แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มโนทัศน์ไทยในสังคมเสมือนปิดกับภาวะเสมือนเปิดในศตวรรษที่ 21

ที่มา ประชาไท


<--break->
เกริ่นนำ

ควรเริ่ม ด้วยการทำความเข้าใจประโยคพื้นฐานว่า “สังคมเสมือนปิด” ไม่เหมือนกับ “สังคมปิด” เช่นเดียวกัน เราจะไม่กล่าวว่า “ภาวะเสมือนเปิด” มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการกับ “ภาวะเปิด” ด้วย และเหตุที่เราจำเป็นต้องเพิ่มคำว่า “เสมือน” มาใช้ในรูปประโยคนั้น ก็เพราะว่า โลกสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ มีการถูกผลิตซ้ำอย่างกว้างขวางอันเนื่องมาจากการเติบโตของอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยี ซึ่งบ่อยครั้ง การผลิตซ้ำดังกล่าวได้ สถาปนาบางสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่จริงให้น่าเชื่อว่ามีอยู่จริง มากไปกว่านั้น ยังบังคับให้เราเชื่อว่าสิ่งนั้นมีอยู่จริงๆด้วย แน่นอนที่สุด ตามประวัติศาสตร์ไทยก็จะมีแต่ชนชั้นปกครองเท่านั้นที่ได้รับสิทธิแห่งการ ผลิตซ้ำนี้ เป็นต้น การเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ การบิดเบือนข้อเท็จจริงทางสังคมของประเทศ หรือแม้กระทั่ง การไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างมีเหตุมีผล

ขณะเดียวกัน สังคมโลกกลับค่อยๆคลี่คลายความเครียดเค้นอันเนื่องมาจากยุคกลางลงอย่างต่อ เนื่อง ถึงแม้ว่า สังคมโลกหรือนักคิดที่ทรงอิทธิพลต่อโลกจะยังหาวิธีแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุม ระหว่างมนุษย์ไม่ได้ก็ตาม  แต่สิ่งหนึ่งที่อาจจะพอยืนยันได้เมื่อเทียบกับบริบททางประวัติศาสตร์ คือ สังคมโลกลู่เข้าสู่ภาวะเสมือนเปิด แม้ว่าจะเป็นการเปิดที่ไม่สมบูรณ์อย่างที่ชวนเชื่อนัก แต่อย่างน้อย ที่สุด เสรีภาพบางประการบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ก็ได้รับความคุ้มครองภายใต้ข้อ ตกลงร่วมของสังคมโลก เป็นต้น เรื่องเจตนารมณ์แห่งการไม่ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นสัตว์สังคม

สมมติ ว่า มโนทัศน์ของชนชั้นปกครองไทยน่าเชื่อว่ามีลักษณะเสมือนปิด โดยอ้างหลักฐานที่ปรากฏขึ้นบ่อยครั้งเกี่ยวกับการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของ การเป็นสัตว์สังคมต่างกรรมต่างวาระตลอดประวัติศาสตร์ของรัฐไทยเอง ซึ่งพฤติกรรมเช่นนั้นก็ยังคงปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 21 จึงกลายเป็นว่า มโนทัศน์แบบเก่าซึ่งกลายเป็นวัฒนธรรมราชการหรือของชนชั้นกลางไปแล้วกำลังถูก ท้าทายอย่างหนักจากสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เรียกร้องให้มีการเปิดเผยและตรวจสอบที่มาที่ไปของมโนทัศน์เหล่านั้น จุดนี้เองที่พรมแดนแห่งการปะทะกันทางความคิดระหว่างมโนทัศน์แบบเดิมกับ มโนทัศน์แบบใหม่ได้เริ่มต้นขึ้น เพราะมโนทัศน์แบบใหม่บังอาจตั้งข้อสงสัยว่า มโนทัศน์แบบเก่าไม่ชอบมาพากล และอาจจะถึงขั้นลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นสัตว์สังคมทีเดียว นั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

เนื้อหา

การปะทะกันทางความคิดของ สองมโนทัศน์มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในศตวรรษที่ 21 แม้ความถี่จะบ่งบอกอะไรเชิงปริมาณได้ดีในสิ่งที่ประชาชนรู้สึกต่อความไม่ชอบ มาพากลของรัฐในองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง แต่คุณภาพนั้นสำคัญกว่า  เพราะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการอภิวัฒน์ภายใต้การขับเคลื่อน ของมโนทัศน์แบบใหม่ นั่นเอง เป็นจุดที่ทำให้มโนทัศน์แบบเสมือนเปิดพลาดเพราะเสมือนว่าจะเปิดเท่านั้นมิ ได้เปิดอย่างแท้จริง?

เพราะการเปิดกว้างอย่างแท้อาจไม่มีอยู่จริง แน่นอน การอภิปรายในประเด็นนี้อาจกลายเป็นปัญหาทางปรัชญาเชิงญาณวิทยาว่าด้วย อะไรคือเสรีภาพ? อะไรคือความเสมอภาค? อะไรคือสิทธิ? ซึ่งไม่อาจหาข้อยุติได้ แต่ความไม่ชัดเจนชองนิยาม หรือความไม่สม่ำเสมอของตรรกะที่ใช้ตีความ กลับไม่มีปัญหามากเท่าไรนักหากพิจารณาแค่แนวโน้มของการให้ความหมาย นั่นคือ การพิจารณาแนวโน้ม (Trend) ที่มโนทัศน์แบบใหม่แต่ละชุดมีร่วมกัน ซึ่งคุณสมบัติที่ร่วมกัน (intersection) ของแต่ละมโนทัศน์ดังกล่าว อาจทำให้พอจัดจำแนก กระบวนทัศน์ (Paradigm) หรือบริบททางความคิดได้

ชุด ของมโนทัศน์แบบเก่าของไทย มีแนวโน้มร่วมกันเกี่ยวกับ “ความเป็นจารีต” หรือ “ระเบียบวิธีซึ่งเป็นขั้นตอน” และนั่นอาจจะตีความครอบคลุมไปถึง “ความรู้สึกเรื่องชนชั้นที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลง” เช่น ถ้าเป็นชนชั้นทาสแล้วอย่างไรเสีย เพราะสะสมวาสนามาเพียงเท่านี้ และแม้ว่าในทางนิตินัยการห้ามไม่ให้มีระบบทาสจะช่วยปลดปล่อยทาสให้ได้รับ อิสระ(เป็นไท) แล้วก็ตาม แต่วาทกรรมที่อิงรากฐานการตีความพุทธศาสนาแบบจารีตช่วยทำให้ “ชนชั้นวรรณะ” เป็นสิ่งที่ต้องมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรื่องนี้ เห็นได้ชัดว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับการตีความ ในแง่ของการให้น้ำหนักต่อความหมายของคำที่น่าเชื่อว่าขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของแหล่งกำเนิดวาทกรรม เช่น พุทธศาสนาเป็นที่ทราบกันว่าไม่สนใจเรื่องชนชั้นวรรณะ แม้ว่า ศาสดา คือ เจ้าชายสิทธัตถะ จะยอมรับอยู่บ้างว่า วิธีการฝึกฝนเพื่อบรรลุถึงสภาวะนิพพานของตนมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นขั้น ตอนอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม หลักใหญ่ คือ “เสรีภาพ” ไม่ใช่ “ชนชั้นที่สถาบันสงฆ์เป็นผู้สร้าง”

และ เพื่อให้วาทกรรมนั้นรับใช้อำนาจและทำให้ตัวมันเองเป็นอำนาจโดยสมบูรณ์  ก็ปรากฎว่าชุดของมโนทัศน์แบบเก่าของไทยยังแอบอิง “ความเป็นเทวะ” (Divinity) ซึ่งเป็นมโนทัศน์ (อาจเรียกได้ว่าเป็นกระบวนทัศน์โบราณ) ที่พัฒนาตนเองอย่างซับซ้อนในสมัยกรุงศรีอยุธยา สืบเนื่องต่อกันมาจนถึงรัตนโกสินทร์ เพื่อให้คุณค่าและน้ำหนักกับเรื่อง “ชนชั้นของใครบางคน” มากกว่า “เสรีภาพของทุกคน” และสมมติว่าเรายืนอยู่บนมโนทัศน์ลักษณะนี้ เราจะรู้สึก (มโน) ว่า “เสรีภาพของชนชั้นที่สูงกว่า จะนำมาซึ่งความหวังว่าจะปลดปล่อยชนชั้นล่าง” เพราะฉะนั้น ชนชั้นสูง (Elite) ย่อมทำอะไรตามอำเภอใจ (แม้กระทั่งผิดศีลธรรม) แต่อย่างไรๆ การกระทำนั้นจะช่วยให้ชนชั้นล่างลืมตาอ้าปากได้ เช่น ปัญหาหญิงงามเมืองที่พัฒนาจากมุมมืดเรื่อยมาจนเป็นภาพลักษณ์โดยปริยายของ ประเทศไทยในศตวรรษที่ 21

และสิ่งที่ทำให้มโนทัศน์แบบเก่า ซึ่งถูกผลิตและผลิตซ้ำโดยชนชั้นปกครองมีความมั่นคงจนถึงที่สุด ในฐานะอำนาจ (Power, Authority)ก็คือ “ความเป็นกฎหมาย” และนั่นเป็นหลักประกันเดียวที่จะทำให้มโนทัศน์แบบนี้ปลอดภัยอยู่ภายใต้โลก ของตัวเอง ซึ่งที่จริง “การทำให้เป็นกฎหมาย” เป็นเนื้อเรื่องที่ธรรมดามากในประวัติศาสตร์การปกครองของทั่วโลก แต่ปัญหาของประเทศไทย คือ ความไม่ยอมรับรู้ว่าโลกได้เคลื่อนตัวเองอย่างหยุดยั้งไม่ได้สู่ศตวรรษที่ 21 นั่นคือ มโนทัศน์เชิงเทวะ เชิงจารีต หรือมโนทัศน์ที่ฝังแน่นอยู่กับการอ้างกฎหมายแบบเข้มข้น ล้วนถูกตั้งคำถามในสังคมโลก ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะคลี่คลายไปในทางเสรีมากกว่า อย่างน้อยที่สุด ก็มีอะไรที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ร่วมกำหนดหรือส่งตัวแทนเข้าไปเปลี่ยนแปลง ระบบการทำงานของรัฐได้ (แม้จะต้องยอมรับว่า ในบางประเทศสิ่งนี้อาจจะเป็นเพียงการเปลี่ยนร่างไปของชนชั้นสูงเป็นชนชั้น ปกครอง จากเทวะเป็นนายทุนก็ตาม)

จากมโนทัศน์ข้างต้น “ความเป็นจารีต เทวสิทธิ์ และกฎหมาย” จึงเป็นปัจจัยสำคัญให้สังคมมีภาวะเสมือนปิด และแน่นอน ผ่านประวัติศาสตร์หลายชั่วอายุคน ความเสมือนปิดนี้มีผลโดยตรงต่อมโนทัศน์ของประชาชนบางกลุ่ม เป็นต้น ชนชั้นพ่อค้าหรือขุนนางที่ตักตวงและกอบโกยผลประโยชน์จาก “ความเป็นจารีต เทวสิทธิ์ และกฎหมาย” นี้ แต่ปัญหาสำหรับคนกลุ่มนี้มีว่า สิ่งนี้ดูเหมือนจะขัดแย้งกับมโนทัศน์ที่พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงศตวรรษที่ 21 เป็นต้น ปัญหาของการตัดสินทางจริยศาสตร์ที่หยั่งรากอยู่บนปรัชญากลุ่มค้านท์ (Kantian Ethics) ซึ่งแน่นอนว่า ขัดแย้งไม่มากก็น้อยกับการตัดสินทางจริยศาสตร์ที่หยั่งรากอยู่บนแนวคิดอัตถิ ภาวะนิยม (Existentialism) และนั่นเป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถามและดำเนินการไปบ้างแล้วไม่มากก็น้อยในสังคม โลก แน่นอน แนวคิดอัตถิภาวะนิยมยังไม่ได้รับการสถาปนาให้มีความสำคัญในสังคมไทย สันนิษฐานว่า “การรับรองว่ามนุษย์มีเสรีภาพราวกับถูกสาป” เป็นความหวาดกลัวประการหนึ่งที่ชนชั้นปกครองรู้สึกต่อพลังแห่งการปลดปล่อย ของปวงประชา แง่หนึ่งเป็นเพราะมีตัวอย่างการอภิวัฒน์ดังกล่าวมาก มาย เช่น ในประเทศฝรั่งเศส (1789-1889) ฉะนั้น ความยึดติดฝังแน่นและการกระทำทุกวิถีทางเพื่อต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของชน ชั้นปกครองเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ไม่เฉพาะแต่ชนชั้นสูง อาจรวมพ่อค้าและขุนนางด้วย

โชคดีที่ประเทศไทยมีเพียง “ลักษณะเสมือนปิด” ซึ่งอย่างน้อยที่สุด ก็อุปมาเหมือนกับ มีช่องระบายความกดดันที่ “ความเป็นจารีต เทวสิทธิ์ และกฎหมาย” กดทับอยู่ไม่มากก็น้อย ฉะนั้น ในประวัติศาสตร์ช่องระบายความกดดันที่ว่า เป็นศิลปะที่มโนทัศน์แบบเก่าใช้อย่างชาญฉลาดมาโดยตลอด แต่ปัญหาแบบตลกร้ายก็เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 อีก เนื่องจากประชาชนบางส่วน เป็นต้น ชนชั้นกลาง ที่มิได้เป็นทั้งพ่อค้าและขุนนาง ซึ่งเป็นผลผลิตมาจากวาทกรรมของมโนทัศน์แบบเก่า ไม่เข้าใจรายละเอียดของศิลปะแห่งการประคับประคองอำนาจลักษณะนี้ จึง กลายเป็นว่า ผลผลิตจากวาทกรรมที่มโนทัศน์แบบเก่าได้สร้างกลับเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะ ปิดกั้นช่องระบายความกดดันดังกล่าว ซึ่งท้ายที่สุดจะเป็นปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดความกดดันระดับสูงที่มากพอจะ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อย

แม้ “ความเป็นจารีต เทวสิทธิ์ และกฎหมาย” จะทำลายตัวเองในระยะเวลาอันสั้นเพื่อเผชิญหน้าอย่างลนลานกับสังคมโลกใน ศตวรรษที่ 21 แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้น คือ การทิ้งมโนทัศน์แบบเดิมและหันมาสวมใส่มโนทัศน์แบบใหม่ของนักวิชาการ ซึ่งถือได้ว่า เป็นนักคิดที่ทรงอิทธิพลไม่มากก็น้อยกับสังคมไทย เพราะในรอยต่อแห่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวของประวัติศาสตร์ ก็ปรากฏความลักลั่นย้อนแย้งของพฤติกรรมชนิดที่เรียกว่า “ลักปิดลักเปิดทางมโนทัศน์” นั่นคือ ความสับสนในมโนทัศน์ของตนเองเพราะเกิดการคร่อมกันไปมาระหว่างมโนทัศน์แบบ เก่ากับแบบใหม่ ฉะนั้น มองในแง่ดี อาจเป็นว่า นี่เป็นกระบวนการหนึ่งซึ่งยังดำเนินการไม่เสร็จของนักวิชาการไทยในระดับ ปัจเจกบุคคล ภายใต้สังคมโลกที่ให้เสรีภาพว่า ไม่แปลกอะไรที่คุณจะชง เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของมโนทัศน์แบบเก่าและแบบใหม่ในสูตรเฉพาะของตนเอง และแบ่งปันให้เพื่อนของคุณชิม และไม่แปลกอีกถ้าคุณจะชงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของมโนทัศน์แบบเก่าแต่เพียง อย่างเดียว แล้วชวนให้เพื่อนชิมโดยหว่านล้อมว่านี่เป็นรสชาติที่กลมกล่อมที่สุด ฉะนั้น เสรีภาพนี้เป็นภาพลักษณ์หนึ่งของสังคมโลกที่ขับเคลื่อนโดยมโนทัศน์แบบใหม่ ซึ่งเรียกร้องให้ปัจเจกบุคคลไตร่ตรองตนเองอย่างลึกซึ้งและชัดเจนกับเป้าหมาย

สรุป

ถ้าเราไม่หลอกตัวเองมากพอ เราย่อมเห็นการปะทะกันลักษณะนี้ในสังคมไทยอย่างแน่นอน เราย่อมเห็นใครคนหนึ่งที่เป็นภาพตัวแทนของระบบเสมือนปิด (คือ เปิดเฉพาะที่ตัวเองต้องการ) ซึ่งเป็นตัวแทนมโนทัศน์แบบเก่า และเราย่อมเห็นใครคนหนึ่งที่เป็นภาพตัวแทนของระบบเสมือนเปิด (คือ ปิดเฉพาะที่ตัวเองต้องการ) ซึ่งเป็นตัวแทนมโนทัศน์แบบใหม่ และสิ่งที่ทั้งสองต้องยอมรับร่วมกัน คือ การปะทะกันแบบนี้แบบเรื่องใหม่ของทั้งคู่ภายใต้บริบทของเวลาในศตวรรษที่ 21 และภายใต้บริบทเฉพาะของประเทศนี้  และถ้าทั้งสองมีเป้าหมายร่วมกัน คือ พยายามที่จะผลักดันสิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นสัตว์สังคมให้ขับเคลื่อนไป ข้างหน้าแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ “ความเปลี่ยนแปลง” เว้นเสียแต่ หนึ่งในสองคนที่ว่ากำลังหลอกอีกฝ่ายว่า ทุกอย่างกำลังจะเปลี่ยนแปลง เพราะว่าความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นสัตว์สังคมยังถูกลิดรอนอยู่?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น