แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ใจ อึ๊งภากรณ์:ทำไมอียิปต์ ๓ กรกฏาคม ต่างโดยสิ้นเชิงจาก ไทย ๑๙ กันยายน

ที่มา Thai E-News

 Supporters and opponents of Morsy clash in Cairo on Friday, July 5.
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
ที่มา


หลายคนในไทย อาจกังวลว่าพวกหน้ากากขาวจะฉลองการที่ทหารล้มประธานาธิบดีมูรซี่ในอียิปต์ และอาจอ้างว่ามันเหมือนรัฐประหาร ๑๙ กันยา แต่มันต่างกันโดยสิ้นเชิง     

สิ่งที่ทำให้มันต่างกันโดยสิ้น ไม่เกี่ยวอะไรกับ “ความดี” ของกองทัพอียิปต์แต่อย่างใด 

กองทัพอียิปต์โกงกินและมือเปื้อนเลือดประชาชนพอๆ กับกองทัพไทย เพราะกองทัพอียิปต์เคยปกครองประเทศด้วยระบบเผด็จการ และอดีตประธานาธิบดีมูบารักก็มาจากกองทัพ 

มวลชนบางส่วนอาจดีใจที่กองทัพออกมาแทรกแซงและปลดประธานาธิบดีมูบารัก และประธานาธิบดีมูรซี่ แต่กองทัพอียิปต์ไม่เคย “อยู่เคียงข้างประชาชน” แต่อย่างใด     

พลังแท้ที่ล้มทั้งประธานาธิบดีมูบารัก และประธานาธิบดีมูรซี่ คือพลังมวลชน ล่าสุดมีการประท้วงเป็นล้านๆ ตามท้องถนน มันเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ และพลังสำคัญคือการนัดหยุดงานด้วย 
Opponents of Mohamed Morsy gather at Tahrir Square during a protest in Cairo on Sunday, July 7. More than 30 people have died and 1,400 suffered injuries since the coup on Wednesday, July 3. <a href='http://www.cnn.com/2013/06/29/middleeast/gallery/egypt-protest/index.html'>View photos of protests that erupted before the coup.</a>
ผู้ประท้วงส่วนใหญ่ไม่ใช่ชนชั้นกลาง ทหารเพียงแต่ออกมาปลดประธานาธิบดี เพื่อปกป้องสถานภาพของตนเอง เพราะกลัวกระบวนการปฏิวัติ และข้อเรียกร้องหลักของมวลชนไม่เคยเป็นเรื่องการกวักมือเรียกให้ทหารทำการปฏิวัติ หรือให้มีกระบวนการแต่งตั้งผู้นำใหม่ที่ไม่ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย 

ข้อเรียกร้องของมวลชนส่วนใหญ่ที่คัดค้านมูรซี่คือความต้องการที่จะผลักดันการปฏิวัติไปข้างหน้า เพื่อให้เป็น “การปฏิวัติที่กินได้” คือมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์สำหรับคนทำงานส่วนใหญ่ ทั้งในด้านเสรีภาพ ประชาธิปไตย และในเรื่องปากท้อง มีเรื่องนโยบายระหว่างประเทศอีกด้วย เขาไม่อยากเห็นนโยบายเดิมๆ ที่ผูกมิตรกับอิสราเอล     

ในกรณี ไทย ๑๙ กันยา มวลชนเสื้อเหลืองออกมาแต่ไม่ยิ่งใหญ่ แบบอียิปต์ และเป็นการเรียกร้องให้ “เจ้านายที่อยู่เบื้องบน” ปลดนายกที่มาจากการเลือกตั้ง มีการตั้งความหวังกับกองทัพ และมีความต้องการที่จะหมุนนาฬิกากลับสู่สถานการณ์เดิมๆ ยิ่งกว่านั้นมีความไม่พอใจที่รัฐบาลทักษิณทำตามคำมั่นสัญญาต่อคนจน โดยดูถูกว่านั้นคือนโยบายแย่ๆ ที่เรียกว่า “ประชานิยม” แต่ในอียิปต์มวลชนออกมาล้มมูรซี่เพราะไม่ทำตามสัญญาและไม่ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อคนจนเลย    

สหาย ซาเมย์ นากวิบ จากองค์กรปฏิวัติสังคมนิยมอียิปต์ มีความเห็นว่า “เรื่องมันยังไม่จบ ในช่วงแรกๆ มวลชนที่ต่อต้านมูรซี่แสดงความดีใจ มีการเชียร์กองทัพ แต่มวลชนไม่โง่ เขารู้ว่าตำรวจกับทหารทำอะไรในอดีต ความหวังที่จะมีการเปลี่ยนแปลงพุ่งสูงสุดขอบฟ้า สูงกว่าตอนเราล้มมูบารักอีก และรัฐบาลใหม่ไหนที่เข้ามาคงจะไม่สามารถตอบสนองได้ มวลชนรู้ว่าตนเองมีพลังและมีสิทธิ์ เขาล้มประธานาธิบดีมูรซี่ภายในระยะเวลาแค่หนึ่งปี เพราะมูซี่ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน มวลชนสามารถทำได้อีกในอนาคต     

พูดง่ายๆ ในอียิปต์ กองทัพเป็นผู้ประสานงานให้กับการปลดผู้นำตามความต้องการและการกดดันของมวลชน และมวลชนกับทหารรู้ดีว่าถ้ากองทัพไม่ประพฤติตัวดีๆ ตามกระบวนการประชาธิปไตย มวลชนสามารถล้มทหารได้
Morsy supporters hold up their bloodstained hands after Egypt's armed forces opened fire on rally in front of the Republican Guard headquarters in Cairo on July 5.
อ่านแถลงการณ์ต่างๆ ขององค์กรสังคมนิยมปฏิวัติอียิปต์ได้ที่นี่https://www.facebook.com/turnleftthai?hc_location=timeline

********

ประชาไท:บทความวอชิงตันโพสต์วิพากษ์ รปห.ไม่มีข้อยกเว้น ล้วนเดินหน้าสู่ความมืดมัวและรุนแรง

ชาว อียิปต์จำนวนไม่น้อยอาจจะพยายามอธิบายว่ามีบางอย่างที่เรียกได้ว่าเป็น "ลักษณะเฉพาะ" ของการรัฐประหารโดยกองทัพที่มีประชาชนหนุนหลังซึ่งเกิดขึ้นในไคโรเมื่อวัน พุธที่ผ่านมา แต่ทั้งโลกซึ่งเป็นพยานการรัฐประหารหลายครั้งหลายคราในรอบครึ่งศตวรรษนี้ จากบัวโนสไอเรสถึงกรุงเทพฯ ฝูงชนได้เรียกร้องให้นายพลทั้งหลายออกมาโค่นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และแสดงการสนับสนุนเมื่อได้รับการตอบสนองจากกองทัพ ทว่าโดยปราศจากข้อยกเว้น ผลที่ตามมาของการรัฐประหารนั้นมีแต่ความมืดมัว และความรุนแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น