แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อิหร่านและระบอบเทวาธิปไตย

ที่มา ประชาไท


เมื่อบทความชิ้นนี้ได้รับเผยแพร่ในอินเทอร์เนต ชาวอิหร่านกว่า 77 ล้านคนก็คงได้ทราบแล้วว่าใครจะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถัดจากนายมะห์มูด อะห์มะดีเนจาดซึ่งต้องพ้นจากตำแหน่งไปตามรัฐธรรมนูญที่ห้ามไม่ให้บุคคลดำรง ตำแหน่งประมุขสูงสุดในด้านบริหารของประเทศเกิน 2 วาระ  ตามปรกติในประเทศประชาธิปไตยเสรีนิยม  นโยบายของรัฐจำนวนมากรวมไปถึงนโยบายต่างประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงตามผู้ที่้ ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน แต่สำหรับอิหร่านแล้วด้วยการที่ประธานาธิบดีมี “ผู้มีบารมีในรัฐธรรมนูญ” เข้ามาแทรกแซง ทำให้เกิดปัญหาว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะเกิดหรือไม่หลังการเลือกตั้งในปี 2013 โดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศที่ให้อิหร่านอื้อฉาวไปทั่วโลกเช่นการพัฒนาอาวุธ นิวเคลียร์และการสนับสนุนผู้ก่อการร้ายรวมไปถึงกลุ่มฮิซบุลลอฮ์และรัฐบาล ซีเรียจนทำให้โลกตะวันตกต้องทำการคว่ำบาตรครั้งใหญ่  แต่การจะตอบปัญหาเช่นนี้ได้ก็ต้องหาคำตอบให้ได้ว่าอิหร่านเป็นประชาธิปไตย ที่แท้จริงหรือไม่เสียก่อน        
ผู้เขียนจะขอวิเคราะห์ผ่านโครงสร้างทางการเมืองและการปกครองของอิหร่าน รวมไปถึงบริบทการเมืองรอบข้าง แต่ก่อนอื่นในที่นี้ขอนิยามของการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบง่ายๆ คือการปกครองของประชาชนที่ประชาชนมีส่วนร่วมหรือมีอำนาจปกครองตัวเองเพื่อผล ประโยชน์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า
(จากเว็บไซต์ของบีบีซี)
โครงสร้างเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าอิหร่านมีโครงสร้างที่ผสมผสานระหว่าง รัฐสภาแบบตะวันตกอันมีประมุขสูงสุดคือ ประธานาธิบดี (President) และรัฐสภา (Parliament) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน (Electorate) ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (Cabinet) ที่ต้องได้รับการยอมรับจากรัฐสภา อย่างไรก็ตามอิหร่านมีสถาบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอันได้แก่ท่านประมุข สูงสุด (Supreme Leader) ท่านเป็นผู้รับรองผลลัพธ์การเลือกตั้งประธานาธิบดี และยังมีอำนาจแต่งตั้งสถาบันสำคัญอื่นๆ คือกองทัพ (Military)  ประมุขฝ่ายตุลาการ (Head of Judiciary) และ Expediency council (สภาพิเศษซึ่งทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างรัฐสภาและ สภาผู้ชี้นำ (Guardian council)  หรือแม้แต่สภาอีกสภาหนึ่งคือสภาผู้ชำนาญการ (Assembly of experts) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งท่านประมุขสูงสุดและมีอำนาจในการปลดออกถ้าท่านประมุขสูง สุดกระทำความผิดร้ายแรง
ถ้าเราพิจารณาเส้นเชื่อมโยงแล้วก็ถือได้ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบทางอ้อม (Indirect Democracy) เพราะประชาชนเป็นผู้เลือก สภาผู้ชำนาญการ ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งหรือรับรองท่านประมุขสูงสุด ดังนั้นไม่มีสถาบันไหนเลยที่ไม่ได้มาจากประชาชนเพียงแต่ว่าจะมาจากการมี อิทธิพลโดยตรงหรือทางอ้อม (อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างระหว่างคำว่า elect อันแปลว่า"เลือกตั้ง" กับ appoint อันแปลว่า "แต่งตั้ง" หรือ approve อันแปลว่า "รับรอง" )  เรื่องเช่นนี้ก็เหมือนกับสหรัฐฯ ที่ ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีไม่ใช่ประชาชนเลือกโดยตรงเหมือนกัน ระบบเวสมินสเตอร์ ของอังกฤษที่คณะรัฐมนตรีมักมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (แต่คณะรัฐมนตรีของสหรัฐฯ ต้องได้รับการยอมรับจากวุฒิสภาเสียก่อน)
อย่างไรก็ตามสถาบันสุดท้ายที่ต้องหยิบมาพิจารณาคือสภาผู้ชี้นำที่สมาชิก มาจากการเลือกของรัฐสภา 6 คน (ทั้งหมดเป็นปราชญ์ทางกฎหมายหรือตุลาการ)และจากการแต่งตั้งของท่านประมุขสูง สุดกับหัวหน้าตุลาการ 6 คน(ทั้งหมดเป็นนักเทววิทยา) สถาบันนี้ถือว่าทรงอิทธิพลที่สุด มีบทบาทสำคัญคือเป็นผู้รับรองกฎหมายที่ผ่านจากสภาว่ามีความขัดแย้งกับรัฐ ธรรมนูญและกฎหมายของอิสลามหรือไม่ ที่สำคัญยังเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติของผู้ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ประธานาธิบดีและ สภาผู้ชำนาญการ  อย่างเช่นในการเลือกตั้งของปี 2013 นี้จากเดิมมีผู้มาสมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีมีจำนวน  686  คน แต่ก็ถูกคัดเลือกให้มีคุณสมบัติเหมาะสมเพียง 8 คน  คนที่ถูกตัดสิทธิก็มักจะเป็นพวกกลุ่มเสรีนิยมหรือปฏิรูปนิยม ที่ชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคือนาย   อักบาร์ ฮัสเชมี ราฟซานจานีซึ่งเคยเป็นประธานาธิบดีของอิหร่านหัวเสรีนิยมในช่วงปี 1989-1997  และที่น่าสนใจคือผู้หญิง 30 คนที่ลงสมัครก็ถูกสภาผู้ชี้นำตัดสิทธิ์อันสะท้อนถึงความเหยียดเพศสุดขั้วของ พวกอนุรักษ์นิยม อิหร่านจึงแทบหมดโอกาสในการมีประธานาธิบดีผู้หญิง
ถ้าหากมองในเชิงอุดมคติ การเมืองอิหร่านมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยแบบมุ่งให้มีการคานอำนาจกันระหว่าง สถาบันที่เลือกตั้งโดยตรงกับทางอ้อมที่อิงอยู่หลักศาสนา ถ้าประชาชนมีอำนาจในการเลือกท่านประมุขสูงสุดอย่างจริงๆ อย่างที่เรียกกันว่าอย่างเสรีและยุติธรรม (free and fair) แต่การที่โครงสร้างทางการเมืองอิหร่านกำหนดให้อำนาจมีการล็อกตัวเองแบบงูกิน หาง คือท่านประมุขสูงสุดสามารถกำหนดให้สภาผู้ชี้นำเลือกเอาบุคคลที่อยู่ในอำนาจ ได้เข้ามาในสภาผู้ชำนาญการ ที่จะเลือกท่านประมุขสูงสุด จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าเหตุใดในเวลากว่า 30 ปี ท่านประมุขสูงสุดจึงมีผู้ดำรงตำแหน่งเพียง 2 คน คือ               อายะตุลลอฮ์  โคมัยนี และ อายะตุลลอฮ์ คามัยนัย สิ่งอื่นๆ ที่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนคืออำนาจของประธานาธิบดีในฐานะตัวแทนของประชาชน ก็มีขีดจำกัดไม่สามารถควบคุมกองทัพซึ่งเป็นเครื่องมือในการถือครองอำนาจของ รัฐ ท่านประมุขสูงสุดยังมีอำนาจบัญชาการพลเรือนติดอาวุธอย่างเช่นบาซิจในการควบ คุมความสงบเรียบร้อยของประเทศซึ่งแท้ที่จริงมีไว้เพื่อเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ เป็นปรปักษ์ของรัฐบาล  รวมไปถึงสื่อมวลชนเช่นโทรทัศน์หรือวิทยุของอิหร่านซึ่งสมควรจะมีเสรีภาพใน การแสดงความคิดตามระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญท่านประมุขสูงสุดยังมีอิทธิพลเหนือนโยบายพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของ อิหร่าน ดังนั้นตะวันตกจึงไม่สามารถเจรจากับประธานาธิบดีอิหร่านในเรื่องนี้ได้เลย
อิหร่านจึงมีการปกครองคือประชาธิปไตยแบบอิหร่านหรือประชาธิปไตยผสมเทวา ธิปไตย (Theocracy) ไม่ใช่ประชาธิปไตยตามความหมายของตะวันตก หลักฐานที่ชัดเจนได้แก่การพิจารณาดัชนีความเป็นประชาธิปไตยที่จัดทำโดย Economist Intelligence Unit ที่บ่งชี้ความเป็นประชาธิปไตยของ 167 ประเทศทั่วโลกในปี 2011 แล้วจะพบว่าอิหร่านอยู่ในอันดับ 159 พร้อมกับผู้สำรวจได้ระบุว่ามีการปกครองแบบระบบการปกครองแบบเผด็จการแบบอำนาจ นิยม (Authoritarian regime)   กระนั้นการปกครองเช่นนี้ไม่ได้ดีหรือร้ายในตัวเอง ถ้ามองในเชิงอุดมคติแล้ว น่าจะเป็นเรื่องดีเสียด้วยซ้ำเพราะท่านประมุขสูงสุดและสภาผู้ชี้นำเป็นผู้ เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายอิสลามน่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่ประเสริฐ มีการพิจารณาตัวผู้สมัครตามหลักของศาสนา ด้วยแต่ละประเทศในโลกนี้ล้วนมีลักษณะโครงสร้างทางการเมือง วัฒนธรรมการเมืองที่แตกต่างกันออกไป ประชาธิปไตยของอิหร่านจึงไม่ใช่ของประชาชนและโดยประชาชนเสียทั้งหมด แต่มีพระผู้เป็นเจ้าทรงมาช่วยชี้นำทาง เพื่อยังผลประโยชน์แก่ประชาชน
อย่างไรก็ตาม ได้เกิดการรุกฮือขึ้นประท้วงของชาวอิหร่านทั่วประเทศเมื่อปี 2009 ที่แสดงความไม่พอใจต่อผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีซึ่งได้นักการเมืองหัวขวา ตกขอบเช่นนายอะห์มะดีเนจาดมานั่งเก้าอี้อีกครั้ง (วาระแรก 2005-2009)  รัฐบาลทำการปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรงส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่าร้อยคน และมีผู้ถูกจับกุมกว่า 4,000 คน จะด้วยเหตุผลอย่างไรของฝ่ายปกครองเช่นว่า ผู้ประท้วงถูกตะวันตกล้างสมองหรือปลุกปั่นหรือเป็นคนบาป ไม่รักชาติ ฯลฯ ฝ่ายรัฐบาลเองก็ใช้หลักตรรกะเช่นเดียวกับในหลายประเทศที่ปฏิบัติกับผู้ ประท้วงราวกับเป็นผู้ก่อการร้าย จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับหลักคำสอนทางศาสนาอิสลามที่เน้นสันติวิถี ประชาธิปไตยแบบอิหร่านจึงเป็นการนำเอาศาสนามารับใช้การเมืองและยังส่งผลถึง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพราะในสถาบันการเมืองล้วนเต็มไปด้วยนักการศาสนา หัวอนุรักษ์นิยมที่เน้นนโยบายแบบเหยี่ยวเพื่อสร้างอำนาจของประเทศตนเหนือ ภูมิภาคตะวันออกกลางเช่นเป็นปรปักษ์กับซาอุดิอาระเบียและกับอิสราเอลรวมไป ถึงสหรัฐฯ
อนึ่งถ้าอิหร่านเป็นมิตรกับตะวันตกเสมอมาอย่างเช่นประเทศในเอเชียกลาง ซาอุดิอาระเบีย ปากีสถาน อิหร่านก็จะไม่มีปัญหากับตะวันตกถึงจะเป็นเผด็จการ เพราะความเป็นผู้มือถือสากปากถือศีลของตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ  เอง อย่างไรก็ตามตั้งแต่ ปี 1979 ที่ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯขาดสะบั้นเพราะนักศึกษาหัวรุนแรงของ อิหร่านยึดครองสถานทูตและการจับเจ้าหน้าที่ในสถานทูตเป็นตัวประกันของไว้ นานกว่า 444 วัน  มีหลายครั้งที่กลุ่มผู้นำหัวเสรีนิยมของอิหร่านพยายามคืนดีกับสหรัฐฯ เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แต่ก็ถูกสกัดกั้นโดยหัวอนุรักษ์นิยมด้วยความเกรงว่าอิทธิพลของสหรัฐฯจะเข้า มาแทรกแซงอำนาจของตน ในขณะที่สหรัฐฯ เองพร้อมจะคืนดีกับอิหร่านเพราะต้องการมีอิทธิพลแทรกแซงในตะวันออกกลางแข่ง กับมหาอำนาจอื่นเช่นรัสเซีย ผู้นำหัวอนุรักษ์นิยมผู้จุดประกายกระแสเกลียดสหรัฐฯ ก็คงไม่พ้นผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านคือโคมัยนีในช่วงปฏิวัติ 1979  ซึ่งท่านเองก็มีเหตุผลเหมือนกันเพราะตะวันตกเคยเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จาก อิหร่านในเรื่องน้ำมันโดยสนับสนุนการปกครองแบบเผด็จการของ พระเจ้าชาห์ ปาห์ลาวี มาก่อน
สุดท้ายนี้แน่นอนว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ในปี 2013  ถึงแม้จะมีใครเป็นประธานาธิบดี นโยบายการต่างประเทศของอิหร่านก็จะเหมือนเดิมเพราะ 8 คนที่หลุดเข้ามาได้ก็เป็นพวกอนุรักษ์นิยมที่เป็นเด็กดีของคามัยนัยซึ่งจำบท เรียนจากกรณีพยศของนายอะห์มะดีเนจาดซึ่งเคยเป็น "เด็กดี" มาก่อนแต่ก็ต้องมาพยศแย่งชิงอำนาจคามัยนัยในภายหลัง  ดังนั้นจึงคาดเดาได้ว่าปฏิกิริยาของอิหร่านต่อตะวันตกหลังการเลือกตั้งจึง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร นอกจากการกลยุทธ์ของฝ่ายอนุรักษนิยมเพียงฝ่ายเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น