แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

จำได้ไหม! "ใครรื้อเมืองเก่า รากเหง้า เยาวราช"

ที่มา go6tv



อย่าบอกว่าไม่รู้จัก "เยาวราช" !!!
เพราะที่นี่คือแหล่งรวมวัฒนธรรมคนจีนในสยามประเทศที่ชัดเจนที่สุด เป็นถนนที่มีเอกลักษณ์ที่สุดสายหนึ่ง

ไม่ ว่าจะเป็นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณี ผสานอยู่ในพื้นที่เดียวกันบนถนนเส้นนี้ เช่น ชุมชนเวิ้งนาครเขษม ที่มีชื่อเสียงในด้านเครื่องดนตรี, ชุมชนเจริญไชย โดดเด่นเรื่องย่านการค้าของเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามประเพณีชาวจีน ฯลฯ

แต่ ในสภาพการณ์ปัจจุบัน ชุมชนเหล่านี้กำลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ที่เปลี่ยนให้เป็นเขต "พ.3" หรือพาณิชยกรรม เหตุผลจากการสร้างรถไฟฟ้าผ่านพื้นที่ดังกล่าว ทำให้มีความวิตกกังวลว่า วิถีชีวิตของชาวเยาวราช ทั้งความเป็นย่านอารยธรรมจีนจะถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป จนขาดเสน่ห์ของความเป็นเยาวราช
ดังนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงได้จัดสัมมนาเรื่อง "รื้อเมืองเก่า รากเหง้า เราจะอยู่ไหน?" เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่กำลังเกิดขึ้นนี้
ในงานดังกล่าว มีนักวิชาการ ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนเข้าร่วมงานจำนวนทั้งสิ้น 150 คน

การเสวนาเริ่มต้นโดย ปริญญา ศิริสารการ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว ถึงเหตุผลในการจัดงานครั้งนี้ว่า เนื่องจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับร้องเรียนจากชาวบ้านในชุมชน รอบเยาวราชและทราบจากนักวิชาการว่า สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร จะประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตพาณิชยกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพราะมีแนวโน้มที่อาจมีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ได้

คณะอนุกรรมการ ปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จึงได้จัดงานเสวนา "รื้อเมืองเก่า รากเหง้า เราจะอยู่ตรงไหน" ขึ้น เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งนักวิชาการอย่างรอบด้าน และนำไปเป็นข้อเสนอแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องในอนาคต

"การอนุรักษ์ พื้นที่ต่างๆ นั้น ไม่ควรมองแต่เพียงโบราณสถานนั้นอย่างเดียว แต่ควรมององค์ประกอบทั้งหมดที่ทำให้สิ่งนั้นมีค่าด้วย เพราะหากว่าเราพูดถึงวัด เราก็ไม่สามารถพูดถึงโบสถ์อย่างเดียวได้ แต่ยังมีลานวัด หรืออื่นๆ เพื่อประกอบกันเป็นโบสถ์ด้วย" กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเปิดการเสวนา



ด้าน ยงธนิศร์ พิมลเสถียร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอทางออกในทางวิชาการให้กับชุมชนเจริญไชย และชุมชนเวิ้งนาครเขษม สองชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว

ยง ธนิศร์บอกว่า ปัจจุบันการอนุรักษ์ในประเทศไทยมักมีลักษณะอนุรักษ์หรือขึ้นทะเบียนโบราณ สถานเท่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับส่วนของเอกชน ทั้งๆ ที่อาคารหลายแห่งของเอกชนมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก มักจะรอให้รัฐบาลเป็นผู้เข้าแทรกแซงและไม่ได้สนใจถึงความสำคัญของสาธารณะ นอกจากนี้ การจะขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน กลับมีความเคร่งครัดมาก จึงทำได้ยาก นอกจากนี้การประกาศพื้นที่อนุรักษ์ของผังเมืองรวมครอบคลุมพื้นที่มากเกินไป ส่งผลให้ต้องควบคุมการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวมาก นำมาซึ่งปัญหากับประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการการพัฒนา และเป็นปัญหาพิพาทในหลายๆ ครั้ง

"กรณี ศึกษาการประกาศพื้นที่อนุรักษ์ในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ทั้งสามประเทศนั้นสามารถทำได้ง่ายและส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่น้อย เนื่องจากการประกาศพื้นที่อนุรักษ์ในต่างประเทศนั้นจะมีการเจรจาเป็นราย บุคคล และเป็นการประกาศพื้นที่ขนาดเล็ก เจาะจงเฉพาะอาคารที่ควรได้รับการขึ้นทะเบียนจริงๆ และประชาชนผู้อยู่อาศัยในพื้นที่จะมีสิทธิเพียงแค่อยู่อาศัย เป็นเจ้าของเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิจะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงพื้นที่อนุรักษ์ได้" อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สำนักท่าพระจันทร์ กล่าว

จากมุมมองนักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ มาถึงมุมมองของผู้ทำงานด้านการอนุรักษ์อย่างกรมศิลปากร

ธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ให้ ข้อมูลว่า การใช้พระราชบัญญัติโบราณสถานนั้น กรมศิลปากรจะใช้เนื้อหาทางวิชาการเป็นตัวตั้ง และเข้าตรวจสอบว่าอาคารไหนเข้าเกณฑ์เป็นโบราณสถาน นอกจากนี้ ยังต้องเคารพเสียงจากประชาชนในชุมชนด้วย ว่าเห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนหรือไม่ ซึ่งหลายครั้งที่กรมศิลปากรไม่อาจประกาศหรือขึ้นทะเบียนได้ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ไม่ต้องการให้ชุมชนเป็นเขตโบราณสถานนั่นเอง 

ชาวชุมชนเจริญไชยยื่นหนังสือคัดค้านผังเมืองใหม่


และจากการประเมินของกรมศิลปากร ผลลัพธ์มีว่า
"ใน ส่วนของการประเมินอาคารในชุมชนเวิ้งนาครเขษมและชุมชนเจริญไชยนั้น พบว่าบ้านที่จะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานได้นั้นมีไม่มาก เนื่องจากได้ผ่านการดัดแปลง หรือต่อเติมเพิ่มไปแล้ว ทางกรมศิลปากรได้ตรวจสอบอาคารและแบ่งแยกสมัยของอาคารผ่านแผนที่และรูปถ่ายใน อดีต กรณีของเวิ้งนาครเขษมนั้นพบว่าอาคารที่ไม่ได้รับการต่อเติมเลยนั้นมีอยู่ เพียงแค่ 11 หลัง ขณะที่ชุมชนเจริญไชยเองอยู่ในขั้นตรวจสอบ ทำให้ถ้าหากทั้งสองชุมชนต้องการใช้พระราชบัญญัติเข้ามาคุ้มครองพื้นที่ดัง กล่าว ก็อาจคุ้มครองได้เฉพาะอาคารบางหลังเท่านั้น ไม่ได้ทั้งหมด" ธราพงศ์กล่าว 

อีกหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการใหญ่ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชนเก่าในครั้งนี้ คือ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.)

ชูขวัญ นิลศิริ หัวหน้าฝ่ายวางผังพัฒนาพื้นที่ตอนกลาง กองวางผังพัฒนาเมือง สำนักผังเมือง กทม. เน้น ย้ำว่า กรณีที่ชุมชนเยาวราชยื่นข้อเรียกร้องมานั้น ทางสำนักผังเมืองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ในวัตถุประสงค์ของการจัดทำผังเมืองรวมก็คำนึงถึงการส่งเสริมความเป็น เอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานครเช่นกัน 

พร้อม กันนี้ได้เผยถึงสิ่งที่ทำให้ "เยาวราช" เปลี่ยนไปว่า ในอดีตพื้นที่เยาวราชถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สีแดงอยู่แล้ว ตั้งแต่ปี 2535 แต่ที่มีปัญหาเนื่องจากมีการสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีน้ำเงินผ่านย่าน เยาวราช ทำให้กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ได้เข้าครอบครองพื้นที่บริเวณรถไฟฟ้าไว้ ทั้งนี้ ผังเมืองฉบับใหม่ก็ได้กำหนดเขตพิเศษรอบสถานี 500 เมตร ในการรักษาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า เช่น ขนาดที่เกิน 5,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) ขึ้นไปจะต้องอยู่ติดถนน 12 เมตร พาณิชยกรรมที่เกิน 10,000 ตร.ม.ขึ้นไปต้องอยู่ติดถนน 30 เมตร แต่ในระยะพิเศษ 500 เมตรรอบสถานีรถไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องคำนึงตามข้อกำหนดนี้ เนื่องจากเห็นศักยภาพที่พัฒนาได้

ด้าน เจมส์ สเต็นท์ ประธานโครงการพิทักษ์มรดกสยาม ได้ยกเอาตัวอย่างจากเมืองซานฟรานซิสโก เมืองที่นายเจมส์ได้ถือกำเนิดขึ้นมาพูดถึงเป็นข้อเปรียบเทียบ

ประธาน โครงการพิทักษ์มรดกสยาม บอกว่า ในอดีตชุมชนในเมืองซานฟรานซิสโกได้มีความต้องการให้เป็นเมืองอนุรักษ์เช่น กัน จึงได้สร้างกระแสสังคมมาต่อต้าน ไม่รอรัฐบาล มีการทำประชาพิจารณ์ของคนในชุมชน และเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาด้วย เป็นการถ่วงดุลกัน ทำให้อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวในซานฟรานซิสโกรายได้ดี โดยดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว 

"หาก ชุมชนทั้งสองต้องการจะให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์จริงก็สามารถทำได้ การจะได้รับคุ้มครองจำเป็นต้องแสดงจุดประสงค์การอนุรักษ์ที่แท้จริง ต้องมีวิสัยทัศน์ว่าทำเพื่ออะไร อยากเห็นชุมชนเป็นอย่างไรในอนาคต อยู่ที่กระแสสังคมเป็นปัจจัยหลัก" เจมส์กล่าว

ขณะ เดียวกัน ชาวชุมชนเจริญไชยซึ่งกำลังจะได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินและวิถีชีวิต นั้น นอกจากจะได้ยื่นหนังสือคัดค้านการผังเมือง โดยขอให้ยกเลิกกำหนดพื้นที่ในเขตป้อมปราบฯและเขตสัมพันธวงศ์ เป็นพื้นที่ พ.3 เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ต่อเนื่องมาจากเกาะรัตนโกสินทร์ มีอาคารเก่าแก่จำนวนมากมีถนนเจริญกรุงอายุกว่า 150 ปี จึงควรเป็นพื้นที่อนุรักษ์

และ คัดค้านบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้า 500 เมตร ที่ระบุว่า สามารถสร้างอาคารขนาดใหญ่ได้ถึง 10,000 ตร.ม.ขึ้นไป เพราะเสี่ยงต่อพื้นที่ในย่านประวัติศาสตร์อาจถูกแทนที่ด้วยอาคารใหญ่ได้ใน อนาคต

ทั้ง นี้ พื้นที่อนุรักษ์เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครในเขตพระนครนั้น ผู้อยู่อาศัยจะไม่สามารถต่อเติมอาคารได้ เว้นแต่กิจการบางประเภทตามกฎกระทรวง หรือสถานศึกษา ทำให้ไม่สามารถมีอาคารสูงเพื่อเหตุผลทางธุรกิจได้ ขณะที่เขตพาณิชยกรรมนั้น ข้อกำหนดการใช้ที่ดินจะแตกต่างกันไปโดยมีอัตราส่วนพื้นที่ว่างต่ออาคาร หรืออนุญาตให้มีอาคารสูงได้ เป็นเหตุให้หากชุมชนในย่านเยาวราชต้องการที่จะเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวให้ เป็นย่านอนุรักษ์แล้ว จะไม่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้ นอกจากจะประกาศเป็นอาคารหรือเฉพาะส่วนเท่านั้น

เมื่อชาวชุมชนเองก็ต้องการให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่อนุรักษ์ หากแต่สภาพสังคมได้เปลี่ยนไปจากเดิมมากแล้ว

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะคิดหาวิธีแก้เพื่อให้สามารถพัฒนาอย่างยั่งยืน


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346395859&grpid=03&catid=03

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น