:คำถามถึงตุลาการจากชาวบ้านอนุปริญญา
(ข้อเขียนสรรพยอกอย่างหวังผลโดย ระยิบ เผ่ามโน)
"ท่านจะตีความว่าลงคะแนนก่อน (ล่วงหน้า) ได้ แต่เลื่อนไปลงคะแนนภายหลัง (ทดแทน) ไม่ได้อย่างไร ตรรกะย้อนแย้งเสียจริง เสียจนตามไม่ทัน"
อนุสนธิจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้การเลือกตั้ง
๒ กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ เพราะเสียง ๖ ต่อ ๓ เห็นว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
จนเป็นที่ครหาไปทั่วโลกาวิวัฒน์ใบนี้ ว่าตุลาการ (ร่วมมือกับองค์กรอิสระอย่าง ปปช.
และผู้ตรวจการแผ่นดิน) กำลังทำรัฐประหารอย่างเป็นขั้นตอน
เปิดทางแก่การลงมติในวุฒิสภาให้ปลดนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลรักษาการพ้นจากหน้าที่ อันจะก่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง
แล้วจะทำการแต่งตั้งนายกฯ
คนกลางที่ไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติที่ประกอบด้วยบรรดาบุคคลชั้นนำและตัวแทนสาขาอาชีพ
จากในแวดวงของคนที่สนับสนุนกลุ่มชุมนุมประท้วง “เป่านกหวีด ปิดกรุงเทพฯ” และพรรคประชาธิปัตย์
มุ่งมาดเปลี่ยนแบบแผนการปกครองกลับไปสู่ระบอบกึ่งศักดินา-
ราชาธิปไตย ตามมาตรฐานใหม่ที่ ‘คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ อาจจะเป็นผู้กำหนดขึ้น
โดยที่เป็นไปได้ว่าสิทธิเสียงของประชาชนจะไม่เท่าเทียมกันถ้วนหน้า
คนยากจน คนไกลปืนเที่ยง แม้จะมีเสียงของตนเองแต่ก็จะได้รับการฟังไม่ทุกครั้งเสมอไป
ไม่เท่ากับ ‘คนดี มีการศึกษา’ ที่ให้การสนับสนุน กปปส. เรื่อยมา
จำนวนวุฒิสมาชิกสำหรับการอภิปรายปลดนายกรัฐมนตรี |
ด้วยเหตุนี้
ผู้เขียนซึ่งเรียนรู้เรื่องกฏบัตรกฏหมายแต่พอประมาณ หากจะเทียบตามเกณฑ์สภาประชาชนของ กปปส. คงแค่ขั้น ‘อนุปริญญา’ เมื่อได้ฟังบันทึกเสียงถ่ายทอดรายการวิทยุที่ รศ. จรัญ ภักดีธนากุล
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์เป็นปฏิกิริยาต่อคำวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของศาลแล้ว
ใคร่ยกมือย้อนถามอาจารย์
ด้วยความรู้สึกอย่างชาวบ้านที่ไม่ได้ศรัทธาสนับสนุน กปปส.
ว่าท่านผู้บรรยายตะแบงไปหน่อยหรือเปล่า
อนุมานจากคำตอบในรายการวิทยุโดยอาจารย์จรัญได้ว่า
ท่านพูดกลายๆ แทนตุลาการเสียงข้างมาก เมื่อท่านใช้คำว่า ‘เรา’ กล่าวถึงคำตัดสินกลางของคณะตุลาการ กับที่ท่านให้เหตุผลวกวนต่างๆ
ในอันที่จะบอกว่านั่นเป็นการร่วมวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนแล้ว
แม้นว่าคำอธิบายของท่านออกจะแถๆ
ในความรู้สึกของชาวบ้านอนุปริญญาด้านกฏหมายไทยอย่างผู้เขียน
จับประเด็นหัวใจคำสาธยายของ
อ.จรัญ ตามคลิปเสียงเกือบยี่สิบนาฑีที่ผู้เขียนฟังคำต่อคำจาก
'ไทยอีนิวส์'
ได้ว่า ตุลาการทั้งหกไม่สามารถจะหาตัวบทกฏหมายใดมาใช้เพื่อ ‘อนุโลม’
ไปตามการจัดเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ได้
จึงต้องมีมติว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ
เพราะไม่ได้จัดขึ้น
‘ในวันเดียวกัน’
ตามที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาและจัดเลือกตั้งระบุไว้
ทั้งนี้ทำให้ข้อความที่กำหนดเลือกตั้งวันที่ ๒ กุมภาฯ
ดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตุลาการเลยทำการชี้ชัดต่อไป โดยแนะให้ออกกฤษฎีกาจัดเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด
จะได้ทำให้ถูกต้องเป็นมาตรฐานถาวรจวบจนอสงไขย เหมือนการสร้างตึกยี่สิบสามสิบชั้น
แม้นว่า
อ. จรัญ ท่านเองได้แก้ต่างว่าการออกกฤษฎีกาฉบับเลือกตั้งวันที่ ๒ ก.พ. นั่นทำ ‘ถูกต้องแล้ว’ ไม่ผิดรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แต่ไอ้การจัดเลือกตั้งนี่สิที่ไม่เป็นไปตามที่กฤษฎีกามุ่งหมาย
ในเมื่อมันขาดไป ๒๘ เขตซึ่ง “ไม่ได้มีการสมัครรับเลือกตั้งเลย”
ผู้เขียนฟังแล้วฉงนยิ่งนัก
ว่าในเมื่อมีการออกกฤษฎีกาถูกต้อง และมีการจัดเตรียมเลือกตั้งในวันเดียวแล้ว
เกิดเหตุสุดวิสัยพวกจัญไรไปขัดขวางการรับสมัคร แถมกรรมการเลือกตั้งบางเขตเป็นใจพับโต๊ะหนีก่อนผู้ประท้วงจะมาเสียอีก
อย่างนี้จะบอกว่า “ไม่ได้มีการจัดเลือกตั้งในวันเดียวกัน”
ตามรัฐธรรมนูญ อาจารย์ไม่ศรีธนญชัยไปหน่อยหรือครับ
เช่นนี้ถึงได้มีประชาชนมากมายพากันไปยื่นฟ้องคดีความเอาโทษฐานตุลาการละเมิดสิทธิของผู้เลือกตั้งเสียเอง
นาฑีที่
๒.๓๗ อาจารย์บอกว่า “แล้วก็ปัญหาใหญ่ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน แล้วมาตัดสิทธิประชาชนยี่สิบล้านคนนี่
ไม่ใช่ครับ ประชาชนไม่ได้ถูกตัดสิทธิว่าไม่ให้เลือกตั้ง ก็ยังกลับมาเลือกตั้งได้
เพียงแต่ว่าช้าไปอีก จะเดือนสองเดือนก็แล้วแต่จะจัดใหม่ได้เมื่อไหร่นะครับ
แต่ประชาชนทั้งหมดที่ไปเลือกตั้งก็จะได้สิทธิมาเลือกตั้งครั้งใหม่อยู่นั่นเอง”
นี่พอเริ่มต้นก็แถแล้วนะอาจารย์
สิทธิที่ประชาชน ๒๐
ล้านคนถูกพวกท่านตุลาการตัดนั้นนะเป็นสิทธิที่พวกเขาได้ไปใช้ลงคะแนนเสียงด้วยความยากลำบากมาแล้ว
บางคน บางแห่งถึงกับต้องแหวกฝูงมารเข้าไป ท่านจะมาบอกว่าเอาน่า ชิ้นเก่าฉันเอาไปทิ้ง
เอาชิ้นใหม่แทนแล้วกัน ในชีวิตธรรมดาของมนุษย์สามัญชน
การได้ของใหม่แทนของที่เสียไปมันไม่ได้เปลื้องทุกข์สร้างสุขให้ได้เหมือนที่ตุลาการคิด
แม้ท่านคิดว่าของใหม่จะดีกว่าของเก่าก็เถอะ
ก็เขาอยากสร้างบ้านชั้นเดียวกันง่ายๆ แล้วท่านทุบทิ้งบอกให้ไปสร้างตึกยีสิบชั้นวิลิดสมาหราดีกว่า
เสือกสนแบบนี้มันจะดีหรือครับ
นาฑีที่
๓.๕๒ “แต่พอไปตรวจดูกฏหมายแล้วนี่
มันไม่มีกฏหมายรองรับตรงนี้เลยครับ
คือไม่มีถึงขนาดว่าทางท่านผู้แทนนายกรัฐมนตรีเนี่ยยังต้องบอกว่า ต้องอาศัยมาตรา ๘๘
ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เอามาเทียบเคียงใช้โดยอนุโลม...
ไอ้มาตรา
๘๘ มาตราอื่นๆ ทั้งหมดที่กฏหมายเขียนรองรับไว้เนี่ย
ต้องผ่านการสมัครรับเลือกตั้งมาแล้วทั้งสิ้น...หลายมาตราเลย
ให้มีการลงคะแนนกันใหม่ แต่นี่มันใน ๒๘ เขตนี่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เลย ไม่เคยมีเลย
เพราะฉะนั้นมันจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์”
อันนี้
แม้จะอ้างว่าตรวจดูมาตรา ๗๘ มาตรา ๘๘ มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๐๙ หรือมาตรา ๑๑๑
แล้วล้วนไม่ใช่ทั้งสิ้น ก็ยังน่าจะเป็นการตีความโดยตุลาการทั้งหกแบบ “much too
literally” ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญเคยตัดสินด้วยการอ้างพจนานุกรมบ้าง
อ้างประมวลกฏหมายแพ่งบ้าง อ้างประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือ ป. วิ.
แพ่งบ้าง ยังเคยทำได้ จะดันทุรังดังธงที่ตั้งมาไม่ยอมรับฟังเหตุผลของตัวแทนนายกรัฐมนตรีจนได้
ร่ำไปเชียวหรือ
ก็แล้ว
มาตรา ๘๘ นั่นมันอยู่ในกฏบัตรกฏหมายเรื่องไรล่ะครับ ใช่กฏหมายเลือกตั้งหรือเปล่า
นาฑีที่
๖.๐๕ “เพราะฉะนั้นมันเท่ากับมันไม่มีการเลือกตั้งใน
๒๘ เขต ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์
แล้วถ้าจะเลือกกันใหม่ต่อไปแล้วจะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้ทำในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
ก็ไปขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๘ วรรคสองครับ”
ความวกวนของคำอธิบายมันเริ่มเกิดขึ้นตรงนี้
เมื่อ อ.จรัญ กล่าวต่อไปในนาฑีที่ ๖.๕๔ ว่า
“คือถ้าเผื่อไปถือตามวันที่ระบุในกฤษฎีกาอย่างนี้นะฮะ
ไม่มีวันที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันเดียวกันได้เลยครับ เพราะฉะนั้น ณ
วันที่ออกพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่พอมาถึงการการจัดเลือกตั้ง
คุณต้องจัดเลือกตั้งให้ได้ภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร แต่ไม่ใช่ลงคะแนนนะ
ลงคะแนนไม่ต้องวันเดียวกันก็ได้”
อ้าว
นักเรียนกฏหมายอนุปริญญาฟังแล้วสับสน ก็ในเมื่อประกาศวันเลือกตั้งทั่วประเทศพร้อมกันแล้ว
ท่านว่าต้องตามรัฐธรรมนูญและตีความว่าไม่ต้องลงคะแนนในวันเดียวกันก็ได้
แต่ท่านกลับบอกว่าเมื่อไม่มีการสมัครเข้ารับเลือกตั้งใน ๒๘ เขต จึงปรับผิดรัฐธรรมนูญ
เท่ากับตระบัดคารมหรือเปล่าเล่าครับ
ท่านจะตีความว่าลงคะแนนก่อน
(ล่วงหน้า) ได้ แต่เลื่อนไปลงคะแนนภายหลัง (ทดแทน) ไม่ได้อย่างไร ตรรกะย้อนแย้งเสียจริง
เสียจนตามไม่ทัน
นาฑีที่
๑๒.๑๐ “ประกอบกับในคำวินิจฉัยนี้จะพูดไว้นะ
ว่าปัญหามันไม่ได้อยู่ที่การปฏิบัติไม่ชอบอะไรของคณะกรรมการเลือกตั้งหรอก กรรมการเลือกตั้งถึงแม้จะได้จัดการทำอย่างเต็มที่แล้ว
แต่เมื่อมันทำให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ก็แก้ไขเสีย
แต่วิธีแก้ไขไม่ใช่ทำให้มันผิดรัฐธรรมนูญชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก”
นี่ไม่เพียงแต่ท่านตีกันให้แก่
กกต. (ยังกลับกลัวว่าชาวบ้านเขาจะรู้เบาะแส) ซึ่งเป็นผู้กระทำผิดโดยตรงตามแนวคำวินิจฉัยของ
ตลก. เองเท่านั้น การแก้ไขโดยทำให้ผิดรัฐธรรมนูญยิ่งขึ้นไปอีกน่าจะย้อนไปที่ ตลก.
นั่นเอง
ดังกล่าวแล้วว่าผู้เขียนเปรียบได้กับนักเรียนกฏหมายระดับอนุปริญญา
ไม่บังอาจสอน ตลก. แต่อย่างใด แต่ใคร่จะเรียนแนะนำไว้เล็กน้อย
เพื่อให้ท่านได้มีโอกาสทำคุณแก่ประชาชนเสียงส่วนมากเสียหน่อยว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น