ที่มา
ประชาไท
นักกิจกรรม นศ. ม.อุบล รณรงค์ รำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา กลางเมืองอุบล
ชูป้าย“วันนี้ 6 ตุลา ผ่านมา 37 ปี หลายคนสละชีพ
หวังคงไว้อุดมการณ์” และ “แค่เห็นต่างต้อง ตาย! ความทรงจำที่จางหาย
กับความตายที่ทุกข์ทน”
คนรุ่นใหม่จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย กลุ่ม Student’s Role,
กลุ่มกลุ่มแว่นขยาย, กลุ่มแสงแห่งเสรี, และนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดกิจกรรมรณรงค์ 6 ตุลา 19 (56)
เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนและคนรุ่นใหม่สนใจเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
กับการต่อสู้ทางอุดมการณ์การเมืองในสังคมไทย
และชวนพิจารณาประวัติศาสตร์ความรุนแรงเพิ่มขึ้นในสังคมอย่างต่อเนื่อง
แต่ประวัติศาสตร์หน้าเก่าเริ่มเลือนหายไป
สังคมต้องตระหนักและเห็นความสำคัญกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมาให้เป็นบท
เรียนในการแก้ไขความขัดแย้งอันปราศจากความรุนแรง
ประกอบด้วยกิจกรรมวงสนทนา
“บทบาทคนรุ่นใหม่กับการรณรงค์เพื่อสาธารณะ” ณ
สวนสาธารณะทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองคนรุ่นใหม่ในการดำเนินกิจกรรมสาธารณะ
และบทบาทของนักศึกษาในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่มีน้อยในพื้นที่จังหวัด
อุบลราชธานีและภาคอีสาน
หากคนรุ่นใหม่ออกมาแสดงพลังทางความคิดจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้าง
ความตระหนักรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไหม้กับประชาชนในสังคม
เพราะประเด็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นและนำมาซึ่งระบอบการเมืองการ
ปกครองไทย
เพื่อเป็นบทเรียนในการออกแบบสังคมในปัจจุบันที่ไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางง
ความคิดถึงขั้นนำไปสู่การทำลายชีวิตของคนที่คิดต่าง
สังคมประชาธิปไตยที่ต้องการความหลากหลายการยอมรับความแตกต่างถือเป็นเรื่อง
ที่สำคัญสำหรับพลเมืองรุ่นใหม่ของสังคม
มีกิจกรรมทำเสื้อภายใต้แนวคิด
“เสรีเพนต์ 6 ตุลา ในแบบของคุณ”
ที่วาดลวดลายหลากหลายเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตย
ที่เชื่อมโยงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่ผ่านมาลงในเสื้อขาว
เพื่อสะท้อนมุมมองและบทเรียนที่ได้เรียนรู้ถึงความสูญเสียและความรุนแรงของ
สังคมที่เกิดขึ้น
พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในอดีตที่มี
พลังการขับเคลื่อนเข้มข้นในอดีต ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมใหญ่ได้
และชวนมองถึงความสนใจของคนรุ่นใหม่ และนักศึกษาในปัจจุบันที่มีน้อย
นอกจากนี้ได้มีการเดินรณรงค์ถือป้ายชูคำว่า
“วันนี้ 6 ตุลา ผ่านมา 37 ปี หลายคนสละชีพ หวังคงไว้อุดมการณ์” และ
“แค่เห็นต่างต้อง ตาย! ความทรงจำที่จางหาย กับความตายที่ทุกข์ทน” ณ หอนาฬิกา จังหวัดอุบลราชธานี สร้างความสนใจกับประชาชนที่สัญจรผ่านเส้นทางบริเวณนั้นเป็นอย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น