สื่อกัมพูชาระบุนายกรัฐมนตรี "ฮุน เซน" วอนพรรคประชาธิปัตย์ไม่ควรโยงกัมพูชาเข้าสู่ความขัดแย้งการเมืองไทย พร้อมขอ "อภิสิทธิ์" ไปหาหลักฐานมาให้ได้ว่า "ทักษิณ" ทำให้ชายแดนขัดแย้งหวังแลกน้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติในที่ทับซ้อนทางทะเลอย่างไร - แถมแฉกลับว่ามีคนจากรัฐบาลสมัยอภิสิทธิ์เองที่มาเจรจา "หลังฉาก" กับกัมพูชาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล
ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งเมื่อวานนี้ (21 ม.ค.) ได้ขอร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และพรรคประชาธิปัตย์อย่าโยงเรื่องกัมพูชาเข้ากับความขัดแย้งภายในของการ เมืองไทย และเปิดเผยด้วยว่าสมัยรัฐบาลก่อนหน้านี้ มีการเจรจา "หลังฉาก" กับกัมพูชาในเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (ที่มา: วิกิพีเดีย/แฟ้มภาพ)
สำนักข่าวกัมพูชา (AKP) รายงานว่าเมื่อเช้าวานนี้ (21 ม.ค.) นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาได้ร้องขอต่อพรรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหนึ่งของไทยว่าไม่ควรโยงกัมพูชาเข้าสู่ความขัดแย้งภาย ในของไทย
"การเมืองของไทยเพิ่งถูกทำให้ร้อนเมื่อไม่นานมานี้ และข้อความที่เราต้องการส่งกลับ (ให้กับผู้นำพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ก็คืออย่าโยงกัมพูชาเข้าสู่ประเด็นกิจการภายในของไทย" นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าว ระหว่างพิธีมอบโฉนดให้กับ 1,298 ครัวเรือนที่อำเภอเสียมบก จังหวัดสรึงเตรง
ทั้งนี้ฮุน เซนระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มเสื้อเหลืองของไทยมักจะโยงกัมพูชาเข้ากับการเมืองภายในของไทย โดยการกล่าวหาอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ทักษิณ ชินวัตร ว่ามีผลประโยชน์ส่วนตัวอันลึกลับกับกัมพูชาโดยมีการเจรจาในเรื่องการอ้าง สิทธิเหนือพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (OCA)
"พวกเขากล่าวหาทักษิณ ชินวัตรว่ายอมให้มีความตึงเครียดบริเวณเขตแดนทางบกระหว่างกัมพูชาและไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านปราสาทพระวิหาร เพื่อแลกกับน้ำมันและก๊าซในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ฮุน เซน กล่าว และขอให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงหลักฐาน
"ถ้าคุณ (อภิสิทธิ์) ไม่สามารถหาหลักฐานได้ แปลว่าคุณโกงประชาชนไทย 60 ล้านคน และประชาชนกัมพูชา 14 ล้านคน" เขากล่าว
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ยังเปิกเผยการเจรจากับรัฐบาลสมัยนายอภิสิทธิ์ ในเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งรวมทั้งการหารือระหว่างฮุน เซน และอดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทย สุเทพ เทือกสุบรรณ และอดีตนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในเดือนมิถุนายนปี 2552 ที่จังหวัดก็อณฏาล ของกัมพูชา นอกจากนี้ฮุน เซน ยังอ้างว่ามีการเจรจาแบบ "หลังฉาก" ระหว่างนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรักษาคณะรัฐมนตรีกัมพูชา กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ฮ่องกง ในเดือนสิงหาคมปี 2552 และที่คุนหมิงของจีนในเดือนกรกฎาคมปี 2553 แม้ว่าในเวลานั้นคณะกรรมการร่วมชายแดนไทย-กัมพูชา จะไม่มีการหารืออย่างเป็นทางการก็ตาม
เอกสารขององค์การปิโตรเลียมแห่งชาติ กัมพูชา ที่คณะรัฐมนตรีกัมพูชามีการเผยแพร่เมื่อวานนี้ (21 ม.ค. 56) ลงวันที่ 11 ส.ค. 54 หลังการเลือกตั้งทั่วไปของไทย โดยมีการระบุว่าในสมัยรัฐบาลไทยชุดก่อน เคยมีการหารือลับกับฝ่ายกัมพูชาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล และตั้งคำถามว่าเหตุใดรัฐบาลชุดก่อนต้องหารือลับ ประชาชนไทยละ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ในสภาตระหนักในเรื่องนี้หรือไม่ และที่ต้องออกมาเปิดเผยเรื่องนี้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกัมพูชา (ที่มา: สำนักข่าวกัมพูชา)
นอกจากนี้ สำนักข่าวกัมพูชา (AKP) ยังเผยแพร่เอกสารของคณะรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งมีการเผยแพร่เมื่อบ่ายวานนี้ โดยมีเนื้อหาเป็นคำแถลงขององค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา (CPNA) ต่อการเจรจาเรื่องการอ้างสิทธิพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างกัมพูชาและไทย ลงวันที่ 11 สิงหาคมปี 2554 โดยมีการอ้างว่า มีเคยการหารือลับระหว่างรัฐบาลกัมพูชา และรัฐบาลไทยชุดก่อนที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ โดยในคำแถลงมีการกล่าวหารัฐบาลไทยชุดก่อนว่า "ทางกัมพูชาของถามว่าเหตุใดภายใต้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะต้องมีการหารือลับ? ประชาชนไทยหรือ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ในรัฐสภาได้ตระหนักในเรื่องการหารือลับในสมัยของนาย อภิสิทธิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ปัจจุบันเป็นผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งมักจะประกาศจุดยืนแข็งขันในการสนับสนุนความโปร่งใส หรือไม่? ที่แย่กว่านั้นนายอภิสิทธิ์ยังคงเดินหน้ากล่าวหาทักษิณ ชินวัตร ซึ่งทำงานอย่างเปิดเผยในกัมพูชา ว่ามีผลประโยชน์ลับกับกัมพูชา มากไปกว่านั้น นายอภิสิทธิ์ยังพยายามทำลายการเจรจาใดๆ ก็ตามระหว่างรัฐบาลกัมพูชา และรัฐบาลไทยที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่"
"ทางกัมพูชาจำต้องเปิดเผยความลับนี้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกัมพูชา และทักษิณ ชินวัตร ต่อข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลที่เกิดขึ้นในสมัยประชาธิปัตย์" เอกสารที่ถูกเผยแพร่โดยคณะรัฐมนตรีกัมพูชาระบุ ในท้ายคำแถลงยังระบุว่า "อย่างไรก็ตาม รัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชายินดีที่จะกลับคืนสู่การเจรจาอย่างเปิดเผยและเป็น ทางการในประเด็นนี้ และจะชักชวนฝ่ายไทยให้มีการหารือดังกล่าวเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถปฏิบัติ ได้เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชนและประเทศทั้งสอง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น