แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

พิจารณาร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน มติสภา 284:152 รับหลักการ

ที่มา ประชาไท


สภาฯ มีมติ 284:152  เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน  2 ล้านล้านวาระแรก ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ 36 คนพิจารณา ประชุมนัดแรก 2 เม.ย.
 
29 มี.ค. 56 - ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติ 284 เสียง ต่อ 152 เสียง งดออกเสียง 21 ไม่ลงคะแนน 7 เสียง ให้ความเห็นชอบในหลักการวาระแรก  ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน​ด้านการขน ส่งของประเทศ พ.ศ…..​ และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา 36 ​คน ​แปรญัตติภายใน 30 วัน โดยนัดประชุมวันแรก  2 เม.ย. นี้ ​
 
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ รมว.คลัง กล่าวก่อนลงมติ​ว่า  การลงทุนครั้งนี้เป็นการวางรากฐานครั้งสำคัญของประเทศ ขณะนี้จีดีพีของประเทศมีขนาด 12 ล้านล้านบาท ซึ่งการลงทุน 2 ล้านล้านบาท นี้ไม่ได้กู้ทีเดียว แต่ตามแผนจะสิ้นสุดปี 2563 หรืออีก 7 ปีเศษ  ​ซึ่งขณะนี้ เศรษฐกิจของประเทศมีฐานะการเงินเข้มแข็ง มีเงินทุนสำรองอยู่​ประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีสภาพคล่องส่วนเกินมากกว่า 3 ล้านล้านบาท
 
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบเป็นคนซึ่งมีสภาวะแข็งแรงและตัดสินใจกู้เงินมาซื้อบ้าน  เปรียบเทียบกับอีกคนที่ไม่ซื้อ แต่เก็บหอมรอมริบหลายปี หลายทศวรรษผ่านไป ก็ไม่อาจซื้อบ้านเป็นของตัวเองเหมือนคนแรกได้เพราะบ้านจะมีแนวโน้มขยับสูง ขึ้น อาจจะต้องจ่ายค่าเช่าบ้านแทน เหมือนกับประเทศไทย ​หากไม่จ่ายค่าดอกเบี้ยจากการกู้เงิน​ก็จะต้องเสียโอกาสที่จะเพิ่ม ประสิทธิภาพ การขนส่งลงทุน ​
 
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ในเรื่องความโปร่งใสยืนยันว่าจะใช้หลักเกณฑ์คำนวนราคากลางใหม่  และปฏิบัติตามกฎหมายที่จะเปิดเผยราคากลาง มีความโปร่งใส โดยจะมีการเตรียมความพร้อม มีหน่วยงานกำกับ กลั่นกรอง และยืนยันจะกู้เงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท  ซึ่งจะเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง​ โดยหนี้สาธารณะเทียบกับจีดีพีไม่เกินจะไม่เกิน  50%  
 
 
ที่มาข่าว : โพสต์ทูเดย์

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 30/03/56 เผาความเท็จ..เผยความจริง

ที่มา blablabla





วาทกรรม เผาเมือง เรื่องป้ายสี
เลว อัปรีย์ เร่งรัด ยัดข้อหา
พอความจริง เปิดเผย เฉลยมา
แสร้งตีหน้า ไม่รู้ไม่ชี้ นี่หนอคน....

ตกเป็นเหยื่อ ถูกขังฟรี สองปีกว่า
กลเกมชั่ว เหยียบย่ำ ซ้ำปี้ป่น
ทั้งถูกฆ่า ล่าไล่ ในวังวน
สามานย์ชน กลับเย้ยหยัน ดูมันคิด....

ช่างสมชื่อ ตอแหลแลนด์ แดนอาถรรพ์
แต่ละวัน ต้องหักเห ด้วยเล่ห์จริต
คนดีๆ ถูกสาดโคลน เหมือนโดนพิษ
ทั้งวิปริต เลวชาติ อุบาทว์จริง....

ต้องลากคอ พวกชั่วช้า มาลงโทษ
ผลงานโฉด ซ่อนเร้น เห็นทุกสิ่ง
อย่าให้มัน เงื้อง่า มาประวิง
ละครลิง แค่กลิ้งกลอก หลอกตาประชาชน....

๓ บลา จากรมฝั่งโขง หนองคาย
๓๐ มี.ค.๕๖

แสบไหมหล่ะ อย่าดูถูกการรถไฟ

ที่มา Thai Free News




รมต.คมนามคม "ชัชาติ" พรบ.ระบุชัดเจน ไม่ได้โกหกงบประมาณ

เริ่มแรกรัฐบาลขอแสดงความมั่นใจเริ่มแรกขอให้เราได้ตั้งไข่ให้ได้ก่อน
เราเริ่มจากศูนย์ เมื่อเราตั้งไข่ได้แล้วรับรองหาผู้ร่วมทุนได้
ตัวแรกขอให้ได้รับความชัดเจนมากขึ้น 
รัฐบาลไม่ได้บ้าบิ่น เราทำในกรอบที่ทำได้

รถไฟความเร็วสูง คนพร้อมไหม ..?
เราอย่าดูถูกการรถไฟมากครับ คนในการรถไฟเป็นหมื่นๆ คนยังมีคนดีดีอยู่ครับ


ตอบทุกประเด็น 
ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมมีปัญหากับประชาชน
ผมขออนุญาตลงไปคุยกับประชาชนที่โดนเวนคืนพื้นที่ครับ
มีอะไรขอให้คุยกัน แล้วแจ้งให้พี่น้องประชาชนทราบ

กระทรวงคมนาคมในฐานะหน่วยปฏิบัติ ผมได้ความเห็นที่ดีดีหลายอย่าง
ผมยืนอยู่ตรงนี้ต่อหน้าประชาชน 60 ล้านคน จะทำอย่างละเอียดรอบคอบ
ทำเพื่อประโยชน์พี่น้องประชาชนครับ


http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=45408.0

ช็อตเด็ดวันนี้:ขนผัก

ที่มา Thai E-News


Pavin Chachavalpongpun ด่ารัฐบาลนักเรื่องรถไฟความเร็ว
สูง มีใครรู้บ้างไหมว่า รัชกาลที่ 5 สร้างทางรถไฟด้วยเงินกู้จากอังกฤษ ส่วนหนึ่งของตกลงกู้ยืมเงินคือการมอบดินแดนทางตอนเหนือของมาเลเซียให้อังกฤษ... แหม... พวกเทิดทูนเจ้าเงียบกริบเลยนะ




With great power, comes great responsibility

ที่มา Thai E-News




"วันนี้ เป็นวันเกิดน้องไปป์ แต่เนื่องจากติดประชุมสภา จึงไม่สามารถไปร่วมงานน้องได้ น้องไปป์เลยส่งการ์ดมาให้คุณแม่แทนค่ะ"

ปากคำประวัติศาสตร์อดีตแพะคดีเผาบ้่านเผาเมือง

ที่มา Thai E-News


Coffee with : อดีตผู้ต้องขังคดีเผาเซ็นทรัลเวิล์ด by VoiceTV

รายการWake up Thailand ทางVoice TV 29 มีนาคม ช่วCOFFEE WITH : สายชล แพบัว อดีตผู้ต้องขังคดีเผาเซ็นทรัลเวิล์ด และ พินิจ จันทร์ณรงค์ อดีตผู้ต้องขังคดีเผาเซ็นทรัลเวิล์ด  วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ ฟัง เสียงจากผู้ต้องขังเผาเซ็นทรัลเวิล์ด หลังจากศาลยกฟ้อง

"ชยิกา" แจงกรณี "วิป วิญญรัตน์" หลังประชาธิปัตย์พูดไม่จริง

ที่มา go6tv

 30 มีนาคม 2556 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา น.ส.ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ บุตรสาวนางเยาวเรศ ชินวัตร โพสต์ข้อความชี้แจงผ่าน เฟซบุ๊กส่วนตัว "แซนด์-ชยิกา" https://www.facebook.com/Sand.Chayika หลังจากพรรคประชาธิปัตย์กล่าวพาดพิง นายวิป วิญญรัตน์ บุตรชายนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฏรการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งของประเทศ โดยมีข้อความดังนี้




กรณี ที่พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่านายวิป วิญญรัตน์ บุตรชายนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ได้รับการว่าจ้างให้จัดทำโครงการวิจัยเรื่องรถไฟความเร็วสูงจากรัฐบาล ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการ คมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... นั้นจากการตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดแล้วพบว่าเรื่องนี้ไม่มีความจริงแต่ประการใด

จึงขอเรียนชี้แจงดังนี้

1. โครงการวิจัยเรื่องรถไฟความเร็วสูงนั้น ไม่ใช่เรื่องการก่อสร้างหรือโครงการด้านเทคนิคตามที่ฝ่ายค้านกล่าวไว้ แต่เป็น "โครงการศึกษาการสร้างมูลค่าและคุณค่า (Value Creation) ที่เกิดจากการลงทุนเพื่ออนาคตของประเทศไทย : กรณีศึกษาเรื่องรถไฟความเร็วสูง" โดย TCDC ได้จัดทำขึ้น โดยใช้งบประมาณจำนวน 5.6 ล้านบาท เพื่อศึกษาศักยภาพและความเป็นได้ของธุรกิจที่จะได้รับประโยชน์จากการลงทุน โครงการของภาครัฐ เช่น วัสดุไทยที่มีโอกาสเข้าไปตกแต่งในรถไฟความเร็วสูง สินค้าOTOP การศึกษามาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัยต่างๆของสินค้า และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาสำหรับ SME และ OTOP 

ซึ่ง TCDC ได้จ้างนักวิจัยหลายส่วน ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุ นักวิจัยข้อมูลเพื่อสำรวจภาคสนาม ซึ่งทั้งหมดนี้ ไม่มีการว่าจ้าง นายวิป วิญญรัตน์ โดยนายวิป ได้เข้ามาร่วมกลุ่มกับนักวิจัยอื่นๆ ทำงานเท่านั้น ไม่ได้มีชื่อปรากฏเป็นผู้รับจ้างดำเนินการวิจัยใดๆ 

2.กรณี โครงการนิทรรศการ Thailand 2020 นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ ประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี ดูแลภาพรวมของเนื้อหาการนำเสนอ ซึ่งทางคณะทำงานของประธานที่ปรึกษาฯ ได้รวบรวมและจัดส่งข้อมูลให้คณะผู้จัดทำ แต่ไม่มีการว่าจ้างใดๆ เกิดขึ้นทั้งสิ้น

3.นาย วิป วิญญรัตน์ ได้รับการแต่งตั้งจากประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี ให้เป็นคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติงาน การค้นคว้าและสืบค้นข้อมูล เช่นเดียวกับคณะทำงานคนอื่นๆ โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากส่วนราชการทั้งสิ้น

เสื้อแดงเชียงรายเปลี่ยนชื่อกลุ่ม หากมีสิ่งใดกระทบรัฐบาลจะออกมาขับเคลื่อนทันที

ที่มา go6tv


วันที่ 29 มี.ค. 2556 go6TV - ที่บ้านเลขที่ 226 ม.4 ต.แม่กรณ์ อ.เมือง ซึ่งเป็นบ้านของ น.ส.จิรนันท์ จันทวงษ์ แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยเชียงราย  ได้มีการจัดแถลงข่าวการเปลี่ยนชื่อกลุ่มและแจ้งนโยบายการขับเคลื่อน โดย น.ส.จิรนันท์ ได้อ่านแถลงการณ์ว่ากลุ่มได้ตกลงกันจะเปลี่ยนชื่อจากเดิมคือ 24 มิถุนาประชาธิปไตยเชียงรายไปเป็น "กลุ่มลูกคนเมืองรักชาติ เชียงราย" เนื่องจากสมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่เป็นชาวเชียงรายหรือภาคเหนือ และอยากให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับประเทศ ทั้งนี้กลุ่มจะธำรงค์ไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไม่ได้มีแนวทางหรือวัตถุประสงค์เดียวกับกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยแต่อย่างใด แต่ยืนยันว่าไม่ได้มีความขัดแย้งกับกลุ่มเดิมแต่อย่างใด น.ส.จิรนันท์ กล่าวว่าหากมีสิ่งใดกระทบรัฐบาลก็จะออกมาขับเคลื่อนทันที

น.ส.จิรนันท์กล่าวว่า ต่อไปนี้กลุ่มลูกคนเมืองรักชาติเชียงราย ชื่อย่อ “ลมชร.” จะขับเคลื่อนตามเป้าหมาย 7 ข้อ คือ 1. ธำรงไว้ซึ่งชาติ ศานา พระมหากษัตริย์ 2. ผดุงความยุติธรรมให้ประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ 3. สนับสนุนให้มีการนำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมาใช้บริหารประเทศ เรียกร้องความยุติธรรมให้ฝ่ายประชาธิปไตยทุกรูปแบบ 4 สนับสนุนให้ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้ประชาชนทุกฝ่าย 5. นำ พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้าน เพราะเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากประชาชน 6. เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองภาคประชาชนกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และ 7. ร่วมกิจกรรมอื่นๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม ยกเว้นเรื่องสถาบัน ซึ่งทางกลุ่มจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้ 

น.ส.จิร นันท์ กล่าวอีกว่ากลุ่มจะมีการจัดกิจกรรมครั้งใหญ่ในวันที่ 2 มิ.ย.นี้ โดยมีนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีต รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปเป็นประธานและมีนายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เชียงราย เข้าร่วม เพื่อจัดงานโรงเรียน นปช.ในพื้นที่เชียงรายขึ้นเป็นครั้งแรกหรือรุ่นที่ 1/2556 ณ อาคารคชสาร สนามกีฬากลาง จ.เชียงราย คาดว่าจะมีคนเสื้อแดงไปร่วมไม่ต่ำกว่า 1,000 คน กิจกรรมจัด 1 วัน จากนั้นจะมีการจัดตั้งเป็นสมาพันธ์คนเสื้อแดง จ.เชียงราย มีนายยงยุทธเป็นประธานและนายวิสารเป็นรองประธานต่อไป

นายกฯยิ่งลักษณ์ชี้แจง กรณีรถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้า

ที่มา go6tv

 


29 มีนาคม 2556 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากถูกผู้ไม่หวังดีต่อรัฐบาล บิดเบือนคำพูด โดยกล่าวหาว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายก รัฐมนตรีพูดว่ามีรถไฟความเร็วสูงขนผัก ผักจะได้ไม่เน่า ทำให้อาหารสดและมีคุณภาพนั้น ล่าสุด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra ชี้แจงในเรื่องดังกล่าว โดยมีข้อความดังนี้ 

"ขอ ขยายความเข้าใจเพิ่มเติม เรื่องแนวคิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน ในการนำประเด็นเรื่องการขนส่งสินค้าเกษตรทางรถไฟความเร็วสูง

การขน ส่งสินค้าโดยรถไฟความเร็วสูงเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เศรษฐกิจเติบโตรองรับ อนาคตและความเจริญ นอกจากนั้นยังเป็นการต่อยอดเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพที่ดี สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูง และผู้บริโภคได้รับสินค้าสินค้าที่สดใหม่ ไม่เน่าเสีย ในต่างประเทศถือเป็นเรื่องปกติในการส่งสินค้าเกษตรโดยใช้การขนส่งที่รวดเร็ว ตัวอย่างเช่น การขนส่งดอกไม้ด้วยเครื่องบิน (ซึ่งประเทศไทยทำมานานแล้ว) และในยุโรปก็ได้พัฒนาโครงการ Euro Carex (ยูโร แคเร็กซ์) โดยใช้รถไฟความเร็วสูงสำหรับขนถ่ายสินค้าโดยเฉพาะ ดังนั้น จึงไม่ใช่เป็นการวาดฝัน แต่เป็นจริงในหลายๆประเทศแล้ว และทำให้เกษตรกรสามารถส่งออกสินค้าเกษตรที่ต้องการมาตรฐานสูง ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ฯลฯ

รถไฟความเร็วสูงเป็นการเชื่อมโยงแหล่งการ ผลิตระดับท้องถิ่นภายในประเทศสู่ภูมิภาคอาเซียน ทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าทางการเกษตรในการส่ง ถึงตลาดและผู้บริโภค ตลอดจนเพื่อให้ผู้โดยสารโดยเฉพาะคนในต่างจังหวัดประหยัดเวลาในการเดินทางมา ทำงานจะได้มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น

ดิฉันเห็นว่า การนำคำพูดของดิฉันไปบิดเบือนเพื่อใช้เป็นประเด็นทางการเมือง เหนือประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประชาชน เป็นเรื่องที่ไม่สร้างสรรค์ เป็นการดูถูกเกษตรกรที่ควรจะได้ลืมตาอ้าปากเสียที รถไฟความเร็วสูงจึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนไทยมีโอกาสอย่างเท่าเทียมและ ทั่วถึง ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริง"

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายก รัฐมนตรี โพสต์ข้อความดังกล่าว ปรากฏว่ามีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมากกดถูกใจข้อความดังกล่าวกว่าสามพัน ครั้ง กดแชร์กว่าห้าร้อยครั้ง และแสดงความเห็นรวมกว่าห้าร้อยความคิดเห็น โดยความเห็นทั้งหมดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือแสดงความเห็นใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ถูกกลุ่มผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลไปบิดเบือนใส่ร้าย และขอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำงานเพื่อบ้านเมืองต่อไป 
ตัวอย่างความเห็นในเครือข่ายสังคมออนไลน์

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

คอลัมนิสต์ คิดอะไร ? (29 มี.ค. 56)

ที่มา Voice TV

 คอลัมนิสต์ คิดอะไร ? (29 มี.ค. 56)


คอลัมนิสต์ คิดอะไร ? ประจำวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม  2556
 
คอลัมน์ 'ซูม'เหะหะพาที :  หน้า 5 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  นำเสนอหัวข้อ สร้าง "แบรนด์" ไทย สู่อาเซียนและสากล  โดยกล่าว ถึง  หนทางต่อสู้ในการค้าขายและในการลงทุนของประเทศไทยอย่างหนึ่งคือ การสร้างแบรนด์ของสินค้า หรือบริการของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักและนิยมของประเทศในกลุ่มอาเซียนมาก ขึ้น
 
 
คอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย : หน้า 5 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ นำเสนอหัวข้อ 2 ล้านล้านบาทก้าวสำคัญของไทย โดยกล่าว ถึง การถกเถียงในเรื่องร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จะต้องถูกชำระให้โปร่งใส เพราะอาจเป็นก้าวสำคัญของไทย ที่มั่นหมายถึงการก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำอาเซียน
 
 
คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12  : หน้า 2 หนังสือพิมพ์มติชน นำเสนอหัวข้อ สิทธิมนุษยชนกับคนคนเดียว โดยกล่าว ถึง กรณีการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ควบคุมผู้ต้องขังแทนการจำคุกในเรือนจำ โดยการฝังอุปกรณ์ไฮเทคติดตามตัว สำหรับใช้รัดที่ข้อมือ ข้อเท้า เป็นการให้สิทธิมนุษยชนแก่นักโทษ ให้ออกมาใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระ แทนที่จะถูกขุมขังในเรือนจำ
 
 
คอลัมน์ คอลัมน์ 7 : หน้า 1 หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ นำเสนอหัวข้อ สมณศักดิ์ โดยกล่าว ถึง พล.อ.เต็งเส่ง ปธน.พม่า ได้นิมนต์สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไปรับสมณศักดิ์อัครมหาบัญฑิต เป็นเกียรติประวัติอันน่าภาคภูมิใจของคนไทยและพุทธศาสนิกชนทุกคน  
 
 
 
29 มีนาคม 2556 เวลา 07:32 น.

พวกต้าน2.2ล้านล้านอ่านตรงนี้..เผื่อจะอายลาว

ที่มา Thai E-News



ลาวลุยรถไฟความเร็วสูง เปลี่ยน "แลนด์ล็อก" เป็น "แลนด์ลิงก์"

 รัฐสภาลาวมีมติอนุมัติโครงการในการประชุมวาระพิเศษเมื่อสัปดาห์ก่อน หลังได้ข้อสรุปว่าระบบรถไฟความเร็วสูงจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ แม้ว่าบริษัท เอกชนของจีนประกาศถอนตัวโดยอ้างว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน 

รัฐบาล สปป.ลาวเตรียมเดินหน้าก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อกับประเทศจีน แม้ภาคเอกชนจีนจะถอนตัวออกจากบริษัทร่วมทุนเวียงจันทน์ ไทมส์ รายงานว่า รัฐสภา สปป.ลาวมีมติอนุมัติโครงการดังกล่าวในการประชุมวาระพิเศษเมื่อสัปดาห์ก่อน หลังได้ข้อสรุปว่าระบบรถไฟความเร็วสูงจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเมื่อการรวมกลุ่มเศรษฐกิจระหว่างกัน ได้รับการคาดหมายว่าเป็นอนาคตของภูมิภาคนี้

ก่อนหน้านี้ลาวกับจีนวาง แผนลงขันกันสร้างทางรถไฟ ซึ่งจะเชื่อมโยงกรุงเวียงจันทน์กับชายแดนลาว-จีนในจังหวัดหลวงน้ำทา แต่โครงการดังกล่าวซึ่งมีกำหนดเริ่มก่อสร้างต้นปี 2554 และแล้วเสร็จปี 2557 มีอันต้องล่าช้าออกไปเพราะความขัดแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์เหนือทางรถไฟและ ประเด็นอื่น ๆ จนในที่สุดบริษัทก่อสร้างจากแดนมังกรประกาศถอนตัวโดยอ้างว่าไม่คุ้มค่าต่อ การลงทุน 

ทางการลาวจึงตัดสินใจเดินหน้าโครงการตามลำพังโดยเป็นผู้ถือหุ้นเพียงผู้ เดียว แม้ว่าโครงการนี้จะไม่มีผู้ถือหุ้นโดยตรงรายอื่น ๆ แต่หน่วยงานของจีนจะเป็นผู้ให้เงินกู้สำหรับการดำเนินงาน

สมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรี เน้นย้ำถึงความสำคัญของโครงการนี้ในแง่จะช่วยเปลี่ยนลาวเป็นศูนย์กลางเชื่อม โยงภาคพื้นดิน (land link) ในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะช่วยดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ อันจะมีส่วนกระตุ้นการเติบโตของประเทศอีกต่อหนึ่ง

พิธีลงนามของ โครงการนี้อย่างเป็นทางการ จะมีขึ้นระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 9 ในวันที่ 5-6 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งลาวเป็นเจ้าภาพ โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั้งฝ่ายลาวและจีนมีกำหนดมาร่วมพิธีด้วย

นาย สมสะหวาดระบุว่า ทางรถไฟจะมีระยะทาง 420 กิโลเมตร ใช้ต้นทุนการก่อสร้างราว 4.425 หมื่นล้านหยวน (7 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งคาดว่าทั้งหมดจะได้รับสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีน (Exim Bank of China)

วอลล์สตรีต เจอร์นัล ตั้งข้อสังเกตว่า การให้เงินกู้ครั้งนี้สะท้อนถึงความพยายามของรัฐบาลปักกิ่งในการสร้างความ มั่นคงด้านวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้อนให้กับโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมการ ผลิตภายในประเทศ โครงการอื่น ๆ ในประเทศรอบข้างที่ทางการจีนเข้าไปมีส่วนร่วม ได้แก่ โครงการท่อส่งน้ำมันและก๊าซคู่ขนานในเมียนมาร์ ท่อส่งน้ำมันดิบจากไซบีเรียตะวันออก และโครงการทางรถไฟขนส่งถ่านหินจากมองโกเลีย

นายสุลีวง ดาราวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ เปิดเผยว่า ผลประโยชน์ที่จีนจะได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนกับการปล่อยเงินกู้ คือ ซัพพลายทรัพยากรแร่ธาตุราว 5 ล้านตันต่อปี จากลาวภายในปี 2563 ซึ่งหลัก ๆ แล้ว คือ โพแทช นอกจากนี้ยังมีวัตถุดิบอื่น ๆ อาทิ ไม้ และสินค้าเกษตร

ลาว ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลตั้งอยู่ระหว่างจีน เวียดนาม เมียนมาร์ ไทย และกัมพูชา ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ลาวได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติปริมาณมากที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ แม้ว่าปัจจุบันแร่ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นทองแดงและทองคำ แต่ลาวยังมีเหมืองอีก 10 แห่งที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งคาดว่า

จะเป็นแหล่งผลิตสำคัญของโพแทชที่เป็นส่วนผสมหลักในปุ๋ย นอกจากนี้ยังมีแร่อื่น ๆ อาทิ เหล็ก สังกะสี และตะกั่ว คาดว่ากำลังการผลิตแร่ทุกชนิดรวมกันจะทะลุ 7 ล้านตันต่อปีในไม่ช้า โดยส่วนใหญ่จะขายให้กับจีนผ่านทางเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2560

"แน่นอนว่าเราจะต้องมีความสามารถใน การแข่งขัน ถ้าแร่โพแทชของเราเสียเปรียบด้านราคา จีนก็จะหันไปซื้อจากแคนาดาแทน แต่เพราะเรากู้เงินจากธนาคารจีนมาสร้างทางรถไฟ ผมคิดว่าเป็นเหตุผลที่ดีที่จีนจะซื้อโพแทชจากเรา" นายสุลีวงกล่าว

ความ เคลื่อนไหวเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับแดนมังกรของลาว สวนทางกับแนวนโยบายของทางการเมียนมาร์ที่พยายามลดอิทธิพลของจีนในประเทศตน โดยตัดลดความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับจีน แล้วหันมาเปิดรับการลงทุนจากชาติตะวันตก โดยยินยอมปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อแลกกับการระงับมาตรการคว่ำบาตร

รูป แบบของรางรถไฟในลาวได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับทางรถไฟที่มีอยู่แล้วในจีน ซึ่งมีประสบการณ์เชี่ยวชาญในการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง

แม้ราง รถไฟจะมีความกว้างมาตรฐาน 1.435 เมตร แต่ต้องเคลียร์พื้นที่แต่ละฝั่งของรางรถไฟออกไปอีกฝั่งละ 50 เมตร สำหรับจัดเตรียมการก่อสร้างและดูแลความปลอดภัย ส่วนจุดที่ต้องสร้างอุโมงค์รถไฟพื้นที่ขนาบข้างต้องขยายเป็น 100 เมตร และบริเวณที่เป็นสถานีหลักจะมีการจัดเตรียมพื้นที่ขนาด 3,000x250 เมตร สำหรับพัฒนาเป็นย่านการค้าและเชื่อมโยงคมนาคมในอนาคต

ตลอดเส้นทาง รถไฟความเร็วสูงนี้ต้องมีการก่อสร้างอุโมงค์ 76 แห่ง และสะพาน 154 แห่ง ซึ่งรวมถึง 2 แห่งที่พาดข้ามแม่น้ำโขง เฉพาะอุโมงค์และสะพาน รวมกันกินพื้นที่มากกว่า 60% ของโครงการ เนื่องจากภูมิประเทศแถบภาคเหนือของลาวเต็มไปด้วยภูเขาสูง โครงการนี้มีสถานีทั้งหมด 31 แห่ง แต่ช่วงแรกที่เปิดดำเนินการจะให้บริการเพียง 20 แห่ง ที่เหลือจะทยอยเปิดตามมา

ด้านสถานีหลักมี 7 แห่ง 2 แห่งในจำนวนนี้อยู่ในเวียงจันทน์ เมื่อออกจากเมืองหลวงทางรถไฟจะมุ่งขึ้นเหนือผ่านเมืองโพนโฮงและวังเวียง ก่อนต่อไปยังหลวงพระบาง หลวงน้ำทาและถึงชายแดนจีนในที่สุด

ในข้อตกลง เริ่มแรก ขบวนรถขนส่งผู้โดยสารจะมีความเร็วสูงสุด 200 กม./ชม. แต่หลังจากนั้นรัฐบาลลาวตัดสินใจลดความเร็วลงเหลือไม่เกิน 160 กม./ชม. เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ที่ทางรถไฟตัดผ่านเป็นภูเขาสูง ส่วนขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจะทำความเร็วได้สูงสุด 120 กม./ชม.

อย่างไร ก็ตาม นายสมสะหวาดระบุว่า รถไฟบรรทุกผู้โดยสารอาจเพิ่มความเร็วถึง 200 กม./ชม.ได้ในเขตกรุงเวียงจันทน์ และเมืองวังเวียง ซึ่งเป็นพื้นที่ราบแต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกครั้งก่อนปรับเปลี่ยน กฎเกณฑ์
******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:
-พวกต้าน2.2ล้านล้านอ่านตรงนี้เผื่อจะอาย:รถไฟไทยอยู่ตรงไหน?(ตอนที่1)
-พวกต้าน2.2ล้านล้านอ่านตรงนี้เผื่อจะอาย:รถไฟไทยอยู่ตรงไหน?(ตอนที่2)

พวกต้าน2.2ล้านล้านอ่านตรงนี้..เผื่อจะอาย(ตอนที่2)

ที่มา Thai E-News



รถไฟไทยอยู่ตรงไหน?​ (2/3): รถไฟไทยพัฒนาแค่ไหน?



railway-electrified
สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าความเร็วหัวรถจักรเรามีความเร็วที่ช้ามาก (ติดอันดับโลก)
ที่มา WherIsThailand
หลังจากได้พูดถึงโครงสร้างพื้นฐานและความเข้าถึงของรถไฟไป แล้วในตอนแรก ข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจก็คือความล้าหลัง(หรือระดับการพัฒนา)ของการ รถไฟ ซึ่งอาจจะวัดได้จากความทันสมัยของเทคโนโลยีที่ใช้
ดัชนีชี้วัดอย่างหนึ่งที่อาจจะนำมาใช้ได้คือความกว้างของราง ราง ที่กว้างกว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนและบำรุงรักษาที่สูงกว่า แต่จะทำให้การเดินทางสเถียรกว่าและรถไฟสามารถวิ่งได้เร็วกว่ามาก อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถบ่งชี้ถึงระดับการพัฒนาของการรถไฟคือการเปลี่ยน มาใช้หัวจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หัว จักรพลังงานไฟฟ้ามักจะให้ความเร็วที่สูงกว่าและ “สะอาด” กว่า (ในแง่ที่ไม่สร้างมลภาวะทางอากาศและเสียงในชุมชนแต่ไปสร้างที่โรงไฟฟ้าแทน) นอกจากนี้หัวจักรไฟฟ้ายังค่อนข้างเงียบและเดินทางได้นิ่งกว่า เหมาะแก่การโดยสาร
ตัวเลขที่สามารถวัดการพัฒนาของรถไฟโดยสารได้คือสัดส่วนของรางที่ใช้รางขนาด กว้าง (standard gauge) เทียบกับรางขนาดแคบ (narrow gauge) และรางชนิดที่ใช้ไฟฟ้า (electrified rail)[1] ประกอบกับความเร็วหัวรถจักรสูงสุด[2]
Railway Statistics

Railway length: narrow guage (electrified) (km)Railway length: standard guage (electrified) (km)Max speed (km/h)
USA0224,792240
Russia95786,200 (40,300)250
Japan22,445 (15,366)4,737 (4,737)240-300
China086,000 (36,000)300 (431 for Shanghai Maglev Train)
Germany259 (99)41,722 (20,053)330
South Korea03,381 (1,843)305
India9,71754,257 (18,927)150
Malaysia1,792 (150)57 (57)160
Thailand4,04229 (29)90-100
จะเห็นได้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาแม้จะมีรางรถไฟมากแต่ไม่ค่อยมีการใช้ไฟฟ้า อาจจะเป็นเนื่องมาจากรถไฟส่วนใหญ่นั้นใช้ขนส่งสินค้าและการโดยสารโดยรถไฟยัง ไม่เป็นที่นิยมเท่าใดนัก ส่วนประเทศญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนไปใช้หัวรถจักรไฟฟ้าเป็นจำนวนมากสอดคล้องกับ ความนิยมในการโดยสารที่สูง
สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าความเร็วหัวรถจักรเรามีความเร็วที่ช้ามาก (ติดอันดับโลก) นอก จากนี้รางรถไฟของเราทั้งหมดเป็นแบบรางแคบและไม่มีกระแสไฟฟ้า (ยกเว้นแต่รถไฟสาย airport link ซึ่งคือจำนวน 29 กม.ที่เป็น standard guage ทั้งหมด) ไม่ว่าจะมองทางใด รถไฟของประเทศไทยนั้นนับจัดอยู่ในระดับที่เรียกว่า “ล้าหลังเป็นอย่างมาก”
จากข้อมูลของรายการ “จอโลกเศรษฐกิจ” ในตอนที่ทำเรื่องของการรถไฟไทย[3] มีประเด็นที่เป็นใจความสำคัญดังนี้
  • ราง รถไฟในไทยกว่า 94% เป็นแบบรางเดี่ยว นั่นหมายถึงรถไฟไม่สามารถวิ่งสวนทางกันได้กว่า 94% ของประเทศ จึงมีลักษณะเป็นคอขวดทำให้เกิดการล่าช้า
  • มีตู้ขบวนโดยสาร 1352 คัน ใช่ไม่ได้กว่า 500 คัน
  • หัวรถจักรมี 256 คัน รุ่นเก่าสุดอายุ 45 ปี รุ่นใหม่สุดอายุ 13 ปี
  • ความต้องการใช้งานหัวรถจักร 155 คันต่อวัน ใช้ได้จริง 137 คัน
อย่างไรก็ตามข้อมูลที่บ่งบอกถึงความ “ล้าหลัง” ที่สุดของรถไฟไทยได้ดีที่สุดที่ปฏิเสธไม่ได้คงจะมาจากประสบการณ์โดยตรงของ ทุกๆท่านกับรถไฟไทยของเราที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลยในเวลากว่า 100 ปีที่ผ่านมา หากผู้อ่านได้ลองนั่งรถไฟมาไม่นานนี้ (หรือเมื่อนานมาแล้วก็ตามที) จะพบว่าเรายังคงอนุรักษ์เอาไว้ซึ่งหัวรถจักรดีเซลที่เหม็น ส่งเสียงดัง สั่นสะเทือน ตารางเวลาที่ไม่เคยเป็นไปได้จริง ตู้รถไฟชั้นสามที่ร้อน เหม็นฉี่ และสกปรก

อ้างอิงข้อมูล:

[1] https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/2121.html
[2] http://en.wikipedia.org/wiki/High-speed_rail_by_country
[3] http://www.youtube.com/watch?v=xxjJ9OHp3bM

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: การเมืองว่าด้วย “พลังงานไทย” (ตอนที่สอง): ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานจริงหรือ?

ที่มา Thai E-News

 การเมืองว่าด้วย “พลังงานไทย” (ตอนที่สอง):
ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานจริงหรือ?
รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข”
ฉบับวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556

ขบวนการ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีจุดประสงค์ที่แท้จริงทางการเมืองคือ อาศัยความเดือดร้อนของประชาชนจากราคาน้ำมันแพง มาปลุกระดมความไม่พอใจ โดยพุ่งเป้าไปที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และรัฐบาล โดยอ้างว่า เบื้องหลัง ปตท.ก็คือ “กลุ่มผลประโยชน์” ที่เข้ามาควบคุม ปตท.ด้วยการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน แล้วเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2544 คนพวกนี้จึงเรียกร้องให้ “ทวงคืน ปตท.” ซึ่งก็คือ ถอน ปตท.ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ยกเลิกหุ้น ปตท. และหวนคืนสู่การเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปดังเดิม

นิยาย พลังงานไทยที่คนพวกนี้ผูกเรื่องขึ้นมาโดยคร่าว ๆ คือ ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน มีทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบปริมาณมหาศาล แต่คนไทยกลับต้องใช้น้ำมันราคาแพงเพราะมีกลุ่มผลประโยชน์เข้ามาฮุบทรัพยากร เริ่มตั้งแต่สมคบกับบริษัทขุดเจาะต่างชาติที่ได้สัมปทานแบ่งส่วนผลประโยชน์ ให้รัฐไทยน้อยมาก แอบส่งออกน้ำมันดิบไทยไปขายในตลาดโลก แล้วนำเข้าน้ำมันดิบราคาแพงจากตะวันออกกลางเข้ามากลั่น บวกต้นทุนเทียมและตั้งราคาหน้าโรงกลั่นเพื่อกินกำไรส่วนต่าง จัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน ทำให้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยมีราคาขายปลีกแพงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก!

คนพวกนี้ กล่าวหาว่า มีการปกปิดบิดเบือนข้อมูลโดยหน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้อง และหันไปอ้างแหล่งข้อมูลต่างประเทศที่ดูขลังน่าเชื่อถือแทน เช่น การสารสนเทศพลังงานของสหรัฐอเมริกา หรืออีไอเอ เป็นต้น อ้างไปถึงว่า เป็นข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐหรือซีไอเอก็มี ทั้งที่ถ้าลงมือตรวจสอบกันอย่างจริงจัง ก็จะพบว่า ข้อมูลพลังงานไทยจากแหล่งข้อมูลต่างประเทศ เช่น อีไอเอ และบีพีโกลบอล ก็ใกล้เคียงกับข้อมูลที่หน่วยราชการไทยเผยแพร่ ทั้งนี้ก็เพราะว่า แหล่งข้อมูลในต่างประเทศเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็เอาข้อมูลจากหน่วยราชการไทยไป เผยแพร่อีกทีหนึ่งนั่นเอง

ความจริงคือ ประเทศไทยไม่ได้เป็นเศรษฐีพลังงานแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบ แม้จะผลิตได้เองจำนวนหนึ่ง ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากทุกปี ปริมาณสำรองที่มีอยู่ก็ไม่มากนักและถ้าไม่มีการค้นพบเพิ่มอีก ก็จะหมดไปในอีกไม่เกินสิบปี

ข้อมูลจาก อีไอเอ บีพีโกลบอล และจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติของไทยให้ตัวเลขใกล้เคียงกัน ในปี 2555 ประเทศไทยมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้วประมาณ 10-10.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต เป็นอันดับที่ 42 ของโลก และเป็นเพียงร้อยละ 0.1 ของปริมาณสำรองทั้งโลก ไทยมีอัตราการผลิตก๊าซจำนวน 1.3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี ด้วยอัตรานี้ ถ้าไม่มีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่เพิ่มอีก ก๊าซธรรมชาติของไทยจะหมดไปภายใน 7-8 ปี แต่ประเทศไทยมีการบริโภคก๊าซธรรมชาติปีละ 1.6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ผลก็คือ ประเทศไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้านปีละ 3 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต

ในส่วน น้ำมันดิบ ข้อมูลแหล่งต่าง ๆ ก็ยังให้ภาพรวมที่ใกล้เคียงกัน ในปี 2554 ประเทศไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วประมาณ 440 ล้านบาร์เรล เป็นอันดับที่ 47 ของโลกและเป็นเพียงร้อยละ 0.02 ของปริมาณสำรองทั้งโลก ในปี 2555 ไทยมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบและคอนเด็นเสท (ก๊าซธรรมชาติเหลว) รวมกันประมาณ 240,000 บาร์เรลต่อวันหรือราว 86 ล้านบาร์เรลต่อปี ในอัตราการผลิตนี้ ถ้าไม่มีการค้นพบแหล่งน้ำดิบเพิ่มอีก น้ำมันดิบไทยก็จะหมดไปในเวลาเพียง 5 ปี

โรงกลั่น น้ำมันในประเทศไทยใช้น้ำมันดิบจากแหล่งตะวันออกกลางเป็นหลัก ซึ่งมีคุณสมบัติที่มีสารเจือปนน้อย (เช่น สารปรอท) และกลั่นได้น้ำมันดีเซลเป็นสัดส่วนมาก ตรงกับความต้องการใช้น้ำมันในประเทศไทย แต่น้ำมันดิบที่พบในประเทศไทยบางส่วนมีสารเจือปนสูง และที่พบในอ่าวไทยก็มีองค์ประกอบที่กลั่นแล้วได้น้ำมันเบนซินในสัดส่วนสูง ถ้าโรงกลั่นในไทยรับซื้อและกลั่นออกมา ก็จะมีน้ำมันเบนซินเหลือเกินความต้องการของตลาด น้ำมันดิบไทยส่วนนี้จึงถูกส่งออกไปขายต่างประเทศแทน ทั้งนี้ ในปี 2555 ประเทศไทยส่งออกน้ำมันดิบไปต่างประเทศเป็นปริมาณ 41,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นมูลค่าเพียง 51,000 ล้านบาทเท่านั้น นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลกซึ่งส่ง ออกกันเป็นแสนเป็นล้านบาร์เรลต่อวัน

น้ำมันดิบ ไทยที่โรงกลั่นในไทยสามารถใช้ได้จึงมีราว 200,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ประเทศไทยมีอัตราการบริโภคน้ำมันดิบราว 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประเทศไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบประมาณ 8 แสนบาร์เรลต่อวัน ข้อมูลในอดีตแสดงว่า ในแต่ละปี น้ำมันดิบที่ผลิตในไทยสามารถสนองความต้องการใช้ในประเทศได้เพียงร้อยละ 15-20 เท่านั้น นอกนั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

กระทรวง พลังงานมีนโยบายที่จะเลิกส่งออกน้ำมันดิบไทยโดยสิ้นเชิงและให้โรงกลั่นในไทย กลั่นน้ำมันดิบทั้งหมดเอง แต่ก็มีข้อโต้เถียงกันอยู่ว่า ต้องมีการลงทุนปรับปรุงโรงกลั่นปัจจุบันให้สามารถรับสารเจือปนปริมาณสูงได้ ซึ่งใช้เวลาหลายปี ที่สำคัญคือ น้ำมันดิบส่วนนี้มีปริมาณไม่มาก และเมื่อกลั่นออกมาก็จะได้น้ำมันเบนซินสัดส่วนสูง ก็จะต้องมีแผนการส่งออกน้ำมันเบนซินส่วนเกินนี้ไปต่างประเทศอีกอยู่ดี ทั้งหมดนี้จะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่

พวก “ทวงคืนพลังงานไทย” อ้างว่า ประเทศไทยผลิตก๊าซและน้ำมันดิบได้มากกว่าประเทศเศรษฐีพลังงาน เช่น บรูไน ซึ่งก็เป็นความจริง ในปี 2554 บรูไนผลิตก๊าซธรรมชาติ 440,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (เป็นหนึ่งในสามของประเทศไทย) ผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทได้ 126,000   บาร์เรลต่อวัน (เป็นครึ่งหนึ่งของประเทศไทย) แต่คนพวกนี้ไม่บอกว่า บรูไนมีประชากรเพียง 4 แสนคน มีอัตราการบริโภคก๊าซธรรมชาติเพียง 107,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันและบริโภคน้ำมัน 16,000 บาร์เรลต่อวัน บรูไนจึงสามารถส่งออกก๊าซธรรมชาติได้ 330,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งออกน้ำมันดิบ 136,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นสามเท่าของประเทศไทย บรูไนจึงเป็นเศรษฐีส่งออกก๊าซและน้ำมัน

คนพวกนี้ ชอบอ้างว่า ในประเทศเศรษฐีน้ำมัน ประชาชนได้ใช้น้ำมันราคาถูก เช่น เวเนซูเอลา ซาอุดิอาระเบีย และที่อ้างบ่อยที่สุดคือ มาเลเซีย แต่ตรรกะที่ว่า ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน คนไทยจึงต้องได้ใช้ก๊าซและน้ำมันในราคาถูก ก็เป็นตรรกะที่ผิดอย่างสิ้นเชิง ทรัพยากรธรรมชาติทั้งก๊าซและน้ำมันใช้เวลาก่อกำเนิดหลายร้อยล้านปี มีปริมาณจำกัด ใช้หมดไปแล้วสร้างขึ้นใหม่ไม่ได้ ถึงมีมากสักเพียงใด ก็มีวันหมด หนทางที่ถูกต้องจึงต้องประหยัดการใช้ให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด ถ้าตั้งราคาต่ำกว่าความเป็นจริงแล้วใช้หมดในเร็ววัน เราและลูกหลานก็ต้องหาพลังงานทดแทนที่มีราคาแพงกว่ามาใช้ นโยบายของรัฐบาลในต่างประเทศที่อุดหนุนราคาให้ประชาชนได้ใช้น้ำมันในราคาถูกจึงเป็นนโยบายที่ผิด ประเทศไทยไม่ควรเอาอย่าง ต้องให้ประชาชนได้ใช้ก๊าซและน้ำมันในราคาที่สอดคล้องกับความหาได้ยากที่แท้ จริงของทรัพยากร ส่วนความจริงที่ว่า ราคาน้ำมันบางชนิดในประเทศไทยมีราคาแพงเพราะนโยบายบิดเบือนราคาของรัฐบาล นั้น ก็เป็นความจริง ซึ่งก็ต้องวิจารณ์กันบนข้อเท็จจริง ไม่ใช่บนนิยายที่แต่งขึ้นมาหลอกกันเอง

ดูเพิ่มเติม


การเมืองว่าด้วย “พลังงานไทย” (ตอนที่หนึ่ง): 

สี่ปีกว่าผ่านไป คดีพันธมิตรยึดสนามบิน เพิ่งสั่งฟ้องไป 31+14 คน จากจำเลยทั้งหมด 114 คน

ที่มา Thai E-News


28 มีนาคม 2556

ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 มี.ค. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" แจ้งว่า อัยการฝ่ายคดีอาญา 9 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีร่วมกับแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปิดล้อมสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2551 เพิ่มอีก จำนวน 11 คน ประกอบด้วย นายศรัณยู วงษ์กระจ่าง แกนนำพันธมิตรฯ รุ่นที่ 2 และดารานักแสดง , นายสุรวิชช์ วีรวรรณ ผอ.สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี , น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ , นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ , นายยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที , นางจินดารัตน์ เจริญชัยชนะ , นายเติมศักดิ์ จารุปราณ ,น.ส.วรรษมน ช่างปรีชา นายสุนันท์ , ศรีจันทรา น.ส.กมลพร วรกุล , นายชัชวาล ชาติสุทธิชัย ในความผิด ฐานร่วมกันก่อการร้ายเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้ายหรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิด กฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ฯ

โดยอัยการระบุความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2551 รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีสถานการณ์ร้ายแรงในเขตพื้นที่ดอนเมือง ลาดกระบัง และ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ โดยให้ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น.(ขณะนั้น) เป็นผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยได้ออกประกาศวันที่ 29 พ.ย. 2551 ห้ามมิให้มีการชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป บริเวณเขตดอนเมืองและพื้นที่อื่น ๆ และห้ามใช้เส้นทางคมนาคมบริเวณพื้นที่ชุมนุมทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว (ดอนเมือง) ห้ามใช้อาคาร ห้ามใช้พื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมืองและให้ประชาชนที่ชุมนุมบริเวณท่าอากาศยาน ดอนเมืองออกจากพื้นที่ทันที

วันที่ 29 พ.ย. 2551 พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ ผบช.ภ. 1 หัวหน้าผู้รับผิดชอบพื้นที่ในเขตสถานการณ์ฉุกเฉินบริเวณเขตลาดกระบังและ อ.บางเสาธง ได้ออกข้อกำหนดอีก 1 ฉบับ กล่าวคือ ห้ามมีการชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 5 คน ชุมนุมในกรุงเทพและจ.สมุทรปราการ ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในสนามบินสุวรรณภูมิใช้เส้นทาง คมนาคมบริเวณ ถ.บางนา-ตราดและที่อื่น ๆ และห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ทั้งนี้ นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง จำเลยคดีนี้ ร่วมกับจำเลยที่ 1-30 และพวกที่ยังไม่ได้นำตัวมาฟ้อง แบ่งหน้าที่กันทำในลักษณะต่างๆ กัน ทั้งเป็นกลุ่มปลุกระดม ประกาศ ปราศรัย ชักชวน ปลุกเร้า และ จูงใจให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และร่วมกันใช้รถยนต์บรรทุก 6 ล้อ ดัดแปลงเป็นเวลาปราศรัย และรถชนิดต่างๆ อีกจำนวนหลายคัน เป็นยานพาหนะนำพากลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯดังกล่าว ไปชุมนุมที่อาคารวีไอพีของท่าอากาศยานดอนเมือง ส่วนอีกกลุ่มเดินทางด้วยยานพาหนะไปชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ วันที่ 24 พ.ย. - 3 ธ.ค.2551 โดยมีการถ่ายทอดสดแพร่ภาพและเสียงออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่องเอเอส ทีวี (ASTV) เพื่อให้กลุ่มพันธมิตรฯและบุคคลทั่วไป ที่ถูกปลุกระดม ชักชวน รู้ความเคลื่อนไหวของกันและกัน

อันเป็นความผิดตามกฎหมายจึงขอให้ศาล ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชานด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพี่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ, ร่วมกันเข้าไปรบกวนการครอบครอง เข้าไปซ่อนตัวในอาคารสำนักงานของผู้อื่นและไม่ยอมออกไปจากสถานที่นั้น โดยใช้กำลงประทุษร้าย, ร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปฝ่าฝืนคำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

ศาลได้ประทับรับฟ้องไว้เป็นคดีดำ อ.1204/2556 และนัดสอบคำให้การจำเลยในวันที่ 29 เม.ย. เวลา 09.00 น.

ต่อ มา น.ส.พวงทิพย์ บุญสนอง ทนายความของพวกจำเลย ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพของบริษัทวิริยะ ประกันภัย จำกัด วงเงินคนละ 6 แสนบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับจำเลยคดีนี้มีทั้งหมด 114 คน ก่อนหน้านี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องแกนนำพันธมิตรฯ และแนวร่วมเป็นจำเลยในคดีก่อการร้ายชุดแรก รวม 31 คน ประกอบด้วย 1. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง 2.นายสนธิ ลิ้มทองกุล 3. นาย พิธพ ธงไชย 4.นาย สมศักดิ์ โกศัยสุข 5.นายสุริยใส กตะศิลา 6.นาย สมเกียรติ พงศ์ไพบูลย์ 7.นาย ศิริชัย ไม้งาม 8. นายสำราญ รอดเพชร 9.นางมาลีรัตน์ แก้วก่า 10.นาย สาวิทย์ แก้วหวาน 11.พ.ต.อ. สันธนะ ประยูรรัตน์ 12. นายชนะ ผาสุกสกุล 13. นายรัชต์ชยุตม์ หรือ อมร อมรรัตนานนท์ 14. นาย ประพันธ์ คูณมี 15.นาย เทิด ภูมิใจดี 16.น.ส. อัญชะลี ไพรีรัก 17.นายพิชิต หรือ ตั้ม ไชยมงคล 18.นาย บรรจง นะแส 19.นาย สุมิตร นวลมณี 20.นายพิเชษฐ พัฒนโชติ 21.นายสมบูรณ์ ทองบุราณ 22.นายอธิวัฒน์ บุญชาติ 23.นาย จำรูญ ณ ระนอง 24.นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร 25.นายไทกร พลสุวรรณ 26.นายสุชาติ ศรีสังข์ 27.นาย อำนาจ พละมี 28.พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพ 29.นาย เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา 30. นายกิตติชัย หรือ จอร์ส ใสสะอาด และ 31.บ.เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด

และ ชุดที่สอง อีก จำนวน 14 คน ประกอบด้วย นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด,นายปราโมทย์ หอยมุกข์,นายสุทิน วรรณบวร,นายสุริยนต์ สุวรรณวงศ์ , นางกรรณิกา วิชชุลตา น.ส.ต้นฝัน แสงอาทิตย์, พล.ร.ต.มินท์ กลกิจกำจร , นายสถาวร ศรีอำนวย,นายคมกฤษณ์ พงษ์สัมพันธ์ ,นายอนุชา ประธาน ,นายสมัชชา วิเชียร , นายสุพัฒน์ นิลบุตร , นายประทีป ขจัดพาล และ นายประมวล หะหมาน

เพิ่มเติม

ยึดสนามบินลอยนวล ป่วนแม้วLAโดนจับสับกุญแจมือ

ข่าวด่วน: ศาลแพ่งสั่ง 13 แกนนำพันธมิตร จ่าย 522 ล้าน คดีชุมนุมปิดสนามบิน"สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง"

DSI รับคดี "โกงจัดซื้อยาพาราฯ และ โรงงานวัคซีน" สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์แล้ว

ที่มา go6tv


รายงาน ข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ แจ้งว่า วันที่ 28 มีนาคมนี้ เวลา 10.00 น. นายกมล บันไดเพชร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ให้ตรวจสอบการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีน วงเงิน 1.4 พันล้านบาท ซึ่งมีกำหนดก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2552 สิ้นสุดวันที่ 28 มกราคม 2556 แต่ปรากฏว่ายังสร้างไม่เสร็จ และให้ตรวจสอบการสั่งซื้อวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอล ที่ส่อว่าอาจจะมีการทุจริต

ข่าว แจ้งว่า ก่อนหน้านี้มีการประสานงานจาก สธ.ให้ดีเอสไอเข้าไปตรวจสอบเบื้องต้นในทั้ง 2 เรื่องนี้แล้ว พบข้อพิรุธน่าสงสัยหลายประเด็นที่จะส่อไปในทางทุจริต จึงได้รายงานผลไปยังรัฐมนตรี สธ. ให้มายื่นเรื่องอย่างเป็นทางการ เพื่อดีเอสไอจะได้ลงไปสอบสวนเชิงลึกอย่างเป็นระบบ 

"ที่ สธ.ขอให้ดีเอสไอตรวจสอบการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล ขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) เนื่องจากปรากฏข่าวเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ว่าโรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร กระทรวงกลาโหม ได้ตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบในการผลิตยาเม็ดพาราเซตามอล เพื่อที่จะส่งมอบให้แก่ อภ. พบว่าวัตถุดิบหลายล็อต มีปัญหา ต้องส่งคืนให้แก่บริษัทผู้ผลิต ซึ่งในช่วงระหว่างปี 2554-2555 พบว่ามีวัตถุดิบมีปัญหาถึง 19 ล็อต และเป็นวัตถุดิบที่มาจากแหล่งเดียวกันกับแหล่งที่ อภ.ซื้อ หรือบางส่วนได้รับมาจาก อภ.สำรองไว้ นอกจากนี้ อภ.ยังมีวัตถุดิบพาราเซตามอลที่มาจากแหล่งดังกล่าวอีกประมาณ 148 ตัน เนื่องจากการปรับปรุงส่วนโรงงานการผลิตยาเม็ดพาราเซตามอลของ อภ.ยังไม่แล้วเสร็จ และคาดว่าจะเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้" แหล่งข่าวกล่าว

รายงาน ข่าวแจ้งว่า กรณี อภ.จัดซื้อวัตถุดิบพาราเซตามอลสำรอง 148 ตัน มีการจัดซื้อ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวน 48 ตัน และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 จำนวน 100 ตัน ต่อมาโรงงานเภสัชกรรมทหารประสบปัญหาด้านวัตถุดิบ จึงขอให้ อภ.เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบพาราเซตามอลมอบให้แก่โรงงานเภสัชกรรมทหาร ซึ่ง อภ.ได้ส่งมอบวัตถุดิบให้แก่โรงงานเภสัชกรรมทหารเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556 จำนวน 5 ตัน และเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 จำนวน 5 ตัน ต่อมาจึงมีข่าวปัญหาปนเปื้อนในยาพาราเซตามอล 

"จาก ข้อเท็จจริงดังกล่าว อภ.พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล ของ อภ. อาจมีการทุจริตในการจัดหาผู้ขาย หรือการตรวจรับวัตถุดิบยาพาราเซตามอลของคณะกรรมการ และอาจส่งผลให้ยาพาราเซตามอลที่ผลิตออกมาไม่ได้มาตรฐาน เป็นเหตุให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย จึงขอให้ดีเอสไอ พิจารณาดำเนินการตรวจสอบต่อไป" แหล่งข่าวกล่าว

ส่วน ปัญหาโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ / ไข้หวัดนก ที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ของ อภ.ที่ สธ.ขอให้ดีเอสไอเข้าตรวจสอบนั้น สธ.ได้ตั้งข้อสังเกตว่า สัญญาที่ 1 จ้างก่อสร้าง ส่วนที่ 1 อาคารผลิต อาคารบรรจุ อาคารประกันคุณภาพและอาคารสัตว์ทดลอง จ้างบริษัท เอ็ม แอนด์ ดับเบิล ยู (ไทยแลนด์) วงเงิน 321 ล้านบาท, สัญญาที่ 2 จ้างก่อสร้าง ส่วนที่ 2 อาคารระบบสนับสนุนกลาง จ้างบริษัทสเตพไวส์ จำกัด วงเงิน 106,786,000 บาท

ขณะ ที่การจ้างที่ปรึกษาออกแบบ สัญญา 1 จ้างออกแบบโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มาตรฐาน WHO-GMP (อาคารบรรจุ) จ้างบริษัท คลีนแอร์ โปรดักท์ จำกัด และบริษัท เอ็นจิเนียริ่ง เทคโนโลยี คอนซัลแตนท์ จำกัด วงเงิน 2,182,800 บาท, สัญญาที่ 2 จ้างออกแบบ โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มาตรฐาน WHO-GMP (อาคารระบบ สนับสนุนส่วนกลางไฟฟ้า น้ำสุขาภิบาล ซ่อมบำรุงและอื่นๆ) จ้างบริษัท คอนซัลแตนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด วงเงิน 2,411,000 บาท

สัญญา ที่ 3 จ้างออกแบบ โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มาตรฐาน WHO-GMP (อาคารประกันคุณภาพและสัตว์ทดลอง) จ้างบริษัท สแปน คอนซัลแตนท์ จำกัด และ บริษัท ไอ อีซีเอ็ม จำกัด วงเงิน 2,107,900 บาท, สัญญาที่ 4 จ้างออกแบบ โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มาตรฐาน WHO-GMP (อาคารผลิต) จ้างบริษัท ไดนามิค เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และ Technicat Competence Teample.Ltd วงเงิน 2,499,000 บาท

"ต่อ มามีการแก้ไขสัญญางานก่อสร้าง โดยแก้ไขฐานราก จากเดิมกำหนดให้ใช้ฐานแผ่เป็นแบบฐานตอก มีการแก้ไขแบบ โดยยกระดับอาคารให้สูงขึ้น และมีการเพิ่มเงิน รวมทั้งมีการขยายระยะเวลาการก่อสร้าง โดยเพิ่มระยะเวลาการก่อสร้างให้กับผู้รับจ้าง มีการแก้ไขกระบวนการผลิต เดิมมีการกำหนดให้ผลิตวัคซีนเป็นแบบเชื้อตาย ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเชื้อตายและเชื้อเป็น ซึ่งต้องมีกระบวนการแก้ไขและออกแบบการก่อสร้างและเครื่องมือการผลิตใหม่" แหล่งข่าวกล่าว

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ปัจจุบันผู้รับจ้างยังดำเนินการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากต้องเสียเวลาจากการพิจารณาของ อภ.ในการอนุมัติ การแก้ไขสัญญา การขยายระยะเวลาการก่อสร้าง พิจารณาเพิ่มหรือลดวงเงินเป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย ซึ่งจากข้อเท็จจริงดังกล่าว สธ.พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการของ อภ. อาจมีการทุจริตในการจัดหาผู้รับจ้าง หรือกระทำโดยไม่ชอบด้วยระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และอาจจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและให้ความเป็นธรรม จึงขอให้ดีเอสไอพิจารณาดำเนินการตรวจสอบ

แหล่ง ข่าวจากดีเอสไอ เปิดเผยว่า ปัญหาการก่อสร้างโรงงานวัคซีนดังกล่าว อาจจะมีปัญหาเช่นเดียวกับโครงการก่อสร้างโรงพัก 396 แห่ง ที่มีปัญหาการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ