แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ความเหมือนที่แตกต่างไทย? ศาสนจักร?

ที่มา ประชาไท


คงจะมีความหวังกว่านี้ ถ้าชนชั้นปกครองจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของรัฐอื่นๆ จะได้พบว่า จุดจบของความดื้อดึงมีแนวโน้มจะเป็นเช่นไร

เกริ่นนำ
เริ่มต้นด้วยความพยายามที่จะเทียบเคียงไทย กับศาสนจักร เพื่อให้นึกภาพรัฐศาสนาหรือศิลปะในศาสนาชัดเจนขึ้น มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเข้าฉายในประเทศไทย คือ “รหัสลับ ดาวินชี” (2006) เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนขายดีของ แดน บราวน์  เนื้อหาได้อ้างถึง งานศิลปะหลังยุคมืด หรือที่ หลายคนเรียกว่ายุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) บราวน์ชวนให้เรารู้จักภาพวาดสำคัญที่สุดภาพหนึ่งของชาวคริสต์ คือ “ภาพงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย” (The Last Supper) แน่นอน วาดโดย ดาวินชี (Da vinci) อัจฉริยศิลปิน ผู้ซึ่งบราวน์ชวนให้เราเชื่อว่า ดาวินชีจะทำสัญลักษณ์บางอย่างลงไปที่รูปวาดของเขาเพื่อสื่อความหมายเร้นลับ บางอย่าง น่าสนใจกว่านั้น  บราวน์เสนอผ่านตัวเอกของเรื่อง เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การกดขี่เสรีภาพที่กระทำผ่านการฆ่าในนามพระเจ้าและ การทำลายงานศิลปะของศาสนจักร (Chruch,Ecclesia) แน่นอน เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับอำนาจและการเมืองอย่างไม่ต้องสงสัย บราวน์ตั้งใจเขียนให้ผู้อ่านเกิดความสงสัยในประวัติศาสตร์กระแสหลักหลายๆ ประเด็น เฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์แบบที่ครอบงำชาวคริสต์หลายคน (ที่จริงไม่เฉพาะแต่หลายคน แต่ถึงกับบางรัฐในสหรัฐอเมริกา !) แรงปฏิกิริยาของศาสนจักรต่อเรื่องนี้ คือ ยื่นฟ้องบราวน์ โทษฐานเขียนเรื่องเท็จ ? น่าสนใจว่า ทำไมผู้ถืออำนาจของศาสนจักร (Authority,Magisterium) จึงทำเช่นนั้นในยุคนี้?
เนื้อหา
ทั้งๆที่พ้นจากยุคมืดไปแล้วศาสนจักรค่อยๆ หมดอำนาจในการบังคับเจ้าผู้ปกครองรัฐ แม้กระนั้น สิ่งที่ยุคมืดฝากไว้ยังสร้างความหวาดหวั่นให้กับผู้คนในสังคมนานนับร้อยปี เป็นต้น ความหวาดกลัวลัทธิล่าแม่มด การเผาตำราทางวิทยาศาสตร์ หรืออะไรก็ตามที่ตั้งคำถามกับรัฐศาสนา มีก็แต่ชนชั้นสูงหรือผู้ที่อาศัยบารมีของชนชั้นสูงเท่านั้น(กลุ่มอำนาจใหม่ เช่น เยอรมัน) ที่พอจะปกป้องตัวเองจากกลุ่มอำนาจเก่าได้ ซึ่งเรื่องราวที่คล้ายๆ กันกับนวนิยายของบราวน์แสดงตัวตนจริงว่ามันเคยมีอยู่ในประวัติศาสตร์การสัง คายวาติกัน ครั้งที่ 2 (Vatican Council II) เราได้เห็นกลุ่มอำนาจเก่าที่เกิดร่วมสมัยกับเรา ในศตวรรษที่ 20 นี้ แสดงความกล้าหาญและบ้าคลั่งมากพอที่จะปกป้องอำนาจในการควบคุมของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนักเทววิทยาหัวก้าว หน้า การบังคับให้ใช้ภาษาลาตินเท่านั้นในการสื่อสาร แต่จุดสูงสุดของเหตุการณ์อยู่ที่ “วันพฤหัสบดีสีดำ” (Black Thursday-1964) เพราะวันนั้นเป็นอะไรที่จำเป็นต้องแตกหัก เนื่องจากมีการเสนอญัตติให้ออกเอกสารในนามสภาสังคายนาว่าด้วยเรื่อง “เสรีภาพในการนับถือศาสนา” (Dignitatis Humanae-1965)
ทั้งๆที การให้ความหมายคำว่า “เสรีภาพ” ถูกพัฒนาไปนานแล้ว จากนักคิดสำคัญๆ เช่น Hobbes หรือ Locke แต่สำหรับศาสนจักร แม้กระทั่งในศตวรรษที่ 20 (หรือ 21 ก็ตาม) คำนี้ก็ยังใหม่ ! น่าสนใจตรงที่ ประเทศไทยแม้ไม่ใช่รัฐศาสนาโดยตรงตามทฤษฎี แต่ดูเหมือนจะมีความพยายามผลิตความเป็นรัฐศาสนาให้ได้ และนั่นทำให้เหตุการณ์ปี 1964 อาจเกี่ยวข้องกับประเทศไทยได้ กล่าวคือ “เสรีภาพ” ซึ่งมีผู้พัฒนาล่วงหน้าไปก่อนแล้วในโลกกลับยังเป็นที่น่าสงสัยสำหรับชนชั้น ปกครองในประเทศไทย? สำคัญกว่านั้นเสรีภาพเป็นอะไรที่น่าหวาดกลัวสำหรับชนชั้นใต้ปกครองด้วย? และเรื่องราวเกือบจะตรงกันเมื่อมีนักคิดหัวก้าวหน้าในประเทศเรียกร้องให้ออก ข้อตกลงหรือกฎหมายบางอย่างที่สนับสนุนเสรีภาพภายในรัฐของตน แต่นั่นเองก็ทำให้เกิดวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) มากมายในอันที่จะยับยั้งเรื่องนี้
กลับมาที่ศิลปะ ในสถานะเดียวกับ ศาสนจักร ไทยอาจจะลำบากกว่าด้วยซ้ำเกี่ยวกับเสรีภาพ เพราะศาสนจักรในศตวรรษที่ 21 ยอมรับพอสมควร (เรียกว่าไม่มีประโยชน์ที่จะเคลื่อนไหวก็ได้) อย่างน้อย งานศิลปะที่ดูแล้วเกิดความหมิ่นเหม่ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นหรือไม่  เช่น งานของ David LaChapelle ซึ่งจัดวางพระเยซูในฐานะองค์ประธานของงานเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายท่ามกลาง วัยรุ่นติดยา?  แต่ศาสนจักรเองไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เสรีภาพที่ถูกปลดปล่อยนั้นอาจเป็นประโยชน์กับศาสนจักรมากกว่า และการทำทีเป็นยอมให้มีเสรีภาพก็ไม่เสียหายอะไร แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะมีงานศิลปะเชิงปลดแอกอีกหลายชิ้น นี่เป็นการยืนยันว่า พระเจ้าตายแล้วจริงๆ แต่ถ้าศาสนจักรจัดแจงเผาทุกสิ่งอย่างที่ขัดต่อนโยบายของตัวเอง คงไม่มีอะไรใหม่ และนั่นอาจเป็นการล่มสลายของรัฐที่ไม่มีอะไรเลย
กลับมาที่ประเทศไทย เรายอมให้มีความสร้างสรรค์แบบนั้นในงานศิลปะหรือไม่? หรือศิลปะต้องรับใช้ศาสนาและสิ่งสูงสุดของสังคมเสมอในลักษณะเดียวกับยุคกลาง ? แม้ว่า รัฐศาสนาไทยจะยังไม่พร้อมพอๆ กับศาสนจักรในอันที่จะทำทีเป็นยอมรับงานเขียนของพวกหัวก้าวหน้าได้ อย่างไรก็ตาม ศาสนจักรได้นำหน้าเราไปแล้วทั้งๆ ที่เก่าแก่กว่าด้วยเรื่อง “การทำเป็นยอมให้มีเสรีภาพ”  เพราะถ้ายิ่งต่อต้านก็อาจจะสูญเสียผลประโยชน์จากความศรัทธายิ่งขึ้น ที่จริง ศาสนจักรเองรู้อยู่แก่ใจในประวัติศาสตร์ของตนและฉลาดพอที่จะไม่ทำผิดซ้ำรอย โดยการแสดงว่า ฉันมีอำนาจอิทธิฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ล้นฟ้าล้นแผ่นดิน (เล่นบทบาทผู้ยอม) แต่นั่นอาจทำให้เราพอมองเห็นแล้วว่า ทำไม “ศิลปะแห่งการควบคุมในประเทศไทย” จึงยังเจริญรุ่งเรืองอยู่จนถึงทุกวันนี้?
บทส่งท้าย
ความดื้อดึงของใครสักคนอาจทำลายทุกอย่าง จะดำเนินต่อไปอย่างสร้างสรรค์ให้กลายเป็น ประวัติศาสตร์ที่อยากจะลืมมากที่สุด การลิดรอนเสรีภาพในงานศิลปะเป็นเครื่องหมายที่ชัดเจนหนึ่ง เราทราบกันดีว่าในประเทศของเรา เราจะทำงานศิลปะอะไรได้บ้าง และห้ามทำงานศิลปะอะไรบ้าง คงจะมีความหวังกว่านี้ ถ้าชนชั้นปกครองจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของรัฐอื่นๆ จะได้พบว่า จุดจบของความดื้อดึงมีแนวโน้มจะเป็นเช่นไร และที่สำคัญไปกว่านั้น แรงปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากการถูกกดขี่ทางเสรีภาพมาเป็นระยะเวลานานจะน่า กลัวเพียงใด? และการทำเป็นยอมบ้างไม่น่าจะส่งผลร้ายแรงอะไรเมื่อเทียบกับอนาคตของการปลด ปล่อยแบบลุกฮือขึ้นมาอย่างน่าสะพรึงกลัว!

เพื่อความสะดวกในการสืบค้น
http://en.wikipedia.org/wiki/Second_Vatican_Council
http://en.wikipedia.org/wiki/Dignitatis_Humanae

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น