แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

'อวัตถุศึกษา' กับ 'อธิป': คำปราศรัย ‘มาร์ติน ลูเธอร์ คิง’ มีลิขสิทธิ์ -เว็บฝากไฟล์ฆ่าไม่ตาย

ที่มา ประชาไท




Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิด เสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก

15-01-2013

งานบันทึกเสียงเพลง Love Me Do ของ The Beatles จัดเป็น "ทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ" (Public Domain) แล้วในอังกฤษ


ที่มาภาพ: Library Congress
สืบเนื่องจากซิงเกิลแรกของ The Beatles ซิงเกิลนี้ออกสู่สาธารณะเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ตุลาคมปี 1962 (จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Love_me_do) และกฏหมายอังกฤษนั้นคุ้มครองลิขสิทธิ์งานบันทึกเสียงเป็นเวลา 50 ปี ภายนับจากสิ้นปีที่มันออกสู่สาธารณะครั้งแรก ดังนั้นเพลงนี้จึงจัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะในอังกฤษแล้วตั้งแต่ 1 มกราคม 2013
ทั้งนี้ อังกฤษก็มีนโยบายจะขยายการคุ้มครองลิขสิทธิ์เพิ่มอีก 20 ปีตามข้อตกลงในกลุ่มประเทศ EU ในปีที่แล้วเพียงแต่ยังไม่มีการออกกฏหมายเพื่อขยายการคุ้มครองลิขสิทธิ์ออก มา
ป.ล. ในกรณีของไทย งานบันทึกเสียงชิ้นนี้ถือเป็น "ทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ" ไปแล้วตั้งแต่ 5 ตุลาคม 2012 เพราะกฏหมายลิขสิทธิ์ไทยเริ่มนับถอยหลังการหมดลิขสิทธิ์งานบันทึกเสียง ตั้งแต่วันที่มันออกสู่สาธารณะ ไม่ใช่นับจากสิ้นปีแรกที่มันออกสู่สาธารณะไม่ได้ (จะนับสิ้นปีในกรณีที่หาวันออกสู่สาธารณะไม่ได้)
News Source: http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130114lovemedo

นโยบายเตือนการละเมิดลิขสิทธิของ Verizon ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในอเมริกา

จากบันทึกที่หลุดมาทางเว็บ Torrentfreak ระบุว่าระบบแจ้งเตือนการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต แห่งหนึ่งในอเมริกาเป็นดังนี้
ละเมิด 1-2 ครั้ง: แจ้งเตือนการละเมิดผ่านอีเมลล์ และวอยซ์เมลล์
ละเมิด 3-4 ครั้ง: ผู้ใช้จะถูกนำกลับไปหน้าเพจต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ และถูกบังคับใหู้ดูวีดีโอต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์
ละเมิด 5-6 ครั้ง: ผู้ใช้ต้องเลือกระหว่างการลดความเร็วอินเทอร์เน็ตเหลือ 256 kbps ทันที หรือ ลดความเร็วในอีก 14 วัน หรือ จ่าย 35$ ให้กับ American Arbitration Association เพื่อทบทวนว่าการแจ้งเตือนทั้งหมดมีมูลหรือไม่ ซึ่งจะให้เงินคืนถ้าการแจ้งเตือนไม่มีมูล
ละเมิด 7 ครั้งขึ้นไป: อาจมีการส่ง IP ไปให้เจ้าของลิขสิทธิ์
ทั้งนี้นโยบายการปราบปรามละเมิดลิขสิทธิ์คล้ายคลึงกันมีอยู่ในหลายๆ ประเทศและถูกขนานนามว่า "Three Strikes" ตามลักษณะทั่วไปของนโยบายแบบนี้ที่ให้มีการเตือน 3 ครั้งก่อนที่จะมีการตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือดำเนินคดีในการละเมิด ครั้งที่ 4
News Source: http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130114verizon

นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเธิร์นชี้รายได้จากการขายงานบันทึกเสียงคิดเป็นเพียง 6% ของรายได้เฉลี่ยนักดนตรี

ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ดิโคลา จากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเธิร์นชี้จากงานวิจัยที่กำลังจะตีพิมพ์ของเขา (ดาวน์โหลดได้ที่ http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2199058 ) ว่าโดยเฉลี่ยแล้วจากขายงานบันทึกเสียงคิดเป็นเพียงร้อยละ 6 ของรายได้เฉลี่ยนักดนตรีเท่านั้น การ “โหลดเพลง” ทั้งหลายส่งผลต่อรายได้ของนักดนตรีโดยตรงน้อยมาก รายได้กว่าครึ่งค่อนของนักดนตรีโดยเฉลี่ยมาจากการออกทัวร์ การสอนดนตรี เงินเดือนจากการเป็นสมาชิกวงดนตรี และการเป็น “มือปืน” ในการบันทึกเสียง อย่างไรก็ดี การลดลงของยอดขายงานดนตรีส่งผลต่อรายได้ของอุตสาหกรรมบันทึกเสียงมากๆ เพราะรายได้หลักของอุตสาหกรรมบันทึกเสียงมาจากการขายงานบันทึกเสียง
อนึ่ง นี่ป็นงานอีกชิ้นจากหลายๆ ชิ้นที่ปรากฏในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาที่ขัดแย้งกับภาพที่อุตสาหกรรมบันทึก เสียงเคยวาดไว้ว่าการทำสำเนาเถื่อนเป็นปีศาจร้ายที่จะสูบเลือดสูบเนื้อนัก ดนตรีให้แห้งตายไปในอดีต
News Source: http://torrentfreak.com/music-sales-are-just-6-of-average-musicians-income-130114/ , http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130116copyright

แอรอน สวาร์ตซ์

เหล่านักวิชาการโพสต์ลิงค์บทความวิชาการอันมีลิขสิทธิ์ในทวิตเตอร์เพื่ออุทิศให้แอรอน สวาร์ซดิจิทัลแอคทิวิสต์ผู้ล่วงลับ

แหล่งข่าวรายงานว่าการเรียกร้องการกระทำกึ่งอุทิศกึ่งประท้วงนี้เริ่มที่ Reddit นอกจากนี้ก็ยังมีคนเรียกร้องให้ผลักดันกฏหมายปฏิรูปลิขสิทธิ์ให้งานศิลป วัฒนธรรมเปิดกว้างขึ้นต่อสาธารณะโดยใช้ชื่อว่า Aaron Swartz Act อีกด้วย ทั้งนี้นี่ก็เป็นการโต้กับ Sonny Bono Act ที่เพิ่มการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในปี 1998 นั่นเอง
News Source: http://www.theverge.com/2013/1/13/3872648/academics-share-links-to-copyrighted-journals-to-honor-aaron-swartz , http://www.techdirt.com/articles/20130114/19291621672/fitting-tribute-aaron-swartz-researchers-post-free-pdfs-their-research-online.shtml

Copy Culture งานวิจัยทัศนคติการ “โหลดเพลง” และการทำสำเนาเถื่อนของชาวอเมริกันและเยอรมันออกมาให้ดาวน์โหลดแล้ว

อนึ่ง งานวิจัยชิ้นนี้จัดเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจที่ใหญ่ที่สุดที่ทำโดย “นักวิชาการ” นอกแวดวงนักการตลาดซึ่งมีแนวโน้มจะปิดบังผลวิจัยที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อ ลูกค้าของคนซึ่งก็คืออุตสาหกรรมบันทึกเสียง
ผลสำรวจใหญ่ๆ ก็เช่น คนส่วนใหญ่ในทั้สองประเทศมองว่าการแชร์ไฟล์เป็นสิ่งที่พึงกระทำในหมู่เพื่อน ฝูง ในอเมริกาคนกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ “โหลดเพลง” มาฟังฟรีๆ นั้นก็เป็นคนกลุ่มเดียวกับกลุ่มที่ใช้เงินจับจ่ายซื้อไฟล์งานดนตรีมากที่สุด ด้วย นอกจากนี้ในทั้งสองประเทศคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการมีบทลงโทษผู้แชร์ไฟล์เป็น การปรับเงินประมาณ 10-100 ดอลลาร์ เท่านั้น (ซึ่งห่างไกลจากการอ้างความเสียหายตามกฎหมายสหรัฐที่ 150,000 ดอลลาร์ มาก) และไม่เห็นด้วยกับโทษลดความเร็วอินเทอร์เน็ต ตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไปจนถึงจำคุก สุดท้ายคนส่วนใหญ่ในเยอรมนีเห็นว่ารัฐควรจะเซ็นเซอร์และบล็อคเว็บไซต์ที่นำ ไปสู่เนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์แม้ว่าจะมีเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ถูกบล็อคไปด้วย แต่คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์บล็อคเว็บไซต์โดยสิ้นเชิง ไม่ว่าอย่างไรก็ดีคนทั้งสองประเทศไม่เห็นว่ารัฐควรจะลงมาสอดส่องอินเทอร์ เน็ตเพื่อป้องกันการทำสำเนาเถื่อน
Download at: http://piracy.americanassembly.org/presenting-copy-culture-in-the-us-and-germany/

16-01-2013

จำเลยจากนโยบายสอดส่องการละเมิดลิขสิทธิ์ของนิวซีแลนด์กำลังจะขึ้นศาลเป็นครั้งแรกแล้ว

ทั้งนี้นิวซีแลนด์เริ่มนโยบายที่บังคับให้ทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ร่วมมือกับเจ้าของลิขสิทธืในการสอดส่อง “เตือน 3 ครั้ง” (3 strikes) ก่อน “ตัดเน็ต” และดำเนินคดีมาตั้งแต่ผ่านกฏหมายปฏิรูปลิขสิทธิ์ปี 2011 ซึ่งก็มีนักวิชาการและนักกิจกรรมคาดการณ์กันว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการต่อ รองกันของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกันกับรัฐบาลนิวซีแลนด์เพื่อให้มีการถ่าย ทำภาพยนตร์ The Hobbit ในนิวซีแลนด์ต่อไป
News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130114/20423721682/first-three-strikes-case-new-zealand-goes-to-hearing.shtml , http://www.bloomberg.com/news/2012-12-04/kill-the-hobbit-subsidies-to-save-regular-earth.html

นักดนตรีข้างถนนหัวใสเล่น “มนุษย์ตู้เพลง” ที่เปลี่ยนเพลงที่เล่นทันทีเมื่อคนหยอดเงิน

นักดนตรีข้างถนนเล่นดนตรีข้างถนน แล้วมีกระปุกให้หยอดเงินหลายๆ กระปุก ถ้าคนมาหยอดกระปุกไหน มันจะเล่นดนตรีตามกระปุกนั้น คือมีทั้ง Lady Gaga, Bach, Michael Jackson, ??? และมีให้หยอดให้เล่นเร็วขึ้น และช้าลง
เป็นกลยุทธกระตุ้นให้คนหยอดเงินที่เข้าท่ามากๆ และเล่นออกมาสนุกมากๆ
Watch Clip At: http://youtu.be/Pbdewwtm70w

17-01-2013

ศาลตัดสินว่าครูคณิตศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ละเมิดลิขสิทธิ์ฐานใส่ลิงค์หนังสือเฉลยโจทย์คณิตศาสตร์ในเว็บไซต์ตนเอง

หลังจากทางสำนักพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือคณิตศาสตร์เจ้าของหนังสือไปพบแทนที่จะส่งจดหมายเตือน แต่ทางสำนักพิมพ์กลับฟ้องเลย
ครูพยายามจะแก้ต่างว่าการแก้โจทย์เลขมีลักษณะสากลเพราะคำตอบมีเพียงคำตอบ เดียว ดังนั้นมันไม่มีลิขสิทธิ์ แต่ศาลไม่เห็นด้วยและตัดสินว่าผิด
ทั้งนี้กฏหมายเนเธอร์แลนด์ระบุว่าการดาวน์โหลดไปเพื่อใช้ส่วนบุคคลนั้น ไม่ผิดกฎหมาย และการโพสต์ลิงค์โดยตัวมันเองก็ไม่ผิดกฎหมาย แต่ในกรณีนี้การโพสต์ลิงค์ถือว่าสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับเจ้าของ ลิขสิทธิ์ จึงถือว่าผิด
ป.ล. ศาลชั้นต้นตัดสินว่าครูผิดฐานอัปโหลดไฟล์หนังสือขึ้นไปด้วย แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องข้อหานี้เพราะหลักฐานไม่เพียงพอ ครูจึงมีความผิดฐานโพสต์ลิงค์เท่านั้น
News Source: http://torrentfreak.com/math-teacher-convicted-for-linking-to-copyrighted-answer-sheets-130116/

ศาลชั้นต้นนิวยอร์คตัดสินให้ AFP และ Washington Post แพ้คดีละเมิดลิขสิทธิ์ช่างภาพอิสระผู้หนึ่งที่ "ทวีต" ภาพแผ่นดินไหวในเฮติ

เรื่องราวมีอยู่ว่าสำนักข่าว AFP ไปเจอรูปใน Twitter แล้วก็เอาไปขึ้นเว็บคลังพวก Getty Images ทางสำนักข่าว Washington Post ก็เอารูปไปใช้จาก Getty Images อีกที
ปรากฏว่าช่างภาพที่เป็นเจ้าของภาพบอกว่ารูปเป็นของตนเองและ AFP และเมิดลิขสิทธิ์ นี่ทำให้ AFP ฟ้องช่างภาพก่อนข้อหาทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง แต่นี่ทำให้ช่างภาพฟ้อง APF กลับ โดยพวก Washington Post และ Getty Images และ AFP เลย
ตอนแรก AFP ตอบโต้ว่าการโพสต์รูปในTwitter และ TwitPic ถือเป็นการให้ใบอนุญาตแก่สาธารณชนใช้โดยปริยาย
อย่างไรก็ดีสุดท้ายศาลก็ตัดสินว่านี่เป็นการอ่าน Terms of Service ของทั้ง Twitter และ TwitPic อย่างผิดๆ ของ AFP และสิ่งที่ AFP ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ทาง AFP และ Washington Post ต้องจ่ายค่าเสียหายให้ช่างภาพ
ทั้งนี้ปัญหานี้พัวพันกับเรื่องลิขสิทธิ์รูปในปัจจุบัน ที่บรรดาสำนักข่าวและคลังภาพทั้งหลายก็เป็นทั้งจำเลย (ในกรณีที่เอารูปจากเว็บเครือข่ายสังคมมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต) และโจทก์ (ในกรณีที่ไปไล่ฟ้องเอาค่าลิขสิทธิ์ผู้เอารูปของตนไปใช้อย่างไม่ได้รับ อนุญาต) ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์รูปภาพบนอินเทอร์เน็ตทั้งเหล่านี้ อย่างน้อยๆ ก็ตราบที่กฎหมายยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป
News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130116/07144421700/court-once-again-explains-to-afp-that-twitters-terms-dont-give-it-right-to-use-any-photo.shtml , http://paidcontent.org/2013/01/16/news-companies-must-pay-for-swiping-twitter-pics-but-our-photo-laws-are-still-a-mess/

18-01-2013

18 มกราคม วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต เนื่องในโอกาสครบรอบหนึ่งปีถล่ม SOPA/PIPA


การประท้วงกฎหมาย SOPA หรือ Stop Online Piracy Act ในกรุงนิวยอร์กเมื่อปี 2555
กลุ่มนักกิจกรรมและพลเมืองเน็ตอเมริกันและที่อื่นๆ ฉลองครอบรอบ 1 ปีในการประท้วง “จอดำ” ในวันที่ 18 ม.ค. 2012 ที่ทำให้สมาชิกสภาคองเกรสหลายคนถอนตัวการสนับสนุนร่างกฎหมายนาม SOPA และ PIPA พร้อมสถาปนาวันที่ 18 มกราคมของทุกปีให้เป็นวันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Freedom Day
พร้อมกันนั้นนักกิจกรรมและเว็บต่างๆ ที่รวมกันต่อต้าน SOPA/PIPA มาก็ทำการทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมาและยังเห็นว่าการต่อสู้กับระบอบลิขสิทธิ์เพื่อ เสรีภาพอินเทอร์เน็ตยังเป็นหนทางอีกยาวใกล เพราะอย่างน้อยๆ ปีที่ผ่านมาระบอบลิขสิทธิ์ก็รุกไล่หนักมากกว่าที่ผ่านๆ มาโดยไม่ต้องใช้กฎหมาย SOPA/ PIPA แต่อย่างใด
News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130117/15210821719/infographic-celebrating-internet-freedom-day-anniversary-sopapipa-protests.shtml , http://torrentfreak.com/happy-internet-freedom-day-but-was-sopa-really-defeated-130118/ , http://www.internetfreedomday.net/

ศูนย์ข้อมูลลิขสิทธิ์อเมริการะบุว่าแผน "เตือน 6 ครั้ง" เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์อินเทอร์เน็ตจะส่งผลต่อภาคธุรกิจด้วยเมื่อมีการ ละเมิดภายในเครือข่ายและนี่อยู่ใน "เงื่อนไขการใช้งาน" อยู่แล้ว

ทั้งนี้ถ้ามีการละเมิดผ่าน Wifi สาธารณะนั้นเข้าของเครือข่ายก็ต้องรับผิดชอบเช่นกัน จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ เนื่องจาก "เงื่อนไขการใช้งาน" ไม่อนุญาตให้เปิด Wifi สาธารณะด้วยซ้ำ
News Source:  http://torrentfreak.com/six-strikes-anti-piracy-scheme-affects-some-businesses-public-wifi-forbidden-130118/

ปราศรัย "I Have A Dream" ของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ถูก "เอาลง" จากเว็บ Vimeo เนื่องจากละเมิดลิขสิทธิ์


ที่มาภาพ: National Archives and Records Administration
ทั้งนี้เคยมีคดีความมานานแล้วว่าคำปราศรัยนี้มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ผลสรุปคือศาลตัดสินว่าการที่คิงได้พิมพ์คำปราศรัยนี้จากแก่นักข่าวในวงจำกัด นั้นทำให้เนื้อความในคำปราศรัยนี้มีลิขสิทธิ์ ซึ่งส่งผลให้วีดีโอคำปราศรัยนี้มีลิขสิทธิ์ตามมา ทั้งๆ ที่ตัวการปราศรัยเองนั้นปกติไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์
ทุกวันนี้ครอบครัวของคิงก็ยังได้ประโยชน์จากการเก็บค่าลิขสิทธิ์เมื่อมี ผู้ใช้คำปราศรัยนี้ไปจนถึงรูปและภาพของคิงอยู่ โดยล่าสุดนี้การตั้งอนุเสาวรีย์ของคิงก็ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้ครอบครัวของ เขากว่า 7 แสนเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว
News Source:  https://www.techdirt.com/articles/20130118/11244621727/martin-luther-kings-i-have-dream-video-taken-down-internet-freedom-day.shtml , http://www.jdsupra.com/legalnews/to-be-judged-not-by-the-color-of-their-s-16098/

19-01-2013

MEGA เปิดตัวในวันครบรอบ 1 ปีปิด Megaupload

คิม ดอทคอม (Kim Dotcom) เปิดตัวเว็บฝากใหม่ของเขานาม MEGAในวันที่ 19 มกราคม 2013 ซึ่งเป็นเวลาครบรอบ 1 ปีที่เว็บ Megaupload ของเขาถูกปิดโดยรัฐบาลสหรัฐพอดี ทั้งนี้ในการทำ MEGA เขาพยายามจะแก้ใขจุดอ่อนที่ทำให้ Megaupload โดนปิดไปไม่ว่าจะเป็นการกระจายเซิร์ฟเวอร์ไปทั่วโลกและเพิ่มระบบการเข้ารหัส ความปลอดภัยให้ผู้ใช้ในระดับสูง โดเมนเนมที่เขาใช้กับ MEGA ก็เป็นของนิวซีแลนด์อันเป็นดินแดนที่เขาพำนักอยู่ในปัจจุบัน และดินแดนแห่งนี้เองที่ไม่ยอมส่งเขาเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปสหรัฐเนื่องจากทาง รัฐบาลสหรัฐไม่ยอมแสดงหลักฐานการกล่าวหาเขาในคดีบันลือโลกอย่างการปิดเว็บ Megaupload ให้ชัดเจน
ทั้งนี้มีผู้สนใจ MEGA มหาศาลดังจะเห็นได้จากการที่มีผู้เข้าชมเว็บ 1 ล้านคน และมีผู้สมัครสมาชิกกว่า 5 แสนคนภายใน 14 ชม. หลังเว็บไซต์เปิดทำการ
News Source: https://mega.co.nz/ , http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130119mega , http://torrentfreak.com/dotcoms-mega-launches-to-unprecedented-demand-130120/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น