แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ฉ่าวโฉ่ "การตบตีกันของนักการทูตไทยในงานราตรีที่โรงแรมเคมพิ้งส์กี้ ประเทศอียิปต์"

ที่มา Thai E-News


21 มิถุนายน 2556
โดย Doungchampa Spencer

บทความแปล: การตบตีกันของนักการทูตไทยในงานราตรีที่โรงแรมเคมพิ้งส์กี้ ประเทศอียิปต์ (ภาค 1)

อ้างอิง: https://www.facebook.com/TheGhazy/posts/661375507366

ภาพขยายใหญ่อยู่ที่นี่ค่ะ: http://img515.imageshack.us/img515/7429/yak.png

Facebook Status เขียนโดยคุณ Mohamed Ghazy (โมฮัมเหม็ด การ์ซี่ย์)

(ผู้เขียน) ขอร้องให้ท่านอ่านบทความและช่วยแชร์ด้วย:

เมื่อวัน พฤหัสบดีที่แล้ว (13 มิถุนายน) ภรรยาของผมได้ถูกทำร้ายอย่างเหี้ยมโหดโดยนักการทูตที่มึนเมาเหมือนคนบ้า คลั่ง ในขณะที่อยู่ในงานราตรีที่โรงแรมเคมพิงสกี้ ใน กรุงไคโร (ประเทศอียิปต์)

เรามาถึงที่โรงแรมเมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนครึ่งถึงตีหนึ่ง เพื่อพบปะกับเพื่อนๆ ของผม ด้วยเหตุบังเอิญก็ตาม แฟนผู้หญิงที่น่ารักของเพื่อนผมคนหนึ่งทำงานอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยใน ประเทศอียิปต์ เธอนำเอาเพื่อนคนหนึ่งของเธอซึ่งไม่เคยมีใครเคยพบมาก่อนเข้ามาด้วยและบุคคล ผู้นั้น มีอาการมึนเมาอย่างเต็มที่ และผมยังได้ยินเป็นนัยว่า เธอผู้นั้นได้ “สูดผงโคเคน” ในห้องน้ำด้วย (ผมไม่สามารถสร้างความแน่ใจในเรื่องนี้ ดังนั้น ผมไม่ต้องการที่จะกล่าวถึงมันว่าเป็นหลักฐานใดๆ)

ขอเริ่ม เรื่องต่อโดยทันที ผู้หญิงคนนั้นแสดงมรรยาทอันหยาบช้าสามานย์เป็นอย่างมากในขณะที่พูดคุยอยู่ กับเรา แม้ในขณะที่เธอจะเชื้อเชิญเราไปในงานเลี้ยงอำลาก็ตาม เธอก็ยังแสดงความก้าวร้าวเกี่ยวกับมันเนื่องจากผมกล่าวว่า ผมต้องอยู่ในการผ่าตัดในสัปดาห์นี้และไม่สามารถที่จะไปในงานได้ อย่างไรก็ตาม ในที่สุดเธอก็ได้อีเมล์ของเราเพื่อให้เราทั้งสองอยู่ในเมล์ลิสท์ไป

ตลอด งานทั้งคืน เธอทำตัวหยิ่งผยองด้วยการต่อว่าประเทศอียิปต์และประชาชนของประเทศอียิปต์ ด้วยการเริ่มต้นว่า มันเป็นประเทศซึ่งมีความน่าสยดสยองที่เต็มไปด้วยผู้คนอันแสนน่ากลัว เธอกล่าวว่า “ประเทศอียิปต์เป็นประเทศที่แย่ที่สุดตั้งแต่ที่ฉันเคยถูกส่งไปประจำ ถัดมาจากกรุงเบรุต (Beirut)” ยิ่งกว่านั้น เธอได้ยังเริ่มเรียกชายอียิปต์สองคนว่า “อ้วนและอัปลักษณ์” ในขณะที่แสดงอัปกิริยาเหมือนกับจะอาเจียนให้เห็น

จากนั้น เราได้ถามเธออย่างไร้เดียงสาเกี่ยวกับชื่อของเธอเนื่องจากว่า เราไม่มีโอกาสที่ได้แนะนำตัวกันอย่างเป็นทางการ เธอใช้เวลา 5-10 นาที โดยไม่บอกเราว่าเธอชื่ออะไรและจากนั้น เธอได้มองมาที่ผมและพูดว่า “k** emmek!” (ผู้เขียนเว้นไว้ แต่คำเต็มของมันคือ kos emmek! – ผู้แปล) ในขณะที่กล่าวต่อไปอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีกกับผมนั้น เธอยังชูนิ้วกลางให้กับผมอีกด้วย (ในฐานะที่ท่านบางท่านไม่ทราบ คำๆ นี้แปลว่า “(อวัยวะสืบพันธุ์)ของแม่ของท่าน” หรือ “xxแม่มึง” – ซึ่งเป็นคำที่สร้างความมลทินซึ่งนำความเสื่อมเสียเป็นอย่างมากในภาษาอาราบิ ค) ภรรยาผมได้ขอร้องเธออย่างสุภาพให้เธอหยุดการกระทำนั้นเสีย แต่เธอตะคอกกลับมาให้ภรรยาผม “(จง) หุบปากเสีย”

จากนั้น เธอก็ได้เริ่มสบถสาบานต่อหน้าเราทั้งสองเพราะเธอกล่าวว่าเราทั้งสองไปแย่ง ที่นั่งของเธอบนโซฟาและยังได้กล่าวด้วยคำพูดอย่างเหน็บแนมกับเราทั้งสองว่า เป็นพวกที่เพิ่งแต่งงานกันใหม่ๆ

เธอยังคุยกร่างอย่างโอ้อวดว่าเธอได้ รับสิทธิคุ้มกันทางการทูตมาได้อย่างไร และเธอสามารถจอดรถยนต์ของเธอตามสถานที่ต่างๆ ที่เธอต้องการในประเทศอียิปต์ได้อย่างไร เนื่องจากว่า “สถานทูตไทยเป็นผู้จ่ายเงินค่าปรับจากใบสั่งที่เธอได้รับทั้งหมด”

เธอ กล่าวกับผมด้วยความหยิ่งผยองว่า อย่านั่งไขว่ห้างเมื่ออยู่ต่อหน้าเธอ ซึ่งบ่งบอกเป็นนัยอย่างธรรมดาว่า ผมไม่ควรที่จะนั่งอยู่ต่อหน้านักการทูตแบบนั้น

ผมบอกให้เธอหยุดการ ใช้มรรยาทอันเลวทรามนี้และสงบจิตสงบใจลงมา แต่เธอก็ไม่ยอมกระทำตาม ผมถามถึงชื่อเธออีกครั้งหนึ่งและสิ่งที่เธอสามารถพูดทั้งหมดก็คือ “โอเค, โอเค, โอเค!” เพราะฉะนั้น เราก็บอกให้เธอทราบว่า เราจะเรียกเธอว่า “โอเค” ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

เธอนำเอาโทรศัพท์มือถือของเธอออกมาและเริ่ม เขียนอีเมล์ซึ่งเต็มไปด้วยความหยาบคายเหมือนกับว่าเราเป็นเพื่อนคนหนึ่งของ เธอ ภรรยาของผมถามเธอว่า “เราควรจะคาดหมายว่าจะได้รับอีเมล์จาก ok@gmail.com ใช่หรือเปล่า?” ซึ่งทำให้ผู้ฟังที่นั่งอยู่แถบเดียวกันหัวเราะขึ้นมา จากนั้นเธอได้ใช้ส้นเท้าของเธอถีบภรรยาผมอย่างแรงและกลับไปนั่งเขียนอีเมล์ ต่อ

ในตอนนี้ เราได้เก็บอารมณ์อย่างดีเยี่ยมเกี่ยวกับที่เธอทำตัวด้วยมรรยาทอันเลวทรามและ เราไม่ได้ทำการตอบโต้ใดๆ เมื่อครั้งที่เธอได้สบถสาบาน แต่เมื่อผมเห็นภรรยาผมถูกผู้หญิงคนนี้ถีบแล้ว ผมก็ไม่สามารถระงับอารมณ์ใดๆ ได้อีกต่อไปแล้ว ผมควบคุมตัวเองไม่ได้และได้ปัดโทรศัพท์ออกมาจากมือของเธอ ผมตะโกนเสียงลั่นว่า “ทำไมคุณถึงทำอย่างนั้น? ไปสงบสติอารมณ์เสียเหอะ!” และหลังจากนั้น เธอก็เริ่มเข้ามาทุบต่อยผมอย่างอุกอาจและพยายามเข้ามาบีบคอให้ผมสำลักอีก ด้วย

ผมไม่เคยตบตีผู้หญิงคนใดมาก่อนเลย ดังนั้น ผมเพียงแต่คว้ามือทั้งสองของเธอเพื่อที่จะควบคุมเธอได้ แต่เธอยังไม่ยอมหยุด จากนั้น ภรรยาผมก็ลุกขึ้นยืนมาขวางเราทั้งสอง เพื่อที่เธอสามารถจะหยุดการกระทำนี้เสีย และนี่คือจุดเริ่มต้นของการถูกทำร้ายอย่างโหดเหี้ยม

เธอผลักภรรยาผม ลงไปบนโซฟา จากนั้นก็ทั้งถีบทั้งเตะเธอมากกว่า 5 ครั้งที่ใบหน้าและศีรษะด้วยส้นเท้าของเธอ รวมทั้งกระชากเส้นผมของภรรยาผม จากนั้นก็ใช้ปากกัดภรรยาผมจนกระทั่งเลือดไหลออกมา ในตอนที่ถูกกระทำทั้งหมด ภรรยาผมไม่ได้ต่อสู้กลับแต่อย่างใด ไม่ว่าเราพยายามที่จะลากตัวเธอออกมา เธอก็ยังกัดไม่ปล่อยและแถมยังดึงตัวภรรยาผมหนักขึ้นไปอีก มันดูเหมือนกับว่า เป็นการต่อสู้อยู่แต่ฝ่ายเดียว

ในท้ายสุด เบ้าตาของภรรยาผมก็มีรอยฟกช้ำสีดำ, รวมทั้งบาดแผลที่เปิดอยู่บนศีรษะของเธอ และเต็มไปด้วยรอยข่วนทั้งตัว รอยกัดบนผิวหนังที่ลึกมากๆ บนแขนของเธอ 4 แห่ง และรวมไปถึงความเจ็บปวดรวดร้าวทางอารมณ์อีกด้วย

เมื่อพิจารณาถึง ปัญหาหลังจากเหตุการณ์แล้ว ผมไม่ควรที่จะปัดโทรศัพท์ของเธอเลย แต่เมื่อเห็นคนที่เต็มไปด้วยความมึนเมาอย่างรุนแรง ได้ตบตีภรรยาผม (ซึ่งกล่าวด้วยความสัตย์จริงแล้ว เธอเป็นบุคคลที่ผมรักที่สุดในโลก) ผมก็ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองในเรื่องนี้ได้ ผมยังห่วงด้วยว่าเธอจะเต็มไปด้วยโทสะอย่างรุนแรงยิ่งกว่านี้และอาจจะนำอาวุธ มาใช้กับภรรยาผม ดังนั้นผมต้องการที่จะเอาใจของภรรยาผมมาใส่ใจของผมด้วย

เธอ ได้ทำร้ายร่างกายภรรยาผมอย่างเหี้ยมโหด เธอเป็นบุคคลผู้มีความสับสนยุ่งเหยิงด้วยความมึนเมาอย่างแท้จริง เธอสบถสาบานด้วยคำหยาบคายต่อผู้คน, ประเทศอียิปต์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประชาชนของประเทศอียิปต์ เธอกล่าวอ้างตนเองอย่างหยิ่งผยองในการใช้อำนาจของเธอในทางที่ผิดที่สถานเอก อัครราชทูตและกิริยาของเธอยังเต็มไปด้วยความรุนแรงและเลวทรามกับบุคคลอื่นๆ และ พนักงานเสริฟอาหารด้วย

เธอเป็นบุคคลที่นำความกระดากใจมาให้กับตน เอง, กับครอบครัวของเธอ, ประเทศของเธอ และระบบทางการทูตทั้งหมด มันเป็นเรื่องที่น่าตกตะลึงเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลที่เปรียบเสมือนกับโคลนตม คนนี้ ได้รับสิทธิคุ้มกันทางการทูตและสามารถหนีรอดไปจากความผิดทางอาญาเหล่านี้ ทั้งหมด

และอีกประการหนึ่ง หลังจากเรื่องเหล่านี้สิ้นสุดลงไปแล้ว ชื่อของเธอได้ถูกเปิดเผยด้วยชื่อว่า Miss KANANANG AMARANAND (นางสาว คคนางค์ อัมระนันทน์) เธอมีตำแหน่งเลขานุการเอก (First Secretary) ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศอียิปต์ นี่คือลิ้งค์ที่นำไปสู่เพจของสถานทูต เพื่อท่านจะได้เห็นว่า หน้าตาของเธอเป็นอย่างไร (ลิ้งค์อยู่ที่นี่: http://www.thaiembassy.org/cairo/en/org-chart)

เรา ได้แจ้งความเพื่อทำการฟ้องร้องกับเธอตามกฎหมาย แต่เราได้รับคำตอบว่า เรื่องนี้อาจจะจบสิ้นลงว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลาเปล่า เนื่องจากสถานะทางการทูตของเธอ ผมขอร้องให้เพื่อนๆ ทุกท่านช่วยแชร์บทความนี้ออกไป และสร้างความกดดันให้กับสถานเอกอัครราชทูตเพื่อที่จะไล่เธอออกไปจากตำแหน่ง หน้าที่นี้เสีย เธอไม่สมควรที่จะมีอนาคตใดๆ ในอาชีพของสายงานอันมีเกียรติ์แบบนี้


บันทึกเพิ่มเติม:

- ภรรยาผมขอร้องให้ผมอย่าโพสต์รูปใดๆ ในหน้าเวปเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายกัน
- พยานบุคคลต่างๆ มีทั้งเพื่อนฝูง, กลุ่มที่นั่งอยู่ทางโต๊ะเคียงข้าง รวมไปทั้งพนักงานเสริฟและพนักงานรักษาความปลอดภัยของทางโรงแรม

ลิ้งค์ Facebook เวปไซค์ ของสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ (อ้างอิง: https://www.facebook.com/RoyalThaiEmbassyCairoEgypt)

ลิ้งค์เวปไซค์ของสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงไคโรเกี่ยวกับบุคลากร (อ้างอิง:http://www.thaiembassy.org/cairo/en/org-chart)

--------------------------------------------

ความคิดเห็นของผู้แปล:


หนังสือพิมพ์ต่างๆ ในประเทศไทย ได้ลงข่าวเรื่องนี้กัน เช่นไทยรัฐ (อ้างอิง:http://www.thairath.co.th/content/pol/351999), เอเซียนแปซิฟิค (http://asianpacificnews.com/news4/?p=8079), โพสต์ทูเดย์ (http://www.posttoday.com/รอบโลก/228842/กต-ปฏิเสธจนท-สถานทูตไทยทำร้ายหญิงอียิปต์)

สื่อ ของไทยทั้งหมด ลงข่าวว่า เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ที่ทางนักการทูตไทยจะเป็นผู้ก่อความเสียหาย และมีการยืนยันกลับไปว่าเป็นการป้องกันตัวเอง ข่าวของทางประเทศไทยมีไม่เพียงกี่ย่อหน้า และสรุปว่าทางหนังสือพิมพ์ของประเทศอียิปต์ “ฟังความข้างเดียว” และมีแต่การเรียกตัวนักการทูตผู้นี้กลับประเทศไทย เพื่อยุติเรื่องราวแบบนั้น

เนื่อง จากสื่อไทยไม่ได้ลงบทความเต็มที่คุณโมฮัมเหม็ด กาซี่ย์ได้เขียนไว้ใน Facebook status เพื่อเป็นความแฟร์ ดิฉันก็ขอแปลและนำมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน เพื่อตัดสินใจเองว่า เรื่องเท็จจริงมันน่าจะเป็นอย่างไร เพราะบทความของคุณกาซี่ย์ ก็มีคนเข้าไปแชร์ และตำหนิตัวเลขานุการเอกของสถานทูตไทยด้วย

สิ่ง ที่ทางสื่อของประเทศไทยไม่ได้นำมาลงเพิ่ม คือข้อมูลเสริมจากคอมเม้นท์ของคุณโมฮัมเหม็ด กาซี่ย์ ซึ่งได้เพิ่มไว้ใน Status ส่วนตัวเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน ดังนี้:

“Thank you for all your kind words of support.

Here are some developments:

The Thai Embassy just called us, and here is what they had to say:

1. The girl has had a lot of problems before, and cost the Thai Embassy in Egypt a lot of money in the past.

2. The girl is walking around the embassy saying that we cannot do anything to her because she has diplomatic immunity. So apparently she is still bragging about her post.

3. The ambassador found out (and the girl knows) about what happened, but will be travelling tomorrow so he cannot meet with us or do anything until next week.

They are dealing with it in an arrogant way.”


คำแปลคือ:

"ขอขอบพระคุณทุกๆ ท่านทีส่งข้อความดีๆ เพื่อให้กำลังใจกับเรา

นี่คือความคืบหน้าของเนื้อหา:

สถานเอกอัคราชทูตไทยเพิ่งจะโทรศัพท์หาเรา และนี่คือสิ่งที่ทางฝ่ายเขาได้บอกเรา:

1. ผู้หญิงคนนี้ได้สร้างปัญหาขึ้นมาอย่างมากมายตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว และสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศอียิปต์ต้องชดใช้เงินค่าตอบแทนเป็นจำนวนมาก ในอดีต

2. หญิงคนนี้ได้เดินไปเดินมาอยู่ในสถานทูตโดยการกล่าวว่า ทางประเทศอียิปต์ไม่สามารถที่จะกระทำใดๆ ต่อเธอได้เนื่องจากเธอมีสิทธิคุ้มกันทางการทูตอยู่ ดังนั้น มันดูเหมือนว่า เธอยังคุยโอ้อวดเกี่ยวกับสถานภาพทางตำแหน่งของเธออยู่

3. ตัวเอกอัครราชทูต (และผู้หญิงคนนี้ก็ทราบดีอยู่) ว่าอะไรได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว แต่ตนเองจะต้องออกเดินทางในวันพรุ่งนี้ (วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน) ดังนั้น ตัวเอกอัครราชทูตจึงไม่สามารถพบปะเจรจากับเราหรือสามารถกระทำการใดๆ ได้จนกว่าจะถึงสัปดาห์หน้า

พวกเขาเผชิญหน้าเพื่อแก้ไขสถานการณ์ด้วยวิธีการอันหยิ่งยะโสเลยทีเดียว”

- - - - - - -

เมื่อ เข้าไปอ่านความคิดเห็นของบุคคลอีกหลายท่าน ก็เห็นมีพยานบุคคลที่เห็นเหตุการณ์เข้ามาโพสต์ด้วยเช่นกัน ซึ่งคล้ายคลึงกันกับที่คุณกาซี่ย์ได้เล่ามาในเบื้องต้น

ถึง แม้ว่า นักการทูตจะได้รับสิทธิคุ้มครองทางการทูต หรือ Diplomatic Immunity ก็ตาม แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นแบบนั้นโดยเสมอไป เพราะทางต่างประเทศสามารถทำการตัดสินให้บุคคลากรทางการทูตที่มีความประพฤติ ย่ำแย่นั้น ให้อยู่ในสถานะของ "persona non grata” หรือ เป็นบุคคลที่ไม่พึงปรารถนากับประเทศนั้นๆ ได้ คือถ้ามีคำสั่งศาลออกมาจากประเทศหนึ่งแล้ว ก็คงมีการกระจายชื่อของนักการทูตผู้นั้นไปทั่วโลกเช่นกัน

ส่วน เนื้อหาในเรื่องนี้ ดิฉันแทบจะหาไม่พบจาก Facebook ของเพื่อนๆ ในประเทศไทยเลย เพราะมันดูเหมือนกับเป็นเรื่องไกลตัว ไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด และยิ่งเรื่องเงียบหายโดยเร็วเท่าไร การตัดสินของทางฝ่ายกระทรวงการต่างประเทศเองก็จะรวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น อาจจะเป็นเหมือนกับที่ คุณชลิต มานิตยกุล เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไคโร ซึ่งยืนยันว่าไม่เคยเห็นข้าราชการคนดังกล่าวมีพฤติกรรมดื่มสุราจนควบคุมสติ ไม่อยู่ หรือแม้แต่ คุณจักรกฤษณ์ ศรีวลี รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ทำการชี้แจงอย่างทันควันว่าเป็นการป้องกันตัว

ถ้า ทางสถานทูตไทย โทรศัพท์ไปหาคุณกาซี่ย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายนจริง และยอมรับว่า บุคคลผู้นี้ก่อเหตุการณ์เป็นเรื่องเสื่อมเสียกับทางสถานทูตมาก่อน มันอาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมดื่มสุราตามที่คุณชลิตปฎิเสธก็ได้ และคุณกาซี่ย์ได้โพสต์ในเวปก่อนหน้าว่า ตัวเอกอัครราชทูตไม่อยู่ในประเทศอียิปต์ในขณะนั้น ซึ่งมันจะไปปะติปะต่อกับเหตุการณ์อีกเรื่องหนึ่งซึ่งจะกล่าวต่อไปในภายหลัง ค่ะ

อย่างไรก็ตาม ดิฉันมีภาค 2 และ ภาค 3 ในเรื่องนี้ ซึ่งทางสื่อไทยอาจจะไม่ต้องการนำมาลงข่าว (เนื่องจากอาจจะถูกขอร้องไว้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสื่อมเสียใดๆ ต่อประเทศไทยก็ได้)

ไม่ว่า รัฐบาลฝ่ายบริหารจะเป็นพรรคเพื่อไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์ก็ตาม เราจะต้องให้ความเป็นกลางและนำเสนอเรื่องนี้ว่า มันเป็นอย่างไรกันแน่ (เพราะทางฝ่ายไทยโดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ ก็คงจะเสนอมุมมองเป็นภาษาไทยให้คนไทยอ่านอย่างเดียว) ดังนั้น วันนี้ ขอสวมหมวก “นักข่าว” สักวันนะคะ...

Doungchampa Spencer

+ + + + + + + 

บทความแปล: การตบตีกันของนักการทูตไทยในงานราตรีที่โรงแรมเคมพิ้งส์กี้ ประเทศอียิปต์ (ภาค 2)


 

(อ้างอิง: https://www.facebook.com/TheGhazy/posts/661791199316)

บทความเขียนโดยคุณ ราน่า เอล-นาฮาล (Rana El-Nahal) เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556
(ผู้เขียนบทความเป็นภรรยาของคุณโมฮัมหมัด การ์ซี่ย์ ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความในภาคที่ 1)

น้ำตาลเคลือบยาพิษ ด้วยการเนรเทศนักการทูตอันแสนวิกลจริตของไทยออกไปจากประเทศอียิปต์แล้ว

ดังที่ทราบมาแล้ว นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทยได้เรียกตัวดิฉันเข้าไปพบปะเจรจา ดิฉันเดินทางไปพร้อมกับคุณอาดัม เม็คคารี่ (Adam Makary) กับ คุณโอมาร์ เม็คกี้ (Omar Mekky) เราพบกับ “ท่านรองฯ” (“the second man”) ก่อน เขาเอ่ยปากขอโทษเราอยู่อย่างซ้ำแล้วซ้ำอีก ด้วยการอธิบายว่า เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่ใหญ่มากสำหรับพวกเขาและงานอาชีพของผู้หญิงคนนั้น (นางสาว คคนางค์ อัมระนันทน์) ได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับไปเรียบร้อยแล้ว และรายงานข่าวเหล่านี้ได้เข้าไปถึงทางฝ่ายวังของประเทศไทยได้อย่างไร

จาก นั้น เขาถามดิฉันว่า ดิฉันต้องการเรียกร้องสิ่งใดบ้างและดิฉันอธิบายว่า ดิฉันต้องการให้เธอออกไปจากประเทศนี้และถูกดำเนินการตามกฎหมาย ท่านรองฯ ไม่สามารถที่จะปฎิบัติตามสิ่งที่เราเรียกร้องได้ และเมื่อเราพร้อมที่จะเดินนทางออกมาจากสถานทูต ดิฉันได้พบกับตัวเอกอัครราชทูตซึ่งเดินเข้ามาในห้องประชุม (ตามที่ทราบมานั้น ตัวเอกอัครราชทูตเดินทางอยู่นอกประเทศอียิปต์)

เอกอัครราชทูตได้อธิบายว่า เขาเชื่อคำพูดของดิฉัน แต่ “ถูกบังคับ” ให้โต้กับทางสื่อมวลชนเนื่องจากว่ามันไปกระทบภาพพจน์ของทางสถานทูต

เขา พยายามที่จะสร้างข้อตกลงโดยการขอร้องให้ดิฉันหยุดการให้ข่าวต่างๆ กับทางสื่อมวลชนและหยุดกระบวนการต่างๆ กับพวกนั้น และจะตอบแทนให้ด้วยการให้ตัวเลขานุการเอก เดินทางออกไปจากประเทศในคืนวนันนี้และจะทำการสืบสวนเรื่องราวเมื่อเธอเดิน ทางกลับไปสู่ประเทศไทยแล้ว

ดิฉันตื่นขึ้นมาในตอนเช้า พร้อมกับข่าวชิ้นหนึ่งที่ลงในหน้าเวปไซค์ที่เรียกว่า “nationmultimedia” (หรือเวปของหนังสือพิมพ์เนชั่น) โดยกล่าวว่า คุณคคนางค์ อัมระนันทน์ ได้เดินทางออกจากประเทศอียิปต์แล้วเนื่องจากว่า เธอได้รับการ “ข่มขู่คุกคาม” ดังนั้น เธอจะต้องรีบเดินทางกลับสู่ประเทศไทยเพื่อความปลอดภัยของเธอ เวปไซค์เวปนี้ยังได้อธิบายต่อไปว่า สิ่งที่เธอกระทำทั้งหมดนั้นเป็นการป้องกันตนเอง อยากจะถามตรงๆ ชัดๆ เลยว่า มันเป็นการป้องกันตนเองอย่างไร ดิฉันไม่ทราบค่ะ!

ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น ก็ตาม ต้องขอขอบคุณวิดิโอและคลิปเสียงต่างๆ ที่ได้ถูกบันทึกไว้ ตามที่ตัวเอกอัครราชทูต และ “ท่านรองฯ” ของเขาได้กล่าวไว้ และดิฉันยังมีพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือเพิ่มอีกสองท่าน ซึ่งมีตำแหน่งผู้พิพากษาและอีกคนหนึ่งเป็นผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวอัล เจซีร่า ดังนั้น ดิฉันขอคาดเดาว่า เรื่องการพูดแบบเคลือบน้ำตาลให้ฟังในเรื่องการเดินทางออกไปนอกประเทศของเธอ นั้น มันใช้ไม่ได้อย่างแน่นอนค่ะ

และสิ่งที่แน่ใจที่สุดคือ ดิฉันจะส่งการร้องเรียนอย่างเป็นทางการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
-----------------------------

ความคิดเห็นของผู้แปล:


สิ่งที่แปลกนิดหน่อยคือ status ของสามีคุณราน่า ได้ลงคอมเม้นท์ในภาคที่ 1 ว่า ทางสถานทูตโทรศัพท์ไปหา แต่ไม่สามารถกระทำการใดๆ ได้ แต่ของคุณราน่า กลับกล่าวว่า ทางสถานทูตเรียกพบเพื่อขอเจรจา

เมื่ออ่านดูแล้ว อาจจะตีความอีกครั้งว่า ตัวเอกอัครราชทูตไม่สามารถจะพบได้ แต่ให้พบกับ “ท่านรองฯ” แทน อันนี้ก็อยู่ที่การตีความก็แล้วกัน ดังนั้น คุณราน่าจึงสามารถไปที่สถานเอกอัครราชทูตในวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายนได้

แต่ การออกข่าวว่า เอกอัครราชทูตอยู่ในระหว่างการเดินทาง และอยู่ๆ ก็สามารถเข้ามาพบกับคุณราน่าได้นั้น อ่านแล้วมันเหมือนกับยุทธวิธีทั่วไป คือ ส่งตัวรองออกไปก่อนว่า สามารถเจรจาความกันได้มากน้อยแค่ไหน จากนั้น เมื่อตัวรองทำงานไม่ประสบความสำเร็จ ตัวเอกอัครราชทูตซึ่งอยู่หลังม่าน และสร้างสถานการณ์ว่าไม่ได้อยู่ในประเทศแล้ว ก็ต้องออกโรงเอง เพื่อห้ามไม่ให้คุณราน่าและสามีให้ข้อมูลเหล่านี้กับผู้สื่อข่าวด้วยการปิด ปาก

บทความภาค 2 นี้แสดงให้เห็นว่า ทางสถานทูตไทยทราบดีเกี่ยวกับเหตุการณ์แบบนี้ และพยายามไกล่เกลี่ยเพื่อให้เรื่องราว “เงียบ” (เหมือนกวาดขยะเข้าไปอยู่ใเต้พรม) (ยิ่ง “ท่านรองฯ”. ถามว่า ต้องการอะไรเป็นการตอบแทน มันดูเหมือนว่า จะยัดเยียดปิดปากให้เรื่องมันเงียบลงไป)

การสอบสวนของคุณคคนางค์ โดยกระทรวงการต่างประเทศ จะถูกกระทำในประเทศไทย โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย และใช้คำให้การของคุณคคนางค์เอง ไม่มีเจ้าหน้าที่ทางการของฝ่ายอียิปต์รวมอยู่ด้วย ดังนั้น ดิฉันจะไม่แปลกใจว่า คุณคคนางค์ คงจะได้รับตำแหน่งทางการทูตในประเทศอื่นๆ ต่อไปอีกในอนาคต เพราะไม่ได้ถูกตัดสินจากประเทศอียิปต์ว่าเป็นบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา

สื่อ ของประเทศไทย ไม่ได้ลงข่าวใดๆ เกี่ยวกับ “ท่านรองฯ” และการพบปะเจรจาระหว่างเอกอัครราชทูตไทยกับคุณราน่าแต่อย่างใด เพียงแต่ลงข่าวไว้เฉยๆ ว่า เป็นการป้องกันตนเอง...


บทความยังมีต่อในภาค 3 ค่ะ


---------------------

บทความต่อเนื่อง:

* บทความแปล: การตบตีกันของนักการทูตไทยในงานราตรีที่โรงแรมเคมพิ้งส์กี้ ประเทศอียิปต์ (ภาค 3) (อ้างอิง: )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น