แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ศปช.ร่อนแถลงการณ์ แนะวุฒิสภาแก้ไขดีกว่ายับยั้ง ห่วงคนติดคุกต่ออีก6เดือน

ที่มา Thai E-News


หมายเหตุ: ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53 (ศปช.) ได้ส่งจดหมายถึงสื่อมวลชน แนะนำให้วุฒิสภาอย่าเพิ่งยับยั้งทัั้งร่าง เพราะจะส่งผลกระทบต่อประชนชนที่ติดคุก ทำให้ติดคุกต่ออีกหกเดือนโดยไม่ได้รับการพิจารณาแต่อย่างใด
 
ข้อเรียกร้องต่อวุฒิสภา ให้พิจารณาแก้ไขร่าง พรบ.นิรโทษกรรมเพื่อประชาชน
โดย ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53 (ศปช.)
8 พฤศจิกายน 2556

กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่ง กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... จนมีเนื้อหาแตกต่างไปจากร่างที่สภาฯ ได้รับหลักการเอาไว้ในวาระที่ 1 โดยครอบคลุมการนิรโทษกรรมให้กับบุคคลที่เป็นผู้สั่งการและเจ้าหน้าที่ที่ใช้ กำลังเข้าสลายการชุมนุมในช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2553 จนนำไปสู่การละเมิดสิทธิในชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรง อีกทั้ง ยังได้ขยายระยะเวลาการนิรโทษกรรมออกไปครอบคลุมคดีความที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอาจรวมถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยนั้น การดำเนินการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาคัดค้านจากประชาชนทุกสีทุก ฝ่ายอย่างรุนแรง ทำให้สังคมเข้าสู่ความตึงเครียดและการเผชิญหน้าอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้นไม่นาน ประชาชนหลายกลุ่มได้เรียกร้องให้วุฒิสภา ซึ่งต้องเป็นผู้พิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนี้ ใช้อำนาจยับยั้งร่างกฎหมายนี้ไว้ก่อน และส่งร่างกฎหมายนี้คืนไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาทบทวนใหม่ และเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ประธานวุฒิสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช และวุฒิสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่าจะใช้อำนาจยับยั้งหรือไม่รับร่างพรบ.นิรโทษกรรม 

    อย่างไรก็ตาม ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53 (ศปช.) มีความวิตกกังวลอย่างยิ่งว่า หากวุฒิสภายับยั้งร่าง พรบ.นิรโทษกรรมจริง จะทำให้สภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถพิจารณาร่างกฎหมายนี้ได้อีกจนกว่าจะพ้นระยะ เวลา 180 วันไปแล้ว นั่นหมายความว่า ประชาชนธรรมดาที่ถูกจับกุมคุมขังอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองและการ แสดงออกทางการเมือง จะต้องสูญเสียอิสรภาพต่อไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน เท่ากับว่ากลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายที่ร่าง พรบ.นิรโทษกรรมมุ่งช่วยเหลือแต่เดิม กำลังจะกลายเป็นที่ผู้สูญเสียและได้รับผลกระทบมากที่สุด

 ศปช. มีความเห็นว่า เพื่อให้เจตนารมณ์ของร่าง พรบ.นิรโทษกรรมบรรลุผล สมาชิกวุฒิสภาไม่ควรยับยั้งร่างกฎหมายทั้งฉบับ แต่สมควรพิจารณาแก้ไขร่างกฎหมายให้เป็นไปตามหลักการที่บัญญัติไว้ในวาระที่ 1 โดยมีสาระดังต่อไปนี้

1. ให้นิรโทษกรรมเฉพาะประชาชน "ที่ เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการ เมือง โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใดเพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อ ต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการชุมนุม การประท้วง หรือการแสดงออกด้วยวิธีการใด ๆ อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น”  ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 

2. ไม่นิรโทษกรรมให้แก่ผู้สั่งการและเจ้า หน้าที่ของรัฐที่ออกคำสั่ง บังคับบัญชา หรือกระทำการใดๆ อันนำไปสู่ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 และไม่นิรโทษกรรมให้แก่การกระทำใดๆ ของบุคคลไม่ว่าฝ่ายใดที่ถูกดำเนินคดีหรืออาจถูกดำเนินคดีในอนาคตในความผิด ต่อชีวิต

3. ไม่นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้น ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ แต่อย่างใด

ทั้งนี้ ศปช. ขอเรียกร้องให้สมาชิกวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยยึดหลักความยุติธรรม และมนุษยธรรมที่ พึงมีต่อประชาชนที่ถูกจับกุมคุมขังนับแต่หลังการรัฐประหารปี 2549  เพราะการกระทำของพวกเขามิได้มุ่งก่ออาชญากรรมต่อสังคม แต่เป็นการต่อสู้เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการเมืองที่ดีตามอุดมการณ์ของตน ในช่วงเวลากว่าสามปีที่ผ่านมา การปฏิเสธการประกันตนและให้นิรโทษกรรมประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเสื้อแดง ขณะที่กระบวนการยุติธรรมต่อกลุ่มการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งกลับมีลักษณะตรงกัน ข้าม สิ่งเหล่านี้มีแต่ยิ่งเพิ่มพูนความคับแค้นใจในหมู่ประชาชนเสื้อแดงทั่ว ประเทศ เป็นสิ่งที่ตอกย้ำให้เห็นถึงภาวะสองมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม ฉะนั้น การนิรโทษกรรมประชาชนจึงเป็นหนทางที่จำเป็นที่จะช่วยลดความรู้สึกเจ็บแค้น และแตกแยกในสังคมให้เบาบางลงได้ 

เราใคร่ย้ำว่า เราไม่เห็นด้วยกับการลบ ล้างความผิดของนักการเมืองด้วยการพ่วงไปกับประชาชนที่เป็นนักโทษการเมือง พอ ๆ กับการใช้อิสรภาพของพวกเขาเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อต่อรองอำนาจและ ทำลายกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม

นอกจากนี้  อดีตที่ผ่านมาในสังคมไทยชี้ว่าความรุนแรงทางการเมืองหลายครั้งหลายครา จบลงด้วยการนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่ปราบปรามประชาชน เป็นการเปลี่ยนอาชญากรรมของรัฐต่อประชาชน ให้กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยแทบไม่มีการคัดค้าน    ณ วันนี้ สังคม ไทยต้องยุติการโอบอุ้มวัฒนธรรมแห่งการปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนวล (culture of impunity) วัฒนธรรมการเมืองที่เลวร้ายนี้ไม่เพียงยุติความพยายามแสวงหาความจริงว่าอะไร คือสาเหตุแห่งความรุนแรง แต่ยังเป็นอาวุธที่บ่อนทำลายคุณค่าสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิในชีวิต ไม่ให้มีวันได้เติบโตในสังคมไทย สังคมจะเป็นประชาธิปไตยไม่ได้เลย หากผู้มีอำนาจไม่กลัวเกรงต่อการใช้อำนาจที่เกินขอบเขตละเมิดชีวิตของประชาชน

เราขอย้ำว่าร่าง กฎหมายนิรโทษกรรมที่วุฒิสภากำลังจะพิจารณานี้ ควรเป็นเครื่องมือทางมนุษยธรรมสำหรับเยียวยาความแตกแยกและคับแค้นใจในหมู่ ประชาชน พร้อมๆ ไปกับหยุดยั้งวัฒนธรรมแห่งการปล่อยให้ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล 

ขอแสดงความนับถือ
ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53 (ศปช.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น