แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ศาลเริ่มสืบพยานคดี 'จอนและเพื่อน' ปีนสภาต้านกฎหมาย สนช.

ที่มา ประชาไท


ศาลอาญากำหนดสืบพยานคดีปีนรั้วรัฐสภาเหตุจำเลย 10 คน ร่วมกับประชาชนคัดค้าน สนช ที่ออกกฎหมายกระทบสิทธิประชาชน ผลพวงการรัฐประหารปี 2549
21 มกราคม 2556 รายงานข่าวจากนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนแจ้งว่า ศาลอาญากำหนดสืบพยานคดีหมายเลข ดำที่ อ. 4383/2553 ระหว่าง พนักงานอัยการโจทก์ นายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน  เป็นจำเลยกรณีปีนรั้วรัฐสภาเข้าไปนั่งชุมนุมบริเวณหน้าห้องประชุมภายใน อาคารรัฐสภา เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่กระทบสิทธิเสรีภาพ ประชาชน นัดพิจารณาวันที่ 22 มกราคม 2556 เวลา 09.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดี 801 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก
ศาลอาญานัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย รวม  27 นัด  เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม  ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2556[1]  โดยการสืบพยานโจทก์นัดแรก  โจทก์จะนำพยานที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในวันเกิดเหตุ เข้าเบิกความต่อศาล  ส่วนการสืบพยานของจำเลยจะมีการนำนักวิชาการจากหลายสถาบันมาให้ข้อมูลหลัก การใช้สิทธิของประชาชาชนในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านการชุมนุมโดยสงบ เปิดเผย และปราศจากอาวุธ  โดยจะให้ความเห็นเรื่องความชอบธรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการปฏิบัติหน้าที่ช่วงก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550
 
คดีนี้มีการสืบพยานโจทก์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งมีการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553  ในการดำเนินกระบวนพิจารณา มีการโต้แย้งกันในศาลระหว่างจำเลย ทนายความจำเลย กับพนักงานอัยการและศาล ซึ่งเป็นกลไกในกระบวนการยุติธรรมอย่างเข้มข้น  จนเป็นที่สนใจติดตามจากกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน และผู้สนใจเข้ารับฟังการพิจารณาคดี ทั้งในและต่างประเทศ  ซึ่งในการพิจารณาคดีในครั้งนี้มีแนวโน้มว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมฟังการ พิจารณาและสังเกตการณ์คดีจำนวนมาก   เพราะเห็นความสำคัญของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามมาตรา 63  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ที่บัญญัติคุ้มครองไว้  อีกทั้งยังเป็นการใช้สิทธิพลเมืองในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ  ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 21 และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า ระหว่างจำเลยที่อ้างว่า การกระทำของตนและประชาชนได้กระทำไปด้วยความสุจริตและยึดมั่นต่อการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตย  และห่วงใยในผลที่จะเกิดขึ้นกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการพิจารณากฎหมาย ของ สนช.  กับข้อกล่าวหาของโจทก์ที่อ้างว่า การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการยุยงให้ประชาชนล้มล้างกฎหมายบ้านเมือง  บุกรุก  ก่อให้เกิดความวุ่นวาย  อันเป็นการกระทำที่กฎหมายบ้านเมืองกำหนดว่าเป็นความผิดนั้น  ศาลซึ่งเป็นกลไกสำคัญในกระบวนการยุติธรรม จะพิจารณาชั่งนำหนักพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายอย่างไร  และจะใช้เหตุผลและหลักคิดในการปรับบทกฎหมายและรัฐธรรมนูญในการทำคำพิพากษา แสดงผลการตัดสินออกมาในลักษณะใด      
 
ทั้งนี้รายละเอียดข้อมูลคดีติดตามย้อนหลังได้ที่  http://www.naksit.org/2012-02-03-08-40-11/2012-02-03-09-22-49/45-2012-02-23-09-24-40/231--10-.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น