แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปักหมุดพลังหญิง นำทางสันติภาพชายแดนใต้

ที่มา ประชาไท


เปิดวงถกผู้หญิงชายแดนใต้กับกระบวนการสันติภาพปาตานี ขุดข้อกังวล ส่งเสียงความต้องการ กำหนดบทบาทพร้อมสร้างความพร้อมร่วมร่างโรดแมปสันติภาพ สร้างช่องทางสื่อสารจากรากหญ้า ผู้หญิงขอร่วมโต๊ะเจรจา เปิด 11 ข้อขอมีส่วนร่วมสร้างสันติภาพ

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2556 ที่ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมและศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ จัดเสวนา “ผู้หญิง +การสื่อสาร + กระบวนการสันติภาพ” เพื่อดึงความเห็นของตัวแทนผู้หญิงจากองค์กรต่างๆ รวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ที่ เข้าร่วม 35 คน ซึ่งมีทั้งไทยพุทธและมุสลิม
นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมผู้หญิงที่จะเป็นตัวแทนเข้าร่วมร่าง แผนที่นำทางหรือโรดแมปสันติภาพชายแดนใต้ในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 ที่ ม.อ.ปัตตานี โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ ความหวัง ความกังวล ความต้องการและข้อเสนอ

‘ผู้หญิง’ ข้อต่อสำคัญสร้างความเข้าใจสันติภาพ
นางสาวฐิตินบ โกมลนิมิ จากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมครั้งนี้ว่า เป็นการรวบรวมความคิดเห็นของผู้ที่มีความแตกต่างทั้งภูมิหลังและความคิดเห็น ทางการเมืองเพื่อสร้างและเปิดพื้นที่กลางแก่คนในพื้นที่ และย้ำว่า ผู้หญิงยังเป็นข้อต่อในการเชื่อมความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการ สันติภาพแก่คนในชุมชนตนเองด้วย ตลอดจนความกังวลและข้อเสนอต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ PATANI

กลัวสันติภาพล่มและความรุนแรงจะกลับมา
ในวงเสวนามีการแสดงความเห็นที่หลากหลาย โดยกลุ่มผู้หญิงได้แสดงความกังวลว่า การพูดคุยระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับกลุ่ม BRN อาจจะล่มได้ กังวลในเรื่องผู้สื่อสารเองที่จะส่งผลทำให้สังคมไทยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจต่อ กระบวนการสันติภาพ รวมถึงความเห็นต่างๆ ที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook ซึ่งบางครั้งมีการนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือน ส่งผลให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดไปด้วย
ผู้หญิงบางส่วนแสดงความเห็นต่อข้อเสนอของขบวนการบีอาร์เอ็นว่า อาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากฝ่ายรัฐไทย แต่ก็ยังมีความหวังที่จะให้กระบวนการสันติภาพมีความชัดเจนขึ้นและดำเนินการ ต่อไป เนื่องจากไม่มั่นใจว่า ถ้ากระบวนการสันติภาพครั้งนี้ล่มลงแล้ว กระบวนการสันติภาพครั้งต่อไปจะได้เริ่มอีกเมื่อไหร่ และจะเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมหรือไม่

ห่วงเยาวชนจะโตอย่างไรท่ามกลางความรุนแรง
อย่างไรตาม ที่ผ่านมาพวกเธอทั้งหลายต้องแบกรับความยากลำบากจากสถานการณ์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งยังกังวลในประเด็นที่อาจจะมีมือที่สามเข้ามาแทรกแซงกระบวนการ จนทำให้กระบวนการสันติภาพไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
กังวลเรื่องการเติบโตของเยาวชนปาตานีว่า จะเติบโตต่อไปได้อย่างไรท่ามกลางความรุนแรง เพราะกว่าสันติภาพจะเกิดขึ้น ต้องใช้เวลานานแน่นอน และไม่อยากให้มีมือที่สามเข้ามาแทรกแซง
        
ขอมีส่วนร่วมในวงพูดคุยเพื่อสันติภาพ
ในประเด็นเรื่องความต้องการ กลุ่มผู้หญิงส่วนใหญ่พูดถึงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตเป็นหลัก และไม่อยากให้มีความรุนแรงอีกต่อไป เพราะถ้าการเจรจาสันติภาพครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ อาจเนื่องจากฝ่ายรัฐไทยไม่ยอมรับข้อเสนอของคู่เจรจา หรือแต่ละฝ่ายไม่มีความจริงใจต่อกัน อาจทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจและใช้ความรุนแรงที่หนักขึ้นกว่าเดิมอีก จึงต้องการให้กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพดำเนินต่อไป และพัฒนาไปสู่การเจรจา
กลุ่มผู้หญิงอยากจะเข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีพูดคุยสันติภาพ เช่น เป็นผู้สังเกตการณ์ในกระบวนการพูดคุย อยากให้ประเด็นของผู้หญิงถูกหยิบยกเป็นประเด็นในการพูดคุย และอยากเป็นตัวแทนผู้หญิงในพื้นที่เข้าร่วมเจรจาด้วย

จี้รับ 5 ข้อบีอาร์เอ็น สร้างพื้นที่ให้ผู้หญิงรากหญ้า
กลุ่มผู้หญิงส่วนหนึ่งต้องการให้รัฐไทยรับพิจารณา 5 ข้อเสนอของขบวนการบีอาร์เอ็น โดยให้เหตุผลว่า การรับข้อเสนอดังกล่าว เสมือนการสานต่อความหวังของในพื้นที่ที่อยากให้มีสันติภาพโดยเร็ว
อยากให้ปล่อยตัวคนถูกคดีความมั่นคง และให้เปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้หญิงระดับรากหญ้าได้เรียกร้องความต้องการของ ตัวเองได้ และสร้างความมั่นใจให้ผู้หญิงสามารถเข้าร่วมกระบวนการสันติภาพตั้งแต่แรก เริ่มได้

สร้างพื้นที่สื่อสาร ผู้หญิงรากหญ้ากับสันติภาพ
นางโซรยา จามจุรี ประธานเครือข่ายผู้หญิงประชาสังคมชายแดนใต้ ระบุว่า กำลังจะถ่ายทำรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอประเด็นผู้หญิงกับสันติภาพ เพื่อนำเสนอในระหว่างเดือนถือศีลอดที่กำลังจะถึงในเดือนกรกฎาคม 2556 นี้ เป็นการต่อยอดจากปีที่แล้วนำเสนอประเด็นผู้หญิงกับการเยียวยา
เป็นรายการที่นำเสนอในช่วงก่อนฟ้าสางทางช่องมอเดิร์นไนน์ทีวี ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวมุสลิมจะตื่นมารับประทานอาหารก่อนถึงช่วงเวลาเริ่มถือศีล อด หรือเวลาประมาณ 04.00 น.ชื่อรายการรอมฎอนไนท์
ส่วนนางสาวอัสรา รัฐการัณย์ จากเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ได้นำเสนอโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเอเชียและมูลนิธิชุมชนท้อง ถิ่นพัฒนาในการจัดรายการวิทยุ 20 ตอน เกี่ยวกับความเห็นของผู้หญิงจากระดับรากหญ้าสู่สาธารณะ
รายการวิทยุดังกล่าว ชื่อรายการ “We Voice” เพื่อหนุนเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพ ซึ่งนาวสาวอัสรา กล่าวว่า เป็นรายการสนทนาเชิงสารคดี ตอนละ 15 นาที โดยมีแนวคิดหลัก คือการสร้างบรรยากาศสันติภาพ โดยการสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจของคนในชุมชน และการพูดคุยเพื่อสันติภาพ

สร้างจุดเชื่อมกลุ่มคนที่มีความคิดต่างกัน
นาวสาวอัสรา กล่าวว่า รายการวิทยุจะพูดคุยในประเด็นต่างๆ คือ เรื่องความสัมพันธ์พุทธและมุสลิมในชุมชนที่ได้รับผลกระทบต่อเหตุการณ์ความ ไม่สงบ มุมมองต่อเรื่องการพูดคุยเพื่อสันติภาพและการมีส่วนร่วมเพื่อสันติภาพใน พื้นที่ของผู้คนในชุมชน และคนทำงานภาคประชาสังคม และร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อภาพยนตร์และสารคดี ที่เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพหรือสิทธิมนุษยชน
นางสาวอัสรา กล่าวว่า การสื่อสารจะช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างคนไทยพุทธกับมุสลิมได้ ซึ่งในการลงพื้นที่เพื่อถามความเห็นของชาวบ้านพบว่า มีความรู้สึกอ่อนไหวกับคนต่างศาสนิก แต่ก็มีหลายประเด็นที่สามารถถามความเห็นร่วมระหว่างสองศาสนิกได้ นอกจากนี้รายการของตนจะเป็นกระบอกเสียงของคนรากหญ้าที่แสดงความคิดเห็นต่อ กระบวนการสันติภาพ

แนะเคลียร์ความหมายนักโทษการเมือง
นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ ผู้ประสานงานกลุ่มด้วยใจซึ่งทำงานประเด็นสิทธิของผู้ต้องขังคดีความมั่นคง ให้ความเห็นเกี่ยวข้องกับข้อเสนอที่ให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังในคดีการเมืองว่า ข้อเสนอนี้ทำให้คนในสังคมไทยที่ยังไม่เข้าใจกระบวนการสันติภาพในภาพใหญ่เกิด อาการต่อต้าน เพราะไม่อยากให้ปล่อยนักโทษการเมือง ทั้งๆที่เป็นประเด็นสำคัญในการต่อรองของขบวนการบีอาร์เอ็น
นางสาวอัญชนา เห็นว่า สำหรับประเด็นนี้ จะสามารถลดปฏิกิริยาต่อต้านจากสังคมภายนอกได้โดยการนำเสนอให้เห็นว่า ผู้ต้องขังบางส่วนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อความรุนแรงในพื้นที่ทั้งๆที่ไม่มี หลักฐานมัดตัวจริงๆ แต่ก็ทำให้พวกเขาต้องถูกขังซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิ ดังนั้นต้องให้ความเป็นธรรมแก่พวกเขา
“แต่การคืนความยุติธรรมให้แก่ชาวบ้านคนหนึ่งได้นั้น สังคมใหญ่ต้องเข้าใจกระบวนการนี้ด้วย นั่นคือ ต้องตีความคำว่านักโทษการเมืองที่สมควรปล่อยตัวออกมาก่อน เพราะถ้าสังคมใหญ่เข้าใจประเด็นนี้ ก็อาจจะไม่มีการต่อต้าน" นางสาวอัญชนา กล่าว

สรุปข้อเสนอต่อการร่างโรดแมปสันติภาพ
สรุปข้อเสนอของกลุ่มผู้หญิงต่อการร่างโรดแมปสันติภาพ หลักๆ จำนวน 11 ข้อ ดังนี้
-           ให้มีผู้หญิงเป็นผู้สังเกตการณ์การพูดคุย
-           ให้หยิบยกประเด็นผู้หญิงในการพูดคุย
-           ปล่อยผู้ต้องหาที่ไม่มีความผิด
-           จัดเวทีพูดคุยเรื่องกระบวนการสันติภาพในระดับรากหญ้าให้มากขึ้น
-           ให้ประชาชนระดับรากหญ้ามีเสียงในการนำเสนอความต้องการที่แท้จริง
-           อยากให้ยุติความรุนแรงทุกรูปแบบ
-           ไม่ทำร้ายเป้าหมายอ่อนแอหรือผู้ที่ไม่มีอาวุธ
-           เรียกร้องให้ออกมารับผิดชอบในเหตุการณ์ที่ตัวเองทำ และบอกวัตถุประสงค์ด้วยว่า เพราะอะไร ทำเพื่ออะไร
-           เลิกเผาโรงเรียน ทำร้ายครู เพราะจะทำให้เด็กไม่มีที่เรียน ถ้าเด็กไม่ได้รับการศึกษาแล้วจะฝากอนาคตของพื้นที่ไว้กับใคร
-           ให้รับและนำความต้องการของประชาชน ให้ฟังเสียงของผู้หญิงในพื้นที่โดยเฉพาะผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางตรง
-           เปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงาน ทั้งองค์กรของรัฐ เอกชน ประชาสังคม สถาบันทางศาสนา สามัญ ทำงานร่วมกันทุกฝ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น