แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คดี 2 ศพใต้ด่วนพระราม 4 ร่วมกตัญญูเบิกทีมถูกยิงหลังทหารถาม “มึงด้วยใช่ไหม”

ที่มา ประชาไท


เบิก 2 พยาน ไต่สวนการตาย  2 ศพใต้ทางด่วนพระราม 4 เหยื่อกระสุน 16 พ.ค.53 ร่วมกตัญญู เบิก จนท.ประจำรถถูกยิงหลังทหารตะโดนถาม “มึงด้วยใช่ไหม” เพื่อนผู้ตายยันไม่พบชายชุดดำหรือบุคคลถืออาวุธปืนในที่เกิดเหตุ
10 มิ.ย.56 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ฯ ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรศพ คดีที่พนักงานอัยการ สำนักอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญาใต้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตของนายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล อายุ 25 ปี อาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ผู้ตายที่ 1  และนายประจวบ ประจวบสุข ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จ การแห่งชาติ (นปช.) ผู้ตายที่ 2 ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณใต้ทางด่วน  ถ.พระราม 4 เมื่อวันที่ 16 พ.ค.53 ช่วงกระชับพื้นที่การชุมนุมของ นปช. โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
โดยพนักงานอัยการนำพยานเข้าเบิกความ 2 ปาก ประกอบด้วย นายธีรภัทร กลมเกลี้ยง  เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพร่วมกตัญญู ร่วมทีมกับสภากาชาดไทย เข้าปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บตั้งแต่เริ่มมีการชุมนุมจนย้าย การชุมนุมมาที่แยกราชประสงค์ และ น.ส.ชลลดา ธานีโรจน์ ผู้รู้จักนายเกียรติคุณ ผู้ตายที่ 1 มากกว่า 20 ปี และเป็นผู้ว่าจ้างผู้ตายให้ขับรถไปส่งที่ใต้ทางด่วนพระราม 4 เพื่อดูเหตุการณ์
นายธีรภัทร กลมเกลี้ยง เบิกความถึงเหตุการณ์วันที่ 14 พ.ค.53 ว่า มีการปิดถนนพระราม 4 ไม่สามารถลำเลียงคนเจ็บออกมาได้ จึงออกจากสภากาชาดไทยไปทางถนนสีลมออกถนนสาธรแล้วไปที่ซอยงามดูพลีและไปถึง โรงแรมพินนาเคิลในช่วงบ่าย 15.00 น. ไปแล้ว และได้จอดรถอยู่ที่โรงแรม มากับเจ้าหน้าที่ประจำรถ 2 คน คือนายสรายุทธ อำพันธ์  และ น.ส.มุนินทร์  ตอนไปถึงมองไปที่ปากซอยเห็นมีคนอยู่น่าจะเป็นประชาชนที่อยู่ในซอยมาดู เหตุการณ์มากกว่าไม่ใช่ผู้ชุมนุม บางคนมีไม้ มีหินที่หาได้จากในบริเวณนั้น ไม่มีอาวุธปืน  ขณะนั้นไม่เห็นทหารเพราะว่าอยู่ในซอยงามดูพลีแต่ทราบมาก่อนแล้วว่ามีทหาร อยู่แถวสวนลุมพินี
นายธีรภัทร เบิกความต่อว่า เริ่มมีเสียงปืนดังเป็นชุดๆ จากถนนพระราม 4 และเสียงดังไล่เข้ามาเรื่อยๆ  คนที่อยู่ทางปากซอยก็วิ่งหนีเข้ามาที่โรงแรมบ้างวิ่งเลยเข้าไปในซอยบ้างโดย คนที่วิ่งหนีเข้ามามีราวๆ 20 คน ไม่มีอาวุธปืนและวัตถุระเบิด  และในกลุ่มคนที่วิ่งเข้ามามีชายที่สวมเสื้อสีม่วง ในมือถือไม้คล้ายด้ามไม้กวาด ถูกยิงที่หน้าทางเข้าโรงแรมซึ่งรถพยาบาลคันที่จอดอยู่ข้างหน้าคันของพยานได้ นำตัวชายคนดังกล่าวไปส่งโรงพยาบาล
เมื่อคนที่อยู่ทางปากซอยวิ่งเข้ามาหมดแล้ว มีเสียงปืนดังไล่เข้ามา จึงบอกกับนายสรายุทธและน.ส.มุนินทร์ ไปอยู่ที่หลังรถเพราะข้างหน้าไม่ปลอดภัย  จากนั้นไม่เกิน 5 นาที มีทหารวิ่งเข้ามาจากทางปากซอยงามดูพลี มาที่หน้าทางเข้าโรงแรมพินนาเคิล โดยทหารที่เข้ามามีอาวุธปืน M16 และ ปืนลูกซอง ทหารที่เข้ามามีไม่เกิน 10 นาย บางคนนั่งบางคนยืนประทับปืนเล็งมาที่รถ  จึงลงจากรถพร้อมกับแสดงตัวและยกมือขึ้นเหนือศีรษะทั้งสองข้าง ซึ่งในวันนั้นการแต่งกายพยานใส่เสื้อสีขาวของมูลนิธิร่วมกตัญญู ที่แขนมีปลอกแขนเครื่องหมายกาชาด และรถเป็นรถพยาบาลสีขาว มีตราสัญลักษณ์



คลิปที่น่าจะเป็นเหตุการณ์ดังกล่าว
นายธีรภัทร เบิกความต่อศาลว่า ทหารตะโกนถามพยานว่า “มึงด้วยใช่ไหม” ซึ่งขณะนั้นทหารอยู่ห่างจากระยะไม่เกิน 10 ม. จึงตอบกลับไปว่า “ไม่เกี่ยวเป็นพยาบาล” เมื่อพูดจบมีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด ทะลุกระจกหน้ารถ ส่วนกระจกหลังรถแตกกระจาย จึงหมอบลงกับพื้น  น.ส.มุนินทร์ได้ตะโกนว่านายสรายุทธโดนยิง พยานจึงเปิดประตูข้างรถไปมีเลือดพุ่งออกมาจากมือซ้ายของนายสรายุทธ  จากนั้นปฐมพยาบาลนายสรายุทธแล้วออกรถนำตัวไปส่งที่โรงพยาบาล  และขับออกจากทางเข้าโรงแรมผ่านทหาร จึงลดกระจกลงแล้วถามทหารว่ายิงทำไม ทหารในกลุ่มที่ใช้ปืนยิงตอบมาว่า “พวกมึงขว้างกูก่อน” จากนั้นจึงรีบขับรถไปโรงพยาบาลจุฬาฯ
แต่นายสรายุทธได้ถูกย้ายจากโรงพยาบาลจุฬาฯ ไปโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นห้องพิเศษในโรงพยาบาล โดยทราบจากนายสรายุทธภายหลังว่าทางทหารต้องการแสดงความรับผิดชอบจึงได้ย้าย มารักษาที่นี่  จากนั้นเช้าวันรุ่งขึ้นรัฐมนตรีกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบกได้เข้าเยี่ยมนาย สรายุทธเป็นการเฉพาะด้วย ช่วงที่นายสรายทุธรักษาตัวอยู่ พยานอยู่ดูแลอยู่ราว 20 วัน จนกระทั่งออกจากโรงพยาบาล ซึ่งบางวันพยานก็อยู่นอนเฝ้าบางวันก็ไปเยี่ยม หลังจากเกิดเหตุก็ไม่ได้กลับไปปฏิบัติหน้าที่อีกเนื่องจากรถได้รับความเสีย หายและไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำรถ
นายธีรภัทร เบิกความด้วยว่าตอนที่นายสรายุทุธถูกยิงอยู่ในท่าทางมือซ้ายยกชูเหนือศีรษะ ไว้ มือขวากดหัวให้ น.ส.มุนินทร์ก้มหลบเอาไว้ และในรถยังเปิดไฟส่องสว่างเอาไว้ด้วย ลักษณะของคนที่อยู่บริเวณซอยงามดูพลีมีลักษณะเหมือนแอบมองดูไปทางที่ทหาร อยู่  และขณะนั้นไม่มีเหตุทะเลาะวิวาทอะไรในซอย
น.ส.ลลดา ธานีโรจน์ เบิกความว่ารู้จักกับนายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล 20 กว่าปีแล้วตั้งแต่นายเกียรติคุณอายุ 2 ขวบ  เพราะเป็นเพื่อนบ้านกัน และก่อนเสียชีวิตนายเกียรติคุณมีอาชีพขับจักรยานยนต์รับจ้าง ในวันที่ 16 พ.ค.53 เวลาประมาณเที่ยง พยานจ้างนายเกียรติคุณให้ขับรถไปส่งที่ใต้ทางด่วนพระราม 4 เพื่อดูเหตุการณ์  ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ไปดูการชุมนุม  พวกเธอไปถึงจุดหมายตอนราวบ่ายโมง  เมื่อไปถึงแล้วเกียรติคุณก็จอดรถเอาไว้ที่ข้างป้อมจราจรใต้ทางด่วนพระราม 4
น.ส.ลลดา เบิกความต่อว่า พยานและนายเกียรติคุณเดินดูในบริเวณดังกล่าวด้วยกัน เห็นผู้ชุมนุมไม่ต่ำกว่าพันคนที่อยู่ใต้ทางด่วนพระราม 4 โดยยืนเป็นแนวขวางถนน และเห็นทหารอยู่ไกลๆ ทางเชิงสะพานไทย-เบลเยี่ยม แต่ไม่ทราบจำนวนเพราะว่ามีบังเกอร์บังอยู่ไม่เห็นทหารที่อยู่ด้านหลังว่ามี เท่าไหร่  โดยระหว่างใต้ทางด่วนพระราม 4 ที่ผู้ชุมนุมอยู่กับสะพานไทย-เบลเยี่ยมจุดที่ทหารอยู่มีแนวยางขวางถนนอยู่ ทั้ง 2 ฝั่งถนนขาเข้าและขาออก แต่ไม่มีคนอยู่หลังแนวยาง  ซึ่งสูงประมาณระดับหน้าอก คิดว่าน่าจะอยู่ห่างจากจุดใต้ทางด่วนพระราม 4 ราว 500 ม. จากนั้นเดินย้อนกลับออกมาไปทางคลองเตยเพื่อรับประทานอาหารที่ร้านข้างทางไม่ ห่างจากใต้ทางด่วนพระราม 4  จากนั้นราว 15 นาที เมื่อรับประทานอาหารเสร็จพวกเดินกลับมาที่ใต้ทางด่วนพระราม 4 อีกครั้ง จึงบอกให้นายเกียรติคุณสวมหมวกนิรภัยเพื่อให้เป็นที่สังเกตได้ง่ายเนื่องจาก หมวกมีสีขาว  จากนั้นพยานกับนายเกียรติคุณก็เดินแยกกันไป โดยก่อนแยกกันพยานสัญญากับผู้ตายว่าหากมีอะไรเกิดขึ้นให้กลับมาเจอกันตรงที่ รถจอดเอาไว้  เมื่อแยกกันแล้วพยานไม่ทราบว่าผู้ตายเดินไปที่ไหนบ้าง ส่วนพยานเองเดินอยู่ในบริเวณนั้น
น.ส.ลลดา เบิกความว่า 15.30 น. เริ่มมีเสียงกระสุนชุดแรกราว 3-4 นัดยิงมาทางผู้ชุมนุม  ผู้ชุมนุมก็แตกฮือวิ่งถอยหลังมาเข้าที่กำบังส่วนใหญ่จะหลบหลังตอม่อสะพานเสา ที่ 2 อยู่กลางถนน ซึ่งตรงนั้นมีถุงขยะและผู้คนอยู่ ได้หลบอยู่ตรงนั้นด้วย โดยเสียงปืนดังมาจากทางสะพานไทย-เบลเยี่ยมและผู้ชุมนุมทุกคนก็มองไปทางสะพาน ไทย-เบลเยี่ยมซึ่งเป็นที่ตั้งของทหารด้วย  เสียงปืนมีหลายชุด แต่ละชุดไม่ต่ำกว่า 5 นัด และห่างกันราว 3-4 นาที เห็นคนถูกยิง 2 คน ขณะนั้นไม่ทราบว่าเป็นใคร ไม่ทราบว่าเพศชายหรือหญิง เห็นมีเจ้าหน้าที่กู้ภัยและผู้ชุมนุมมาช่วยนำตัวคนเจ็บขึ้นรถไป ส่วนคนที่สองก็ถูกนำตัวขึ้นรถไปเว้นช่วงกับคนแรก
อัยการถามว่าพยานทราบหรือไม่ว่าคนที่สองถูกนำตัวขึ้นรถไปคันเดียวกับคน แรก น.ส.ลลดา ตอบว่าด้วยความชุลมุนจึงไม่ทราบว่าเป็นคันเดียวกันหรือไม่  และตอนนั้นเธอยังไม่ทราบว่าทั้ง 2 คน เป็นนายเกียรติคุณและประจวบ ประจวบสุข หลังจากรถไปแล้วพยานยังคงนั่งดูเหตุการณ์อีกราว 15 นาที และยังคงมีเสียงปืนดังอยู่  จากนั้นเธอกึ่งเดินกึ่งวิ่งเดินหมอบไปที่รถจักรยานยนต์ที่จอดไว้เมื่อถึงรถ แล้วได้โทรศัพท์หานายเกียรติคุณทันทีไม่ต่ำกว่า 10 สายแต่ไม่มีใครรับโดยระหว่างนี้ก็ได้เห็นว่ามีคนถูกยิงอีก 3-4 คน ซึ่งจำไม่ได้ว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง    จนกระทั่งมีคนใช้โทรศัพท์ซึ่งเป็นเบอร์ของนายเกียรติคุณโทรหา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์  แจ้งว่านายเกียรติคุณรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลให้รีบมา  จึงเรียกจักรยานยนต์รับจ้างจากแถวคลองเตยไปโรงพยาบาล  เมื่อไปถึงโรงพยาบาลนายเกียรติคุณได้เสียชีวิตแล้ว
น.ส.ลลดา เบิกความด้วยว่า ก่อนที่จะได้ยินเสียงปืนไม่มีความวุ่นวายใดๆ นอกจากผู้ชุมนุมได้กลิ้งยางไปวาง ผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธปืนและวัตถุระเบิด และไม่เห็นว่าถือไม้หรือหินด้วย  ส่วนที่จุดที่ผู้ชุมนุมมองไปคือทางที่ทหารอยู่
อัยการเปิดคลิปเหตุการณ์ซึ่งเป็นข่าวของ AFP ให้ น.ส.ลลดา ซึ่งรับว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกันกับที่ได้ให้การไปแล้วและทิศทางคนที่อยู่ใน คลิปมองไปคือทางสะพานไทย-เบลเยี่ยมที่มีทหารอยู่ และทราบว่านายประจวบขึ้นรถคันเดียวกันกับนายเกียรติคุณตอนที่อยู่โรงพยาบาล เจริญกรุงประชารักษ์แล้ว
จากนั้นทนายญาติผู้ตายถาม น.ส.ลลดา ด้วยว่าเสียงปืนชุดแรกที่ดังขึ้นตั้งแต่ 15.30 น. จนกระทั่งเงียบลงเป็นเสียงมาจากทางใด  น.ส.ลลดา ตอบว่ามาจากทางสะพานไทย-เบลเยี่ยม  และทนายถามอีกว่าก่อนหน้าที่จะมีเสียงปืนดังมาจากทางสะพานไทย-เบลเยี่ยมมี เสียงปืนดังมาจากทางอื่นหรือไม่  น.ส.ลลดา ยืนยันว่าไม่มีเสียงจากทิศทางอื่น
อัยการถาม น.ส.ชลลดา ก่อนการสืบพยานจะจบว่ามีกลุ่มชายชุดดำหรือบุคคลถืออาวุธปืนหรืออาวุธร้ายแรง เข้ามาในกลุ่มผู้ชุมนุมหรือไม่ น.ส.ลลดา ตอบว่าไม่มีจากการที่ได้เดินดูบริเวณใต้ทางด่วนพระราม 4 แล้ว
แผนที่จุดเกิดเหตุใต้ทางด่วนพระราม 4 :


View Larger Map

เรียบเรียงจาก : บันทึกการไต่สวยการเสียชีวิตโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น