
อันเนื่องมาแต่เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ นายกรัฐมนตรีรักษาการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงข้อความบนหน้าเฟชบุ๊คว่า
"ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าถึงเวลาที่เราต้องช่วยกันพัฒนากลไกที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศให้เกิดขึ้น ในโอกาสนี้ดิฉันจึงใคร่ขอเสนอรูปแบบองค์กรที่จะจัดตั้งขึ้นรูปแบบหนึ่ง โดยอาจจะเรียกว่าเป็น 'สภาปฏิรูปประเทศ' และขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงภาระ กิจการปฏิรูปประเทศที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย และเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะต้องช่วยกันทำให้การปฏิรูปประเทศครั้งนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชน เพื่อสังคมที่สงบสันติ มีความปรองดอง รักและสามัคคี และเพื่ออนาคตของลูกหลานของเราต่อไป"
จากนั้นได้มีนักวิชาการ และนักกฏหมายหลายท่านแสดงความไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งสภาปฏิรูปดังกล่าว
เพื่อ ที่จะให้ประชาชนทั่วไปได้พิจารณาถึงความเหมาะสมในหลักการว่ามีเพียงใด อย่างกว้างขวางสมกับเจตนาในทางยึดมั่นวิธีการประชาธิปไตย และการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ เราจึงนำความเห็นแย้งมาเสนอในที่นี้ ๓ รายด้วยกัน ดังนี้
๑. สุธา ยิ้ม
ผมได้ตอบคำถามกับผู้สื่อข่าวไปแล้วว่า ไม่อาจจะเห็นด้วยกับสภาปฏิรูปประเทศ ที่นายกรัฐมนตรีเสนอ เพราะไม่รู้ว่ายืนอยู่บนหลักการอะไร เป็นประชาธิปไตยแบบไทย

เหตุผลที่สองก็คือ เราพูดกันเรื่องการปฏิรูป แต่ไม่ได้พูดเรื่องเนื้อหาการปฏิรูป ซึ่งสำหรับผมแล้ว หมายถึงการทำให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ให้ประชาชนมีอธิปไตยอันแท้จริง ซึ่งอาจหมายรวมถึงการปฏิรูปศาล กองทัพ และแก้รัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ แต่การปฏิรูปแบบคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ คงมีเนื้อหาตรงข้าม คุณบรรหาร ศิลปอาชา หรือคุณชูวิทย์ ก็อาจมีแนวคิดปฏิรูปแบบของตน ปัญหาคือ เราจะปฏิรูปตามเนื้อหาแบบไหน
ก็นี่ไงครับ เราต้องเสนอสู่พรรคการเมือง แล้วให้ประชาชนเป็นคนเลือกตามกระบวนการเลือกตั้ง หรือให้สภาผู้แทนที่เลือกมาจากราษฎรเป็นผู้พิจารณา จะมาตั้งเป็น ๘ อรหันต์ ๑๑ อรหันต์เพื่อปฏิรูปประเทศคงไม่ถูก
เหตุผลที่สาม ประเทศไทยอยู่ในกระแสการเมืองโลกที่ก้าวไปสู่ประชาธิปไตย แต่มีพวกปฏิปักษ์ประชาธิปไตยพยายามเหนี่ยวรั้ง แล้วทำให้เกิดสภาอะไรหน้าตาแปลกอยู่เสมอ เพื่อจะเบี่ยงเบนประชาธิปไตย ถ้าเรายอมตาม อนาคตข้างหน้าเราจะอธิบายกันอย่างไร
ผมคิดว่าจุดยืนและข้อเสนอในทางประชาธิปไตยของกลุ่มนักวิชาการ สปป. เป็นเรื่องที่ชัดเจน ถูกต้องตามหลักการสากล ควรที่รัฐบาลจะรับพิจารณา และต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ตามกติกา โดยยืนหยัดไม่ยอมตามข้อเสนอที่ไร้หลักการ มิฉะนั้น ก็ไม่ต่างจากอีกฝ่ายหนึ่งที่เราโจมตีว่าเสนออะไรไม่มีหลักการ
ก็คงจะท้วงกันฉันมิตรแบบนี้แหละครับ

นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา โพสต์เฟซบุ๊ก ยันสภาปฏิรูปประเทศตามที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เสนอ ไม่มีทางเกิดขึ้นได้เพราะฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
เมื่อเวลาประมาณ 15.55
น. วันนี้ (25 ธันวาคม 2556) นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นกรณี
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี
ได้แถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เสนอตั้งสภาปฏิรูปประเทศ
เพื่อให้สถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะสงบโดยเร็ว โดยชี้ว่า สภาปฏิรูปดังกล่าว
ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง เพราะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ดังนี้
".....วันนี้ที่
25 ธันวาคม 2556 เวลา 11.30 นาฬิกา
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และ
รมว.กลาโหม ออกแถลงการณ์หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี
โดยเสนอให้มีการตั้งสภาปฏิรูปประเทศ
โดยคณะกรรมการจะไม่มีคนของรัฐบาลเกี่ยวข้อง
แต่จะเป็นเพียงคนคอยประสานเท่านั้น
โดยเริ่มจากการสรรหาตัวแทนจากภาคประชาชนจากสาขาอาชีพต่างๆ
จำนวน 2,000 คน แล้วคัดเลือกมา 499 คน
และสรรหาคณะกรรมการคัดเลือกจำนวน 11 คนจากหน่วยงานทหาร,
หัวหน้าส่วนราชการ, ผบ.เหล่าทัพ, ปลัดกระทรวง, เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
อธิการบดีมหาวิทยาลัย, ประธานหอการค้า,
ประธานอุตฯ, ประธานสมาคมธนาคาร ซึ่งจะทำควบคู่ไปกับการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อแก้การเมืองขัดแย้ง
.....ผู้ที่เขียนคำแถลงการณ์ให้นางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร อ่าน น่าจะไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญ หรืออ่านแล้วแต่ไม่ได้สนใจที่จะยึดถือปฏิบัติ
.....รัฐธรรมนูญ
มาตรา 181 บัญญัติว่า
คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตําแหน่งต้องอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจน
กว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
แต่ในกรณีพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา 180 (2) คืออายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จําเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด
ดังต่อไปนี้
.......(1) ฯลฯ
.......(2) ไม่กระทําการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสํารองจ่ายเพื่อกรณี
ฉุกเฉินหรือ จําเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
.......(3) ไม่กระทําการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ
หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
.......(4) ฯลฯ
.....การจะตั้งสภาปฏิรูปประเทศตามที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลง เมื่อตั้งขึ้นแล้วจะต้องใช้เวลาปฏิบัติหน้าที่ไม่น้อยกว่า
1 ปี
ย่อมมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
ทั้งต้องมีผลให้ต้องอนุมัติงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงาน
ของสภาปฏิรูปประเทศด้วย
.....ดังนั้นจึงเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา
181(3) และ (2)
.....เมื่อเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
จึงไม่สามารถกระทำได้
(เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng )
๓. พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อโต้แย้งการตราพระราชกำหนดว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง
25 ธันวาคม, 2013 - 00:25 | โดย Phuttipong
ขณะนี้มีข้อเสนอของ TDRI[๑] และนักกฎหมายบางคน[๒] เสนอให้รัฐบาลตราพระราชกำหนดจัดตั้งองค์กรปฏิรูปการเมืองก่อนจัดให้มีการเลือกตั้ง ผมจะรอดูว่า "รัฐบาลซึ่งถอยทะลุซอยมาแล้วนั้น จะถอยอีกหรือไม่" และถ้ามีการ "ถ อ ย" อีกในคราวนี้ ต่อไปพวกคุณจะทำบ้าทำบออะไรอีกก็เชิญเลย!
การเสนอให้ตราพระราชกำหนดนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[๓] ลักษณะ
ของการตราพระราชกำหนดนั้นจะต้องเป็นกรณีที่เกิดภยันตรายขึ้นแล้วและไม่ปรากฏ
ว่ามีกฎหมายในระบบกฎหมายขณะนั้นที่จะใช้ระงับภยันตรายเช่นว่านั้นได้
กล่าวคือ เป็นภยันตรายในลักษณะที่ออกกฎหมายบังคับใช้ก่อนมิได้
หรือไม่ทันการนั่นเอง
และพระราชกำหนดที่ตราขึ้นนั้นต้องตราขึ้นเพื่อให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐใน
อันที่จะมีเครื่องไม้เครื่องมือในการระงับภยันตรายที่เกิดขึ้นนั่นเอง
มิใช่ว่าเกิดภยันตรายอะไรขึ้นก็จะตราพระราชกำหนดอะไรขึ้นก็ได้
ขณะนี้เกิดกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณขึ้น ระบบกฎหมายนั้น "มีมาตรการ" กำจัดภยันตรายของกบฏอยู่เพียงพอแล้ว "ภยันตราย" กับ "มาตรการที่ใช้" ต้อง adequate กัน จะเห็นได้ว่าการตราพระราชกำหนดจัดตั้งองค์กรปฏิรูปการเมือง (หรือทำนองเดียวกัน) ไม่ใช่เป็นไปเพื่อให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการระงับการก่อกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ และไม่ใช่มาตรการที่เป็นประโยชน์ให้บรรลุเจตนารมณ์ในการระงับภัยเช่นว่านั้น กล่าวคือ นอกจากรัฐจะมีมาตรการทางกฎหมายอย่างเพียงพอในการกำจัดกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณแล้ว การตั้งสภาปฏิรูปฯ ก็ไม่ใช่มาตรการที่ทำให้การชุมนุมของกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ ระงับสิ้นลงด้วย
หลักการดังกล่าวยังปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขและแบบพิธีในการตราพระราชกำหนดไว้ ๓ ประการ ดังนี้
ประการที่ ๑. การตราพระราชกำหนดจะกระทำได้ก็แต่เฉพาะเพื่อรักษาความปลอดภัยประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ
คำว่า "เพื่อรักษาความปลอดภัยประเทศ" หมายถึง ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะทำการขับไล่ศัตรูหรือระงับปราบปรามในสงคราม
คำว่า "เพื่อรักษาความปลอดภัยสาธารณะ" หมายถึง ได้มีภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยขึ้น เช่น เกิดการกบฏ หรือจลาจล และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะปราบปรามคณะผู้ก่อการกบฏหรือการจลาจล
คำว่า "เพื่อรักษาความมั่นคงในเศรษฐกิจของประเทศ" หมายถึง ภยันตรายคุกคามประเทศในทางเศรษฐกิจ เช่น ฐานะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์ในอันที่พยุงฐานะในทางเศรษฐกิจของประเทศ
คำว่า "เพื่อปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ" หมายถึง ได้มีภัยพิบัติสาธารณะเกิดขึ้นแล้ว และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะขจัดภัยพิบัตินั้นให้หมดสิ้นไป
ประการที่ ๒. พระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นใช้บังคับนั้นจะต้องกำหนดมาตรการที่เป็นประโยชน์แก่การให้บรรลุเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายในประการที่ ๑. ถ้ามาตรการที่พระราชกำหนดนั้นได้กำหนดไว้ไม่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินการให้บรรลุเจตนารมณ์เช่นว่านี้เลย พระราชกำหนดฉบับนั้นก็ "ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่ง" (ขัดรัฐธรรมนูญฯ นั่นเอง)
"ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะ..." แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า มาตรการในพระราชกำหนดต้องเป็นมาตรการที่ประจักษ์แก่วิญญูชนว่าสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น ภยันตรายที่เกิดขึ้นคือ กบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ มาตรการที่พระราชกำหนดนั้นใช้คือ การตั้งสภาปฏิรูปการเมือง (เพื่อตรวจสอบรัฐบาล และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ) ย่อมไม่ใช่มาตรการที่จะทำให้การกบฏนั้นหมดสิ้นลงในสายตาวิญญูชน
"การตราพระราชกำหนด...ให้กระทำได้เฉพาะ...เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้" แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า การตราพระราชกำหนดนั้นเพ่งไปยัง "ภยันตราย" ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หาใช่เพ่งไปยังมาตรการหรือความมุ่งหมายที่จะ "ก่อตั้งมาตรการ" ขึ้นตามอำเภอใจ โดยอาศัยเหตุ "ภยันตราย" เป็นเพียงข้ออ้างไม่
การปฏิรูปการเมืองนั้น ไม่ใช่มาตรการที่จะใช้สำหรับภยันตรายที่เป็น "กรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้" แต่อย่างใด
ประการที่ ๓. การตราพระราชกำหนดนั้นเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีก็จริงอยู่ แต่รัฐธรรมนูญฯ กำหนดโดยชัดแจ้งว่าต้องมี "สภาผู้แทนราษฎร" และ "วุฒิสภา" ให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติพระราชกำหนด "โดยไม่ชักช้า" หากอยู่นอกสมัยประชุมสภา คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญโดยไม่ชักช้า
ขณะนี้อยู่ในระหว่าง "ยุบสภาผู้แทนราษฎร" เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ขณะนี้ไม่มี "สภาผู้แทนราษฎร"
จากประการที่ ๑-๓ ที่อธิบาย จะเห็นได้ว่า การตราพระราชกำหนดปฏิการเมืองนั้น (หรือทำนองเดียวกัน) ไม่เข้าเงื่อนไขการตราพระราชกำหนด และเป็นโมฆะ จะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างความเป็นโมฆะขึ้นเมื่อใดก็ได้
นอกจากการตราพระราชกำหนดนั้นขัดรัฐธรรมนูญฯแล้ว จุดมุ่งหมายของการปฏิรูปนั้น ไม่มี consensus ว่าจะปฏิรูปอะไร และนำไปสู่เป้าหมายคืออะไร และ consensus ของใคร? ต่างฝ่ายต่างมี "มโนทัศน์" เป็นของตนเอง เช่น กปปส. ต้องการปฏิรูปการเลือกตั้งให้ ๑ คนมีสิทธิเลือกตั้งไม่เท่ากัน หรือก่อตั้งสภาของสุเทพเพื่อชี้นำอำนาจทั้งปวงในรัฐ เป็นต้น แต่ไม่ยอมให้ "ประชาชนแสดงเจตจำนง" เลือกว่าจะปฏิรูปในกรอบเพียงใด ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดคือการเลือกตั้งและประชาชนจะเลือกตามนโยบายพรรคการเมือง
ทั้งสภาวิชาชีพก็ปรากฏให้เห็นในสภาพัฒน์ฯ ซึ่งมีผลงานที่ประสบความล้มเหลวเพียงใดเป็นที่ประจักษ์กันอยู่แล้ว
ขณะนี้เกิดกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณขึ้น ระบบกฎหมายนั้น "มีมาตรการ" กำจัดภยันตรายของกบฏอยู่เพียงพอแล้ว "ภยันตราย" กับ "มาตรการที่ใช้" ต้อง adequate กัน จะเห็นได้ว่าการตราพระราชกำหนดจัดตั้งองค์กรปฏิรูปการเมือง (หรือทำนองเดียวกัน) ไม่ใช่เป็นไปเพื่อให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการระงับการก่อกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ และไม่ใช่มาตรการที่เป็นประโยชน์ให้บรรลุเจตนารมณ์ในการระงับภัยเช่นว่านั้น กล่าวคือ นอกจากรัฐจะมีมาตรการทางกฎหมายอย่างเพียงพอในการกำจัดกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณแล้ว การตั้งสภาปฏิรูปฯ ก็ไม่ใช่มาตรการที่ทำให้การชุมนุมของกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ ระงับสิ้นลงด้วย
หลักการดังกล่าวยังปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขและแบบพิธีในการตราพระราชกำหนดไว้ ๓ ประการ ดังนี้
ประการที่ ๑. การตราพระราชกำหนดจะกระทำได้ก็แต่เฉพาะเพื่อรักษาความปลอดภัยประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ
คำว่า "เพื่อรักษาความปลอดภัยประเทศ" หมายถึง ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะทำการขับไล่ศัตรูหรือระงับปราบปรามในสงคราม
คำว่า "เพื่อรักษาความปลอดภัยสาธารณะ" หมายถึง ได้มีภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยขึ้น เช่น เกิดการกบฏ หรือจลาจล และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะปราบปรามคณะผู้ก่อการกบฏหรือการจลาจล
คำว่า "เพื่อรักษาความมั่นคงในเศรษฐกิจของประเทศ" หมายถึง ภยันตรายคุกคามประเทศในทางเศรษฐกิจ เช่น ฐานะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์ในอันที่พยุงฐานะในทางเศรษฐกิจของประเทศ
คำว่า "เพื่อปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ" หมายถึง ได้มีภัยพิบัติสาธารณะเกิดขึ้นแล้ว และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะขจัดภัยพิบัตินั้นให้หมดสิ้นไป
ประการที่ ๒. พระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นใช้บังคับนั้นจะต้องกำหนดมาตรการที่เป็นประโยชน์แก่การให้บรรลุเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายในประการที่ ๑. ถ้ามาตรการที่พระราชกำหนดนั้นได้กำหนดไว้ไม่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินการให้บรรลุเจตนารมณ์เช่นว่านี้เลย พระราชกำหนดฉบับนั้นก็ "ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่ง" (ขัดรัฐธรรมนูญฯ นั่นเอง)
"ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะ..." แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า มาตรการในพระราชกำหนดต้องเป็นมาตรการที่ประจักษ์แก่วิญญูชนว่าสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น ภยันตรายที่เกิดขึ้นคือ กบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ มาตรการที่พระราชกำหนดนั้นใช้คือ การตั้งสภาปฏิรูปการเมือง (เพื่อตรวจสอบรัฐบาล และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ) ย่อมไม่ใช่มาตรการที่จะทำให้การกบฏนั้นหมดสิ้นลงในสายตาวิญญูชน
"การตราพระราชกำหนด...ให้กระทำได้เฉพาะ...เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้" แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า การตราพระราชกำหนดนั้นเพ่งไปยัง "ภยันตราย" ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หาใช่เพ่งไปยังมาตรการหรือความมุ่งหมายที่จะ "ก่อตั้งมาตรการ" ขึ้นตามอำเภอใจ โดยอาศัยเหตุ "ภยันตราย" เป็นเพียงข้ออ้างไม่
การปฏิรูปการเมืองนั้น ไม่ใช่มาตรการที่จะใช้สำหรับภยันตรายที่เป็น "กรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้" แต่อย่างใด
ประการที่ ๓. การตราพระราชกำหนดนั้นเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีก็จริงอยู่ แต่รัฐธรรมนูญฯ กำหนดโดยชัดแจ้งว่าต้องมี "สภาผู้แทนราษฎร" และ "วุฒิสภา" ให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติพระราชกำหนด "โดยไม่ชักช้า" หากอยู่นอกสมัยประชุมสภา คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญโดยไม่ชักช้า
ขณะนี้อยู่ในระหว่าง "ยุบสภาผู้แทนราษฎร" เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ขณะนี้ไม่มี "สภาผู้แทนราษฎร"
จากประการที่ ๑-๓ ที่อธิบาย จะเห็นได้ว่า การตราพระราชกำหนดปฏิการเมืองนั้น (หรือทำนองเดียวกัน) ไม่เข้าเงื่อนไขการตราพระราชกำหนด และเป็นโมฆะ จะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างความเป็นโมฆะขึ้นเมื่อใดก็ได้
นอกจากการตราพระราชกำหนดนั้นขัดรัฐธรรมนูญฯแล้ว จุดมุ่งหมายของการปฏิรูปนั้น ไม่มี consensus ว่าจะปฏิรูปอะไร และนำไปสู่เป้าหมายคืออะไร และ consensus ของใคร? ต่างฝ่ายต่างมี "มโนทัศน์" เป็นของตนเอง เช่น กปปส. ต้องการปฏิรูปการเลือกตั้งให้ ๑ คนมีสิทธิเลือกตั้งไม่เท่ากัน หรือก่อตั้งสภาของสุเทพเพื่อชี้นำอำนาจทั้งปวงในรัฐ เป็นต้น แต่ไม่ยอมให้ "ประชาชนแสดงเจตจำนง" เลือกว่าจะปฏิรูปในกรอบเพียงใด ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดคือการเลือกตั้งและประชาชนจะเลือกตามนโยบายพรรคการเมือง
ทั้งสภาวิชาชีพก็ปรากฏให้เห็นในสภาพัฒน์ฯ ซึ่งมีผลงานที่ประสบความล้มเหลวเพียงใดเป็นที่ประจักษ์กันอยู่แล้ว
ข้อพิจารณา การ
ปฏิรูปการเมืองนั้นย่อมมีวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ
ซึ่งกฎเกณฑ์ในทางกฎหมายที่จะ "เปลี่ยนโครงสร้างอำนาจรัฐ"
ต้องกระทำในระดับรัฐธรรมนูญ โดยตราเป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หากมี
"ใคร" เสนอให้ตรากฎหมายศักดิ์ต่ำกว่า "รัฐธรรมนูญ" เช่น
ตราเป็นพระราชกำหนดก็ดี นั่นคือการใช้ให้รัฐบาลกระทำรัฐประหารตนเอง
แล้วผสมโรงกับศาลรัฐธรรมนูญที่จะชี้ว่าพระราชกำหนดที่จะเปลี่ยนแปลงโครง
สร้างอำนาจรัฐไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
เช่นนี้เข้าสูตรรัฐประหารสำเร็จ และเป็นการทำให้ "มีผลบังคับ"
ของประกาศคณะรัฐประหารในรูป "พระราชกำหนด"
ด้วยการยืนยันความสมบูรณ์โดยศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อเสนอของ TDRI อาจกระทำได้ในรูปของ
"คณะกรรมการธรรมดา" ซึ่งมีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ โดยไม่ตรากฎหมายรองรับ
ที่สุดคือเท่านี้ครับ
บทส่งท้าย
รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ทำความผิดพลาดครั้งมหันต์มาหลายครั้งแล้วในการ
"ละเมิดหลักการ" และ "ขัดรัฐธรรมนูญ" นับแต่คราว พรบ.เหมาเข่ง, การถอนร่างรัฐธรรมนูญฯ
คืนมาจากกษัตริย์ ซี่งจะทำลายบูรณภาพของอำนาจตามรัฐธรรมนูญในภายหน้าซึ่งจะได้เห็นอีกไม่ช้านานนี้
---
ในคราวนี้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะทำ
"ละเมิดหลักการ" และ "ขัด
รัฐธรรมนูญ" โดยเลื่อนวันเลือกตั้ง หรือตั้งสภาหรือคณะกรรมการปฏิรูป/คนกลาง
ก่อนการเลือกตั้งซ้ำรอยเดิมอีกหรือไม่
และการยินยอมเกี้ยเซี้ยคราวนี้อีกก็จะเป็นอนันตริยกรรมของรัฐบาลพรรคเพื่อ
ไทยที่ไม่รักษาการเลือกตั้งไว้
และการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปฯ โดยมีคนกลางต่างๆ ประกอบด้วยวิชาชีพใดๆ นั้น
ในท้ายที่สุดจะแปลงร่างไปเป็นอะไรอีกก็สุดจะหยั่งถึง
นับวันรัฐบาลก็ถอยออกจากหลักการไปเรื่อยๆ
หากปล่อยให้ "กบฏ" หรือ "ความคิดของฝ่ายกบฏ" มาชี้นำหรือโค่นการเลือกตั้ง
ย่อมเป็นการขุดหลุมฝังรัฐบาลเอง และให้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญเข้ามาจราจรในระบบรัฐธรรมนูญเยี่ยงการรัฐประหารอีก
ครั้ง และหากไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น คนที่ "ก่อความผิดร้ายแรงที่สุด"
ก็คือรัฐบาลพรรคเพื่อไทย.
_________________
_________________
เชิงอรรถ
[๑] สมเกียรติ
ตั้งกิจวานิชย์: ข้อเสนอต่อกระบวนการปฏิรูปประเทศไทย http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50633[๒] Siripan Nogsuan Sawasdee
http://www.facebook.com/siripan.nogsuansawasdee/posts/764618386889483
[๓] รัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๘๔ บัญญัติว่า "ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
การตราพระราชกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็น รีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น