แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

33 มหาลัยรัฐ-เอกชน จับมือยื่นขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอล บริการสาธารณะ

ที่มา ประชาไท




(4 มิ.ย.56) ที่ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ร่วมกับ ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ และ ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ตัวแทนมหาวิทยาลัยเอกชน แถลงข่าวการลงนามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ 27 แห่งกับมหาวิทยาลัยเอกชน 6 แห่ง ภายใต้ชื่อ "เครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อบริการสาธารณะ" เพื่อยื่นขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลช่องบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง ต่อ กสทช.
สมคิด เลิศไพฑูรย์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการประชุมสามัญ ทปอ. เมื่อวันที่ 28 เม.ย.56 ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่อง การขอความอนุเคราะห์ช่องกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ โดยใช้คลื่นความถี่ประเภทสาธารณะ โดยมีมติเห็นชอบให้จุฬาฯ  เป็นผู้แทน ทปอ.ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทีวีดิจิตอล ช่องบริการสาธารณะ ประเภทที่หนึ่ง เพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
นพ.ภิรมย์  กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวคิดในดำเนินการว่า จะเป็นในรูปแบบคณะกรรมการบริหาร 3 ฝ่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และตัวแทนภาคเอกชน โดยจะกำหนดนโยบายการบริหารจัดการ เพื่อให้ทีวีช่องนี้เป็นต้นแบบทีวีบริการสาธารณะของมหาวิทยาลัยที่หลายหน่วย งานมีส่วนร่วมบริหารอย่างอิสระ ปราศจากการครอบงำ และผลักดันเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อให้สำเร็จ โดยเนื้อหารายการจะแบ่งเป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะไม่น้อยกว่า 75% ออกอากาศตลอด 24 ชม. มีงบประมาณลงทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิต ไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาทต่อปี

ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเอกชน 6 แห่งประกอบด้วย ม.กรุงเทพ ม.เนชั่น ม.รังสิต ม.ศรีปทุม ม.หอการค้า และ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ตกลงกันในการเข้าร่วมกับ ทปอ.ในการยื่นขอรับใบอนุญาตทีวีดิจิตอล ช่องบริการสาธารณะ ทั้งนี้ อธิบดีมหาวิทยาลัยทั้ง 6 แห่งได้แสดงความกังวลต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าว เนื่องจากมีแนวโน้มว่า อาจเกิดการเอื้อต่อการกลับสู่การครอบครองของหน่วยงานรัฐ ซึ่งไม่เหมาะต่อปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง และจะทำให้เกิดการใช้งบประมาณประเทศชาติสูง โดยผลิตรายการที่ไม่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แสดงความเห็นต่อเกณฑ์การคัดเลือก หรือบิวตี้คอนเทสต์ว่า ควรตรวจสอบไม่ให้มีการเสนอชื่อทีมทำงานแต่ละช่องซ้ำซ้อนกัน มีการวิเคราะห์ผังรายการ โดยนักวิชาการและนักวิชาชีพอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดการใช้งบประมาณสูญเปล่าและกลายเป็นงานเชิงประชาสัมพันธ์ ตรวจสอบที่มาของงบประมาณ แผนการกำกับดูแล รวมถึงมีกลไกตรวจสอบโฆษณาของช่องบริการสาธารณะให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ให้ เพียงโฆษณาภาพลักษณ์องค์กรด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น