แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

บทความแปล: ทำไมรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี พ.ศ. 2540 ถึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากกับประเทศของเรา (ภาค 2)

ที่มา Thai E-News

 บทความอยู่ใน Facebook ของ Doungchampa Spencer-Isenberg

บทความแปล: ทำไมรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี พ.ศ. 2540 ถึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากกับประเทศของเรา (ภาค 2)

อ้างอิง: จาก status ของอาจารย์ แม็กซ์ เฮดรูม 



(หมายเหตุบทความแปลฉบับนี้ จะมีคุณค่ามาก ถ้าได้รับการแชร์ออกไปในการประชุมคนเสื้อแดง ในวันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2557 นี้ เพราะ เห็นว่า จะมีประชาชนนับแสนคน ที่จะไปรวมตัวในงาน ทำไมเราถึงไม่ล่าลายเซ็นต์เกี่ยวกับเรื่องนี้กัน? เพราะการนำเอารัฐธรรมนูญปี 2540 กลับเข้ามาใช้ ในการทำประชามติ เป็นเรื่องที่ดีมากที่สุด ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบขององค์กรอิสระต่างๆ ที่ีเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ด้วยการใช้หลักการตามกฎหมายที่ทั่วโลกยอมรับได้
ใช้เวลาอ่านเนื้อหาและเหตุผลประกอบประมาณ 6-7 นาทีเท่านั้น
กรุณาลองนำไปคิดอีกครั้งนะคะ จำนวนคนมากขนาดนี้ เราสามารถทำเรื่องนี้ให้เป็นความจริงได้)
******************************************
ถึงเพื่อนๆ ที่เคารพทุกท่าน:
ผมมีความตื้นตันใจและขอนอบน้อมอย่างจริงใจกับเพื่อนๆ ทุกท่านที่เห็นว่า การรณรงค์ของเราที่นำเอารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนของปี พ.ศ. 2540 กลับเข้ามาใช้นั้น มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งต่อการแชร์ และโดยแท้จริงแล้ว มันเป็นการให้กำลังใจสนับสนุนต่อ เพื่อนร่วมงานรวมทั้งกับตัวผมอีกด้วย
ความคิดนี้ ได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้วจากวันที่เราจดจำกันได้ดีในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 เมื่อโลกอินเตอร์เนทได้หยุดชะงักลงไป และหน้าจอโทรทัศน์ก็ไม่ได้แสดงอะไรให้เห็นกัน นอกเสียจากการโฆษณาชวนเชื่อและมีผู้ชายคนหนึ่งชื่อ พลเอกสนธิ ออกมาพูดอยู่หน้าจอโทรทัศน์ และประกาศก้องว่า ฝ่ายทหารผู้ร่วมงานของเขาเพิ่งจะระงับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่ถูกต้องตาม ตัวบทกฎหมายของเราลงไป
หลังจากหลายเดือนผ่านพ้นไป ผมได้เฝ้ามองด้วยความตกตะลึงที่ประชาชนชาวไทย ได้ถูกขู่เข็ญให้ไปรับรองธรรมนูญบัญญัติที่ได้รับการอุปถัมภ์จากฝ่ายกองทัพ ซึ่งตัวบทของมันที่สร้างขึ้นมานั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่าการเป็นเครื่องมือต่อการก่อสร้างระบอบเผด็จการ (Autocracy) และฉายเงาให้กับการเมืองซึ่งหลอกให้เห็นว่าเป็นการปฎิบัติที่ถูกต้องตามตัว บทกฎหมาย (Pseudo-Legality)
หลายปีได้ผ่านพ้นไป และสภาพที่แท้จริงได้เห็นว่า มันเกินคำบรรยายกว่าสิ่งที่เราหวังว่าจะเห็นเรื่องที่เลวที่สุดเกิดขึ้น และทั้งๆ ที่มีคำขอร้องจากกลุ่มของเราเพื่อทำการจัดการต่อสู้กับปัญหาในเรื่องของการ ก่อการรัฐประหารโดยฝ่ายตุลาการ (Judicial coups) และองค์กรอิสระที่สร้างอำนาจบริหารซึ่งทำการประสานงานกันก็ตาม แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนไม่คิดว่า มันเป็นเรื่องที่ “เหมาะสม” (Appropriate) ในการที่จะนำประเด็นนี้ขึ้นมาเป็นข้อแม้วางไว้บนโต๊ะสนทนา เพื่อให้กลายเป็นเรื่องของการทำประชามติทั่วราชอาณาจักร  แทนที่จะเป็นอย่างนั้น รัฐบาลของเราก็ตกหลุมในคำมั่นสัญญาจากฝ่ายกองทัพว่า ถ้าประเด็นเรื่องนี้ และเรื่องการปฎิรูปอื่นๆ อันสำคัญ ถูกปล่อยให้อยู่เฉยๆ อย่างนั้น โดยไม่ได้มีใครเข้าไปแตะต้องแล้ว ทางฝ่ายกองทัพก็จะคงวางตัวเป็นกลางให้เห็นกัน
ในวันนี้่ เมื่อเราได้เห็นการไหวตัวของฝ่ายกองทัพ เช่น การตั้งเต้นท์บังเกอร์อยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร, ฝ่าย กปปส และฝ่ายศาล  ต่างก็ทำงานประสานกันเป็นอย่างดีเพื่อทำให้การเลือกตั้งกลายเป็นโมฆะลงไป รวมทั้งตัวแทนของฝ่ายตุลาการเอง ก็พยายามที่จะกล่าวโทษกับรัฐบาลทั้งชุด  เราคงสามารถเห็นกันทั้งหมดแล้วว่า พวกเขาวางตัวเป็นกลางอย่างแท้จริงกันอย่างไร และมันหมายถึงอะไรกับประเทศของเรา
เวลาสองปีครึ่งได้ผ่านพ้นไป และเราได้เสียเวลามามาก ถ้าเราไม่กระทำการในช่วงเวลาอันสั้นๆ ที่มีอยู่นี้ ในการพยายามแสวงหาวิธีทำให้เกิดประชาธิปไตยขึ้นมาได้แล้ว ในไม่ช้า เวลาที่มีอยู่ก็จะถึงจุดสิ้นสุดลงไป
ตามรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย มาตรา 138 วรรค 4, มาตรา 139 วรรค 3 และ มาตรา 142 วรรค 4 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  (Organic Laws) ** ในฉบับปัจจุบันนั้น รัฐบาลมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องให้เกิดการลงประชามติทั่วประเทศ เพื่อที่จะถามประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริงเท่านั้น ในการปกครองของระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของ ประเทศไทยว่า เราควรที่จะนำเอารัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2540 กลับเข้ามาใช้ใหม่อีกหรือไม่ และมอบอำนาจที่ถูกปล้นไปนี้ กลับมาสู่ประชาชนอย่างที่เคยเป็นอยู่
สิ่งทั้งหมดที่เราต้องการ คือการรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง เป็นจำนวน 10,000  ท่าน และหาสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งที่จะเป็นผู้สนับสนุนเหตุผลดังที่กล่าวไว้
เราอยู่ที่นี่ ในจังหวัดขอนแก่น และเพื่อนๆ ทั่วทั้งประเทศให้ความหวังว่า ในเวลาช่วงสุดท้ายนี้ และในยามสถานการณ์ที่ประเทศของเรากำลังอยู่ในสภาวะที่จะเข้าสู่สงครามกลาง เมือง รัฐบาลและพ่อแม่พี่น้องของเราในกลุ่มแนวร่วมผู้รักประชาธิปไตยและต่อต้าน เผด็จการ ได้ร่วมมือกันจากเหตุผลที่เรามีอยู่ และทำการแชร์ความเชื่ออย่างแน่วแน่ของเราว่า ไม่มีประเทศไหนในโลกที่จะเจริญรุ่งโรจน์ได้ ถ้ายังมีรัฐธรรมนูญที่ยังสร้างความ “ฉิบหายวายวอด” อย่างนี้อยู่
การปฎิรูปและความก้าวหน้าของประเทศ ไม่ได้เริ่มมากจากคณะกรรมการหรือกลุ่มผู้นำที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาดำรงตำแหน่ง โดยกลุ่มผู้มีอำนาจทรัพย์สินเงินทองแต่อย่างใด แต่มันเริ่มมาจากพื้นฐานอันเหมาะสม – นั่นคือจาก รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยซึ่งทำงานอย่างได้ผลโดยประชาชนเจ้าของประเทศ และเราก็ไม่ต้องเริ่มมันที่กระดาษเปล่าๆ  และเสี่ยงที่จะต้องอยู่ในการปกครองในระบอบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างยาวนาน แต่อย่างใด เนื่องจากว่า เรามีบทบัญญัติเหล่านี้อยู่ในมือเรียบร้อยแล้ว
มันถึงเวลาที่เราควรจะทำบางสิ่งบางอย่างกัน และกระทำก่อนที่ฝ่ายศาลจะทำการถอดถอนรัฐบาลของพวกเราที่มาจากการเลือกตั้ง โดยถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย
** หมายเหตุ
มาตรา 138 วรรค 4:  การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้:
(4)  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
มาตรา 139 วรรค 3:  ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะเสนอได้ก็แต่โดย:
(3) ศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลฏีกา หรือ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้น เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
มาตรา 142 วรรค 4: การตราพระราชบัญญัติ  ภายใต้บังคับมาตรา 139  ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย
(4)  ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน เข้าเสนอกฎหมายตามมาตรา 163  (ซึ่งเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน)
จบบทความแปล
******************************************
ความคิดเห็นของผู้แปล:
(เชิญแชร์หรือ Tag บทความได้ตามสบาย)
บทความนี้ เป็นบทความต่อเนื่องกับที่ลงไว้เมื่อวาน เกี่ยวกับเรื่อง การทำประชามติเพื่อนำเอารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 กลับมาใช้ใหม่  บทความอยู่ในลิ้งค์นี้ค่ะ:

******************************************
หลังจากที่ อาจารย์แม็กซ์ เฮดรูม (Max Headroom)  โพสต์ Status ของท่านแล้ว ดิฉันขอไปสนทนากับท่านและ อาจารย์เดวิด เสตรคฟัสส์ (David Streckfuss) เมื่อตอนเช้าของดิฉันที่นี่ จึงขอนำการสนทนาที่เพิ่มไว้ มาลงให้อ่านกัน
ดิฉันได้ตั้งคำถามกับอาจารย์แม็กซ์ และอาจารย์เดวิดว่า:
ผู้ที่ดำเนินการล่ารายชื่อเพื่อการทำประชามติเพื่อจะนำเอารัฐธรรมนูญปี 2540 กลับเข้ามาใช้นั้น ถือว่าเป็นผู้ล้มล้างการปกครองต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 หรือไม่ เพราะดิฉันมั่นใจว่า ไม่ เนื่องจากประชาชนมีสิทธิ์ลงชื่อตามที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ และนอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเคยลงพระปรมาภิไธยในรัฐ ธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จะมาอ้างว่าเป็นการล้มล้างการปกครองไม่ได้แน่นอน
อาจารย์ แม็กซ์ตอบว่า กลุ่มที่เป็นผู้ก่อการรัฐประหาร ก็แสวงหาผลประโยชน์แบบนี้แบบเหมือนกันเลยกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (หลังการรัฐประหารปี 2549) เพื่อนำผลประโยชน์ไปเข้าข้างตนเอง ด้วยการเรียกร้องให้มีการทำประชามติ  เพื่อที่จะกำหนดให้นำเอาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 เข้ามาใช้ให้ได้
ดังนั้น อาจารย์แม็กซ์แชร์ความคิดเห็นโดยกล่าวว่า ประชาชนก็สามารถใช้สิทธิ์ตามบรรทัดฐานที่เคยเกิดขึ้น เพราะทางฝ่ายทหารเคยทำกันมาก่อนแล้ว และ การทำประชามตินั้น ก็จะเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องในด้านกฎหมายต่างประเทศและสนธิสัญญามากกว่า การก่อการรัฐประหารของปี พ.ศ. 2549 และรวมไปถึงกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญอีกด้วย


******************************************
อาจารย์แม็กซ์เสริมต่อว่า จากการตีความของท่านเกี่ยวกับฝ่ายตุลาการภิวัฒน์ที่กำลังเดินเรื่องกันอย่าง เร่งรีบในขณะนี้คือ ความพยายามที่จะล้มล้างระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย และแม้กระทั่งตัวบทกฎหมายของรัฐธรรมนูญปี 2550 เองนั้น ฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญก็ยังกระทำการอ้างเหตุผลนอกเหนือออกไปจากอำนาจที่มีอยู่ ตามรัฐธรรมนูญ  มันเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า พวกเขา (ศาลรัฐธรรมนูญ, สำนักงานป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ) ไม่ได้มีใครเข้ามาทำการควบคุมดูแลและมีความรับผิดชอบใดๆ กับการกระทำที่พวกเขาได้ก่อไว้ ไม่สามารถถูกเรียกตัวมาขึ้นศาลยุติธรรมใดๆ ได้ นอกเหนือไปจากศาลอาญาเท่านั้น
ตามความเป็นจริงแล้ว เราทั้งหมดก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี ที่กลุ่มมีความคิดเห็นตรงข้ามของเราที่ทำการร่วมมืออยู่พร้อมกัน ต่างกล่าวกันว่า การเรียกร้องของเราให้มีการทำประชามติเกิดขึ้นนั้น เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นที่นิยมเลยในสายตาของคนบางกลุ่ม
ถ้าเราลองดูตัวอย่างของการกระทำในประเทศอียิปต์แล้ว เราจะเห็นได้ว่า มันใช้ข้ออ้างง่ายๆ นิดเดียว เพื่อที่จะกล่าวหาใครต่อใครก็ได้ และอาจจะมีเรื่องเพียงนิดเดียวก็สามารถตัดสินว่า พวกเขาได้กระทำความผิดไปแล้ว นั่นก็คือว่า ทำไมมันถึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเรามากที่จะต้องมีจำนวนผู้คนที่มีความเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Solidarity)  นั่นเป็นเพราะว่า มันไม่เป็นการง่ายเลย ที่จะเอาผู้คนจำนวน 10,000 คน ที่ทำการลงชื่อนั้น มายัดเข้าไปอยู่ในคุกตารางต่อการกระทำในเรื่องแบบนี้
******************************************
อาจารย์เดวิด เข้ามาเสริมว่า ในความคิดเห็นของเขานั้น อย่างแรกต้องมีการผลักดันให้การเลือกตั้งสำเร็จลุล่วงไปได้ก่อน ถ้ามีการปฎิเสธขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่า หรือ มีการปิดกั้นคูหาอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีก นั่นก็จะเป็นการสร้างน้ำหนักมากกว่า ต่อการอ้างว่า ระบบที่ใช้กันอยู่กำลังพังตัวลงมา และต้องมีการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานกันเสียใหม่ (ตัวอย่างเช่น การนำเอา รัฐธรรมนูญปี 2540 กลับเข้ามาใช้)
******************************************
อาจารย์แม็กซ์ เสริมว่า ผมคิดว่าระบบนั้นมันเกือบจะพังทลายลงไปแล้ว และเราก็ไม่มีโอกาสที่จะได้เห็นการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไป โดยปราศจากหรือก่อนหน้าการถอดถอนรัฐบาลรักษาการ
ตามความเป็นจริงแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งพยายามที่จะยืดเยื้อเวลาการเลือกตั้งครั้งใหม่ออกไป อย่างนานที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นเดือนๆ นั่นเป็นการปิดประตูฝ่ายประชาธิปไตยในเรื่องนี้
นอกไปจากนั้น ยังมีคำถามใหญ่ๆ เกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงทางการเมืองและระบบสองมาตรฐานในที่นี้: ประชาชนจะกล่าวว่า – รัฐประหาร, ยุบพรรคการเมืองสองพรรค, นายกรัฐมนตรีถูกถอดถอนเนื่องจากไปออกรายการทำกับข้าว และในตอนนี้ ก็เป็นเรื่อง....  อะไรก็ตามแต่
สำหรับอาจารย์แม็กซ์เอง คำถามก็คือ มันจะสร้างความเสียหายต่อประเทศมากมายขนาดไหน ประเทศชาติจะทนอยู่กับสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่า วิธีนี้อาจจะใช้ได้ ในขณะที่วิธีการที่สามารถใช้ได้อย่างแท้จริงกลับถูกปิดกั้นอยู่ และถูกขับไล่ให้พ้นไปโดยรถถัง, อาวุธปืน และการทำผิดตัวบทกฎหมายและการใช้ความอคติอยุติธรรมเข้ามาประกอบ

******************************************
อาจารย์เดวิด เสริมว่า ความคิดเห็นของเขานั้น ขั้นตอนธรรมดาอย่างแรกที่สุด ก็คือต้องทำให้การเลือกตั้งเสร็จสิ้นอย่างอย่างสมบูรณ์ให้ได้ ต้องมีการผลักดันให้เกิดขึ้น  เพื่อที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง สามารถประกาศเหตุผลอันแสนวิปลาสให้กับทั่วโลกทั้งหมดได้ทราบกัน มันจะเป็นการช่วยแสดงความสมเหตุสมผลให้กับทุกๆ คนได้เห็นว่า ระบบเหล่านี้ ได้ผุพังลงไปอย่างเรียบร้อย และทำไมมันถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องเข้าไปสู่รูปแบบการทำประชามติ ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
******************************************
อาจารย์แม็กซ์กล่าวตอบว่า เป็นเรื่องที่แน่นอนที่สุด ที่พวกเราจะต้องผลักดันในเรื่องให้เกิดความล่าช้าขึ้นมา แต่ข้อคิดเห็นของอาจารย์แม็กซ์ กล่าวว่า มันน่าจะเป็นไปในรูปนี้มากกว่า:
  • คุณยิ่งลักษณ์จะถูกตอกตะปูหน้าฝาโลงที่ศาลยุติธรรมโดยคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามทุจริตแห่งชาติ รวมไปถึงโดยศาลรัฐธรรมนูญภายในเวลาอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า
  • เมื่อเทศกาลสงกรานต์กำลังจะมาถึง ทางฝ่ายคณะกรรมการการเลือกตั้งจะทำการยืดเยื้อและสร้างความล่าช้า เพราะทราบดีว่า พวกเขาสามารถทำเรื่องนี้ได้ ด้วยการสนับสนุนจากฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญและจากฝ่ายคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามทุจริตแห่งชาติ
  • จากนั้น คุณยิ่งลักษณ์จะถูกถอดถอนออกไปพร้อมกันกับรัฐบาลรักษาการทั้งหมด และรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งนั้น จะไม่มีการนำเอาประเด็นการทำประชามติเข้ามาพิจารณาอย่างเด็ดขาด
 ******************************************
อาจารย์เดวิด แสดงจุดยืนว่า เขาอยากเห็นการผลักดันให้เกิดขึ้นกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อที่พวกเขาจะได้เปิดตัวให้ทุกคนได้ทราบว่า ทำไมพวกเขาถึงต้องทำการยืดเยื้อให้เกิดขึ้น
.
******************************************
อาจารย์แม็กซ์กล่าวว่า ดังนั้น คุณยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีทางเลือกใดๆ ที่จะทำเรื่องการเลือกตั้งนี้ ให้เกิดขึ้นไปตามลำดับกันเลย  ซึ่งแท้ที่จริงแล้วมันเป็นการผลักดันและบีบบังคับมากกว่า ที่จะให้ทางฝ่ายคณะกรรมการการเลือกตั้งให้คำตอบอย่างเป็นทางการ แทนที่จะทำให้การเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง
 ******************************************
อาจารย์เดวิดเสริมว่า พรรคเพื่อไทย ควรที่จะทำการผลักดันให้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคมไปแล้ว แต่ทางพรรคเองก็ยังไม่ยอมทำอะไรทั้งสิ้น  อาจารย์เดวิดคิดว่าอาจารย์แม็กซ์กล่าวได้ถูกต้องว่า มันไม่มีเวลาอะไรเหลืออยู่แล้วในขณะนี้ แลเป็นเรื่องแน่นอนที่สุด ที่ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งจะทำการสร้างกระแสต่อต้านอย่างดุดันกับเรื่องการทำประชามติ แต่เราอย่าไปสนใจกับพวกเขาดีกว่า มุ่งหน้าในจุดประสงค์ของเราแทน
อาจารย์แม็กซ์เสริมต่อว่า องค์กรอิสระทุกองค์กรจะขว้างทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาขวางทางพวกเรา เพื่อต่อต้านไม่ให้มีการทำประชามติเกิดขึ้นได้
******************************************
ดิฉันสนทนาต่อกับอาจารย์เดวิด ด้วยการตั้งคำถามว่า  ถ้าเรามีรายชื่อ 10,000 คน แบบพร้อมทุกอย่างแล้ว รัฐบาลรักษาการมีอำนาจใดๆ ต่อการจัดสร้างประชามติหรือไม่?
อาจารย์เดวิดกล่าวตอบว่า ไม่มีบทบัญญัติใดๆ ในรัฐธรรมนูญที่ห้ามนายกรัฐมนตรีรักษาการ มิให้กระทำการในเรื่องนี้ แต่ไม่ทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญจะสร้างบรรทัดฐานใหม่อีกขึ้นมาหรือไม่ในการตี ความ 
มาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญกล่าวว่า การเรียกร้องการทำประชามติสามารถเกิดขึ้นได้ "เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่า กิจการในเรื่องใดอาจกระทบผลประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน" ส่วน ในมาตรา 181 เพียงแต่กล่าวว่า  "คณะรัฐมนตรีสามารถ ปฎิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดดังนี้:

  • ไม่ทำการแต่งตั้ง หรือ โยกย้ายข้าราชการ

  • ไม่อนุมัติจ่ายงบประมาณสำรอง

  • ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ ที่เป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป

  • ไม่ใช้ทรัพยากรหรือบุคลากรของรัฐ เพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง"
หวังว่า ท่านผู้อ่านคงจะได้รับความรู้ในเรื่องการทำประชามติ ถึงแม้บทความจะยาวพอสมควร แต่มันเป็นเรื่องที่คุ้มค่ามาก ถ้าเรามีการเรียกร้องให้เรื่องนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้
ดังนั้น บทความในซีรี่ย์ ภาค 2 จึงขอจบลงเพียงเท่านี้
Happy Friday ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น