โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เผยนายกฯ หานายกเครือรัฐออสเตรเลีย ระหว่างประชุมเอเปค
โดยนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ตอบรับคำเชิญเพื่อจะเยือนประเทศไทยอย่างแน่นอน
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีการหารือทวิภาคีกับนายโทนี่
แอ๊บบอตต์ นายกรัฐมนตรีเครือรัฐออสเตรเลีย
ระหว่างร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 21
เพื่อหารือความร่วมมือทวิภาคี และความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลีย
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้แกนนำของนายแอ๊บบอตต์
วันนี้ (7 ตุลาคม 2556) เวลา 12.15 น.
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหารือกับนายโทนี่ แอ๊บบอตต์
(The Honourable Tony Abbott)
นายกรัฐมนตรีเครือรัฐออสเตรเลียระหว่างร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค
ครั้งที่ 21 ณ โรงแรม Sofitel สรุปสาระสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีกับนายแอ๊บบอตต์
ที่ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเครือรัฐออสเตรเลีย
โดยครั้งนี้เป็นการพบกันครั้งแรก ภายหลังเข้ารับตำแหน่ง
โดยนายกรัฐมนตรีและฯเชื่อมั่นว่าภายใต้การนำของนายแอ๊บบอตต์
เครือรัฐออสเตรเลียจะประสบความสำเร็จและมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ทั้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไทยรอคอยที่จะทำงานร่วมกับออสเตรเลีย
เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และระดับโลก
โอกาสนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวเชิญนายกรัฐมนตรีเครือรัฐออสเตรเลียเดินทางเยือนไทยอย่าง
เป็นทางการในโอกาสที่เหมาะสมเพราะครั้งสุดท้ายที่นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย
เยือนไทยคือปี 2541 ซึ่งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย
ตอบรับคำเชิญของนายกรัฐมนตรีโดยจะหาเวลาที่เหมาะสมมาเยือนไทยอย่างแน่นอน
ขณะเดียวกันในปีหน้าไทยจะเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง
ไทย-ออสเตรเลีย (Senior Official Talks-SOT)
และการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-ออสเตรเลีย (JC)
เพื่อรักษาความสมดุลของความร่วมมือที่มีพลวัตรของทั้งสองประเทศ
โดยทางออสเตรเลียยินดีจะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงมาร่วมอย่างแน่นอน
ไทยมองออสเตรเลียเป็นพันธมิตรที่ยาวนานและ
มีความสำคัญอย่างมากในภูมิภาค
ความสัมพันธ์ทวิภาคีโดยทั่วไปอยู่ในระดับที่ดี มีความใกล้ชิด
และครอบคลุมในหลายด้านรวมทั้งมีการหารือและแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูง
อย่างต่อเนื่อง
นายกรัฐมนตรีได้แสดงความยินดีที่ออสเตรเลียมีนโยบายที่จะเข้ามามีส่วนร่วม
กับเอเชียมากยิ่งขึ้น และตระหนักถึงความสำคัญทางเศรษฐกิจและโอกาสของเอเชีย
ทั้งนี้หลังจากที่มีการบังคับใช้ความตกลง
เขตการค้าเสรีกับออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement:
TAFTA) ทำให้ปริมาณการค้าทวิภาคีเพิ่มขึ้น 3 เท่า
ด้านการศึกษา
ที่ถือเป็นหนึ่งในความร่วมมือทวิภาคีหลัก
ระหว่างไทยและออสเตรเลีย
โดยออสเตรเลียยังคงเป็นประเทศที่นักศึกษาไทยนิยมไปศึกษาต่อ
ซึ่งนายกรัฐมนตรีรู้สึกขอบคุณที่ออสเตรเลียให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือ
อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดรวมถึงแผน Columbo ฉบับใหม่
ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้นักศึกษาจากทั้งสองประเทศมาแลกเปลี่ยนและศึกษาในแต่ละ
ประเทศมากขึ้น
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีหวังว่าจะมีนักศึกษาออสเตรเลียเข้ามาศึกษาในไทย
รวมถึงมีความร่วมมือเกี่ยวกับการฝึกอบรมในด้านต่างๆ ทั้งภาษาอังกฤษ
และอาชีวศึกษามากขึ้น
ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
นายกรัฐมนตรีกล่าวเชิญออสเตรเลียร่วมส่ง
เสริมความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
โดยหวังที่จะมีการแลกเปลี่ยนนักวิจัยและนักวิชาการร่วมกัน
เพื่อดำเนินการวิจัยในหัวข้อที่ทั้งสองประเทศมีความสนใจร่วมกัน
เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์และใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเต็มที่
ซึ่งในท้ายที่สุดจะส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตและพัฒนา
ขณะเดียวกันออสเตรเลียกำลังร่วมมือกับหลายประเทศในการป้องกันไข้มาลาเรียใน
ภูมิภาค ซึ่งไทยพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนสู่ประชาชน
ทั้งสองยินดีที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาว
ออสเตรเลียเดินทางไปท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น
โดยไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวออสเตรเลีย
เป็นจำนวนกว่า 1
ล้านคนต่อทั้งนี้ไทยขอบคุณออสเตรเลียที่ให้การสนับสนุนการลงสมัครรับเลือก
ตั้งในตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติของไทย
ในวาระปี 2017-2018 รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการหาเสียงของไทย
นอกจากนี้ไทยยังขอการสนับสนุนจากออสเตรเลียใน การลงสมัครเป็นสมาชิก HRC
วาระปี 2015 – 2017
ซึ่งไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
และเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์
by
Ekachai
7 ตุลาคม 2556 เวลา 13:40 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น