ที่มา มติชน
หมาย
เหตุ - สหปาฐกถา ในโอกาส 37 ปี 6 ตุลา หัวข้อ
"ส่งทอดอุดมการณ์จากรุ่นสู่รุ่น โดยวัฒน์ วรรลยางกูร
เลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา และนายสุพัฒน์ อาษาศรี
เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
วัฒน์ วรรลยางกูร
เลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา
เวลา
ผ่านไปยาวนานขนาดนี้ ความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้น ซึ่งไม่แปลก 37 ปีผ่านไป
ซ้ายกลายเป็นขวา ขวากลายเป็นซ้าย นี่ไม่ใช่จินตนาการ ไม่ใช่อคติเคียดแค้น
แต่เป็นความจริงที่มีพยานและหลักฐานยืนยันว่าเผด็จการออฟไทยแลนด์ไม่เคย
เปลี่ยน คือ 6 ตุลาคม 2519 มีการสังหารโหดกลางเมืองหลวง กว่าสามสิบปีต่อมา
10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 ก็มีการสังหารโหดกลางเมืองหลวง
เผด็จการไม่เคยเปลี่ยนอีกข้อก็คือ ข้ออ้างลึกๆ ในการสังหารโหด
คือข้ออ้างเกี่ยวกับการล้มสถาบัน
37 ปีผ่านไป
พวกเราที่ตกเป็นเหยื่อเผด็จการ ช่วงนั้นเราอยู่ในวัย 20 ปีขึ้นลง 20 บวก 37
บอกว่า เริ่มวัยปลาย ขณะเดียวกันเราไม่ได้แก่อยู่ฝ่ายเดียว
พวกเผด็จการแห่งสยามก็แก่ลงด้วย กลอนลิเกพื้นบ้านเตือนใจไว้ว่า
คนแก่คนก่าชราโรค อย่าสาระโกกเคี้ยวเม็ดมะขามแห้ง
อย่ากินอ้อยทั้งเปลือกเหงือกจะแดง คางจะแพลงเหงือกจะบี้ จะบิดเอย
เผด็จการแห่งสยาม ได้พยายามเคี้ยวเม็ดมะขามแห้ง และกินอ้อยทั้งเปลือก
มาตั้งแต่ปี 2548 แปดปีผ่านไป ปรากฏว่าคางแพลงเหงือกบี้ระบมย่ำแย่
ปีนี้พิเศษจริงๆ ตรงที่เราได้รวมงาน 40 ปี 14 ตุลา กับ 37 ปี 6 ตุลา
เป็นงานเดียวกัน สองเหตุการณ์ห่างกันเพียงสามปีนั้น
แท้จริงเป็นก้อนเดียวกัน หากเราย้อนมองไกลๆ ไปในทางประวัติศาสตร์สังคม
วาระ
40 ปี 14 ตุลา ประธานจัดงาน จรัล ดิษฐาอภิชัย บอกว่าไม่ใช่งานเช็งเม้ง
เห็นด้วยครับพี่ ผ่านมา 40 ปี
เท่าที่ได้สัมผัสทรรศนะคนรุ่นที่ผ่านประสบการณ์ 14 ตุลาคม 2516
ส่วนมากคิดว่านั่นคือวันแห่งชัยชนะ บ้างก็เลยเถิดไปถึงขั้น
อยากจดจำแต่วันที่ 14 ตุลา ว่าเป็นวันแห่งชัยชนะ แต่ไม่อยากจำวันที่ 6
ตุลาคม 2519 เป็นวันที่นักศึกษาถูกสังหารโหดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จนต้องหนีไปจับปืนสู้อยู่ในป่า
ไม่เช็งเม้ง คือเมื่อรำลึกอดีต
ด้านหนึ่งคิดถึงคุณงามความกล้าหาญของบรรดาวีรชนผู้ล่วงลับ
คิดถึงจิตใจบริสุทธิ์ของผู้ที่ร่วมต่อสู้
และอีกด้านหนึ่งไม่ค่อยได้สนใจกระทำกันเท่าไรนัก
ก็คือการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในแบบตาสว่าง เข้าถึงความจริง 14 ตุลาคม 2516
เหมือนชนะแต่ยังไม่ชนะ เพราะเอาเข้าจริงยังได้แค่โค่นอำนาจฝ่ายขุนศึก
แล้วอำนาจแท้จริงนั้นหลุดลอยไปอยู่ตรงไหน
14 ตุลาคม 2516
เหมือนชนะแต่ยังไม่ชนะ ก่อนจะได้รับการตอบแทนอย่างสาหัสสากรรจ์ ด้วย 6
ตุลาคม 2519 เหตุการณ์สังหารโหดในปี 2519
ครั้งนั้นยังเป็นที่รับรู้ของคนรุ่นหลัง
กับภาพคลิปแขวนคอนักศึกษาหนุ่มแล้วฟาดด้วยเก้าอี้เหล็ก
เหลือเชื่อ
จริงๆ สำหรับคนไทยด้วยกัน คนไทยที่ชอบอ้างความเป็นเมืองพุทธ 37 ปีผ่านไป
น่าจะไม่เหมาะที่จะมาโกรธเกลียดเคียดแค้นอะไร
อารมณ์อย่างนั้นเป็นเรื่องห้ามไม่ได้ในสมัยปี 2519-2520
คนหนุ่มสาวเป็นหมื่นแห่กันเข้าไปจับปืนในป่า
แล้วก็รบกับฝ่ายบ้านเมืองอยู่หลายปี 37 ปี ผ่านไป
น่าจะสร้างอารยธรรมแห่งการรู้จักขอโทษ ผิดพลาดกันไปแล้ว ก็ขอโทษและให้อภัย
ตัด
ฉับกลับมาที่ 37 ปี 6 ตุลา น่าประหลาดใจ ไทยยังไม่พ้นยุคสมัยแห่งความกลัว
เพียงแต่เปลี่ยนจาก "กลัวคอมมิวนิสต์" มาเป็น "กลัวทุนสามานย์"
สมัย
ก่อนอะไรที่เป็นคอมมิวนิสต์เลวหมด น่าเกลียดน่ากลัวหมด
โดยไม่ต้องสนใจข้อมูลเท็จจริง ไม่ต้องคำนึงเหตุผลสมัยโน้น
ถึงกับมีกลอนโฆษณาต้านคอมมิวนิสต์ทางวิทยุว่า
"ใครเชื่อมันพันผูกออกลูกเป็นลิง"
แหม...คอมมิวนิสต์มันห่วยแตกขนาดนั้นแล้วยังจะมีใครไปเชื่ออีก... เฮ้อ
มา
วันนี้ฝ่ายกลัวทุนสามานย์มีข้ออ้างเดียวกับที่กลัวคอมมิวนิสต์
คือกลัวล้มสถาบันและมีภาพแทนทุนสามานย์ก็คือ "กลัวทักษิณ" ฉะนั้น
เวลาด่าทุนสามานย์ ด่าทักษิณ ไม่ต้องคำนึงถึงข้อมูลเหตุผลอะไรทั้งสิ้น
ในกลุ่มพวกม็อบเดียวกัน ใครด่าทักษิณเป็นมีเฮ มีมือตบ ถูกผิดไม่ต้องสนใจ
แล้วก็ด่าเลยเถิดมาถึงนายกฯหญิงว่าโง่ ว่าอะไร
ทั้งที่ความจริงก็เห็นชัดว่านายกฯหญิงคนนี้ทั้งฉลาดและอดทน
ยุคกลัวคอมมิวนิสต์กับยุคกลัวทักษิณ ต่างกันตรงที่เทคโนโลยีสื่อสาร ผลที่ติดตามมาก็เลยต่างกันไปด้วย ความเกลียด ความกลัว ความงมงาย
จึงเป็นหุบเหวหายนะที่มีคนกระโดดลงไปตายคนแล้วคนเล่า
ความเกลียดกลัวหวาดระแวง สาเหตุมิใช่มาจากฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมืองเพียงฝ่ายเดียว
อีก
ด้านหนึ่งมาจากการเคลื่อนไหวในขบวนนักศึกษาเองด้วยที่ยังเยาว์
ยังไร้เดียงสาทางการเมือง การเคลื่อนไหวพร่ำเพรื่อ
การค้านไปทุกเรื่องย่อมสร้างความเบื่อหน่ายรำคาญแก่คนทั่วไป
ก็เช่นเดียวกับที่ทุกวันนี้ เราเบื่อหน่ายรำคาญพวกม็อบแช่แข็ง พวกดีแต่พูด
เพียง
แต่ว่า หากมองกันด้วยความเมตตา
ข้อบกพร่องของคนหนุ่มสาวยุคนั้นสมควรได้รับความเมตตา
เพราะพวกเขาเติบโตขึ้นมาในยุคมืดอันยาวนานสิบหกปี เมื่อตื่นตัวขึ้นมาใหม่
ย่อมยังไม่เข้าที่เข้าทาง แต่ไม่ควรถึงขั้นต้องลงโทษรุนแรง
ขนาดเข่นฆ่าสังหาร
ความเกลียดชังในยุค ขวาพิฆาตซ้าย ช่วงปี
2518-2519 ยังได้ระดมสรรพกำลังออกมารุมล้อม รุมสกรัมขบวนนักศึกษา
เผด็จการแห่งสยามสันทัดจัดเจนในการระดมสรรพกำลังมารุมถล่มเป้าหมาย
ใช้แนวรบวัฒนธรรมเข้ามายึดครองพื้นที่ในหัวใจผู้คน
ก่อนที่รถถังจะเคลื่อนมายึดพื้นที่บนท้องถนน ดังนั้น การใช้นักปราชญ์
ศิลปินเพลง กวี ย่อมเคลื่อนมาอย่างมีจังหวะสอดรับ ไม่ว่าในยุคขวาพิฆาตซ้าย
หรือในยุคเหลืองพิฆาตแดง
เพียงแต่ว่ายุคเหลืองพิฆาตแดง นักปราชญ์ที่ออกมารับใช้มักโดนโห่จนต้องหายหน้าหายตาไป
นโยบาย
66/2523 จึงเกิดขึ้น บทเรียนการเมืองจากประวัติศาสตร์ 37 ปี
ทำให้เราต้องอ่านการเดินหมากรุกการเมืองตาต่อไปของเผด็จการแห่งสยามว่าเขาจะ
เกลี่ยหลุมศพเหยื่อสังหารโหดปี 2553 อย่างไร
มาสมัยยุคคนเสื้อแดง มีมวลชนเข้าร่วมมากมายไม่แพ้สมัย 14 ตุลา มีการจัดตั้งหลวมๆ ทั่วไป แต่ไม่ถึงขั้นลงลึกและเข้มแข็ง
สุด
ท้ายการสู้รบที่ยืดเยื้อมา 7-8 ปี
ระหว่างเผด็จการแห่งสยามกับฝ่ายประชาธิปไตย จะลงเอยรูปใด
เผด็จการจะสามารถเกลี่ยจนฝ่ายเราราข้อเอง
แล้วสักระยะหนึ่งเผด็จการก็กลับมาเข้มแข็งใหม่
หรือว่าเขาลาลับไปตามวัยสังขารแห่งกลุ่มหัวขบวนเผด็จการ
สุพัฒน์ อาษาศรี
เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ขบวน
การคนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่กับการต่อสู้ทางสังคม ต้องยึดมั่นในอุดมการณ์
ยึดมั่นในชุดความคิด การเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างเมื่อ 40 ปีที่แล้ว อย่าง 37
ปีที่แล้ว คนยุคนั้นฝันถึงสังคมอุดมการณ์ คนยุคนี้ก็เช่นเดียวกัน
เราก็ฝันถึงสังคมอุดมการณ์
แต่บ้านเมืองนี้ยังถูกครอบงำด้วยความศรัทธาที่ไม่สามารถพูดได้
ศรัทธาเชิงสัญลักษณ์ที่ไม่สามารถส่งผ่านได้ คือศรัทธาในชุดความคิด
อุดมการณ์ทางการเมือง ฝ่ายอนุรักษนิยมมีชุดความคิด เราเองก็มีได้เหมือนกัน
นั่นคือชุดความคิดในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ชุดความคิดของหนุ่ม
สาวในอดีต
ชุดความคิดของฝ่ายอนุรักษนิยมคือชุดความคิดที่ต้องการทำลายเสรีภาพของคน
หนุ่มสาว ทั้งยุคเก่าและยุคใหม่
ท่านไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมลูกหลานของท่านจึงหลงทางกันมากมาย
เราเจอมาไม่ต่างกัน เราเรียนรู้ภายใต้ประวัติศาสตร์เดียวกัน
เราอยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกัน ถูกครอบด้วยชุดความคิดทางการเมืองเดียวกัน
แต่ท่านทั้งหลายสลัดออกหมดแล้ว
ท่านทั้งหลายได้เขี่ยเศษซากชุดความคิดของสังคมเก่าออกหมดแล้ว
แต่ภารกิจประวัติศาสตร์ยังไม่จบสิ้น
ถึงที่สุดแล้วชุดความคิดนี้ต้องถูกส่งผ่านชุดความคิดนี้ต้องส่งมาถึงรุ่นลูก
รุ่นหลานของพวกท่านนั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือภารกิจประวัติศาสตร์
คือภาระหน้าที่ของคนหนุ่มสาวในยุคปัจจุบันการต่อสู้ทางประชาธิปไตย
การต่อสู้กับศรัทธาเชิงสัญลักษณ์ในสังคมเก่านั้นมีผลต่อพวกเรามาก
พวกเราถูกมอมเมา พวกเราถูกฝังชิปในสมอง
สิ่งนี้ถูกฝังในสมองของเราว่าเราไม่อาจลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องความเป็น
ธรรมได้
หลายๆ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นผลพวงจากเศษซากชุดความคิดเก่า
สิ่งที่ชัดเจนว่าทำไมชุดความคิดเก่าจึงมีผลต่อคนหนุ่มสาวในปัจจุบันนี้
การโฆษณาชวนเชื่อ การจัดตั้งทางความคิด และการใช้วิธี "ขวาพิฆาตซ้าย"
นี่คือบทเรียนสำคัญ
ในยุคปัจจุบันฐานะทางประวัติศาสตร์ของคนหนุ่มสาว
ก็ไม่ได้ต่างกัน สุดท้ายแล้วหลักการต่อสู้ของคนหนุ่มสาว
กับของพี่น้องที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ต้องผนึกกำลังกัน
ต้องผสานเป็นหอกทะลุทะลวงต่อโครงสร้างอำนาจสังคมเก่า
ผมเชื่อว่า
ภารกิจประวัติศาสตร์นี้ไม่ใช่เพียงภารกิจของใครคนใดคนหนึ่ง
หรือของคนยุคหนึ่ง แต่เป็นภารกิจประวัติศาสตร์ของสังคมที่ต้องถูกจารึกว่า
หากเราต้องการสิทธิเสรีภาพ ต้องการประชาธิปไตย ต้องการสังคมใหม่
เราต้องโค่นสังคมเก่า
สุดท้ายนี้ผมเชื่อว่าภารกิจของคนหนุ่มสาวทั้ง
ในอดีตและปัจจุบันต้องร่วมกันต่อสู้ หนทางนี้ไม่รู้ว่าจะยาวนานเท่าไร
หนทางเส้นนี้อาจจะเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย
เราเชื่อว่าหากสังคมเก่าหรืออำนาจอนุรักษนิยมนั้นยังกดขี่สังคมปัจจุบัน
ก็จะมีคนเข้ามาเรียนรู้ เข้ามาร่วมต่อสู้ ไม่จบไม่สิ้น เผด็จการจงพินาศ
ประชาชนจงเจริญ
หน้า 2 มติชนรายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น