แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

'สุจริตคือเกราะบัง' จำนำข้าวสะท้อนอะไร

ที่มา ประชาไท


การจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ครั้งนี้ ทำให้ได้แง่คิดมุมมองและบทเรียนต่างๆ แก่รัฐบาลและสังคม
ประการแรก แม้จะมีการยกเลิกค่าพรีเมียมข้าว เพื่อยกระดับราคาข้าวให้ชาวนา จะมีการประกันราคาหรือจำนำข้าวมาหลายรัฐบาล โดยเฉพาะความพยายามอย่างจริงจังของรัฐบาลชุดนี้ แต่ดูเหมือน ปัญหาของชาวนา การถูกเอาเปรียบ ความยากจนจะยังเหมือนเมื่อกว่า 50 ปีมาแล้ว ผู้เขียนขอยกส่วนหนึ่งของบทความที่เคยเขียนลงตีพิมพ์ในสยามรัฐ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2517 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ
...เมื่อเร็วๆ นี้ชาวนาภาคกลางจำนวนหนึ่งได้เดินขบวนมากรุงเทพฯและเสนอให้รัฐบาลทำการค้า ข้าวเสียเอง เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อชาวนาและเศรษฐกิจโดยส่วนรวมมากยิ่งกว่าระบบการค้า ข้าวที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน การเคลื่อนไหวของชาวนาอย่างเปิดเผยและแข็งขันเช่นนี้นับเป็นครั้งแรก เท่าที่ผ่านมามีเพียงนักวิชาการและนิสิตนักศึกษาในกรุงเทพฯจำนวนหนึ่งที่ เป็นปากเป็นเสียงแทนชาวนา ด้วยเหตุนี้ขอเสนอของชาวนาจึงเป็นสิ่งที่น่าขบคิด การที่ชาวนาเสนอเช่นนี้ย่อมหมายความว่าการตลาดของข้าวหรือระบบวิธีการค้า ข้าวในปัจจุบันนั้นใช้ไม่ได้(ในยุคนั้นยังมีทั้งการเก็บพรีเมียมข้าว และให้โควต้าส่งออกแกผู้ส่งออก ซึ่งพรีเมี่ยมข้าวโดยผลก็คือภาษีที่เก็บจากผู้สงออกเข้ารัฐ มีผลให้ผู้ส่งออกกดราคาซื้อข้าวจากชาวนา ระดับราคาข้าวในประเทศต่ำ แต่คนเมืองได้ประโยชน์ไม่ต้องกินข้าวแพง)...
การที่นักวิชาการหรือผู้ต้องการล้มรัฐบาล บอกว่าการจำนำข้าวเป็นการแทรกแซงกลไกตลาด นั้นถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะตลาดข้าวมันไม่สมบรูณ์ กลไกตลาดไม่ได้ทำงานให้ความเป็นธรรมโดยเฉพาะกับชาวนา ข้อพิสูจน์ก็คือ ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นประชาธิปัตย์หรือเพื่อไทย ก็ล้วนแทรกแซงตลาดเพื่อหวังช่วยชาวนาด้วยการประกันรายได้หรือจำนำข้าว แต่ทั้งสองวิธีก็มีข้อบกพร่อง แต่การจำนำข้าวโดยรัฐบาลนี้ มีความพยายามที่จริงจังกว่า ชาวนาชอบมากกว่าเป็นความพยายามที่จะดันราคาตลาดโลก และก็แน่นอนว่ามีปัญหาตามมามากว่า
ถ้ารัฐบาลยอมแพ้ เลิกโครงการจำนำ การตลาดข้าว ก็คงกลับไปเช่นเดิม ชาวนาก็คงถูกเอารัดเอาเปรียบเช่นเดิม แต่หากรัฐทำต่อก็ไม่ควรย้ำอยู่กับที่เพียงวิธีการจำนำข้าว แต่ควรมองเป้าหมายไปที่สร้างกลไกตลาดให้ดีขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการในแต่ละช่วง เช่น ชาวนา โรงสี เจ้าของโกดัง ผู้ส่งออกได้ส่วนต่างกำไรอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม แนวคิดที่กว้างกว่า ไม่ว่าจะเป็นโซนนิ่ง การส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปจากข้าว การให้ชาวนารวมตัวกันทำธุรกิจส่งออก หรือการให้นักเกษตรอุตสาหกรรมรายใหญ่เข้ามามีบทบาท การรวมตัวกับคู่แข่ง เหล่านี้ล้วนควรนำเข้ามาพิจารณา (บริษัทอาหารแปรรูป น้ำมันพืช อาหารสัตว์ ล้วนมีส่วนโดยตรงในการศึกษาวิจัย และแนะนำช่วยเหลือ เกษตรกร แต่ผู้ส่งออกข้าวไทยมีลักษณะเป็นแค่นายหน้าขายข้าว)

 2.
ประการทีสอง อดีตนายกสมัครได้กล่าววาทะเด็ดในช่วง 4-5 ปีก่อนเสียชีวิต สองเรื่องคือ ความกลัวทำให้เสื่อม พูดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันก็คือยิ่งรัฐบาลกลัวอำมาตย์มาก ไม่กล้าแก้รัฐธรรมนูญนั่นแหละรัฐบาลจะยิ่งเสื่อม อีกเรื่องก็คือ สุจริตคือเกราะบัง (เป็นส่วนหนึ่งของโคลงสุภาษิตไทย) เป็นคำกล่าวช่วงปราศรัย แสดงความมั่นใจว่าเพราะตนเองสุจริต ไม่ได้ทุจริต จึ่งไม่ต้องกลัวใคร พร้อมชี้แจงทุกเรื่อง ในกรณีการจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็เช่นกัน มีกระแสโจมตีมากมาย แต่ตราบเท่าที่ไม่มีการโกงกิน คอรัปชั่น โดยตรง ของ นายก ของรัฐมนตรี ส.ส. ของพรรค รวมถึงญาติมิตร ไม่มีการกระทำในลักษณะ สปก. 4-01 การโกงของอดีต รมว.กระทรวงสาธารสุข การบุกรุกป่าสงวน รัฐบาลก็คงอยู่บริหารต่อไปได้ ซึ่งสถานการณ์ ขณะเขียนบทความนี้ ก็เป็นเช่นนั้น เพราะยังไม่มีกระแสเกลียดชังของสังคมจากการทุจริตในระดับดังกล่าว ส่วนข้อโจมตีอื่นๆ นั้น สามารถชี้แจงได้ เช่น
ก. โครงการขาดทุน แม้จะมีความแตกต่างด้านตัวเลข ฝ่ายที่ต้องการล้มรัฐบาลก็บอกว่า มากกว่า 2.3 แสนล้านบาท แต่เหตุผลหลักที่แตกต่างกันคือวิธีการลงบัญชี และการนับสต็อก ซึ่งขณะนี้ได้ข้อยุติที่ 1.3 แสนล้านบาท แต่ประเด็นที่รัฐสามารถชี้แจงได้เพิ่มเติม คือ รัฐไม่ได้เล่นการพนัน หรือขายของถูกให้ต่างชาติแบบ ปรส. ซึ่งเงินหายออกจากระบบ จากการรายงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เงินออมของชาวนาที่เข้าร่วมโครงการจำนำข้าวเพิ่มจาก 1.4 ล้านบาทเป็น 2.5 ล้านบาท นี่พูดเฉพาะเงินออม ยังไม่นับเงินที่ชาวนาไปใช้หนี้หรือจับจ่ายใช้สอย
ข. โครงการนี้ทำให้เสียแชมป์ส่งออก นี้เป็นเรื่องท้าทาย ความพยายามของรัฐบาลชุดนี้ที่จะช่วยชาวนาจะผลักดันให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูง ขึ้นถือว่าล้มและก็มีผลทำให้เสียแชมป์ส่งออก แต่เราจำเป็นต้องยึดติดกับการเป็นแชมป์ส่งออกข้าวหรือ ขอให้ดู ยางพารา แต่เดิม เราส่งออกเป็นอันดับสามของโลก แต่ปัจจุบันเป็นอันดับหนึ่งของโลก นั้นเพราะว่า ทั้งมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ไม่สนใจที่จะเป็นแชมป์ หันไปให้ความสำคัญกับการผลิตและส่งออก ปาล์มน้ำมันมากกว่า เพราะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้มากกว่า ที่สำคัญสามารถนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิง ในมาเลเซียพื้นที่เพาะปลูกยางพาราลดลงแต่พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มอย่าง รวดเร็ว ปัจจุบันมูลค่าส่งออกสูงเป็น 3 เท่าของยางพารา
ค. การทุจริตโครงการนี้ถูกโจมตีว่าทุจริต รั่วไหล แต่ก็ยังเป็นการทุจริต ระดับปฏิบัติ เช่นข้าวหายในโกดังเอกชนที่ จังหวัดพิจิตร รัฐควรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในเรื่องนี้ จับกุม ลงโทษ โกดังหรือผู้ลักลอบนำข้าวมาสวมสิทธิ์
ง. ทำให้ผู้ส่งออกไทย ต้องไปหาซื้อข้าวจากเขมรส่งออก ซึ่งก็ไม่เสียหาย คนไทยควรมีบทบาทเช่นนี้นานแล้ว คือ เป็นตัวกลางนำสินค้าจากประเทศอื่นไปขาย ไต้หวัน ฮ่องกง สิงค์โปรมาหากินลักษณะนี้ในไทยนานแล้ว
ดังนั้นสุจริตคือเกราะบัง ข้อโจมตีอื่นๆ อธิบายได้ แต่ถ้าทุจริต ใครก็ช่วยไม่ได้

3.
ประการที่สาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้เอื้อต่อการบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร หมวดเศรษฐกิจกำหนดให้รัฐต้องทำกว้างมาก การทำงานของรัฐบาลอาจถูกตีความว่าไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เช่น รัฐต้องส่งเสริม การขนส่งทาง ราง แต่ขณะเดียวกันก็บอกว่า ต้องรักษาวินัยการเงินการคลัง ในส่วนที่เกี่ยวกับระบายข้าวซึ่งเป็นหัวใจของการจำนำข้าว จะเสียหายมากหรือกลายเป็นกำไรก็อยู่ที่การขายข้าว รมว.กระทรวงพาณิชย์ รวมถึง ข้าราชการระดับสูงจึงถูกเพ่งเล็งให้แสดงฝีมือ แต่ มาตรา 84 ชองรัฐธรรมนูญชุดนี้ระบุว่ารัฐต้อง
(๑) สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบท บัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค
ฝ่ายค้านได้ยื่นเรื่องไปให้ ปปช. สอบเพื่อเอาผิดรัฐบาลและข้าราชการ สองเรื่องคือการที่รัฐแถลงว่าขายข้าวให้รัฐวิสาหกิจจีนนั้นไม่ใช่การขายแบบ รัฐต่อรัฐ และการขายข้าวต้องขายผ่านผู้ส่งออกหรือผู้ประกอบการ จะขายเองไม่ได้ แม้จะยังไม่มีข้อสรุปจาก ปปช. แต่การกระทำของฝ่ายค้านก็ได้ผล จากคำแถลงของนางปราณี ศิริพันธ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศบอกว่ากำลังเสนอแนวทางการระบายข้าวโดยให้ผู้ซื้อ ต่างประเทศมาจับมือกับเอกชนไทยและยื่นความจำนงซื้อข้าวในสต๊อกรัฐ เนื่องจากการเปิดให้ผู้ซื้อต่างประเทศมายื่นซื้อโดยตรงไม่สามารถทำได้ เพราะอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ประเด็นก็คือ รัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ จะขยันขายข้าวไม่ได้ ได้คำสั่งซื้อมา อาจถูก ปปช. ระงับไม่ให้ขาย หรือได้คำสั่งซื้อมา หรือต่างประเทศติดต่อมาโดยตรง ก็ต้องไปเสนอซื้อร่วมกับผู้ส่งออกไทย ซึ่งไม่ต้องทำอะไร ก็จะได้ส่วนแบ่งจากการให้ใช้ชื่อ ความสูญเสียระหว่างทางจากการจำนำ แทนที่จะลดลงกลับเพิ่มขึ้น และการทำเช่นนั้นก็เสี่ยงต่อการฟ้องว่าใช้บริษัทพรรคพวก
ข้อสะท้อนประการสุดท้ายจากการจำนำข้าวครั้งนี้ก็คือ แม้จะหวังดี นโยบายดี แต่ก็ต้องรอบคอบ ทีสำคัญต้องได้คนตั้งใจทำงาน คนเก่ง มารับผิดชอบด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น