แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

นิธิ เอียวศรีวงศ์: เทียนและธงชาติ

ที่มา ประชาไท


ผมไม่ทราบว่า เหตุใดกลุ่ม “พอกันที” จึงเลือกใช้วิธีจุดเทียนเพื่อแสดงจุดยืนของตนเอง แต่เทียนเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังมากในการแสดงออกซึ่งจุดยืนดังกล่าว
มนุษย์ทำแสงสว่างด้วยการจุดไฟมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ และคงจะสมัยก่อนประวัติศาสตร์อีกเหมือนกัน ที่มนุษย์รู้จักเปลี่ยนวัสดุจุดไฟจากไม้มาเป็นน้ำมันพืชหรือไขสัตว์ เพราะทำให้เกิดควันน้อยกว่า สามารถนำมาจุดในบ้านเรือนได้ ซ้ำยังให้แสงสว่างได้นานกว่า โดยไม่ทิ้งเถ้าถ่านให้เลอะเทอะอีกด้วย พูดง่ายๆ ก็คือมนุษย์น่าจะคิดสร้างตะเกียงได้มาก่อนสมัยประวัติศาสตร์แล้ว เพราะขุดพบตะเกียงในทุกอารยธรรมตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้ตัวอักษรทั้งนั้น
แต่เทียนเป็นประดิษฐกรรมล้ำหน้ากว่าตะเกียง แม้ว่าคงจะคิดต่อมาจากตะเกียงนั่นเอง กล่าวคือทำให้ตะเกียงกลายเป็นแท่งของไขสัตว์ (หรือน้ำมันพืชหรือขี้ผึ้ง) สอดไส้ไว้ในแท่งนั้นสำหรับจุดไฟได้ จึงสะดวกในการใช้มากกว่าตะเกียง ทั้งในบ้านเรือนหรือนอกบ้านเรือน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่า จีนเป็นคนกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์เทียนขึ้นใช้ก่อนมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล แล้วต่อมาก็ขยายไปใช้ทั่วไปในอารยธรรมอื่นๆ ทั่วภาคพื้นยูเรเชีย รวมไปถึงตอนเหนือของแอฟริกาด้วย
แต่เทียนก็ไม่ใช่สิ่งที่จะผลิตได้ง่ายๆ ทุกครัวเรือน เมื่อเทียบกับการเติมน้ำมันผางประทีป ดังนั้น เทียนจึงมักถูกใช้ในเชิงพิธีกรรมมากกว่าใช้ให้แสงสว่างในชีวิตปรกติของสามัญ ชน
พิธีกรรมแรกตามความเข้าใจของผมที่นำเทียนไปใช้ คือพิธีกรรมทางศาสนา และก็ใช้สืบมาจนถึงทุกวันนี้เมื่อมีไฟฟ้าใช้กันแพร่หลายแล้ว เทียนจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ฝังแน่นอยู่กับศาสนา
การจุดเทียนเรียกร้องความสงบสันติจึงให้ความหมายลึกลงไปในความ รู้สึกของผู้คนโดยไม่ต้องพูดออกมาเป็นคำ รวมกลุ่มกันจุดเทียน บอกโดยไม่ต้องพูดว่ากลุ่มนี้ไม่คิดจะยกไปตีกับใคร แต่กำลังทำอะไรที่ “ศักดิ์สิทธิ์” เพราะมีความสำคัญแก่สังคมโดยรวม ในขณะเดียวกันเทียนก็เตือนให้รำลึกถึงความสงบสันติอย่างเดียวกับจุดมุ่งหมาย ทางศาสนา
เทียน (และตะเกียง) ยังเป็นแหล่งของแสงสว่างที่มนุษย์เคยชินมาแต่โบราณ ดังนั้น เทียน (และตะเกียง) จึงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของสติปัญญาในหลายวัฒนธรรม ชาวพุทธไทยถวายเทียนให้พระระหว่างที่ท่านต้องจำพรรษาในฤดูฝน จะได้ใช้อ่านหนังสือเล่าเรียนธรรมะ ฝรั่งชอบใช้เทียน (หรือตะเกียง) ในตรามหาวิทยาลัย
ผมจึงเห็นว่า เทียนเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังมาก ที่จะแสดงออกซึ่งจุดยืนทางการเมืองของกลุ่มดังกล่าว
น่าประหลาดอยู่เหมือนกันที่ในวัฒนธรรมไทยปัจจุบัน ผ้าเหลืองกลับไม่แสดงความสงบสันติเท่าเทียน ผมเข้าใจ (ซึ่งอาจผิด) ว่า แต่เดิมนั้น ผ้าเหลือง (กาสาวพัสตร์) ในสมัยพุทธกาลย่อมแสดงความไม่มี “โทษ” แก่ผู้อื่น หนุ่มฉกรรจ์ในผ้าเหลืองประกันว่าเขาไม่ใช่โจร ไปยืนขออาหารที่หน้าบ้านใครก็ไม่ต้องตกใจ จะให้ก็ได้ ไม่ให้ก็ได้ อีกทั้งไม่ใช่คนร้ายที่มายืนหาลาดเลาเข้าโจรกรรมหรือทำร้ายเจ้าบ้าน ผมคิดว่าการเอาผ้าเหลืองไปผูกหรือห่มต้นไม้ของนักอนุรักษ์ชาวบ้าน คือการแสดงว่าต้นไม้อยู่ในสถานะที่ไม่พึงถูกทำร้าย ก็เป็นความคิดที่สืบมาจากคติโบราณเช่นนั้น
แต่ดูเหมือนผ้าเหลือง ไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของความสงบสันติในเมืองไทยไปเสียแล้ว เพราะผ้าเหลืองเข้าไป “ฝักฝ่าย” กับการประท้วงของทุกฝ่ายมาหลายปีแล้ว นับตั้งแต่ “กองทัพ” ธรรม ไปจนถึงผ้าเหลืองที่ใช้ไม้ฟาดลงไปที่รถนั่งของ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และการขึ้นเวทีปราศรัยจนเป็นแม่ทัพคนหนึ่งของ กปปส. ในการรณรงค์ (แปลว่าการรบ) ปิดกรุงเทพฯ
ผ้าเหลืองจึงไม่เป็นสัญลักษณ์แห่งความสงบสันติ หรือแห่งความมีสติปัญญาในวัฒนธรรมไทยปัจจุบัน ความหมายของผ้าเหลืองเช่นนั้นเป็นเพียงความหมายตามประเพณี ที่เข้าไม่ถึงจิตใจผู้คนเสียแล้ว ต้นไม้ที่ห่มผ้าเหลืองจึงถูกโค่นมาไม่รู้จะกี่พันกี่หมื่นต้นแล้ว
และในการประท้วงของทุกฝ่ายในปัจจุบัน เราจึงไม่ได้เห็นผ้าเหลืองเป็นสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวของฝ่ายใดเลย อันที่จริงจะพูดเลยไปถึงว่า พระพุทธศาสนาเองก็ไม่เป็น “ประเด็น” ของการเคลื่อนไหวของทุกฝ่ายเลยก็ว่าได้ เราวางท่านไว้บนหิ้งที่ฝุ่นจับเขรอะมานานแล้ว
ธงที่ทุกฝ่ายใช้โบกไสวคือธงชาติเท่านั้น ไม่มีใครโบกธงธรรมจักร
ในส่วนธงชาติหรือ “ชาติ” นั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังแค่ไหน?
ผมคิดว่าเรื่องนี้น่าสนใจมากทีเดียว เพราะในส่วนหนึ่งก็อาจกล่าวได้ว่าทรงพลังอย่างมาก เพราะทำให้คนจำนวนหนึ่งคิดว่า สิ่งที่ตัวร่วมละเมิดกฎหมายด้วยนั้น เป็นการกระทำเพื่อรักษา “ชาติ” เอาไว้  ในอีกส่วนหนึ่งก็ทรงพลังน้อย เพราะฝ่ายอื่นกลับไม่ใช้หรือแทบไม่ใช้ธงชาติเป็นสัญลักษณ์การเคลื่อนไหว
คงไม่มีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ไทย นับตั้งแต่เรามีธงไตรรงค์เป็นธงชาติมา ที่ความเป็นชาติถูกนิยามให้แตกต่างกันมากเท่าครั้งนี้ ลอง เปรียบเทียบกับเทียนดูสิครับ เทียนมีความหมายอย่างไร ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันหมด จะต่างกันก็ตรงที่ บ้านเมืองเราเวลานี้เป็นเวลาสำหรับการจุดเทียนหรือดับเทียนกันแน่เท่านั้น แต่ธงชาติให้ความหมายถึง “ชาติ” ที่แตกต่างกันสุดขั้วไปเลย
อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าธงชาติหรือ “ชาติ” ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังแก่คนกลุ่มหนึ่ง การติดธงชาติไว้กับตัวมุ่งจะสื่อมากกว่าสนับสนุน กปปส. แต่รวมถึงว่าผู้สนับสนุน กปปส. กำลังแสดงความรักชาติและกำลังปกป้องชาติด้วย
แม้กระนั้น ก็ยังมีคนอีกมากที่ไม่รู้สึกอย่างเดียวกันกับสัญลักษณ์ธงชาติที่ กปปส. ใช้ อย่างน้อยก็ไม่ดึงดูดให้เขาเข้าขบวนแห่ธงชาติไปยึดบ้านเมืองร่วมกับ กปปส.
แน่นอนว่า เรื่องนี้อธิบายง่ายๆ ได้ว่า เกิดขึ้นจากความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ทุกคนในฝ่ายที่ไม่ได้ร่วมกับ กปปส. ต่างยืนยันในความรักชาติของตน ดังนั้น นอกจากความเห็นต่างทางการเมืองแล้ว ผมคิดว่ายังมีความเห็นต่างในเรื่องความเป็นชาติด้วย “ชาติ” หมายถึงอะไรกันแน่ คนไทยที่รักชาติเหมือนกัน คิดถึงเรื่องนี้ไม่เหมือนกันแล้ว
ชาตินิยมที่ผลิตจากข้างบนลงมาครอบคนส่วนใหญ่ข้างล่าง อันเป็นชาตินิยมแบบไทยมาแต่เริ่มแรก กำลังไม่ทำงานอย่างที่เคยทำไปเสียแล้ว
ทั้งนี้เพราะ “ชาติ” ในความหมายที่ชนชั้นนำผลิตขึ้น ขาดสาระสำคัญสองประการของความเป็น “ชาติ” ของโลกสมัยใหม่ นั่นคือหลักอธิปไตยเป็นของปวงชน และ (เมื่อเป็นเช่นนั้น) ทุกคนจึงเสมอภาคเท่าเทียมกัน “ชาติ” ในความหมายของชนชั้นนำคือ ที่รวมของคนหมู่มากที่มีความจงรักภักดีเดียวกัน (ต่อพระมหากษัตริย์และระบบคุณค่าทางศาสนา) แต่ชาติมิได้เป็นสมบัติของประชาชน และหาได้มีความเท่าเทียมกันไม่
อันที่จริงหลักการของ “ชาติ” ที่เป็นสมบัติของประชาชนซึ่งเท่าเทียมกันนั้น เป็นหลักการสำคัญของคณะราษฎรซึ่งทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 แต่มาถูกทำลายลงในการรัฐประหาร 2490 สมาชิกคณะราษฎรซึ่งยังอยู่ในอำนาจไม่สามารถต้านทานกระแสกดดันของฝ่ายตรงข้าม จนหลักการนี้สูญสลายไปอย่างสิ้นเชิงในการร่วมมือกันยึดอำนาจของชนชั้นนำเดิม และกองทัพใน พ.ศ. 2500
ตั้งแต่นั้นมา “ชาติ” ในแบบเรียนและในการโฆษณาของปัญญาชนสยาม ก็กลายเป็นราชสมบัติ ไม่ได้เป็นของประชาชนอีกต่อไป
“ชาติ” ในความหมายที่ไม่ใช่สมบัติร่วมกันของประชาชน และปราศจากความเท่าเทียมนี่แหละครับ ที่หมดมนตร์ขลังแก่ผู้คนจำนวนมากในสังคมไทย ธงไตรรงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของ “ชาติ” แบบนี้ แม้ยังเป็นสัญลักษณ์ของอัตลักษณ์ของเขา แต่ไม่อาจใช้เป็นตัวแทนของความใฝ่ฝันของเขาได้อีก
ในทางตรงกันข้าม กปปส. ซึ่งอ้างว่าผู้สนับสนุนคือคนชั้นสูงและคนชั้นกลางระดับบน จึงสมเหตุสมผลที่จะใช้ธงชาติเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ ดังที่ผู้นำการชุมนุมกล่าวเองว่า พวกเขาเป็นเจ้าของชาติมากกว่า และคนไทยนั้นหาได้ควรมีสิทธิเท่าเทียมกันทางการเมืองไม่ จะหาอะไรเป็นตัวแทนของอุดมการณ์เช่นนั้นได้ดีไปกว่าธงไตรรงค์
ในขณะที่มองเทียนและธงไตรรงค์ในฐานะสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวทางการ เมือง ผมอดคิดถึงเสื้อแดงไม่ได้ เพราะกลุ่มเสื้อแดงเคยเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผลิตสัญลักษณ์ออกมา ได้มาก และมีพลังมาก่อน
ทำไมจึงเลือกใช้สีแดงมาแต่ต้น ผมก็ไม่ทราบ ในสถานการณ์ตอนนั้น เขาย่อมเลือกสีเหลืองไม่ได้ แต่สีแดงมองเห็นได้ชัด และความชัดเจนว่าเขาคือคนหมู่มากในสังคมมีความสำคัญในการต่อสู้ช่วงนั้นแน่
เขานิยามตัวเองว่าเป็น “ไพร่” คำนี้มีและเคยมีความหมายหลายอย่างในภาษาไทย แต่ไม่ว่าจะเป็นความหมายใด คำนี้ก็บ่งบอกถึงความไม่เป็นธรรมในระบบการเมืองการปกครอง ความเป็นคนหมู่มาก ความทุกข์ยาก และการถูกเหยียดอย่างไม่เป็นธรรม ดังนี้ คำคำเดียวนี้เองก็บอกเล่าถึงความคับข้องใจ (grievances) ทางการเมืองทั้งหมดของพวกเขาได้ทะลุปรุโปร่งหมด
พื้นที่ซึ่งเขาเลือกยึดในกรุงเทพฯ เพื่อจัดการชุมนุมคืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อันเป็นสัญลักษณ์ “ประชาธิปไตย” ที่ถูกใช้มาโดยกลุ่มประท้วงทุกกลุ่มอยู่แล้ว แต่การยึดราชประสงค์ (กระจายมาถึงสี่แยกปทุมวัน) เป็นสิ่งที่กลุ่มประท้วงอื่นไม่เคยทำมาก่อน ราชประสงค์-ปทุมวัน คือวิถีชีวิตของชาวกรุงกลุ่มหนึ่งซึ่งดำรงอยู่ได้บนความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจของสังคมไทย การแต่งกายและวิถีชีวิตของชาวเสื้อแดงยิ่งเน้นให้เห็นความแปลกปลอมของพวกเขา ในพื้นที่ดังกล่าว ความแปลกปลอมนั่นแหละ ที่ส่งสารอันมีพลังแก่สังคมโดยรวม มากกว่าการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างผู้มีอำนาจ
ผมคิดว่า พลังของการใช้สัญลักษณ์ของเสื้อแดงนั้น เป็นอันตรายต่อ “สถานะเดิม” ของสังคมเสียยิ่งกว่าจำนวนของคนที่สวมเสื้อแดง และนั่นคือเหตุผลที่ต้องใช้ความรุนแรงในการปราบปรามอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นวิธีเดียวที่ชนชั้นนำไทยรู้จัก
แต่ในการคัดค้านต่อต้านการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ กปปส. ในครั้งนี้ เสื้อแดงแทบไม่ได้ผลิตสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวของตนเลย ประหนึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่กำลังสูญสิ้นพลังทางการเมืองของตนไปแล้ว
ผมอธิบายความเฉื่อยทางการเคลื่อนไหวนี้ไม่ได้ แต่มีคำอธิบายเกี่ยวกับขบวนการเสื้อแดงหลายอย่างที่ผมได้ยินมา
บางคนกล่าวว่า แกนนำเสื้อแดงมีนโยบายที่ชัดเจนในการไม่เผชิญหน้า เพราะเกรงว่าจะเกิดความรุนแรง อันเป็นโอกาสให้ทหารเข้ามาแทรกด้วยการทำรัฐประหาร ข้อนี้เห็นได้ชัดอยู่แล้ว จากการตัดสินใจเลิกชุมนุมที่สนามราชมังคลาฯ เมื่อปลายปีที่แล้ว
แต่สัญลักษณ์สำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองอาจผลิตนอกการชุมนุมได้ ดังเช่นเทียนเป็นต้น
ยังมีคำอธิบายที่สลับซับซ้อนกว่านั้น นั่นคือการจัดองค์กรของกลุ่มเสื้อแดงเองเปลี่ยนไปจนทำให้พลังน้อยลง ในช่วงที่เสื้อแดงมีพลังสูงนั้น (2551-2554) แกนนำไม่ได้มีเฉพาะที่ส่วนกลาง แต่กระจายลดหลั่นไปถึงแกนนำในระดับท้องถิ่นย่อยๆ แต่ไม่มีสายการประสานงานร่วมกันอย่างชัดเจนนัก แกนนำในระดับท้องถิ่นมีความเป็นอิสระสูง และต้องตอบสนองต่อสมาชิกในท้องถิ่นอยู่ตลอดเวลา พูดง่ายๆ คือความกระตือรือร้นทางการเมืองของคนเสื้อแดงดำรงอยู่บนความกระตือรือร้นของ คนเล็กคนน้อยในหมู่บ้าน มากกว่าการนำของแกนนำส่วนกลาง (เท่าที่ผมได้อ่านงานวิจัยเกี่ยวกับขบวนการเสื้อแดงมาบ้าง พบว่าตรงกับคำอธิบายนี้)
แต่พรรคเพื่อไทย หรือเหล่าเจ๊ๆ เฮียๆ ของพรรคเพื่อไทย ต้องการเสื้อแดงเป็นฐานคะแนนเสียง มากกว่าเป็นตัวแทนทางการเมืองของพวกเขา แม้สามารถดึงเอาแกนนำบางส่วนมาไว้ภายใต้การอุปถัมภ์ของตนได้ แต่ก็เอื้อมไม่ถึง (หรือไม่อยากเอื้อม) แกนนำระดับท้องถิ่นย่อยๆ อีกมาก การจัดองค์กรเพื่อเป็นฐานคะแนนเสียงแก่พรรคการเมือง กับการจัดองค์กร เพื่อใช้พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือผลักดันนโยบายนั้นต่างกันลิบลับ ผลก็คือเกิดความรวนเรในขบวนการอย่างหนัก ไม่ได้หมายความว่าจะกลับไปเป็นลิ่วล้อของอำมาตย์นะครับ แต่ความเป็นปึกแผ่นซึ่งเป็นที่มาของพลังหายไปกว่าครึ่ง
โชคดีของพรรคเพื่อไทย ที่ กปปส. และพรรคประชาธิปัตย์ (ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระอีกหลายองค์กร) ช่วยทำให้พรรคเพื่อไทยได้ฐานคะแนนเสียงกลับคืนมาอย่างเป็นกอบเป็นกำ หลังจากได้ปู้ยี่ปู้ยำคนเสื้อแดงด้วย พ.ร.บ. เหมาเข่งมาหยกๆ
ขบวนการทางการเมืองที่เริ่มจะไร้วิญญาณเช่นนี้ ย่อมไม่สามารถผลิตสัญลักษณ์ที่ทรงพลังทางการเมืองได้เป็นธรรมดา
การต่อสู้เพื่อสร้าง “ชาติ” อันเป็นสมบัติของทุกคนซึ่งมีความเท่าเทียมกัน กำลังเลื่อนจากเสื้อแดงมาสู่คนกลุ่มใหม่ที่ไม่มีพันธะทางใจกับพรรคการเมือง ใดเลย นอกจากประชาธิปไตย
ผมคิดว่า นี่เป็นนิมิตหมายที่ดีแก่สังคมไทยโดยรวม

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 31 มกราคม-6 กุมภาพันธ์ 2557 หน้า 30
ที่มา: http://www.sujitwongthes.com

เครือข่ายสันติศึกษาเรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อรักษาชีวิตของเพื่อนมนุษย์

ที่มา ประชาไท




31 ม.ค. 2557 - เครือข่ายสันติศึกษาออกแถลงการณ์ "เรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อรักษาชีวิตของเพื่อนมนุษย์ชาวไทยด้วยกัน" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แถลงการณ์
เรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อรักษาชีวิตของเพื่อนมนุษย์ชาวไทยด้วยกัน

คนไทยได้ชื่อว่ารักสงบ แม้กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่ผ่านมาจะเต็มไปด้วยความขัดแย้งแต่ เมื่อปัญหาลุกลามจนถึงขั้นวิกฤติไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจสังคมและการ เมืองก็มักจะร่วมกันหาทางออกได้ด้วยสันติวิธีทำให้ประเทศไทยอยู่รอดปลอดภัย และพัฒนาได้ไม่น้อยหน้าชาติใดๆ แต่ความเห็นต่างทางการเมืองในปัจจุบันทำให้สังคมเกิดความแตกแยกอย่างที่ไม่ เคยเป็นมาก่อน และยังส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายและการสูญเสียทรัพย์สินของประชาชนและของ รัฐเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เหตุการณ์ชุมนุมขับไล่รัฐบาลจนถึงการเลือกตั้งล่วง หน้าเมื่อวันที่ 26 มกราคม และในช่วงปลายเดือนนี้เป็นที่ทราบแล้วว่าจะมีการชุมนุมใหญ่ของมวลชนทั้งสอง ฝ่าย จึงเชื่อได้ว่า หากความคิดและวิธีการจัดการเลือกตั้งและการคัดค้านการเลือกตั้งที่กำลังจะ เกิดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ศกนี้ ยังดำเนินไปในรูปแบบเดิมหรือยกระดับความเข้มข้นขึ้นอีก ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงบานปลายออกไปได้

พวก เราผู้รักและศรัทธาในแนวทางสันติวิธีเห็นว่า ชีวิตของประชาชนและความผูกพันกันเป็นครอบครัวเป็นเพื่อนคนไทยด้วยกันนั้นมี คุณค่าเหนือหลักการและอุดมการณ์ใดๆ ประเทศจะก้าวไปข้างหน้าได้ก็ต้องอาศัยความเป็นพลเมืองที่มีความรักความ สามัคคี มีศีลธรรมอันดี และมีคุณภาพ การรักษาชีวิตของประชาชนที่มีค่าไว้ให้ได้จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนา ประเทศไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และความอยู่รอดของบ้านเมืองยามนี้ และจำเป็นจะต้องทำเป็นอันดับแรกก่อนที่จะมีการเจรจาแก้ไขปัญหาขัดแย้งทางการ เมืองและการปฏิรูปใดๆ

จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้ชุมนุมร่วมกันป้องกันและควบคุมความรุนแรงให้จำกัดลงโดยไม่ให้มีผู้ใดเสียชีวิต ดังต่อไปนี้

1. ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายผู้ชุมนุม รวมทั้งกลุ่มเคลื่อนไหวกลุ่มต่างๆ แสดงจุดยืนต่อสาธารณะ ในการที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการต่อความรุนแรงใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในการเลือกตั้ง

2. ขอให้มีการเจรจากันระหว่างผู้นำฝ่ายรัฐบาลและผู้นำฝ่ายผู้ชุมนุม เพื่อเตรียมวางแผนรับมือกับสถานการณ์ในวันเลือกตั้งซึ่งอาจจะเกิดเหตุการณ์ รุนแรงจากมวลชนทั้งสองฝ่ายและจากมือที่สาม

3. ขอให้รัฐดำเนินการให้องค์กร หน่วยงาน หรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ความปลอดภัย และการรักษาพยาบาล จัดตั้งศูนย์หรือจุดแจ้งข่าวสารหรือบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินขึ้นโดยให้ครอบคลุม หน่วยเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึง

4. ขอให้ประชาชนร่วมกันเป็นอาสาสมัครเฝ้าระวังและบรรเทาความขัดแย้ง ด้วยการมีสติ ไม่ก้าวสู่พื้นที่ความรุนแรง และเป็นหูเป็นตาแจ้งเบาะแสต่างๆ ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงได้

5. ขอให้สื่อมวลชนทุกแขนง นำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยใช้วิจารณญาณ คำนึงถึงการลดความขัดแย้ง ไม่ยั่วยุหรือนำไปสู่การเผชิญหน้าของทุกฝ่าย

ด้วยความเชื่อมั่นในกระบวนการสันติวิธี

เครือข่ายสันติศึกษา
องค์กรเครือข่ายสันติศึกษา
ผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อรักษาชีวิตของเพื่อนมนุษย์ชาวไทยด้วยกัน

สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พระราชทานเพลิงศพสุทิน ธราทิน /เด็กผู้ว่ากทม.ขอมาให้ลบข่าวพระมหากรุณาธิคุณอ้างละเอียดอ่อน

ที่มา Thai E-News



นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง เป็นผู้รับรับสั่งหมายเลขที่ 3041 ลงวันที่ 31 มกราคม 2557 พระราชทานเพลิงศพนายสุทิน ธนาทิน เป็นกรณีพิเศษ ณ เมรุวัดโสมนัสวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ในวันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 นี้ เวลา 15.30 น. พระราชทานเพลิง

นายสุทิน เป็นแกน นำกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต ขณะนำมวลชนไปเคลื่อนไหวคัดค้านการเลือกตั้ง บริเวณหน่วยเลือกตั้งโรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าวัดศรีเอี่ยม ย่านบางนา กรุงเทพมหานคร เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 26 มกราคม ที่ผ่านมา



ก่อนหน้านี้ สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 13 มกราคม 2557 ความว่า
       
พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ และค่าใช้จ่ายในการศพผู้เสียชีวิต แก่เจ้าหน้าที่และประชาชน ซึ่งเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร ในกรณีเหตุการณ์อันเนื่องมาจากการชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข (กปปส.) โดยไม่มีการประชาสัมพันธ์       
จึงเรียนมา เพื่อทราบ และกรุณาติดต่อเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของผู้บาดเจ็บ และค่าใช้จ่ายในการศพของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว กับนางพรจันทร์ นุกูลประดิษฐ์ ที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง สำนักพระราชวัง โทรศัพท์ 02 224 3660 โดยตรงต่อไป              
ขอแสดงความนับถือ              
(นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร)       
ราชเลขาธิการ

ข่าว ดังกล่าวได้เผยแพร่ในสื่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา มีผู้ใช้ชื่อว่า เดชาธร แสงอำนาจ ได้โพสต์ลงในหน้าเวบเพจของไทยอีนิวส์ 
Thai E-News ว่า ขอ ความกรุณาท่านทั้งหลายโปรดลบภาพถ่ายหนังสือฉบับนี้และขอความกรุณางดการแชร์ ภาพด้วยเพราะเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนและมีผลกระทบกับผู้เกี่ยวข้องกับ หนังสือดังกล่าว ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง


จากการตรวจสอบพบว่านายเดชาธร แสงอำนาจ มีตำแหน่งเป็น หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบเรื่องราว สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ไทย อีนิวส์ขอชี้แจงว่าข่าวดังกล่าวมีการเผยแพร่ในสื่อวงกว้าง และเป็นไปในทางเทิดพระเกียรติ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ดังเช่น

-สำนักข่าวอิศรา http://www.isranews.org/isranews-news/item/26817-king_26817.html

-หนังสือพิมพ์ไทยโพสตฺ์ http://www.thaipost.net/sunday/260114/85118
-หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ 

ทั้งนี้ในหนังสือดังกล่าวได้ระบุชัดเจน(ขีดเส้นใต้และตัวหนาโดยไทยอีนิวส์)ว่า

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ และค่าใช้จ่ายในการศพผู้เสียชีวิต แก่เจ้าหน้าที่และประชาชน ซึ่ง เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร ในกรณีเหตุการณ์อันเนื่องมาจากการชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข (กปปส.)

โอ๊ค FB ผู้ขัดขวางเลือกตั้ง เปรียบเป็น 'ศัตรูประชาธิปไตย'

ที่มา Voice TV

 โอ๊ค FB  ผู้ขัดขวางเลือกตั้ง เปรียบเป็น 'ศัตรูประชาธิปไตย'


พานทองแท้ ชินวัตร    โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุ  ผู้พยายามขัดขวางการเลือกตั้ง ตั้งแต่มีการประกาศยุบสภา เราอาจจะเรียกพวกเขาว่า 'ศัตรูประชาธิปไตย'    โดยระบุข้อความดังนี้ 

2 กุมภาพันธ์ นี้เป็นวันสำคัญของคนไทยทั้งประเทศที่จะออกมารักษาระบอบประชาธิปไตย ผ่านการเลือกตั้ง แต่กว่าจะถึงวันนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราจะเห็นว่ามีผู้พยายามขัดขวางการเลือกตั้ง ตั้งแต่มีการประกาศยุบสภา เราอาจจะเรียกพวกเขาว่า "ศัตรูประชาธิปไตย" 


พอ ดีไปเจอเพจหนึ่งซึ่งชื่อนี้พอดี หากใครสนใจลองแวะเข้าไปดูกัน อีกไม่ถึง 48 ชั่วโมงนี้เราจะบอกเหล่าศัตรูประชาธิปไตยว่า อำนาจประชาธิปไตยเริ่มจากหนึ่งคนหนึ่งเสียงหนึ่งสิทธิ์เท่ากัน (ทีมเพื่อนโอ๊ค)

https://www.facebook.com/enemyofdemocracy



ที่มา :   https://www.facebook.com/oakpanthongtae
 
31 มกราคม 2557 เวลา 17:38 น.

ประเทศไทยไม่ได้เรียนรู้อะไรจากคานธี

ที่มา ประชาไท


เราคงเคยได้ยินได้ฟังเรื่องของมหาตมะ คานธี มาบ้างไม่มากก็น้อย หลักใหญ่ใจความคงจะหนีไม่พ้น วีรบุรุษผู้นำอินเดียสู่เสรีภาพจากลัทธิอาณานิคม ด้วยหลักคิดเรื่องการไม่ใช้ความรุนแรงเป็นที่ตั้ง พร้อมกับการชี้ชวนให้ใช้ “สันติ” และ “อหิงสา” ในการต่อสู้เรียกร้องจนได้มาซึ่งชัยชนะ แนวคิดของคานธีได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ หลายมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่อง คานธีศึกษา (Gandhian Studies) บางมหาวิทยาลัยประยุกต์ปรัชญาของท่านสู่การศึกษาหลักวิชาว่าด้วยสันติ แม้กระทั่งในเมืองไทยชื่อของท่านถูกประกาศประหนึ่งหลักชัยในการต่อสู้เพื่อ เอาชนะความอยุติธรรม  แต่แน่ใจหรือว่า ที่ผ่านมาเราๆ ท่านๆ รู้จักคานธีดีพอ
คนต้องเท่าเทียมกัน คือจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ของคานธี
มหาตมะ คานธี มักถูกผู้คนทั่วไปเรียกว่า Bapu บาปู ซึ่งแปลว่า พ่อ โดยนัยยะอาจสื่อถึงความเคารพและศรัทธาในตัวมหาบุรุษผู้นี้ จนกระทั่งถูกขนานนามให้เป็นพ่อแห่งประชาชาติอินเดีย ในช่วงวัยเด็ก คานธีเกิดและเติบโตในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง โดยบิดารับราชการฝ่ายการคลังในศาลแห่ง Kathiawar หลังจบการศึกษาขั้นต้น คานธีเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษในสาขาวิชากฎหมาย[1] หากพิจารณาจากโครงสร้างทางสังคมในระบบวรรณะของอินเดีย คานธีผู้มาจากตระกูลพ่อค้าและได้รับโอกาสการศึกษาอันดี คงจะมีต้นทุนทางสังคมพอสมควร มิได้เริ่มจากศูนย์หรือตั้งต้น ณ จุดติดลบ
หลังจากสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ คานธีเริ่มทำงานด้วยการเป็นทนายความที่บอมเบย์ จุดเปลี่ยนของชีวิตอีกครั้งคือ การได้เดินทางไปแอฟริกาใต้เพื่อว่าความ ณ ที่แห่งนั้นคานธีได้ประสบพบเห็นความเลวร้ายอย่างมากที่สุดในการลดทอน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะการเลือกปฏิบัติต่อคนผิวสีและคนอินเดีย[2] ซึ่งคานธีเอง แม้จะได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีจากอังกฤษ ก็ไม่ถูกยกเว้นจากการถูกดูหมิ่นดังกล่าว ความไม่เท่าเทียมนี้ ทำให้คานธีเริ่มปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ และแสดงให้ชาวอินเดียตระหนักรู้ถึงความอยุติธรรมดังกล่าว หากจุดนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการต่อสู้เพื่อมวลชนของมหาตมะ คานธี เราพอจะมองเห็นหรือไม่ว่า คานธีเองก็พยายามสร้างตัวตนจากการต่อสู้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม
เข้าใจอหิงสา เข้าใจคานธี
หากจะสรุปย่อความคิดและปรัชญาคานธีอย่างเรียบง่าย การเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจหลักคิดอหิงสาและสัตยเคราะห์ย่อมเป็นสิ่งที่ ควรค่าแก่การพิจารณา อหิงสา (Ahimsa) หรือ หลักการไม่ใช้ความรุนแรง เป็นหลักการสำคัญที่คานธีประมวลและปรับใช้จากแนวคิดที่มีอยู่เดิมในสังคม อินเดีย โดยดึงการปฏิบัติในระดับปัจเจกบุคคลสู่การดำเนินการอหิงสาในระดับมวลชน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัดระบบความคิดดังกล่าวสู่สังคม คานธีหยิบเอาแนวคิดของการไม่ทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตใดๆ (Non-Injury to any creatures)[3] มาเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยการไม่ใช้ความรุนแรงดังกล่าว มิได้ครอบคลุมแค่ทางกาย แต่หมายรวมไปถึงการงดเว้นความรุนแรงที่ปรากฏในความคิดและวาจา แค่เพียงปราศรัยปลุกเร้าด้วยคำเท็จ ปั้นแต่งและหยาบคาย ภายใต้จิตใจที่มุ่งล้มล้าง ห้ำหั่น แม้บุคคลนั้นจะประกาศกล้าว่าใช้หลักอหิงสา แต่ต้องทำความเข้าใจใหม่ว่า แท้ที่จริงคือมายาที่แฝงไว้ด้วยความรุนแรง  นอกจากนี้ หลักการอหิงสาของคานธี มิได้มุ่งให้เกลียดชังฝ่ายตรงข้าม แต่เน้นการเปิดประตูแห่งความอารีให้ทั้งมิตรและศัตรู แม้จะแลกมาด้วยความทุกข์ของตนเองก็พึงกระทำ
แต่อหิงสาอย่างเดียวมิได้นำมาซึ่งความสำเร็จ  คานธีนำเอาหลักคิดเรื่องการไม่ใช้ความรุนแรง สู่การปฏิบัติผ่านหลักการ     สัตยเคราะห์ในฐานะเครื่องมือและวิธีการ สัตยเคราะห์หรือการแสวงหาความจริงนั้น เป็นหลักการที่ฝึกฝนจิตใจโดยผ่านความเจ็บปวดและทุกข์ทน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตนเอง หาใช่การมุ่งสร้างความเดือดร้อนหรือความทรมานแก่ผู้อื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะของตน กล่าวคือเครื่องมือไปสู่การไม่ใช้ความรุนแรงของคานธี คือเครื่องมือบริหารจิตใจของตัวเรา มิใช่อาวุธสร้างความปราชัยแก่ผู้อื่น โดยมีวิธีการดังตัวอย่างต่อไปนี้[4]
  1. การไม่ให้ความร่วมมือ (Non-Cooperation) แนวทางนี้มาจากพื้นฐานทางความเชื่อว่า กิจการอันไม่เป็นธรรมของรัฐจะดำเนินต่อหากประชาชนให้ความร่วมมือ ดังนั้น เพื่อคัดค้านการกระทำของรัฐดังกล่าว ประชาชนสามารถรวมตัวกัน และไม่ให้ความร่วมมือ ซึ่งมีรูปแบบดังนี้คือ
  • การประท้วงหยุดงาน (Strike) เป็นการรวมตัวเพื่อสร้างปรากฏการณ์ต่อต้านผู้ปกครอง อย่างไรก็ตาม การหยุดงานต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ และให้หยุดเฉพาะหน่วยเชิงเศรษฐกิจเป็นหลัก หากเป็นเช่นนั้นตามที่คานธีได้เน้นไว้ ในส่วนการบริการสังคมและประชาชน สาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ต้องดำเนินต่อไปเพื่อความปรกติสุขของสังคม
  • การปิดเส้นทางคมนาคม (Picketing) เน้นการปิดการสัญจรของบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งประสงค์จะกระทำการอย่างใดอย่าง หนึ่ง ทั้งนี้ ให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงหรือความไม่สุภาพในการปฏิบัติการดังกล่าว ดังนั้น การปิดเส้นทางคมนาคมใดๆ หากมิได้กำหนดเป้าหมายให้กระทบต่อผู้ใดเป็นการชัดเจน อาจสร้างความลำบากแก่บุคคลอื่นในสังคม ซึ่งมิอาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักการของการไม่ใช้ความรุนแรง
  • การคว่ำบาตรทางสังคม (Social boycott or Social ostracism) ตามที่คานธีเสนอในหลักการสัตยเคราะห์ต้องเป็นการคว่ำบาตรบุคคลที่ท้าทาย หรือฝ่าฝืนเสียงหรือความเห็นของสังคม ทั้งนี้ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี และดำเนินการด้วยความอดทนและอดกลั้นอย่างถึงที่สุด
  1. อารยะขัดขืน (Civil Disobedience) แนวทางนี้มาจากคติที่ว่า เราต้องไม่จำนนต่อความไม่ถูกต้อง ดังนั้น เราต้องฝ่าฝืนกฎ หากกฎหมาย หรือข้อบังคับนั้น นำไปสู่ความเดือดร้อน หรือเป็นภัยแก่สังคมและประชาชนโดยรวม อย่างไรก็ตาม ในข้อนี้นั้นคานธีได้เสนอว่า อารยะขัดขืนที่พึงปฏิบัติต้องมีความจริงใจ มีความเคารพ อดทนอดกลั้น และต้องตั้งอยู่ในความเข้าใจที่ว่า ผู้ร่วมอารยะขัดขืน ต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของสิ่งที่ตนเองขัดขืนและต้องการนำ เสนออย่างเพียงพอ อีกทั้งต้องไม่เปลี่ยนแปลงในหลักการโดยง่าย และที่สำคัญหลักการดังกล่าวต้องไม่แฝงเร้นด้วยจิตไม่บริสุทธิ์หรือความคั่ง แค้นอยู่เบื้องหลัง
  2. การอดอาหาร (Fasting) แนวทางนี้มาจากปรัชญาที่ว่า การอดอาหารถือเป็นวิธีการชำระล้างจิตใจและร่างกายให้บริสุทธิ์ ในขณะเดียวกัน การแสดงออกดังกล่าว เป็นการเล่นกับมนุษยธรรมของผู้กระทำผิดว่า จะมีท่าทีแข็งกร้าวต่อผู้มีวินัยอดอาหารซึ่งมีจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง บริสุทธิ์ มีมนุษยธรรมและศรัทธาได้อย่างไร ทั้งนี้ คานธีเสนอว่า การอดอาหารควรเป็นวิธีการสุดท้ายหลังจากได้ลองทุกแนวทางแล้ว  
  3. การอพยพย้ายถิ่นฐานไปด้วยความเต็มใจเพื่อประท้วงรัฐ (Hijarat) ถือเป็นการแสดงความเข้มแข็งและกล้าหาญ อีกทั้งเป็นการกล้าที่จะประท้วงด้วยการย้ายจากถิ่นฐานอันเป็นที่รัก รวมถึงตัดขาดความสัมพันธ์กับประเทศ ญาติพี่น้อง และผองเพื่อน เพื่อแสดงว่าตนไม่ยอมจำนนต่อความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม อย่างไรก็ตาม น้อยนักที่จะสามารถปฏิบัติได้
อย่างไรก็ตาม หลักการสัตยเคราะห์ดังกล่าว เป็นเครื่องมือของประชาชนในการต่อสู้กับความไม่ยุติธรรม ต่อผู้มีอำนาจปกครอง ทั้งนี้ เท่าที่ได้ศึกษายังมิได้ค้นพบว่า ในบริบทของเจ้าหน้าที่ของรัฐหากอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ จำต้องสวมบทบาทของพลเมืองด้วยหรือไม่ หรือหากจะร่วมสัตยเคราะห์ จำเป็นต้องถอดสถานะให้เหลือตัวตนเพียงเป็นประชาชนด้วยหรือเปล่า
อหิงสาแบบไทย ประยุกต์ใช้หรืออ้างคานธี
หลักคิดแบบอหิงสา และวิธีการแบบสัตยเคราะห์มีอิทธิพลอย่างมากต่อการต่อสู้และขบวนการภาค ประชาชนในอินเดีย นอกจากการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษแล้ว แนวคิดของคานธียังมีอิทธิพลต่อขบวนการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ดังตัวอย่างขบวนการโอบกอด  (Chipko Movement) ซึ่งเกิดขึ้นในรัฐอุตตราขัณฑ์ (Uttarakhand) ทางภาคเหนือของประเทศ ขบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่หญิงชนเผ่าได้รวมตัวกันต่อต้านการเข้ามาทำ สัมปทานพื้นที่ป่า ซึ่งจะส่งผลต่อระบบนิเวศน์และธรรมชาติของพื้นที่ โดยหญิงชนเผ่าดังกล่าวใช้วิธีการโอบกอดต้นไม้ เพื่อป้องกันการถูกตัดจากเครื่องมือไฟฟ้าของคนภายนอก การประท้วงดังกล่าวส่งผลให้นางอินธิรา คานธี นายกรัฐมนตรีของประเทศในขณะนั้น ยุติและยกเลิกการตัดไม้ในพื้นที่ป่าถึง 15 ปี รูปแบบการเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับความนิยมและประสบผลสำเร็จ เนื่องจากนำหลักการไม่ใช้ความรุนแรงของคานธีมาประยุกต์ใช้[5] ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้รับการยอมรับ และเป็นต้นแบบของขบวนการทางสิ่งแวดล้อมในหลายแห่งทั่วโลก ไม้เว้นแม้แต่กระทั่งในประเทศไทย NGOs หลายคนที่ปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมก็ถ่ายทอดแนวคิดคานธีผ่านขบวนการโอบกอด ให้กับชุมชน แม้เราจะไม่ได้ใช้สตรีเป็นปราการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า แต่การยึดโยงภาพของศาสนาที่มีผลต่อจิตใจ ทำให้หลายแห่งของประเทศก่อรูปพิธีกรรมบวชป่า (นำผ้าจีวรพระห่อหุ้มต้นไม้) เพื่อเป็นหนึ่งในกลไกปกป้องทรัพยากรธรรมชาติด้วยความไม่รุนแรง
ในช่วงปี 2554 สาธารณรัฐอินเดียมีการตื่นตัวอย่างมากในการปฏิรูปประเทศ เนื่องจากข้อวิตกเรื่องปัญหาคอรัปชั่น Anna Hazare เป็นแกนนำคนสำคัญในขบวนการภาคประชาชน เขาใช้วิธีการของคานธีหลายรูปแบบ และหนึ่งในนั้นคือการอดอาหาร เพื่อกดดันให้สภาเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อต้านการทุจริต นับว่าการอดอาหารของ Anna Hazare ได้ปลุกกระแสมวลชน และสร้างปรากฏการณ์การต่อสู้ภาคประชาชนที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งของประเทศ[6] ไม่เพียงแต่ Anna Hazare ในประเทศไทยก็มีหลายบุคคลที่ใช้วิธีการดังกล่าว อาทิ  เรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร อดอาหารให้นายกรัฐมนตรี (พลเอกสุจินดา คราประยูร) ลาออกในปี 2535 และประท้วงการทำรัฐประหารในปี 2549[7] พลตรีจำลอง ศรีเมือง อดอาหารให้นายกรัฐมนตรี (พลเอกสุจินดา คราประยูร) ลาออกในปี 2535[8] นักเรียนโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อดอาหารประท้วงให้ได้เข้ารับการศึกษาต่อ ในปี 2555[9] นายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข อดอาหารประท้วงกรณีบิดา นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดี ม.112 ในปี 2555[10] คณะธรรมยาตรากอบกู้รักษาผืนแผ่นดินไทยกรณีเขาพระวิหาร - มลฑลบูรพา อดอาหารประท้วงการสมยอมของรัฐบาลกับกัมพูชากรณีประสาทพระวิหาร ในปี 2556[11] และล่าสุด          พระสุวัฒน์ สุวฑฺฒโน อดอาหารประท้วงจนกว่ารัฐบาล (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) จะลาออก ในเดือนมกราคม 2557[12] เป็นต้น ในหลายกรณีเราได้เห็นแรงกระเพื่อมของสังคมจากการกดดัน และเสียงตอบรับจากประชาชนในการสนับสนุนการอดอาหารดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกัน ในหลายครั้งการอดอาหารก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อหวังผล ประโยชน์ โดยวางภาพพจน์แบบ “สันติ และ อหิงสา” เพื่อเลียนแบบพฤติกรรมและแอบอ้างคานธี โดยมิได้ใส่ใจในหลักการ ความถูกต้อง และความชอบธรรม
อย่างไรก็ตาม เรามิอาจปฏิเสธว่าในหลักคิดแบบอหิงสาของคานธี และหลักการแบบสัตยเคราะห์มีคุณูปการต่อการสร้างและเสริมพลังในการต่อสู้ภาค ประชาชน ดังนั้น การนำมาประยุกต์ใช้จึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ แต่การแอบอ้าง สกัดแต่เปลือก หรือหยิบยืมเพียงชื่อมาเรียกขาน นอกจากจะทำลายคุณค่าของหลักการดังกล่าวแล้ว ยังเป็นเครื่องล่อลวงให้เกิดความรุนแรง และสถาปนาผู้สร้างตราบาปในคราบนักบุญรายใหม่ให้แก่สังคม
คานธี สันติ อหิงสา ใช่ว่าไม่มีคนค้าน
เรามักได้ยินแต่ภาพงดงามของคานธี หลักการสันติภาพ และการไม่ใช้ความรุนแรง แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน แม้กระทั่งในสังคมอินเดียเองก็ยังมีงานวิพากษ์คานธีให้เห็นมากขึ้นในยุคหลัง คำค้านดังกล่าว ผูกโยงหลักอหิงสาให้เป็นเพียงแค่อาวุธทางการเมือง ฉายภาพคานธีแค่เพียงบุรษผู้ใช้ศีลธรรมเป็นเกราะกำบังในการขึ้นสู่อำนาจ เสนอมุมคานธีในฐานะชนชั้นนำของสังคมที่ลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องประโยชน์ของ วรรณะสูง โดยมิได้ใส่ใจต่อชนชั้นล่างของสังคมอย่างแท้จริง ภาพทั้งหลายเหล่านี้ถูกเสนอและตีแผ่ชีวิตคานธีให้ผู้คนได้รับทราบ ได้วิจารณ์ ได้เรียนรู้ แต่ในสังคมของไทย เรารู้จักคานธีเพียงคำว่า สันติและอหิงสา โดยมิได้หยั่งลึกในแก่นของปรัชญา และมิได้พิจารณากับข้อท้าทายเชิงวิพากษ์ที่ตั้งคำถามต่อหลักการดังกล่าว เราจึงรู้จักคานธีเพียงด้านเดียว และที่สำคัญอาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทยไม่ได้เรียนรู้อะไรจากคานธีเลย


เกี่ยวกับผู้เขียน: ปิยณัฐ สร้อยคำ นักวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)



[1] N D Arora, Political Science for Civil Servant Examination, New Delhi: Tata Mcgraw Hill Education Private Limited, 2011.
[2] Prem Arora and Brij Grover, Selected Western and Indian Political Thought, New Delhi Cosmos Bookhive, ND.
[3] บรรยายเรื่องปรัชญาการไม่ใช้ความรุนแรงในนโยบายต่างประเทศ โดย Prof. J Laxmin Narasimha Rao ในรายวิชาการต่างประเทศอินเดีย ซึ่งผู้เขียนได้จดบันทึกขณะศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุสมาเนีย สาธารณรัฐอินเดีย
[4] Prem Arora and Brij Grover, Selected Western and Indian Political Thought, New Delhi Cosmos Bookhive, ND.
[5] Amities Mukhopadhy, Environmental Movement ใน Amities Mukhopadhy, Social Movement in India (pp 124 - 136), New Delhi: Pearson, 2012.
[6] อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
[7] อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
[8] อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
[9] อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
[10] อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
[11] อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
[12] อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

รัฐบาลเดินหน้า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ต่อ

ที่มา Voice TV

 รัฐบาลเดินหน้า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ต่อ


ศาลแพ่งสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว คดี "ถาวร เสนเนียม" แกนนำ กปปส. ร้องขอห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ใช้กำลังสลายการชุมนุม ระบุระบุยังไม่มีเหตุที่ชี้ว่าจะมีการสลายการชุมนุม 
 
 
นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. เดินทางมายัง ศาลแพ่ง รัชดา เพื่อฟังคำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวกลุ่มผู้ชุมนุม ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม ก่อนที่ศาลแพ่งจะพิพากษาว่าจะเพิกถอน พรก.ฉุกเฉิน หรือไม่ 
 
หลังเมื่อวานที่ผ่านมาศาลแพ่งได้รับฟ้องไว้ เพื่อพิจารณาในคดีที่นายถาวร ฟ้อง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย ศรส. และ พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  ในข้อหาละเมิด ให้เพิกถอน พรก.ฉุกเฉิน พร้อมเปิดไต่สวนฉุกเฉินนายถาวร และนายถวิล เปลี่ยนสี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ไปเมื่อวานที่ผ่านมา 
 
 
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าที่นายถาวร ได้ร้องขอให้ศาลคุ้มครองห้ามใช้กำลังสลายการชุมนุม  ห้ามสั่งไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าสถานที่ราชการ และใช้เส้นทางคมนาคม ตามที่ได้ประกาศตามข้อกำหนดของ พรก.ฉุกเฉิน โดยเห็นว่าฝ่ายบริหารสามารถใช้อำนาจรัฐได้ แต่ต้องไม่กระทบต่อสิทธิในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่นายถาวร อ้างว่ารัฐบาลมีการประชุมวางแผนเตรียมกำลังตำรวจปราบจราจล 16,000 นาย เพื่อเตรียมสลายการชุมนุมนั้น ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่ามีการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมแต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุผลที่จะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในประเด็นนี้ก่อนที่ศาลจะมีคำ พิพากษา
 
 
ส่วนคำขอของนายถาวร บางข้อ ที่ห้่ามมิให้อายัดและห้ามซื้อขายใช้หรือครอบครอง เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการชุมนุม โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อนนั้น เห็นว่าการออกประกาศดังกล่าวประเด็นนี้ใน พรก.ฉุกเฉิน เป็นการจำกัด ควบคุม กลุ่มผู้ชุมนุม กรณีนี้จึงมีเหตุให้คุ้มครองชั่วคราวตามคำร้องขอของนายถาวร ได้ในประเด็นนี้ ส่วนคำขออื่นๆ ให้จำเลยทั้งสามกระทำโดยสุจริตไม่เกินกว่าเหตุและความจำเป็นของเจ้าหน้าที่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและผู้ชุมนุม
 
 
อย่างไรก็ตามในคดีนี้ศาลได้นัดชี้สองสถาน ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 09.00 น. 
31 มกราคม 2557 เวลา 16:58 น.

ม็อบกบฏยำตีนลากถูประชาชนกลางเมือง "ถ้าเอารูปไปปล่อยนะ กูเห็นมึงเอาตายแน่"

ที่มา go6tv












#ช่วยกันแชร์!!!!!! เหตุเกิด ริมรั้ว สำนักงานตำรวจแห่งชาติ !!!!! เมื่อวาน 30 ม.ค.57 เวลาประมาณ 16.00 น. เพื่อนหนูนัดมาเจอกัน หลังจากเลิกงาน พอหนูออกจากตร.ตรงประตู บช.ก. เลี้ยวขวาจะไปขึ้น bts ก็มีเหตุชุลมุนวุ่นวาย มีไอ้พวกคนใต้ วิ่งไล่ตีชาวบ้านอยู่ตรง 3 แยกเลย ...เพื่อนหนูเค้ารออยู่ตรงสะพานลอย ก็ได้ถ่ายรูปเก็บไว้หลายรูป สักพักพวกที่อยู่ข้างล่างโดยเฉพาะไอ้คนที่วงกลมสีแดง มันชี้ขึ้นมาที่เพื่อนหนูเลย จากนั้นวิ่งกันขึ้นมาบนสะพานลอย 4 คน คนนึงจับล็อคแขน อีก 3 คน รุมล้อมหน้าล้อมหลัง มาตะโกนใส่หน้าหาว่าถ่ายอะไร ให้ลบรูปให้หมด แต่เพื่อนหนู บอกไม่ได้ถ่าย แกล้งๆทำเป็นเปิดรูปอื่นให้ดู มันก็ยอมแถมยังขู่ด้วยว่า "ถ้าเอารูปไปปล่อยนะ กูเห็นมึงเอาตายแน่" คือหนู อยากถามว่า ????? -หนูเป็น ตร.หญิง ถามเพื่อนๆผู้ชายหลายๆคน ออกจากรั้ว บช.ก. จะไปขึ้น bts โดนค้นกันเกือบทุกคน ตร.เราไม่ทำอะไรบ้างหรือคะ -ปล่อยให้ พวกนี้ มาทำป่าเถื่อน ใกล้ๆ สตช. ...ตร.เราไม่มีมาตรการอะไรเลยเหรอคะ ....ไม่ระงับเหตุ แล้วก็ไม่มีมาตการดูอลตร.เราเลย -เราน่าจะเอาตร.เรา หรือไม่ก็ตร.พื้นที่ ไปตั้งด่านใกล้ๆของมันหน่อยไม่ได้หรือคะ ...ยิ่งกลางคืนวันไหนกลับดึก ไม่เห็นตร. แต่งเครื่องแบบแม้แต่คนเดียว

รัฐประหารเงียบ: รู้ทันกลลวงปล้นอำนาจประชาชน

ที่มา bygon kingdom



เมื่อการรัฐประหารโดยใช้กองทัพเข้ามายึดอำ
­นาจอย่างโจ่งแจ้งไม่เป็นที่ยอมรับทั้งในปร­ะเทศและบนเวทีโลกอีกต่อไป เหล่ามือที่มองไม่เห็นจึงใช้วิธีการใหม่ผ่­านองค์กรตัวแทนมากมายเพื่อปล้นอำนาจอธิปไต­ยไปจากประชาชนอีกครั้ง

ร่วมกันส่งต่อ รู้ทันกลลวงปล้นอำนาจประชาชน!

ภาพขนาดย่อ

เสียงจาก "กลุ่มคนไทยในฝรั่งเศสเพื่อประชาธิปไตย" ประกาศจุดยืนหนุนเลือกตั้ง

ที่มา ประชาไท


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2014 ที่ผ่านมา กลุ่ม ‘คนไทยในฝรั่งเศสเพื่อประชาธิปไตย’ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อแสดงจุดยืนสนับ สนุนการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย และสนับสนุนการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยที่จะมีการจัดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2014 สมาชิกของกลุ่มประกอบด้วยคนไทยที่ทำงานในฝรั่งเศส แม่บ้าน นักเรียนไทย และเพื่อนๆชาวฝรั่งเศสที่สนใจการเมืองไทยและการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยกิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วย การรวมตัวกันแสดงจุดยืนสนับสนุนเลือกตั้งที่ลานสิทธิมนุษยชน ทรอคาเดโล กรุงปารีส และกิจกรรมกินข้าวรอเลือกตั้ง ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ณ กรุงปารีส นอกจากนี้ได้ทางกลุ่มฯ ได้สัมภาษณ์ความคิดเห็นของคนงานแม่บ้านในต่างแดน นักศึกษา ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และเพื่อนชาวฝรั่งเศส ต่อสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน

แม่บ้านไทยที่เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศสมากว่าสิบห้าปี
Q:  อยู่ฝรั่งเศสนานหรือยัง
A:13-14 ปี
Q:   ตั้งแต่มาอยู่ที่ฝรั่งเศสนี้ได้ติดตามสถานการณ์การเมืองในเมืองไทยบ้างหรือไม่
A: ตอนเข้ามาแรกๆไม่ได้ติดตามข่าวสารอะไรมากมาย เพราะว่าการสื่อสารยังไม่มีพัฒนาการเหมือนในตอนนี้ ไม่มีอินเตอร์เน็ท แต่มาช่วงหลังๆนี้ที่มีอินเตอร์เน็ทเราก็สามารถติดตามข่าวสารได้ แต่ก็ยังไม่ได้ติดตามข่าวสารการเมืองอะไรมากมาย เป็นเรื่องทั่วๆไปธรรมดาๆ เรื่องของพ่อแม่พี่น้อง ปี 2553 ที่มีเสื้อแดงออกมาม็อบ ก็ยังไม่ได้ติดตามข่าวสารอะไรมากมายนะในฐานะแม่บ้านธรรมดา ยังไม่ได้ติดตามอะไรมาก ดูเหมือนทั่วๆไป แต่มาล่าสุดปีนี้ของลุงกำนันเค้า อันนี้คือ ยอมรับว่าติดตามข่าวสารทุกวัน
Q:   ส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารจากทางไหนบ้าง
A: ที่บ้านไม่ได้ติดตั้งทีวีไทยนะ ก็คือจะเป็นทางอินเตอร์เน็ท ดูทีวีไทยย้อนหลัง แต่ว่าไม่ใช่ข่าวสด พอเริ่มเข้าเหตุการณ์ที่ร้อนแรงมากขึ้น ก็เริ่มสมัครเข้ากลุ่มของเพื่อนๆ สถาบันต่างๆเพื่อหาข่าวสาร ส่วนมากเป็นสถาบันเสื้อแดง ชินวัตร เป็นกลุ่มในอินเตอร์เน็ท เพราะว่ากลุ่มพวกนี้เค้าจะรายงานข้อมูลในเราทราบ เราเป็นแม่บ้านก็พอมีเวลาตามข่าวหลังจากเลิกงาน เหมือนกลุ่มทางเว็บเค้าก็จะส่งข้อมูลให้เราทราบตลอดว่า ว่าตอนนี้เกิดเหตุการณ์ยังไง ใครทำอะไรที่ไหนยังไง ม็อบเคลื่อนไหวยังไงบ้าง
Q:   ม็อบ กปปส เสนอให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง มีความเห็นยังไงบ้าง
A:ในความคิดของพี่ พี่ไม่ใช่คนเรียนจบมาสูงก็ขอพูดตามภาษาชาวบ้านนะ ตั้งแต่เกิดมาก็รู้แต่ว่าประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งใช่ มั้ย ก็รู้แต่แค่นี้ เหมือน 10 ปี 20 ปี ที่ผ่านมาก็มีการเลือกตั้งมาตลอดใช่มั้ย แต่พอมาเจอลุงกำนันเนี่ย เค้าบอกว่าจะออกมาปฏิรูป ตัวเองก็ไม่เข้าใจว่าปฏิรูปแบบไหน อะไร ยังไง แล้วตัวเค้าเองเนี่ย เค้ามีโครงการยังไง อยากให้เค้าออกมาพูดให้ฟังหน่อย ให้ประชาชนที่เค้าบอกว่าเป็นควายไม่เข้าใจน่ะฟังหน่อยว่า แบบไหนยังไง รูปร่างหน้าตาเป็นยังไง ที่มันแตกต่างจากระบอบประชาธิปไตยของรัฐบาล ปัจจุบัน เราจะได้ตัดสินใจว่าปฏิรูปเป็นยังไง ประชาธิปไตยเป็นยังไง เพราะเท่าที่รู้มาคือ ประชาธิปไตยมาจากการเลือกตั้ง เหมือนกับว่า คุณชอบคนไหนก็เลือกคนนั้น คุณไม่ชอบใครคุณก็ออกไปกาอีกคน เหมือนไปใช้สิทธิ์ คือ มันยุติธรรมน่ะ ฉะนั้นการปฏิรูปคือไม่เข้าใจว่ามันเป็นยังไง อยากเห็นว่าโครงสร้างมันเป็นยังไง คืออะไร อยากให้เค้าอธิบาย
Q:   ม็อบ กปปส พยายามบอกว่าการเลือกตั้งที่เป็นอยู่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันเยอะ ดังนั้น กปปส จึงเสนอว่าควรให้คนที่มีการศึกษาสูงมีสิทธิ์มีเสียงมากกว่าคนที่มีการศึกษา ต่ำกว่า
A:ไม่เห็นด้วย ถ้าเค้าจะพูดยังงั้น ตั้งแต่ปู่ย่าตายายมาก็รับรู้มาว่าประชาธิปไตยคือคนเท่ากัน อันที่บอกว่าคนมีการศึกษามี 4เสียง5เสียง หรือคนจนมีแค่1เสียง มันไม่ถูกอ่ะ เพราะตามความคิดตัวเองนะ ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่าจะจนหรือว่าจะรวย จะเรียนน้อยเรียนมาก เอายังงี้ ยกตัวอย่าง คนที่เค้าเรียนมาก คนที่เค้าคิดว่าเค้ามีความรู้สูง เค้าทำนาได้มั้ย แล้วนี่ต้องเข้าใจนะ คนเรามันต้องครึ่งๆ ใช่มั้ย คุณไม่รู้อันนี้ แต่ว่าชั้นรู้อันนี้ เราต้องแบ่งปันกัน
Q:   ตั้งแต่อยู่ฝรั่งเศสมานี้ได้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งนอกราชอาณาจักรหรือยัง
A: เคย 1 ครั้ง ไปลงทะเบียนไว้ ตอนนี้รู้สึกจะเป็น ส.ส. แบ่งเขต แต่ครั้งนี้ไม่ได้รับข่าวสารเลย คิดว่าลงทะเบียนครั้งเดียวจะใช้ได้ตลอด แต่ไม่ได้รับข่าวสารอะไรเลย หลังที่ยุบสภาครั้งล่าสุดนี้ก็รีบเข้าเว็บไซท์ไปดูว่าตัวเองมีสิทธิ์เลือก ตั้งหรือเปล่า ปรากฏว่าไม่มี ก็แปลกใจว่าทำไมที่เราลงทะเบียนไปมันไม่มีรายชื่อ เราก็ไม่ได้เปลี่ยนที่อยู่ด้วย เหมือนเดิมทุกอย่าง แต่ชื่อไม่มี แล้วเราก็พยายามปริ๊นท์ใบกรอกขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งนอกราชอาณาจักรใหม่ พยายามส่งกลับไปเหมือนที่เค้าบอกว่าไว้ แต่ก็ไม่มีอะไรตอบรับกลับมา ก็คิดว่าคงจะสายไปแล้วแหละ เพราะมันเลยเวลาที่เค้ากำหนดไว้แล้ว แต่สำหรับตัวเองอยากออกมาใช้สิทธิ์ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไง
Q:   คิดว่าการขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งก่อนๆมีปัญหาไหม
A: คิดว่าไม่ปกติ  แต่ ก่อน ไม่นานมานี้ ไปต่อพาสปอร์ต ไปถ่ายบัตรประชาชนใหม่ ปกติแล้วทุกครั้งที่ไปติดต่อทำอะไรกับสถานทูตก็แล้วแต่ การคอยของเรามันจะมีเอกสารคอยให้เราดูข่าวสารบ้านเมืองให้เราดูตลอดเวลา คือ ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้เรารู้เลยว่าเดี๋ยวจะมีการเลือกตั้งหรืออะไร การประชาสัมพันธ์มันน้อยผิดปกติ
Q:   ถ้าการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. นี้ถูกเลื่อนออกไปจะทำยังไง
A: เราคนไทยอยู่ที่นี่ คงทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้ แต่พี่พร้อมจะออกมาแสดงออก หรือแสดงให้รู้ว่าเราไม่เห็นด้วยกับการเลื่อนเลือกตั้ง เพราะเท่าที่ติดตามมาเนี่ย คือว่า มันเป็นกฎหมาย ว่าหลังจากยุบสภากี่วันๆต้องมีการเลือกตั้ง เราคนไทยทุกคนต้องรู้จักคำว่าเคารพกฎหมาย ไม่งั้นเราก็ไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ถ้าเราไม่รู้จักเคารพกติกาของบ้าน เมือง

นักศึกษาคนหนึ่งที่เพิ่งเดินทางมาศึกษาในประเทศฝรั่งเศส และสัมผัสกับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรครั้งแรกในชีวิต
Q : อยู่เมืองนอกนี่ได้ติดตามสถานการณ์เมืองไทยบ้างหรือไม่ อย่างไร
A : ติดตามใน internet ครับ ใน Facebook ในยูทูปครับ ผมก็อ่านเมเนเจอร์ ดูบลูสกาย ที่เพื่อนเค้าแชร์กัน ดูมติชนออนไลน์ ของต่างประเทศก็อ่านของ BBC ของฝรั่งเศสบ้าง แต่ของฝรั่งเศสเค้าจะไม่ค่อยทำข่าวเกี่ยวกับไทย
Q : เท่าที่ติดตามมา มีความเห็นอย่างไงกับสถานการณ์ในเมืองไทยตอนนี้
A : ก็ตั้งแต่ที่ กปปส.ชุมนุมมาผมก็ยังไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เค้าเสนอมามันจะเป็นไปได้ในทางปฎิ บัติได้ยังไง เรื่องสภาประชาชน แล้วก็เรื่องต่อต้านระบอบทักษิณ การต่อต้านระบอบทักษิณด้วยการยึดกรุงเทพมันไม่สามารถนำไปสู่เป้าหมายของเค้า ได้
Q : แล้วคิดอย่างไรกับการที่ กปปส. เสนอว่าต้องมีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง
A : ก็เมื่อเราไปดูข้อกฎหมายแล้วเราก็จะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการเลื่อน การเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นการที่กปปส.ไปขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้า และผมก็คาดว่าเค้าจะไปขัดขวางการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น(ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์) ด้วย ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าในทางกฎหมายแล้วทำไม่ได้ในการเลื่อนการเลือกตั้ง ถ้ารัฐบาลทำรัฐบาลก็มีความผิดเอง ถ้าจะปฏิรูปก่อนก็ต้องเสนอว่าจะปฏิรูปยังไง ต้องเสนอสิ่งที่ทำได้จริงๆและไม่ขัดกับข้อกฎหมาย อันนี้จะว่ายังไง ผมคิดว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของกปปส.เลย คือตอบไม่ได้ในข้อพื้นฐาน ถามแค่นี้ว่า เฮ้ยแล้วคุณจะทำยังไง โดยไม่ขัดกับรธน.โดยไม่ขัดกับกติกาที่เค้าตกลงกันแล้ว ก็มีนักวิชาการบางคนบอกว่า "คุณน่ะยึดติดกับกฎกติกามากเกินไป ด่านิติราษฎร์อะไรอย่างนี้ คุณจะต้องมีความ flexible บ้าง ถ้ากฎกติกามันไม่ทำให้ประเทศมันก้าวหน้า เราก็ควรจะใช้ทางอ้อม ทำยังไงก็ได้เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น"  ซึ่ง ผมคิดว่ามันไม่ควรจะทำอย่างนั้น รัฐธรรมนูญไทยถูกฉีกไป18 ครั้งแล้ว แล้วปัญหานับไม่ถ้วนก็เกิดขึ้นตามมา อย่างน้อยเราควรจะรักษาหลักการบางอย่างเช่นการเลือกตั้งเอาไว้บ้าง แต่สุดท้ายมันก็ดูเหมือนจะรักษาไม่ได้เพราะกปปส.เป็นอันธพาลอย่างนี้
Q : แต่ถ้าเค้าไม่ทำเค้าก็ล้มระบอบทักษิณไม่ได้
A : ถึงเค้าทำอย่างนี้เค้าก็ล้มทักษิณไม่ได้อยู่ดี การออกไปปิดกั้นสิทธิของประชาชนส่วนมากแบบนี้ไม่สามารถล้มทักษิณได้ ทักษิณมาด้วยการเลือกตั้งเราต้องล้มทักษิณด้วยการเลือกตั้ง ไอ้การเลือกตั้งครั้งนี้ผมก็ไม่ได้เลือกเพื่อไทย ผมไม่ได้ชอบทักษิณ แต่ต้องเลือกตั้ง ผมก็เห็นด้วยกับการปฏิรูป แต่เป็นการปฏิรูปด้วยการเลือกตั้ง ไม่เอาเพื่อไทยก็ไม่ต้องเลือกเพื่อไทย
Q : การเลือกตั้งนอกอาณาเขตครั้งนี้พบเห็นปัญหาอย่างไรบ้าง
A : สำหรับผมโชคดีไม่มีปัญหาอะไรเลย แต่ผมมารู้ทีหลังว่าหลายคนมีปัญหา ไม่ได้บัตรเลือกตั้งทั้งๆที่ลงทะเบียนแล้ว มีหลายคนที่ไม่ทราบว่าจะต้องลงทะเบียนในเวลาที่กำหนด ผมคิดว่ามันเป็นความผิดของข้าราชการหรือสถานฑูตซึ่งแย่มาก แล้วผมก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง
Q : แล้วราชการที่อยู่ในฝรั่งเศสมีการรณรงค์ให้ออกไปเลือกตั้งกันไหม
A : ไม่ครับ ไม่มีการรณรงค์เลย การประชาสัมพันธ์ก็มีในเว้บไซต์ แต่ผมว่าน่าจะทำได้ดีกว่านั้น อีเมลคุณก็มีคุณน่าจะลองส่ง โดยเฉพาะนักเรียนทุนที่สังกัดโดยตรง อย่างน้อยก็น่าจะได้รับข้อมูลผ่านทางสำนักนักเรียนทุนรัฐบาล แต่ก็ไม่มีครับ สุดท้ายสิ่งที่เราทำคือบอกกันปากต่อปาก ที่อังกฤษก็เหมือนกัน อันนี้มีปัญหามาก คือคนเสียสิทธิโดยไม่ได้รับการแจ้ง
Q : คิดอย่างไรกับการที่กปปส.บอกว่าแต่ละคนไม่ควรมีเสียงเท่ากัน คนเรียนสูงมีสิทธิ์มากกว่า อย่างนี้เป็นต้น หรือว่ามีการซื้อเสียง
A : คือระบอบประชาธิปไตยที่เราสถาปนากันมาในทางหลักการตั้งแต่ปี 2475 คือเรากำหนดในทางทฤษฎีไว้หมดแล้วว่าอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการทั้งหมดต้องมาจากเสียงประชาชน ซี่งเสียงทุกคนต้องเท่าเทียมกัน ซึ่งมหัศจรรย์มากก็คือผู้หญิงไทยก็มีสิทธิในการเลือกตั้งเหมือนกัน (ก่อนที่บางประเทศในยุโรปจะอนุญาตให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้ง)คือก้าวหน้า กว่าบางประเทศในยุโรปมาก แต่ว่าตอนนี้เรากลับมาพูดกันเรื่องนี้กันอีกครั้งว่าเราควรจะมีสิทธิเท่ากัน มั้ยทั้งๆที่มันวางรากฐานให้สิทธิมาแปดสิบปีแล้ว แต่ผมว่าคนส่วนใหญ่ก็คิดว่าทุกคนมีสิทธิเท่ากันอยู่แล้ว มีแต่คนส่วนน้อยหรือก็คือกลุ่มม้อบกปปส.นี่แหละที่ไม่เห็นด้วย
Q : แล้วคิดยังไงกับการที่มีคนกลุ่มนึงที่อาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลานาน ในประเทศที่แต่ละคนมีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน แต่กลับออกมาคัดค้านว่าคนที่เมืองไทยไม่ควรมีสิทธิ์มีเสียงเท่ากัน คิดยังไงกับคนกลุ่มนี้
A : ผมคิดว่าการมาอยู่ต่างประเทศไม่ได้เปลี่ยนความคิดคนได้ขนาดนั้น อย่างนึงที่น่าสนใจมากคือ เมืองไทยเข้มแข็งมากในการ propaganda ในการปลูกฝังความคิดบางอย่างให้กับปัจเจกให้กับนักเรียน ตั้งแต่คุณเข้าอนุบาลคุณโตมา คุณดูสื่อ คุณอ่านหนังสือ คุณดูประวัติศาสตร์ มันเป็นอะไรที่เข้มแข็งมากๆ ความคิดความเชื่ออะไรเราผูกกับตรงนั้นเยอะมาก เรื่องสถาบันกษัตริย์ เรื่องความรักชาติ เรื่องการโกงเป็นความชั่ว เรื่องศีลธรรมแบบพุทธศาสนา ผมคิดว่ายากมากที่คนไทยจะหลีกเลี่ยงอะไรพวกนี้ได้ เพราะฉะนั้นการที่มาอยู่ฝรั่งเศสอาจจะไม่ได้ทำให้คนมีความคิดก้าวหน้าแบบคน ฝรั่งเศสก็ได้
Q : ถ้ามีการเลื่อนการเลือกตั้งขึ้นมา จะมีปฏิกิริยายังไงบ้าง
 A : ผมคิดว่าผมกับกลุ่มคนไทยในฝรั่งเศสที่คัดค้านก็ควรจะรวมตัวกันคัดค้านการ ตัดสินใจของรัฐบาลหรือว่าหน่วยงานใดๆก็แล้วแต่ที่ใช้อำนาจในการเลื่อนการ เลือกตั้ง เพราะว่าไม่มีกฎหมายข้อใดเท่าที่ผมทราบที่สามารถอนุญาตให้มีการเลื่อนได้ เราควรจะฟ้องร้องกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ
Q : คิดว่าจะมีความรุนแรงเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีการเลื่อนการเลือกตั้ง
A : มี ผมก็คิดว่าในทางการเมืองก็เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างมาก เพราะว่าคุณเอาชีวิตของคนจำนวนมากมาเสี่ยง เราก็รู้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองของเราตอนนี้ คนแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแล้วก็มีความคิดที่รุนแรงมาก แทบจะไม่ฟังเสียงที่แตกต่างแล้ว แล้วคงจะเกิดความรุนแรงแน่ๆ ซึ่งผมก็ไม่เห็นด้วย ผมคิดว่าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งก็ต้องพยายามที่จะยื้อวิกฤตครั้ง นี้ ทำยังไงก็ได้เพื่อไม่ให้เกิดการฆม่ากันให้ได้ ซึ่งก็ยากขึ้นทุกที ต้องใช้วิธีการประท้วงที่อาจจะไม่ ปะทะไม่ยั่วยุให้เกิดความรุนแรง คือมันทำได้หลายอย่าง แต่ผมคิดว่ามันจะมีกลุ่มฮาร์ดคอร์ที่จะเข้ามาใช้กำลัง ซึ่งมันเกิดขึ้นหลายครั้งแล้วในเมืองไทย ซึ่งมันจะเบลมใครเรื่องนี้

ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายปกครองท่าน หนึ่งที่มาศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส ตอบคำถามประเด็นการเลื่อนเลือกตั้งและผลกระทบทางกฎหมายที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้ สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในกรณีถ้ามีการเลื่อนเลือกตั้งเกิดขึ้น
Q : ถ้ามีการเลื่อนเลือกตั้งจะมีผลอย่างไรทางกฎหมายกับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไปแล้ว ?
A : ต้องดูว่ามันเลื่อนไปนานเท่าไร และการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นครั้งใหม่มีพรรคการเมืองอื่นสมัครหรือไม่ ต้องแยกออกก่อนว่ามันเป็นการเลือกตั้งใหม่หรือว่าแค่ยืดระยะเวลาจากการเลือก ตั้งครั้งเก่า ถ้าเป็นกรณียืดระยะเวลาการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้ายังถือว่า มีค่าอยู่ไม่เป็นโมฆะ ส่วนถ้าเป็นการเลือกตั้งใหม่การลงคะแนนเสียงดังกล่าวก็ถือว่าเป็นโมฆะไป แต่กรณีที่ต้องมาคิดคือถ้ามีการเลือกตั้งใหม่แล้วจะถือว่าการลงคะแนนเสียงเป็นการลงคะแนนเสียงซ้ำซ้อนหรือเปล่า
Q : การปิดล้อมเขตเลือกตั้งมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ?
A : มีความผิดแน่นอนฐานการขัดขวางการเลือกตั้งตาม พรบ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส และ สว มีโทษปรับและจำคุก ต้องดูว่าการขัดขวางอยู่ระดับใด ซึ่งที่ กปปส แสดงออกมามีการใช้กำลังทั้งทางกายภาพและนามธรรมเช่น การเป่านกหวีดหรือกดดันเพื่อกีดกันผู้อื่นไม่ให้เข้าเลือกตั้ง เช่น ปิดล้อมหน่วยเลือกตั้ง ถึงแม้จะไม่มีการทำร้ายร่างกายเช่นการใช้โซ่ปิดล้อมหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งถ้า คณะกรรมการเลือกตั้งประจำเขตทำการปิดหน่วยเลือกตั้งโดยไม่สมควรก็มีความรับ ผิดชอบด้วย คณะดังกล่าวมีอำนาจเลื่อนเลือกตั้งได้เฉพาะกรณีที่สมควรแก่เหตุ เช่นการจลาจล หรือเกิดภัยพิบัติร้ายแรงที่ไม่อาจเลี่ยงได้ ซึ่งก็ต้องพิจารณาตามสถานการณ์ เช่น ถ้ามีกลุ่มคน ห้าคนมาปิดล้อมเลือกตั้ง แล้ว กกตสั่งปิดเขตเลือกตั้ง แบบนี้ก็ไม่สมควรแก่เหตุ นอกจากกลุ่มคนเหล่านั้นมีอาวุธสงครามครบมือ ประชาชนสามารถแจ้งความตามมาตรา 20 ของ พรบ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งพร้อม มาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นความรับผิดของ คณะกกตประจำเขต
Q : การเลื่อนเลือกตั้งนั้นทำได้ในทางกฎหมายหรือไม่ ?
A : ไม่มี รัฐธรรมนูญกำหนดชัดเจนว่าหลังจากยุบสภาหรือสภามีเหตุ ต้องสิ้นสุดลง ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 ถึง 60 วัน ตามเจตนาของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยเพื่อไม่ให้รัฐบาลรักษาการณ์อยู่นาน เกินไป และเพื่อเจตนารมณ์ความต่อเนื่องของอำนาจบริหารนโยบายสาธารณะ ดังเช่นเหตุการณ์ปัจจุบันที่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินนโยบายจำนำข้าวได้ เพราะเป็นแค่รัฐบาลรักษาการณ์ แต่ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่โดยเร็วตามระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เราก็สามารถบริหารงานต่อไปได้เอาเงินมาให้ชาวนาโดยไมมีปัญหา
 Q : การเลื่อนเลือกตั้งเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญหรือไม่ ?
A : เป็นการไม่เคารพรัฐธรรมนูญ เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้า รัฐบาลตัดสินใจเลื่อนเลือกตั้งแล้ว อาจจะมีผู้ไม่หวังดีนำเรื่องการเลื่อนเลือกตั้งเกิน 60 วัน ไปฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งนำมาสู่ความผิดและนำไปสู่การยุบพรรคเพื่อไทได้ ตามมาตรา 68 ฐานได้มาซึ่งอำนาจอันไม่ชอบ

เนื่องจากมีข้อถกเถียงจากฝ่ายต่อ ต้านประชาธิปไตยว่า คนต่างชาติไม่เข้าใจการเมืองประเทศไทย หรือสื่อต่างชาติถูกซื้อแล้ว ทางกลุ่มจึงขอสัมภาษณ์ความคิดเห็นเพื่อนชาวฝรั่งเศสสองท่านต่อการเมืองไทย ปัจจุบัน
Q : กลุ่ม กปปส บอกว่ากลุ่มคนเสื้อแดงถูกซื้อโดยพรรคเพื่อไทย คุณคิดอย่างไรกับประเด็นนี้ ?
A : ในอดีตเมืองไทยคงมีช่วงเวลาที่มีการคอรัปชันอย่างมากดังเช่นนักการเมืองซื้อ เสียง แต่ผมคิดว่าทุกฝ่ายไม่ว่าฝ่ายเหลืองหรือแดงก็อาจจะกระทำการดังกล่าว แต่มันก็เป็นเรื่องอดีต ปัจจุบันพวกที่ยังซื้อเสียงอยู่ก็น่าจะเป็นแกะดำในสังคม ไม่ว่าฝ่ายชนชั้นทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาใหม่หรือรัฐบาลไม่สามารถใช้วิธี ดังกล่าวได้อีกต่อไป ข้อกล่าวหาที่ว่ามาอาจจะดูเหมือนน่าเชื่อถือแต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้
 Q : คุณติดตามสถานการณ์การเมืองไทยตั้งแต่เมื่อไร และเข้าใจว่าอย่างไร ?
A : ผมติดตามตั้งแต่หลังจากการเกิดรัฐประหาร (2006) ส่วนสถานการณ์ล่าสุดสองสามเดือนนี้สถานการณ์ไม่สงบเพราะฝ่ายเสื้อเหลือง ปฏิเสธการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตย และปฏิเสธอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ผมหวังว่ารัฐบาลจะยืนหยัดต่อไปและไม่มีการเลื่อนเลือกตั้ง
B: ผมเข้าใจว่ามันเป็นสถานการณ์การเมืองที่ยากลำบาก มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกัน โดยเฉพาะกลุ่มชั้นสูงและรอยัลลิสต์ที่มีสิทธิต่างๆเหนือกว่าคนอื่นๆ ซึ่งมันส่งผลต่อความยุติธรรมในสังคม
 Q :คุณคิดว่าการเลือกตั้งจำเป็นสำหรับประชาธิปไตยหรือไม่ ?
A : มันเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยเลยนะ (หัวเราะ) มันสำคัญอย่างมาก รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ทำการยุบสภาแล้ว และตามข้อของกฎหมายมันจำเป็นต้องมีการเลือกตั้งตามมา
B: ใช่ มันไม่ใช่แค่สำคัญ แต่มันคือความหมายของประชาธิปไตย มันหมายความว่าประชาชนมีสิทธิเลือกใครมาบริหารโดยผ่านการเลือกตั้ง การเลือกตั้งนี้ทุกคนมีส่วนรวมเลือกผู้นำประเทศ แต่ไม่มีกรณีไหนเลยในระบบประชาธิปไตยที่ผู้นำขึ้นมามีอำนาจด้วยกำลังหรือจาก การเลือกจากกลุ่มคนไม่กี่กลุ่ม
Q : กลุ่ม กปปส กล่าวว่าประเทศไทยต้องมีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง คุณคิดว่ามันเป็นที่ยอมรับในสังคมสมัยใหม่หรือไม่?
A : ไม่ การปฏิรูปก็ต้องมีความชอบธรรมทางกฎหมายด้วยเช่นกัน มันต้องเป็นเรื่องที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นตัวหลักในการปฏิรูป มันต้องเริ่มจากการเลือกตั้งก่อนต่างหากแล้วถึงตามด้วยคณะรัฐบาล(ซึ่งเลือก โดยประชาชนไทยทั้งประเทศ)เป็นผู้ตัดสินใจทำการปฏิรูป
B: มันขึ้นอยู่กับว่าปฏิรูปอะไร แต่ทุกกรณีแล้วกลุ่มคนที่ทำการปฏิรูปต้องได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน แต่ที่ กปปส เสนอกลุ่มคนที่จะมาทำการปฏิรูปกลับไม่ได้เป็นคนที่มาจากการเลือกตั้ง มันไม่ถูกต้อง มันย้อนแย้งมาก
Q : คุณคิดว่าการขัดขวางการเลือกตั้งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่?
A : มันเป็นการต่อต้านประชาธิปไตย มันเป็นการขัดขวางมิให้คนอื่นๆคิดแตกต่างจากแนวความคิดของกลุ่มเสื้อเหลือง พวกเขาไม่ยอมรับความคิดเห็นอื่นที่แปลกแยกไปจากของตน
B: มันขึ้นอยู่กับว่าประเทศคุณอยู่บนพื้นฐานความคิดใด สำหรับประเทศประชาธิปไตย การขัดขวางการเลือกตั้ง มันเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่นชัดเจนมาก สำหรับผมแล้วไม่ว่าประเทศไหนในโลก ทุกๆความคิดถูกนำเสนอผ่านพรรคการเมือง และปล่อยให้ประชาชนเป็นผู้เลือกเองตามข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ ซึ่งเหมาะสมกับรัฐธรรมนูญในที่ใดๆในโลก ที่สร้างความสมดุลในสังคม ไม่มีความรุนแรงและการหลอกลวง

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ร่วมพิทักษ์สืบทอดประชาธิปไตย

ที่มา ประชาไท


สถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทยหลังการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 มกราคม นี้ ได้ชี้เห็นว่า การเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ นี้นั้น กลายเป็นเหตุการณ์สำคัญที่จะส่งผลต่ออนาคตของประชาธิปไตยในประเทศไทย

ทั้ง นี้เพราะความขัดแย้งที่ดำรงอยู่อย่างชัดเจน คือ ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย นำโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนข้างมากของประเทศ กับฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตย ที่เปิดฉากโดย ม็อบ กปปส.(คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนน้อย แต่ได้ใช้อำนาจอันธพาลข่มขู่ประชาชน ปิดบ้านปิดเมือง สร้างความเดือดร้อนเอือมระอาไปทั่ว และล่าสุด คือการคุกคามการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าของประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

แม้กระนั้น การเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส. ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลาง และชนชั้นสูงที่โน้มนำด้วยอคติในการเกลียด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มคนเหล่านี้ ช่วยกันวาดภาพให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีลักษณะดังผีร้าย แล้วก็เชื่อฝังใจในวาทกรรมด้านเดียวของตนเอง นำมาสู่การเคลื่อนไหวอันเป็นปฏิปักษ์ประชาธิปไตย แต่ที่ร้ายแรงกว่านั้นก็คือ การที่ขบวนปฏิปักษ์ประชาธิปไตยเหล่านี้ ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นเนื้อเดียวจากพรรคประชาธิปัตย์ที่คว่ำบาตรการ เลือกตั้ง และยังได้รับการสนับสนุนจากจากองค์กรอิสระ ที่มีบทบาทออกนอกหน้าในขณะนี้ ก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ และ คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)

ก่อนอื่นคงต้องอธิบายว่า ขบวนการทั้งหมดของ กลุ่ม กปปส.ที่รวมถึงการสนับสนุนจากศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการเลือกตั้งนั้น เป็นขบวนการอนุรักษ์นิยมเจ้า ไม่ใช่ขบวนการปฏิวัติประชาชนตามที่กล่าวอ้างกัน ความคิดที่ชี้นำทั้งหมดเป็นแนวคิดอนุรักษ์นิยม ยึดมั่นในความดีงามของสถาบันดั้งเดิม ต่อต้านประชาธิปไตย และดูถูกประชาชนคนส่วนมาก ความเชื่ออันฝังจิตใจของคนเหล่านี้คือ มวลชนคนต่างจังหวัดนั้นโง่เขลา ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการครอบงำของฝ่ายนักการเมืองชั่ว ดังนั้น คะแนนเสียงและความเรียกร้องต้องการของคนเหล่านี้ จึงไม่ต้องนับ ให้เชื่อแต่มวลชนของ กปปส. ซึ่งเป็นมวลชนตื่นตัวที่มีคุณภาพ และจะเป็นผู้ผลักดันให้ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้นำการปฏิวัติสังคม สร้างสังคมใหม่ที่ปราศจากนักการเมือง ปราศจากการทุจริตคอรับชั่น ดังนั้น คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่มุ่งจะทำลายฝ่ายนักการเมือง และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องไปหมด จนไม่ต้องอิงหลักกฎหมายหรือความเป็นนิติรัฐใดๆ

กลุ่มมวลชนผู้สนับ สนุนม็อบอันธพาลของนายสุเทพ ไม่ยอมรับในข้อเท็จจริงว่า การเข้าร่วมการเลือกตั้งนั่นเอง คือ การแก้ไขปัญหา และการแสวงหาทางออกจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองโดยสันติวิธีและเป็นประชาธิปไตย เพราะเป็นการตัดสินกันด้วยการคืนอำนาจให้กับประชาชน ให้ประชาชนตัดสินความขัดแย้งโดยไม่ต้องนองเลือด แต่ขณะนี้ กลุ่ม กปปส.กลับหาทางทำลายการเลือกตั้ง และยั่วยุให้เกิดความรุนแรงตลอดเวลา

ทิศ ทางการเคลื่อนไหวทำลายประชาธิปไตยในขั้นนี้ ดำเนินการโดยศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีมติเอกฉันท์ในวันที่ 24 มกราคม ว่า การเลื่อนการเลือกตั้งสามารถทำได้ หากสถานการณ์บ่งชี้ว่า อาจส่งผลเสียหายต่อประเทศชาติได้ โดยศาลรัฐธรรมนูญยกตัวอย่างจากปี พ.ศ.2549 ที่รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้ง 2 เมษายน เป็นโมฆะ ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงเสนอแนะว่า ประธานกรรมการเลือกตั้งและนายกรัฐมนตรีต้องหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่

เมื่อเป็นเช่นนี้ นายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)จึงได้ยืนยันว่า ทาง กกต.ได้นัดหารือกับนายกรัฐมนตรีในการที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยเห็นว่า การจัดการเลือกตั้งที่ผ่านมาแล้วมีปัญหาตั้งแต่การรับสมัครจนถึงการลงคะแนน เสียง เพราะมีมวลชนไปปิดล้อมขัดขวาง จนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้สุจริตและเทียงธรรม และจะเป็นการสูญเสียงบประมาณแผ่นดิน และว่า ถ้าหากได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่าควรจะเลื่อนการเลือกตั้ง ก็จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้ก่อนวันเลือกตั้งที่ 2 กุมภาพันธ์

ข้ออ้างทางกฎหมายที่พยายามอ้างกันในขณะนี้ ก็คือ มาตรา 78 ของ พรบ.เลือกตั้ง ที่อธิบายว่า ถ้ามีเหตุอันทำให้มีการเลือกตั้งไม่ได้ เพราะเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่น กกต.ก็มีอำนาจที่จะกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้ แต่ปัญหาของข้อกฎหมายนี้คือ อาจจะถูกตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญ เพราะในกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุถึงเหตุสุดวิสัยไว้ ยิ่งกว่านั้น ศาลรัฐธรรมนูญเองเคยวินิจฉัยไว้ในวันที่ 26 ธันวาคม ว่า การชุมนุมของ กปปส.เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพกระทำในนามประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ เป็นเพียงการเรียกร้องแสดงพลังด้วยการสนับสนุนของประชาชนจำนวนมาก จึงไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่จะไปอ้างในการกำหนดการเลือกตั้งใหม่ได้

จาก นั้น นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้อธิบายสนับสนุนว่า สิ่งที่ กกต.และศาลรัฐธรรมนูญกำลังแก้ไข อยู่นั้นไม่ใช่ปัญหาการปฏิบัติเกี่ยวกับขั้นตอนในการเลือกตั้ง แต่เป็นปัญหาการเลือกตั้งทั่วไปในภาพรวม กกต.และศาลจึงกล่าวถึงการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ไม่ใช่การเลื่อนวันลงคะแนนเพื่อดันทุรังเดินหน้าการเลือกตั้งเดิมต่อไป และได้ย้ำว่า “ที่สำคัญพรรคเพื่อไทยยังไม่ตระหนักอีกหรือว่าวิกฤติวันนี้มาจากการท้าทาย อำนาจศาล ท้าทายกฎหมาย และท้าทายความรู้สึกประชาชน ยังคิดจะเติมเชื้อไฟอีกหรือ”

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า การดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการเลือกตั้ง เป็นไปอย่างสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของม็อบ กปปส.และพรรคประชาธิปัตย์ ที่มุ่งจะทำลายการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ จากที่ กปปส.เสนอให้มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ทั้งที่ไม่มีแผนแม่บทชัดเจนเลยว่า การปฏิรูปจะมีเนื้อหาอย่างไร จะดำเนินการได้อย่างไร มีระยะเวลานานเท่าใด และมีกฎหมายอะไรรองรับหรือไม่ ข้อเสนอเรื่องเลื่อนการเลือกตั้งจากฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการเลือก ตั้ง ยังมองข้ามข้อเท็จจริงด้วยว่า ประชาชนส่วนข้างมากของประเทศนั้นสนับสนุนการเลือกตั้ง และต้องการให้มีการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ การที่มวลชนส่วนน้อยพยายามขัดขวางการเลือกตั้งนั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เป็นการชอบที่ กกต.จะต้องแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับคนเหล่านั้น มิใช่โอนอ่อนตามข้อเรียกร้องอันปราศจากหลักการ ไปยอมรับการก่อกวนบ้านเมืองเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติการละเมิดกฎหมายเสียเอง และตราบเท่าที่พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ ยังมีผลบังคับใช้ กกต.ก็จะต้องดำเนินการไปตามนั้น จะบิดพริ้วมิได้

กล่าวโดย สรุปเมื่อมาถึงวันนี้ ก็เห็นได้ชัดว่า การเลื่อนการเลือกตั้งตามข้อเสนอของฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตย แก้ปัญหาอะไรไม่ได้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงจะต้องใช้กลไกทุกอย่างที่เป็นไปได้ ดำเนินการให้มีการเลือกตั้งต่อไปอย่างราบรื่นที่สุด ส่วนในฝ่ายของขบวนการประชาชนมีแต่จะต้องสนับสนุนการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ ให้เดินหน้าต่อไป มิใช่เพื่อเป็นการสนับสนุนนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ หรือ พรรคเพื่อไทย แต่เป็นการปกป้องประชาธิปไตยของประเทศไทยให้เดินหน้าต่อไปตามหลักการอันถูก ต้อง ชอบด้วยหลักประชาธิปไตยแบบสากลนิยม



ที่มา:  โลกวันนี้วันสุข  วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557

การ์ตูน Gag: กำนันนักปฏิรูป

ที่มา Thai E-News

 

โฆษกอียูห่วงไทยบ่อนทำลายโครงสร้างประชาธิปไตย

ที่มา Thai E-News


แถลงการณ์
โดยโฆษกของตัวแทนระดับสูงสหภาพยุโรป แคทธรีน แอสช์ตัน เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในประเทศไทย
 กรุงบรัสเซิล ๓๐ มกราคม ๒๕๕๗
๑๔๐๑๓๐/๐๒


โฆษกของแคทธรีน แอสช์ตัน ตัวแทนระดับสูงของสหภาพสำหรับกิจการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง กับรองประธานของคณะกรรมการ ได้มีแถลงการณ์ในวันนี้ ดังต่อไปนี้
ตัว แทนระดับสูงมีความเสียใจอย่างยิ่งต่อความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทย และยังคงยืนยันในการขอร้องทุกฝ่ายให้หันหน้าเข้าเจรจากันเพื่อแก้ปัญหาขัด แย้ง โดยให้ความเคารพต่อกระบวนการประชาธิปไตยและธำรงไว้ซึ่งหลักนิติธรรม
ในขณะที่เราให้การยอมรับว่านี่เป็นปัญหาที่ประชาชนไทยจะเป็นผู้แก้ไข ตัวแทนระดับสูงมีความกังวลต่อการกระทำใดๆ ที่จะบ่อนทำลายโครงสร้างระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย ประชาชนไทยควรมีเสรีในการใช้สิทธิเลือกตั้งของตนตามระบอบประชาธิปไตย เช่นเดียวกับสิทธิในการประท้วงโดยสันติ
ในช่วงเวลาที่ยากลำบากของประเทศไทยเช่นนี้ มีความจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้สถานการณ์กลับเลวร้ายลงไปมากกว่านี้ ตัวแทนระดับสูงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ได้ใช้ความอดกลั้นอย่างถึงที่สุด อนาคตของประเทศไทยอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของทุกๆ ฝ่าย มีแต่เพียงการเจรจากันระหว่างผู้ได้รับมอบหมายอำนาจกับฝ่ายคัดค้าน ในอันที่จะหาวิธีแก้ไขทางการเมืองอย่างถาวร บนพื้นฐานของหลักการประชาธิปไตย ภายในกรอบของรัฐธรรมนูญเท่านั้น จึงจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้





พท.เรียกร้อง 'วิชา' ถอนตัวไต่สวนจำนำข้าว

ที่มา Voice TV


สมาชิกพรรคเพื่อไทย ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.ขอให้นายวิชา มหาคุณ ถอนตัวจากองค์คณะพิจารณาคดีจำนำข้าว โดยให้เหตุผลว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เป็นกลาง

สมาชิกพรรคเพื่อไทย นำโดยนายชวลิต วิชยสุทธิ์ นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เพื่อคัดค้านการที่นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นส่วนหนึ่งขององค์คณะ ในการไต่สวนคดีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย

ด้วยเหตุผลว่า เนื่องจากนายวิชา มีการกระทำที่เอนเอียง ไม่เป็นกลางอย่างชัดเจน เพราะเคยไปร่วมบรรยายพิเศษ กล่าวสนับสนุนความพยายามล้มล้างรัฐบาล ของกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และตั้งตนเป็นอริกับพรรคเพื่อไทยอย่างชัดเจน จึงขอให้นายวิชา และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาตนเองในการไต่สวนครั้งนี้ด้วย

นอกจากนี้ ยังได้ตั้งข้อสังเกต ต่อการที่ ป.ป.ช.ไม่ยอมดำเนินการใดๆ ต่อกรณีการระบายข้าวไม่โปร่งใส ในโครงการรับประกันราคาข้าวสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสมาชิกพรรคเพื่อไทยได้ดำเนินการยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.มาตั้งแต่ปี 2552 แล้ว แต่กลับไม่มีการเร่งรัดใดๆ เกิดขึ้น กลับมามีการเร่งรัดต่อโครงการของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ซึ่งยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จแทน จึงเป็นที่น่าสังเกต ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. กำลังทำหน้าที่อย่างเป็นกลางหรือไม่
31 มกราคม 2557 เวลา 11:13 น.




ผู้ชุมนุมสนับสนุนเลือกตั้งชายแดนใต้ ทวงคืนบัตรเลือกตั้ง

ที่มา Voice TV


ประชาชนที่สนับสนุนการเลือกตั้งในจังหวัดชายแดนใต้ แสดงพลังทวงบัตรเลือกตั้งคืนจากผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล เพราะต้องการใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้
 
คุณเขมินท์  เกื้อกูล วีรีพอร์ต จังหวัดปัตตานี รายงานประชาชนที่สนับสนุนการเลือกตั้งในจังหวัดชายแดนใต้ แสดงพลังทวงบัตรเลือกตั้งคืนจากผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล เพราะต้องการใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ 
 
ประชาชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส  และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วยประชาชน  ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น เปิดเวทีปราศรัย  หน้าศูนย์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้าน  การกระทำของผู้ชุมนุมกลุ่มกปปส. ที่ขัดขวางการเลือกตั้ง
 
โดยมีสมาชิกกลุ่มวาดะห์ เช่น
- นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา 
- นายมุข สุไลมาน 
- นายนัจมุดดิน อูมา 
- นายบือราฮานฮุดดีน  ฮูเซ็ง อดีต ส.ส.  
และผู้สมัคร ส.ส.จากหลายพรรคการเมือง เข้าร่วมชุมนุมและรับฟังปราศรัยในครั้งนี้
 
ซึ่งพวกเขาเปิดเผยว่า ต้องการแสดงจุดยืนสนับสนุนการเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้ (2 ก.พ.57) และต้องการให้กลุ่มผู้ชุมนุม ที่กักบัตรลงคะแนนเลือกตั้งไว้  ณ ที่ทำการไปรษณีย์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ส่งคืนบัตรให้ กกต. ได้กระจายไปยังหน่วยเลือกตั้งต่างๆ พวกเขายังประกาศอีกว่า จะยกระดับการชุมนุม หากยังไม่ได้รับบัตรลงคะแนนเลือกตั้งคืน รวมทั้งย้ำว่า หากการเลือกตั้งมีปัญหา จะส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
 
นอกจากนี้ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา  ยังใช้เวทีนี้  ประกาศขอเป็นผู้นำในการชนกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่ม กปปส. ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ (31 ม.ค.57) จะมีตัวแทนกลุ่ม เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกผ่าน นายวิทยา พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เรียกร้องให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  เร่งหามาตรการนำส่งบัตรลงคะแนนเลือกตั้งมาให้ทันการเลือกตั้งวันอาทิตย์ นี้ 
31 มกราคม 2557 เวลา 13:51 น.

ศาลแพ่งสั่งยึดทรัพย์ 'สุพจน์ ทรัพย์ล้อม'

ที่มา Voice TV

 ศาลแพ่งสั่งยึดทรัพย์ 'สุพจน์ ทรัพย์ล้อม'


ศาลแพ่งสั่งยึดทรัพย์ "สุพจน์ ทรัพย์ล้อม"  อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม กับพวกรวม 7 คน 46 ล้าน ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน  ระบุไม่มีหลักฐานมาแสดงยืนยันที่มาที่ไปของทรัพย์ได้  ข้อต่อสู้เลื่อนลอย ไม่มีน้ำหนัก
 
 
       
ศาลแพ่ง รัชดา อ่านคำสั่งคดียึดทรัพย์ ที่อัยการสูงสุด ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม  กับพวกซึ่งเป็นเครือญาติรวม  7 คน อาทิ เงินสด  เงินฝากในธนาคาร 9 บัญชี เงินฝากในสหกรณ์ออมทรัพย์กรมทางหลวง  โฉนดที่ดินย่านต่าง ๆ  ทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด บ้านพัก  รถยนต์   ห้องชุด รวมมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน  ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ตรวจสอบทรัพย์สินแล้วชี้มูลความผิดว่า นายสุพจน์มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ โดยไม่สามารถชี้แจงที่มาของทรัพย์สินต่างๆได้  
        
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจากเหตุการณ์ เมื่อคืนวันที่ 12 พ.ย.54 มีคนร้าย 8 คน บุกเข้าปล้นบ้านนายสุพจน์  ซ.ลาดพร้าว 64 และถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมได้เข้าเบิกความยืนยันในทิศทางเดียวกันว่า  ทรัพย์ทั้งหมดได้มาจากการปล้นทรัพย์ ซึ่งมีสมเหตุสมผล และน่าเชื่อถือ เพราะปกติแล้วจะไม่มีคนร้ายคนใดไปขวนขวาย แสวงทรัพย์สินอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง และยังต้องคืนให้แก่ผู้เสียหาย กรณีจึงยังไม่มีเหตุผลและความจำเป็นที่เจ้าพนักงานตำรวจและคนร้าย จะร่วมมือกันบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์ของกลาง
 
นอกจากนี้จากการรับฟังการไต่สวนพยานฝ่ายนาย สุพจน์ ผู้คัดค้าน กับพวกแล้ว ล้วนแต่เป็นพยานผู้ใกล้ชิดมีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเบิกความ ลอย ๆ ปราศจากหลักฐาน ขัดต่อเหตุผลหลายประการ  รวมทั้งการโต้แย้งและคัดค้านของนายสุพจน์ไม่อาจจะนำมารับฟังได้
 
จึงพิพากษาว่า ให้ทรัพย์สินรวม 19 รายการ รวมมูลค่าทั้งสิ้นจำนวน 46,141,038 .83 บาท ของนายสุพจน์  กับพวก พร้อมดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินที่เกิดขึ้นตกเป็นของแผ่นดินให้นายสุพจน์ ส่งมอบทรัพย์สิน และเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมดอกผลให้แก่แผ่นดินโดยผ่านกระทรวงการคลัง หากไม่สามารถดำเนินการให้ทรัพย์สินใดได้แก่แผ่นดิน ให้นายสุพจน์ ชดใช้เงินหรือโอนทรัพย์สินตามจำนวนมูลค่าที่ยังขาดอยู่แก่
31 มกราคม 2557 เวลา 14:16 น.

เราไม่ใช่มวลมหา ประชาชน ยุติความรุนแรง ไปเลือกตั้ง

ที่มา Thai E-News



เครดิตให้คุณยุทธจักร ดำสุวรรณ คนทำคลิป


ภาพขนาดย่อ

BBC News Thailand election Final preparations for controversial poll 2

ที่มา Thai Free News



ฝากเตือนท่านที่สนับสนุนกปปส. การบล็อกการเลือกตั้ง 

ไม่ได้เป็นคุณประโยชน์ใด ๆ เลยกับขบวนการของท่าน 

ไม่ต้องส่งจดหมายไปอธิบายถึงประธานาธิบดีอเมริกาหรอกครับ 

เอาแค่คนธรรมดาอย่างคุณสุวินันท์ก็รู้แล้วว่า มันไม่ถูกต้อง


John Sudworth, BBC รายงานจากกรุงเทพฯ แดนนรกสำหรับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 

ผมไม่ได้โม้ แต่จอห์นเขาสัมภาษณ์คุณวชิระ เกตุอร่าม รองผู้อำนวยการเขตบางกะปิ 

ซึ่งบอกว่า “การเตรียมพร้อมตอนนี้คือ ทางทหารกับสน.ในพื้นที่เรา 

ได้มีการพูดคุยกันเพื่อวางยุทธศาสตร์ต่าง ๆ การป้องกันการดูแลเรื่องการพกอาวุธ 

(มาในที่เลือกตั้ง)” ครับ อันตรายจริง ๆ อย่าไปเลยเมืองบางกอก 

จอห์นยังสัมภาษณ์คณสุวินันท์ ชัยปราโมทย์ 46 ปี วีรสตรีที่ฝ่าด่านอรหันต์เข้าไปเลือกตั้งได้ 


คุณเอ๋บอกว่า “ดิฉันเป็นคนธรรมดา ดิฉันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมือง 

ดิฉันแค่ต้องการปกป้องสิทธิการเลือกตั้งของตัวเอง” (“I am just an ordinary woman, 

she insists. I am not involved in politics. I just wanted to protect my right to vote.”)

จอห์นเตือนผู้ชุมนุมด้วยว่า การเข้าไปขัดขวางตามคูหาเลือกตั้งต่าง ๆ 


มันไม่ได้เป็นการพีอาร์ประชาสัมพันธ์ที่ดีงามอะไรหรอก ที่พวกเขาประกาศว่า

จะไม่ขวางการเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้น่ะดีแล้ว เขาสรุปท้ายข่าวด้วยการบอกว่า 

“การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้เป็นแค่การเลือกตั้งธรรมดา แต่สะท้อนถึงสภาพของประชาธิปไตย

ที่กำลังอยู่ในสภาพง่อนแง่นเต็มที” (This is now about just much more 

than one election. It’s democracy itself that hangs in balance.)

ฝากเตือนท่านที่สนับสนุนกปปส. การบล็อกการเลือกตั้ง ไม่ได้เป็นคุณประโยชน์ใด ๆ 


เลยกับขบวนการของท่าน ไม่ต้องส่งจดหมายไปอธิบายถึงประธานาธิบดีอเมริกาหรอกครับ 

เอาแค่คนธรรมดาอย่างคุณสุวินันท์ก็รู้แล้วว่า มันไม่ถูกต้อง‪#‎respectmyvote‬



<<  CR.Pipob Udomittipong

 ภาพขนาดย่อ