แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หลักการเหตุผลของ ร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร ฯ

ที่มา ประชาไท


เนื่องในโอกาสที่จะมีการเสนอร่าง “พรบ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร พ.ศ....” ต่อผู้แทนของรัฐสภาในวันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2556 เวลา 15.00 น. ณ บริเวณลานหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ผมจึงขอนำสรุปหลักการและเหตุผลของร่าง พรบ.ดังกล่าวมาเสนอ โดยมีรายละเอียดของแต่ละมาตราตามไฟล์แนบครับ
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีระบบการบริหารราชการส่วนกลางและบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น กลไกสำคัญในการบริหารประเทศ ทำหน้าที่ตัดสินใจ กำหนดนโยบาย บริหารจัดการบริหารบุคลากร และจัดสรรงบประมาณ มีรัฐบาลเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยมีกระทรวง ทบวง กรม เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ครอบคลุมทั้งประเทศ
กว่า 120 ปีที่ผ่านมา ระบบการบริหารงานดังกล่าวได้สร้างคุณูปการแก่ประเทศไทยอย่างใหญ่หลวงจน สามารถทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจมาได้ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งสังคมมีความซับซ้อน และการรวมศูนย์การตัดสินใจ และการดำเนินการปฏิบัติการ กลายเป็นความซับซ้อน ระบบใหญ่โต ไร้ประสิทธิภาพไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน ประชาชน
ขาด พื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองจากปัญหาเชิงโครงสร้างนี้จึงจำเป็นต้องคืน อำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นตัดสินใจ และมีอิสระในการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต สวัสดิการ การศึกษา สาธารณสุข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่สอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่นให้มีอำนาจบริหาร จัดการบุคลากร มีงบประมาณที่เพียงพอ
หัวใจสำคัญ คือ ในการปฏิรูปประเทศไทยครั้งนี้มีกระบวนการและกลไกให้ประชาชนในชุมชนทอ้งถิ่น ใช้อำนาจทางตรง ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและเข้าถึงการตรวจสอบการทำงานของผู้ บริหารและผู้ปฏิบัติงานได้

สาระสำคัญ
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร พ.ศ. .... จึงมีสาระสำคัญที่จะมุ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินการใน 3 แนวทางด้วยกัน คือ
1.) ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เหลือเพียงราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่และมีฐานะเป็น นิติบุคคล มีอำนาจในการกำหนดแนวนโยบาย ระเบียบ ข้อบัญญัติ การจัดงบประมาณ การคลัง การจัดการบริหารบุคลากร กลไกโครงสร้างการบริหารงานภายในท้องถิ่นเพื่อการบริหารราชการท้องถิ่นได้โดย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งาชอาณาจักรไทย โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นได้ครอบคลุมทุกเรื่อง ยกเว้น 4 เรื่องหลักคือ การทหาร ระบบเงินตรา การต่างประเทศ และการศาล โดยแบ่งการปกครองเป็น 2 ระดับ คือ ระดับบน(เชียงใหม่มหานคร) และระดับล่าง (เทศบาล) ทำให้สามารถดูแลครอบคลุมเต็มพื้นที่ โดยทั้ง 2 ระดับมีการบริหารที่อิสระต่อกันเป็นลักษณะการแบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน
2.) ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมจริยธรรม ทำให้ระบบการตรวจสอบมีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างดุลยภาพ 3 ส่วนคือ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร สภาเชียงใหม่มหานครและสภาพลเมืองรวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจ ประชาชนโดยตรงในการกำหนดทิศทางการพัฒนาตรวจสอบการทำงานหน่วยงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และเข้าถึงการใช้งบประมาณ ผ่านกระบวนการกลไกต่างๆ เช่น สภาพลเมือง การไต่สวนสาธารณะ กรรมาธิการด้านต่างๆ เช่น การศึกษา เกษตร ซึ่งมีการรับรองการใช้อำนาจ และมีงบประมาณสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว
3.) การปรับโครงสร้างด้านภาษี โดยภาษีทุกชนิดที่เก็บได้ในพื้นที่จะส่งคืนรัฐบาลส่วนกลางร้อยละ 30 และคงไว้ที่จังหวัดร้อยละ 70

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น