แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อนาคตหนองคาย ใต้ พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท

ที่มา Voice TV



ผ่านพ้นไปด้วยดีกับ โรดโชว์สร้างอนาคตไทย 2020 ที่รัฐบาลจัดขึ้นในจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดแรก ประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงสนใจเข้ามาชมแผนงานยกเครื่องระบบคมนาคม ของประเทศ ที่มีจังหวัดหนองคายเป็นปลายทางของระบบถนน ระบบรางแบบเดิมและแบบใหม่ 
 
 
ภาพของคนหนองคายหอบลูกจูงหลานมาเข้าชมโร ดโชว์สร้างอนาคตไทย 2020 ที่ศูนย์ราชการจังหวัดหนองคาย เป้าหมายของพวกเขาคือ ต้องการจะรู้ว่า ในอนาคตอันใกล้ จะมีอะไรเกิดขึ้นใหม่ๆ ที่จะช่วยยกระดับชีวิตของพวกเขาได้มากน้อยเพียงใด
 
 
ในโครงการ 2 ล้านล้านบาท ได้กำหนดให้จังหวัดหนองคายเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายหลักของภาคอีสาน ซึ่งมี 5 จังหวัด ได้แก่  ขอนแก่น ,อุดรธานี ,หนองคาย ,นครราชสีมา และอุบลราชธานี ส่วนจังหวัดที่เหลือวางให้เป็นจังหวัดคู่ขนาน โดยในร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ได้แบ่งการลงทุนในภาคอีสาน วงเงินลงทุนรวมประมาณ 452,491 ล้านบาท ไม่รวมสถานีขนส่งสินค้า ด่านศุลกากร สะพานข้าม และอุโมงค์ลอดทางรถไฟ
 
 
งบประมาณก้อนนี้ เป็นระบบราง ที่เป็นรถไฟทางคู่ 4 สาย มูลค่า 107,007 ล้านบาท เริ่มประมูลได้ทันทีปี 2557 จำนวน 2 สายแรก คือ "สายมาบกะเบา-ชุมทางจิระ" ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 29,855 ล้านบาท และสายชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 26,007 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นความหวังในการพัฒนาระบบรางของภาคอิสานตอนบน แน่นอน รวมถึงหนองคายด้วย
 
 
และโครงการที่ประชาชนให้ความสนใจมาก คือ รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร วงเงิน 170,450 ล้านบาท เชื่อมพื้นที่ 7 จังหวัด จากกรุงเทพฯ -ปทุมธานี -พระนครศรีอยุธยา -สระบุรี -นครราชสีมา -ขอนแก่น - อุดรธานี สิ้นสุดปลายทางที่หนองคาย
 
 
เฟสแรก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 256 กิโลเมตร เงินลงทุน 123,950 ล้านบาท คาดว่าจะยื่นประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ เริ่มประมูลคัดเลือกระบบได้ในปี 2557 เปิดบริการปี 2562  ส่วนเฟสที่ 2 จาก จากนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 359 กิโลเมตร จะเริ่มประมูลก่อสร้างในปี 2559 เปิดบริการปี 2564 
 
 
การพัฒนาระบบราง ทั้งรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงที่จังหวัดหนองคาย จะสร้างในเขตทางเดิมซึ่งเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งศักยภาพด้านพื้นที่ของสถานีรถไฟหนองคายถือว่ามีความกว้างขวางและเพียงพอ ต่อการพัฒนาระบบรางใหม่เป็นอย่างมาก ขณะที่ศักยภาพด้านการเชื่อมต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน ก็ถือว่ามีศักยภาพเช่นกัน แต่ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ ได้เต็มที่
 
 
ขบวนรถไฟเที่ยวพิเศษนี้  เดินทางจากจังหวัดหนองคาย สู่ปลายทางสถานีรถไฟท่านาแล้ง  อยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางของสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 สร้างขึ้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย-ลาว เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าออก  ผู้โดยสารส่วนใหญ่ของที่นี่จะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ และพ่อค้าแม่ค้าจากลาว  มาค้าขายในประเทศไทย  เดินทางมาในช่วงสาย และจะเดินทางกลับในช่วงเย็น ปัจจุบันมีการเดินรถวันละ 4 เที่ยว  และปรับลดตามความเหมาะสมของปริมาณผู้โดยสาร ค่าตั๋วโดยสารเพียงเที่ยวละ  20 บาทเท่านั้น 
 
 
แม้ค่าตั๋วโดยสารจะมีราคาถูก แต่ไม่ดึงดูดให้ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น เพราะจุดเชื่อมต่อจากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่หนึ่ง กับตัวสถานีรถไฟ รวมทั้งการเดินทางด้วยระบบอื่นยังไม่ดีพอ ดังนั้นคำตอบของโจทย์นี้คือ ระบบรางใหม่ ที่ช่วยให้ชีวิตของคนในพื้นที่ง่ายขึ้น
 
 
คนในพื้นที่หนองคาย สนับสนุนโครงสร้างคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะจะช่วยให้คนหนองคายเดินทางสะดวกขึ้น  แต่ขอให้ดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ  
 
 
นอกเหนือจากระบบรางที่รัฐบาลตั้งให้เป็น โครงการเรือธงของ พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท  คือการยกเครื่องถนน 2 เลน ให้เป็น 4 เลนในจุดที่มีปัญหาคอขวดที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ  ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดมีศักยภาพในการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นเดียวกัน 
7 ตุลาคม 2556 เวลา 18:16 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น