แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เปิดประชุมสุดยอดผู้นำเอเชีย-แปซิฟิก "ยิ่งลักษณ์"ชี้โทรคมนาคมลดเหลื่อมล้ำ

ที่มา มติชน

 http://www.matichon.co.th/online/2013/11/13847487471384748804l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/11/13847487471384748843l.jpg

 
 เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานเปิดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียและแปซิฟิกของสหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ หรือ Connect Asia-Pacific Summit โดยมีผู้นำระดับชาติ เข้าร่วมจำนวนมาก เช่น ประธานาธิบดีไมโครนีเชีย ประธานาธิบดีนาอูรู นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ นายกรัฐมนตรีปากีสถาน

 นายกรัฐมนตรีตองกา นายกรัฐมนตรีวานูอาตู เพื่อให้ผู้นำประเทศ ผู้นำอุตสาหกรรมไอซีทีจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมแสดง วิสัยทัศน์ และ ความเห็นเกี่ยวกับ ความท้าทายของโลกดิจิตอล รวมโอกาสที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ตลอดจนกำหนดแนวทางด้านการลงทุนโครงข่ายพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ไอซีที และ แอพพลิเคชั่น รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านไปสู่วิสัยทัศน์ ทิศทางในการพัฒนา อุตสาหกรรมไอทีในอนาคตของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในปี 2563

 ก่อนเริ่มประชุม เมื่อเวลา 08.30 น. นายกรัฐมนตรีให้การต้อนรับผู้นำ 6 ชาติ ที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอด เอเชีย-แปซิฟิก และเป็นเจ้าภาพ เลี้ยงอาหารเช้าเพื่อเป็นเกียรติ แก่นายมูฮัมหมัด นาวาซ ชารีฟ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน พร้อมด้วย ประธานาธิบดีไมโครนีเชีย ประธานาธิบดีนาอูรูนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ นายกรัฐมนตรีตองกา นายกรัฐมนตรีวานูอาตู ที่ได้เข้าร่วมงาน

 Dr Hamadoun Toure เลขา ITU กล่าว ว่า ต้องขอบคุณประเทศไทยที่เป็นเจ้าภาพและสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ พร้อมกล่าวแสดงความเสียใจต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระญานสังวรณ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวมทั้งแสดงความเสียใจกับประชาชนชาวฟิลิปปินส์ที่ได้รับผลกระทบจากพายุไห่ เยี่ยน โดยทาง ITU ได้สนับสนุนอุปกรณ์โทรคมนาคมในการช่วยเหลือฟื้นฟู พร้อมขอบคุณผู้นำเอเชียแปซิฟิคที่มาร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ในปี 2020 ร่วมกันด้านโทรคมนาคม ภายใต้แนวคิด SMARTLY DIGITAL และการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือของคนทั่วโลกในปัจจุบันสูงถึง 96 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศพัฒนาการเข้าถึงมือถือสูงถึง 128 เปอร์เซ็นต์ สำหรับประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือถึง 130 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากร ดังนั้น ITU อยากเห็นการพัฒนาการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ที่มีความเร็วขั้นต่ำ 10 เมกะบิตต่อวินาที โดย 7 ประเทศในเอเชียสามารถทำได้ ซึ่งต้องขอบคุณผู้นำที่ช่วยกันกำหนดอนาคตโดยเฉพาะการผลักดันให้ประชากรเข้า ถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

 “ขอย้ำว่าสิ่งสำคัญ คือ จะต้องทำให้ประชากรอย่างน้อยสองในสามของโลก เข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงภายในปี 2015 และขอฝากให้ผู้นำประเทศต่างๆ วางแผนภายในปี 2015 ให้มีการวางสายไฟเบอร์เพื่อนำอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไปถึงบ้านประชาชนทุก หลัง และหวังว่าการพัฒนาโทรคมนาคมจะช่วยก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ทั้งในระดับชุมชน ระดับสากล ให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลสำคัญ”

 ด้านนายบันคีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวผ่าน VDO Message ว่าเอเชียแปซิฟิคเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่มีความเหลื่อมล้ำเพราะการเข้าถึง ICTต่างกัน แต่ถ้ามีการเชื่อมโยงประเทศต่างๆเข้าด้วยกัน จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เฝ้าระวังภัยธรรมชาติได้ดี

 ขณะที่นายกรัฐมนตรี กล่าวกล่าวแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียที่เกิดจากพิบัติภัยทางธรรมชาติที่ ประเทศฟิลิปปินส์ ก่อนกล่าวว่างาน Connect Asia-Pacific จัดร่วมกับ ITU โดยได้เชิญ 33 ประเทศเข้าร่วมเพื่อวางรากฐานการเติบโตที่ยั่งยืนด้วยโทรคมนาคม ICT เป็นพื้นฐานสําคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งปีที่แล้วมีคนใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มอีก 250 ล้านคน ภายในสิ้นปีนี้จะมีผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการเชื่อมต่อกับโครงข่าย 3G/4G ไม่ใช่เพียงแค่เครืองโทรศัพท์ แต่เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำให้คนใกล้ชิดกัน ซึ่ง ICT จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ที่มีการลงทุนใน ICTจะทำให้ขายสินค้าได้ดีขึ้นกว่าเดิม

 นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเข้าถึงโทรคมนาคมช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมถึงทำให้ GDP ของโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ICT ช่วยสนับสนุนการรักษาพยาบาลทางไกล พัฒนาการศึกษา รวมถึงเปิดโอกาสให้แสดงออกตามวิถีประชาธิปไตย ในส่วนของประเทศไทยได้เริ่มโครงการแท็บเล็ต เพื่อพัฒนาการศึกษาในระดับประถม ทำให้เด็กนักเรียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลมหาศาล

 “แต่ยอมรับว่าเป็นห่วงเรื่องความแตกต่างด้านไอซีที หรือ digital divine เพราะประเทศพัฒนาแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ มีบรอดแบนด์ใช้ แต่ประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึงน้อย แต่ความเจริญดังกล่าวต้องระมัดระวังการนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย อาญญากรรมการก่อการร้าย การละเมิดสิทธิส่วนตัวซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องป้องกันให้ได้” นายกรัฐมนตรี กล่าว
 นายกรัฐมนตรี กล่าวเสนอ 4 แนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิตอล ว่า 1.การเข้าถึงบรอดแบนด์ให้เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เหมือนน้ำ ไฟฟ้า 2.จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา 3.ต้องเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเอกชนทั่วโลกที่ทำงานร่วมกันพัฒนาไอที และ 4.ต้องระลึกเสมอว่า ICTเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้ประเทศเติบโต ทั้งการพัฒนาการศึกษา การรักษาพยาบาล ขอย้ำว่า ICT เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำให้ประเทศต่างๆ พัฒนาตามแนวคิด UN MDGs ได้เป็นอย่างดี และต้องมองว่าหลัง 2015 จะพัฒนาอย่างไร 


 จากนั้น ผู้นำทุกประเทศได้ร่วมกัน ลงนามรับรองเอกสาร Leader′s vision ในการประชุมครั้งนี้

 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่าช่วงเย็นวันเดียวกัน จะมีพิธีต้อนรับ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน อย่างเป็นทางการ และหารือข้อราชการเต็มคณะ ระหว่างไทยและปากีสถาน ที่ทำเนียบรัฐบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น