เรื่องดีคือ ทำให้ได้บทเรียนในเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน
เรื่องไม่ดีคือ ทำให้ต้องเสียเวลา เสียทรัพยากรกับเรื่องซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นระหว่างไทยกับกัมพูชาซึ่งเป็นมิตรกันมาอย่างยาวนาน
ความจริง ความขัดแย้งเมื่อปี 2505 สามารถสมานได้ระดับหนึ่งด้วยกาลเวลา
ในต้นรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อาจมีเรื่องล่อแหลมด้วยความเข้าใจผิดกระทั่งมีการบุกสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ
แต่ก็สามารถคลี่คลายได้ด้วยเวลาอันรวดเร็ว
สัมพันธ์ นั้นดำเนินไปอย่างสันถวมิตรสนิทสนมมาโดยตลอด แต่ก็เกิดความร้าวฉานขึ้นเมื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปะทะบริเวณชายแดน
และเรื่องก็ไปยัง "ศาลโลก" อีก
นับ แต่สถานการณ์เมื่อปี 2505 เป็นต้นมา รัฐบาลทุกรัฐบาลล้วนประคองสถานการณ์ให้ดำเนินไปโดยราบรื่น จำกัดกรอบของความขัดแย้งให้น้อยที่สุด
มีก็แต่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เท่านั้นที่เก่งกล้าสามารถ
ไม่เพียงแต่จะแต่งตั้งบุคคลที่เคยเรียกขานนายกรัฐมนตรีกัมพูชาว่าเป็นกุ๊ยให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หากยังนำไปสู่การปะทะกันบริเวณชายแดน บาดเจ็บ ล้มตาย
หาก ยังขยายความขัดแย้งจากทวิภาคีให้กลายเป็นเรื่องที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสห ประชาชาติต้องลงมาไกล่เกลี่ย และมีมติมอบให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ 3 เข้ามาเป็นเหมือนกันชนในเขาควาย
เรื่อง "บานปลาย" ไปจนถึง "ศาลโลก"
เบื้องหน้าปัญหารัฐบาลไทยในยุค น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พยายามบริหารจัดการปัญหาบนพื้นฐานแห่งความเป็นมิตร
หลีกเลี่ยงการขัดแย้ง หลีกเลี่ยงการปะทะด้วยกำลัง
กับ ปัญหาเก่าอันตกค้างมาจาก "อดีต" รัฐบาลไทย รัฐบาลกัมพูชา เพียรอย่างเต็มเรี่ยวแรงเพื่อรับมือให้คลี่คลายอย่างราบรื่นที่สุดเท่าที่จะ เป็นได้
กระนั้น ก็ต้องยอมรับว่ามีคนไม่อยากให้ปัญหาจบลงอย่างราบรื่น
มี บางคน บางกลุ่ม บางฝ่าย อยากให้ปัญหานี้จบลงอย่างไม่ราบรื่น เพื่อที่จะได้อาศัยเงื่อนปมนี้ไปเคลื่อนไหวทางการเมืองให้เป็นประโยชน์เฉพาะ หน้าของตน
นั่นก็คือ "โค่น" รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์"
วิถีดำเนินของสถานการณ์จะค่อยๆ คลี่คลาย ขณะเดียวกัน ก็ให้การศึกษาแก่ประชาชนเป็นอย่างสูง
ทำ ให้รู้ว่า 1 ใครเป็นคนทำให้เกิดปัญหาบานปลายกระทั่งต้องไปศาลโลก ทำให้รู้ว่า 1 ใครไม่อยากให้เรื่องจบลงอย่างสันติและสงบสุขระหว่างสองฝ่าย
"บทเรียน" นี้ล้ำค่าต่อ "ประชาชน"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น