แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

4 องค์กรวิชาชีพสื่อ เตรียมยื่น กสทช.ทบทวนร่างประกาศคุมเนื้อหาสื่อ

ที่มา ประชาไท


4 องค์กรวิชาชีพสื่อเตรียมยื่นจดหมายให้ กสทช. ทบทวนและแก้ไข ร่างประกาศการกำกับเนื้อหารายการ ตามมาตรา 37 ชี้อาจขัดรัฐธรรมนูญ-เปิดให้เจ้าของสื่อแทรกแซงการทำงาน
(9 ก.ค.56) เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ รายงาน ว่า ที่ประชุมร่วม 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ประกอบด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มีมติและข้อสรุปร่วมกันจากกรณีที่ กสทช. ได้จัดทำ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ...ว่า
องค์กรวิชาชีพสื่อทั้ง 4 องค์กร ตระหนักและเข้าใจถึงความจำเป็นที่ กสทช. จะต้องมีกลไกเพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลสื่อมวลชนทั้งระบบอย่างมี ประสิทธิภาพ จึงได้พยายามผลักดันให้เกิดร่างประกาศฉบับดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการฯ พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้ กสทช.มีอำนาจ “ระงับการออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน อย่างร้ายแรง” แต่จากการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏในร่างฉบับดังกล่าว องค์กรวิชาชีพสื่อ พบว่ามีประเด็นที่ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบดังนี้คือ
1. เนื้อหาของร่างประกาศนี้อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพราะมีเนื้อหาเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่รัฐ ธรรมนูญให้การรับรองไว้
2. การใช้อำนาจกำกับดูแลของ กสทช.ตามร่างประกาศนี้อาจเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของ กสทช.เกินกว่าที่ มาตรา 37 พ.ร.บ.การประกอบกิจการฯ พ.ศ.2551 ให้อำนาจไว้
3. กสทช.สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 37 นี้ร่วมกับกลไกอื่นๆ ที่ กสทช.ได้ประกาศใช้ไปแล้ว คือ ประกาศฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดในกิจการ กระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีโทษทางปกครอง หรือร่างประกาศ เรื่องการรวมกลุ่มเพื่อกำกับดูแลกันเองของผู้รับใบอนุญาต ผู้ผลิตรายการ และผู้ประกอบวิชาชีพฯ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพัฒนาวิชาชีพ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบวิชาชีพกำกับดูแลกันเองด้านจริยธรรมตามเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ
4. เมื่อพิจารณาลงในรายละเอียดของร่างประกาศ พบว่า
4.1 หมวด 1 อาจมีความจำเป็นต้องให้คำจำกัดความถ้อยคำบางประการให้ชัดเจนเพื่อคุ้มครอง การได้รับข้อมูลข่าวสารสาธารณะของประชาชน เช่น รายการที่มีเนื้อหาสาระที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ที่มีลักษณะเป็นการยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกในสังคม หรือมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการทำลายสันติสุขโดยพลันหรือก่อให้เกิดการใช้ กำลังหรือความรุนแรงในสังคม เป็นต้น
4.2 หมวด 2 การกำหนดให้ “ผู้รับใบอนุญาต” ซึ่งหมายถึงเจ้าของสื่อ มีหน้าที่ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพให้ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งอาจทำให้เกิดการแทรกแซงการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์สาธารณะ อันจะนำไปสู่การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารหรือการเซ็นเซอร์ได้โดยง่าย
4.3 หมวดที่ 3 การกำกับดูแลที่ให้อำนาจผู้รับใบอนุญาตในการกำกับดูแลตรวจสอบเนื้อหาของ รายการอันเป็นการขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 ที่รับรองสิทธิเสรีภาพของพนักงาน ลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ตามจริยธรรม
องค์กรสื่อทั้ง 4 องค์กร จึงเห็นควรเสนอให้ กสทช. พิจารณาทบทวนและปรับแก้ไขร่างประกาศดังกล่าวด้วยความรอบคอบ เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการนำ เสนอความคิดเห็นตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่าง เพื่อให้ร่างประกาศฉบับดังกล่าวสามารถใช้เป็นเครื่องมือของ กสทช. ในการกำกับดูแลสื่อมวลชนที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ของประชาชนซึ่งเป็นประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง และหาก กสทช.เห็นควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อร่างประกาศดังกล่าว องค์กรสื่อทั้ง 4 องค์กรยินดีให้ความร่วมมือส่งตัวแทนเข้าร่วมเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อไป

ด้านเว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานว่า วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวในที่ประชุมว่า ร่างประกาศฯ ดังกล่าว ถ้าคนทั่วๆ ไปมาดูก็อาจจะเห็นว่าดี ในการคุมสื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน แต่ข้อบกพร่องที่สุดคือการเปิดช่องให้เจ้าของสื่อสามารถแทรกแซงการนำเสนอ ข่าวได้โดยตรง
ทั้งนี้ ตัวแทน 4 องค์กรสื่อ มีมติร่วมกันว่าจะออกข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศฯ ดังกล่าว และจะนำไปยื่นในการประชุมรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อยที่จัดขึ้นโดย กสทช.ในวันที่ 18 ก.ค. ที่โรงแรมเซนจูรี
สำหรับเนื้อหาในร่างประกาศฯ ดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมตัวแทน 4 องค์กรสื่อเห็นว่าน่าจะเป็นปัญหา มีอาทิ ข้อ 17 ที่กำหนดให้นักข่าวห้ามปกปิดแหล่งข่าวเว้นแต่มีกฎหมายกำหนด ซึ่งไม่ชัดเจนว่าหมายถึงกฎหมายใด และเป็นไปได้ว่าในอนาคต กสทช.อาจส่งคนมาตรวจสอบเนื้อหาก่อนออกอากาศ โดยการบังคับให้เปิดเผยแหล่งข่าวมีลักษณะคล้ายเนื้อหาในร่าง   พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ข้อ 25 ที่กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตหรือ ผอ.สถานีมีหน้าที่ตรวจสอบหรือระงับการออกอากาศรายงานที่มีลักษณะต้องห้ามตาม ที่ร่างประกาศฯ ดังกล่าวกำหนด ที่เป็นการเปิดช่องให้ผู้รับใบอนุญาต ที่เป็นผู้ประกอบการหรือนายทุนเข้าแทรกแซงการนำเสนอข่าวได้โดยตรง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น