แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เผย UN ลุยสอบซ้อมทรมานในไทย ต้นปีหน้า

ที่มา ประชาไท


เผยต้นปีหน้าผู้ตรวจการพิเศษของ UN จะเข้าตรวจสอบเรื่องซ้อมทรมานในไทย ย้ำให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมให้ข้อมูล อย่าปล่อยให้รัฐจัดการทุกอย่าง ชี้ยังมีอีก 16 จาก 36 กรณีจ่อคิว วอนรัฐตอบรับคณะตรวจสอบ “สิทธิในการแสดงความคิดเห็น”
 
21 มิ.ย. 56 - ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ศูนย์จัดการความขัดแย้งศึกษา วิทยาลัยประชาชน (People’s college) เปิดห้องเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นำเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพ 
 
นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยมูลนิธิศักยภาพชุมชน (PEF) เปิดเผยระหว่างบรรยายเรื่องระบบองค์การสหประชาชาติ (UN) และองค์กรพิเศษแห่งสหประชาชาติว่า ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติประเด็นซ้อมทรมาน มีแผนจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 หลังจากมีการนำประเด็นนี้ไปพิจารณาเมื่อปีที่แล้ว
 
นางชลิดา เปิดเผยต่อไปว่า ในประเด็นนี้นักพิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้ส่งรายงานการละเมิดสิทธิ ผ่านกลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในประเด็นต่างๆ จำนวนมากในรอบหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติขอเข้าตรวจสอบประเด็นนี้ในประเทศไทย
 
นางชลิดา เปิดต่ออีกว่า ที่ผ่านมา มีผู้ตรวจการพิเศษเข้ามาตรวจสอบตามรายงานที่ร้องเรียนไปยังสหประชาชาติหลาย ครั้ง แต่เป็นเข้ามาตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการ ทำให้ไม่สามารถนำเสนอรายงานต่อสหประชาชาติได้ เนื่องจากเงื่อนไขการรับรายงานจากผู้ตรวจการพิเศษนั้น ต้องเป็นการได้รับเชิญอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลของประเทศนั้นๆ เท่านั้น
 
“เป็นเรื่องดีที่ประเทศไทยประกาศต่อที่ประชุมสหประชาชาติว่ารัฐบาลไทย ต้อนรับการเข้ามาตรวจสอบสถานการณ์สิทธิ หลังจากที่ไทยได้เป็นภาคีแล้ว แต่สิ่งที่มากกว่าคือการสร้างกลไกและกระบวนการให้ผู้แทนเหล่านั้นเข้ามาตรวจ สอบ ต้องให้ภาคส่วนอื่นๆ ในสังคมเข้ามีส่วนร่วมด้วย ไม่ใช่ให้รัฐบาลเตรียมทุกอย่างไว้ทั้งหมด” นางชลิดา กล่าว
 
นักพิทักษ์สิทธิในประเทศไทยคนหนึ่งกล่าวว่า อยากให้รัฐบาลไทยอนุมัติจดหมายเชิญผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติ เข้ามาตรวจสอบสถานการณ์ “สิทธิในการแสดงความคิดเห็น” ด้วย แต่ที่ผ่านมาปรากฏว่ารัฐบาลไทยได้เลือกประเด็นการซ้อมทรมาน และประเด็นสิทธิเด็กเป็นประเด็นน้ำ จึงรับเชิญให้ผู้ตรวจการพิเศษใน 2 ประเด็นนี้เข้ามาก่อน 
 
ทั้งนี้ กรณีประเทศไทยมีผู้ตรวจการพิเศษจ่อคิวขอเข้าตรวจสอบสถานการณ์สิทธิตามที่มี การรายงานไป 16 กรณี จากทั้งหมด 36 กรณีภายใต้สนธิสัญญาที่ประเทศไทยได้ลงนามในข้อตกลงผูกมัดทางกฎหมาย ในฐานะประเทศสมาชิกแห่งสหประชาชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น