แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562

04 - บทสวดอริยมรรค ข้อปฏิบัติอันไม่เสื่อม mp3

ที่มา Downmerng Ar

ประโยชน์ของการสาธยายธรรม
๑, เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม
(หนึ่งในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕.
๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ (หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.
๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต
ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๗๓.
๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ
ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒.
๕. ทำให้ไม่เป็นมลทิน
อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕..
๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน (หนึ่งในห้าบริขารของจิต)
มู. . ๑๓/๕๐๐/๗๒๘.
. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้
(หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง)

สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๓/๕๘.

บทสวด อริยมรรคมีองค์แปด
กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี
ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือหนทาง
เป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
เป็นอย่างไรเล่า
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค
เสยยะถีทัง
คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปด
อันประเสริฐนี้เอง องค์แปด คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว
วาจาชอบ การงานชอบ อาชีวะชอบ
สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ
ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ
ความตั้งใจมั่นชอบ
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย ความเห็นชอบเป็นอย่างไร
ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง
ภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์
ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง
ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
ทุกขะนิโรเธ ญาณัง
ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณัง
ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับ
ไม่เหลือแห่งทุกข์
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป
ภิกษุทั้งหลาย ความดำริชอบ เป็นอย่างไร
เนกขัมมะสังกัปโป
ความดำริในการออกจากกาม
อัพ๎ยาปาทะสังกัปโป
ความดำริในการไม่พยาบาท
อะวิหิงสาสังกัปโป
ความดำริในการไม่เบียดเบียน
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา
ภิกษุทั้งหลาย วาจาชอบเป็นอย่างไร
มุสาวาทา เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น จากการพูดเท็จ
ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น จากการพูดยุให้แตกกัน
ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น จากการพูดหยาบ
สัมผัปปะลาปา เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
ภิกษุทั้งหลาย การงานชอบเป็นอย่างไร
ปาณาติปาตา เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น จากการฆ่าสัตว์
อะทินนาทานา เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น
จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น
จากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า การงานชอบ
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว
ภิกษุทั้งหลาย อาชีวะชอบเป็นอย่างไร
อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก
มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย
สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ
สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม
ภิกษุทั้งหลาย ความเพียรชอบเป็นอย่างไร
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ อะนุปปันนานัง
ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง
อะนุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ
วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณหาติ
ปะทะหะติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม
ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิด
แห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย
ที่ยังไม่ได้บังเกิด
อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง
ธัมมานัง ปะหานายะ ฉันทัง ชะเนติ
วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง
ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม
ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสีย
ซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย
ที่บังเกิดขึ้นแล้ว
อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง
อุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง
อาระภะติจิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม
ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อการบังเกิดขึ้น
แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด
อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง
ฐิติยา อะสัมโมสายะ ภิยโยภาวายะ
เวปุลลายะ ภาวะนายะ ปาริปูริยา ฉันทัง
ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ
จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม
ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน
ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ
แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ภิกษุทั้งหลาย ความระลึกชอบเป็นอย่างไร
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี
วิหะระติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ
นำความพอใจ และความไม่พอใจ
ในโลกออกเสียได้
เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ
นำความพอใจ และความไม่พอใจ
ในโลกออกเสียได้
จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ
นำความพอใจ และความไม่พอใจ
ในโลกออกเสียได้
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายอยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ
นำความพอใจ และความไม่พอใจ
ในโลกออกเสียได้
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า
ความระลึกชอบ
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นชอบ
เป็นอย่างไร
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ วิวิจเจวะ กาเมหิ
วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย
สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัง ปีติสุขัง
ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่
วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา อัชฌัตตัง
สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิภาวัง
อะวิตักกัง อะวิจารัง สะมาธิชัง ปีติสุขัง
ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เพราะวิตกวิจารรำงับลง
เธอเข้าถึงฌานที่สอง
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่
ปีติยา จะ วิราคา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ
สะโต จะ สัมปะชาโน สุขัญจะ กาเยนะ
ปะฏิสังเวเทติ ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ
อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ ตะติยัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เพราะปีติจางหายไป เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้
มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
และได้เสวยสุข ด้วยนามกาย
ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม
อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า
เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ
มีความเป็นอยู่เป็นปกติสุข แล้วแลอยู่
สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ
ปะหานา ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง
อัตถังคะมา อะทุกขะมะสุขัง
อุเปกขาสะติปาริสุทธิง จะตุตถัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เพราะละสุขและทุกข์เสียได้
และความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัส
ในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่
อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธ
อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี
ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลเราเรียกว่า
อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึง
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

มหา. ที. ๑๐/๓๔๓/๒๙๙.




04 - บทสวดอริยมรรค ข้อปฏิบัติอันไม่เสื่อม mp3 พุทธวจน ฉบับ ๑๐ สาธยายธรรม วัดนาป่าพง ฟัง และ DOWNLOAD (MP3) http://watnapp.com/audio/view_categor...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น