การถอดถอนองค์กรอิสระโดยช่องทางประชาชน
สิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วม
: มี
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
:
1) รัฐธรรมนูญ มาตรา 164 ว่าด้วยสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
2) รัฐธรรมนูญมาตรา 270-274 ว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงอื่นๆ
3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.
2542 (พ.ร.บ.ป.ป.ช.) มาตรา 58-65 ว่าด้วย การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงอื่นๆ
ตำแหน่งที่อาจถูกถอดถอนได้
:
1) นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
3) ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และผู้พิพากษาที่ป.ป.ช.กำหนด
4) ประธานศาลปกครองสูงสุด รองประธานศาลปกครองสูงสุด และผู้พิพากษาที่ป.ป.ช.กำหนด
5) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหลาย
6) อัยการสูงสุด รองอัยการสูงสุด และอัยการทั้งหลายที่ป.ป.ช.กำหนด
7) กรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.)
8) ผู้ตรวจการแผ่นดิน
9) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
10) หัวหน้าสํานักตุลาการทหาร
11) ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปลัดกรุงเทพมหานคร
12) หัวหน้าหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่มีฐานะเป็น
นิติบุคคล
13) กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ
ฯลฯ
เหตุในการถอดถอน
:
1) มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ
2) ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่
3) ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ / หน้าที่ในการยุติธรรม
4) ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
5) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
ขั้นตอน
:
1) ผู้ริเริ่มไม่เกิน 100 คน
ไปแสดงตนต่อประธานวุฒิสภาก่อนเริ่มต้นรวบรวมรายชื่อ
2) ผู้ริเริ่มรวบรวมลายมือชื่อประชาชน พร้อมเอกสารระบุชื่อ อายุ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน
สำเนาบัตรประชาชนหรือเอกสารที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ให้ครบ 20,000 คน ภายใน 180 วัน
3) ผู้ริเริ่มนำรายชื่อประชาชน พร้อมระบุพฤติการที่กล่าวหาผู้ที่จะถูกถอดถอน
และพยานหลักฐานตามสมควรยื่นต่อประธานวุฒิสภา
4) ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ไต่สวนโดยเร็ว
5) หากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เห็นว่ามีมูลให้ทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภา
ระหว่างนี้ผู้ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่อไปไม่ได้ และให้ประธานวุฒิสภาจัดประชุมวุฒิสภาโดยเร็วเพื่อลงมติ
6) สมาชิกวุฒิสภาลงมติให้ถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาออกจากตำแหน่ง
โดยอาศัยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
ผล
:
ผู้ที่ถูกถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับตั้งแต่วันที่
วุฒิสภาลงมติ และให้ตัดสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองและสิทธิรับราชการ 5 ปี มติของวุฒิสภาให้เป็นที่สุด
ใครจะมาร้องบุคคลเดิมด้วยเหตุเดิมอีกไม่ได้
ผู้ที่มีบทบาทมาก
: คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ป.ป.ช.)
ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจจริงๆ
: วุฒิสภา
โดยมติ 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด
ความเป็นไปได้
: มีเสมอ
การถอดถอนป.ป.ช.
เนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
มีบทบาทมากในกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังนั้น
หากป.ป.ช.ทำผิดเสียเองจึงต้องมีกระบวนการถอดถอนที่แตกต่างไป
โดยกระบวนการถอดถอนป.ป.ช.นั้นกำหนดไว้เป็นพิเศษในรัฐธรรมนูญมาตรา 248-249
และพ.ร.บ. ป.ป.ช. มาตรา 16
กรณีตัวอย่าง
ประชาชนใช้สิทธิตรวจสอบองค์กรอิสระ
นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540
เป็นต้นมา ประเทศไทยเริ่มมีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อวัตถุประสงค์สำคัญในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชน จนปัจจุบันรัฐธรรมนูญ 2550 ยังคงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรอิสระไว้เช่นกัน
โดยจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจนขึ้น เป็นหมวด 11 ว่าด้วย "องค์กรตามรัฐธรรมนูญ"
แม้
องค์กรอิสระจะเป็นกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
แต่ในทางตรงข้ามองค์กรอิสระเองก็เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจในทางปกครองเพื่อการ
บังคับใช้กฎหมาย
และตรวจสอบ และลงโทษบุคคลที่ถูกตรวจสอบ
นั่นหมายความว่าในการใช้อำนาจชี้ถูกชี้ผิดให้คุณให้โทษกับบุคคล
องค์กรอิสระจะใช้อำนาจตามอำเภอใจมิได้
ด้วยเหตุนี้เพื่อความโปร่งใสในการใช้อำนาจ
รัฐธรรมนูญจึงเปิดช่องให้องค์อิสระตามรัฐธรรมนูญต้องถูกตรวจสอบด้วยการ “ถอดถอน” เช่นกัน
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 271 เปิดโอกาสให้ประชาชนจำนวน 20,000 คนขึ้นไป และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของสภาผู้แทนราษฎร สามารถยื่นถอดถอนองค์กรอิสระโดยยื่นประธานวุฒิสภา
ซึ่งช่องทางดังกล่าวเป็นช่องทางเดียวกับการยื่นถอดถอนนักการเมือง รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงด้วย
ด้วยกระแสการเมืองปัจจุบันที่องค์กรอิสระมีบทบาทในการชี้นำความเป็นไปของประเทศ อย่างมาก
ประชาชนส่วนหนึ่งจึงเกิดข้อสงสัยและความกังวลในบทบาทอำนาจหน้าที่ขององค์กร อิสระต่างๆ
และเกิดกระแสการฟ้องร้อง ยื่นถอดถอนองค์กรอิสระกันมากขึ้น ซึ่งในรายงานชิ้นนี้ iLaw จะพาเพื่อนๆ ไปดูตัวอย่างความเคลื่อนไหวการยื่นถอดถอนองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นในเมืองไทย
ก่อนหน้านี้ เพื่อให้เห็นความเคลื่อนไหว ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการถอดถอนกรรมการองค์กรอิสระที่ประพฤตินอกลู่นอก
ทาง
สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน ศาลรัฐธรรมนูญ มีบทบาทนำในการชี้นำและชี้ขาดทิศทางของประเทศไทยอย่างสำคัญ
การพิจารณาวินิจฉัยหลายครั้งส่งผลกระทบต่อสังคมการเมืองและระบอบประชาธิปไตยของไทยอย่างกว้างขวาง
เช่น การตัดสินยุบพรรคการเมือง (พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย
พรรคมัชชิมาธิปไตย) ซึ่งเป็นรัฐบาล การยกเลิกโครงการเงินกู้สองล้านล้านในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
การสั่งให้พระกฤษฎีกากำหนดการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. 2557 เป็นโมฆะ
เป็นต้น
แน่
นอนว่าบทบาทกำหนดทิศทางทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
นี้ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญถูกตรวจสอบจับตาจากกลุ่มต่างๆ
และมีเคยมีกลุ่มประชาชนใช้ช่องทางในการยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมา
แล้ว 3 ครั้ง คือ
ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2555
นางธิดา ถาวรเศรษฐ และนายแพทย์เหวง โตจิราการ เข้ายื่นหนังสือต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้ถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7
คน คือ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายจรัญ ภักดีธนากุล นายจรูญ
อินทรจาร นายเฉลิมพล เอกอุรุ นายนุรักษ์ มาประณีต นายบุญส่ง กุลบุปผา และนายสุพจน์
ไข่มุกด์ เนื่องจากมีคำสั่งให้รอการลงมติวาระ 3 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขมาตรา
291 ออกไปก่อน เพราะอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ทั้งนี้นางธิดาสามารถยื่นรายชื่อให้ประธานวุฒิสภาได้ตามกำหนด
ในปีต่อมา 8
พ.ค. 2556 นายมาลัยรักษ์ ทองชัย
และนายสุวรรณ น้ำใจดี ตัวแทนกลุ่มวิทยุเพื่อประชาธิปไตย
(กวป.) ยื่นรายชื่อประชาชนต่อประธานวุมธิสภาให้ถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มี นายจรัญ
ภักดีธนากุล นายจรูญ อินทรจาร นายสุพจน์ ไข่มุกด์ นายนุรักษ์ มาประณีต
และนายเฉลิมพล เอกอุรุ ออกจากตำแหน่ง กรณีรับคำร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68
ล่าสุด 7 มี.ค. 2557 นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.พรรคเพื่อไทยยื่นรายชื่อประชาชนต่อประธานวุฒิสภาให้เพื่อถอดถอนตุลาการเสียงข้างมากจำนวน
6 คน ได้แก่ นายจรูญ อินทจาร นายจรัญ ภักดีธนากุล
นายเฉลิมพล
เอกอุรุ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ นายนุรักษ์ มาประณีต และนายสุพจน์
ไข่มุกด์ กรณีที่ศาลรับคำร้องว่ากรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และแก้ไขที่มาเกี่ยวกับสมาชิกวุฒิสภาขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68
การเมืองปัจจุบันโดยเฉพาะหลังการยุบสภาของนางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
เข้ามามีบทบาทสำคัญในความขัดแย้งรอบนี้
บทบาทหน้าที่ของ กกต. ในการจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมถูกกกต.
ชุดปัจจุบันบิดเบือนด้วยความพยายามแสดงบทบาทเป็นตัวกลางในการแก้ไขความขัด
แย้งทางการเมืองด้วย การหาคนกลาง
เสนอให้รัฐบาลเลื่อนการเลือกตั้ง
หรือในบางครั้งกรรมการบางคนก็แสดงทัศนคติในการเลือกข้างทางการเมืองและข่ม
ขู่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
การปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด
ทำให้เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2557
นายประเวศร์ วัลลภบรรหาร แกนนำกลุ่มเครือข่ายคนไทยปกป้องประชาธิปไตยหรือกลุ่มคนเสื้อขาว
ยื่นรายชื่อประชาชนต่อวุฒสภาให้ถอดถอน กกต. ทั้งคณะ กรณีละเว้นไม่ดำเนินจัดการเลือกตั้ง
ส.ส. ให้เป็นไปตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตามนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของการยื่นถอดถอน กกต. ย้อนกลับไปเมื่อวันที่
13
กรกฎาคม 2554 นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์
ตัวแทนสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยยื่นถอดถอน กกต. ในชุดที่นายอภิชาติ
สุขัคคานันท์
เป็นประธาน เนื่องจากมีพฤติกรรมส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมาย
ปล่อยปะละเลยให้บุคคลที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง
ดำเนินการทางการเมืองทั้งก่อนและช่วงการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ในการหาเสียงผู้สมัครรับเลือกตั้งมีพฤติกรรมสัญญาว่าจะให้ผล
ประโยชน์ รวมทั้งในการยื่นใบสมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
ไม่คำนึงถึงโอกาสสัดส่วนที่เท่าเทียมระหว่างชาย-หญิงตาม
มาตรา 41 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส และ
ส.ว. ปี 2550
ต่อมาในวันที่ 21
ก.ค. ปีเดียวกัน นายบวร ยสินทร และคณะ
ในฐานะตัวแทนกลุ่มราษฎรอาสาก็ยื่นเรื่องถอดถอน กกต.ทั้ง 5 คน
เช่นกัน ในข้อหาที่ใกล้เคียงกับนายไชยวัฒน์ และข้อหาที่ปล่อยให้ผู้ที่ขาดคุณสมบัติลงสมัครรับเลือกตั้ง
อย่างนายจตุพร พรหมพันธ์ ซึ่งยังเป็นผู้ต้องหา แต่มาสมัครเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย
เมื่อวันที่ 12
มี.ค. 2553 นายจตุพร พรหมพันธุ์
นายวิชิต ชื่นบาน นายสุพร อัตถาวงศ์ และนายธนกฤต ชะเอมน้อย ยื่นรายชื่อประชาชนต่อวุฒิสภาให้ถอดถอนองค์คณะตุลาการ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 8 คน ประกอบด้วยนายสมศักดิ์ เนตรมัย นายพงษ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์ นายไพโรจน์
วายุภาพ นายอดิศักดิ์ ทิมมาศย์ นายประทีม เฉลิมภัทรกุล นายธานิศ เกศวพิทักษ์
นายพิทักษ์ คงจันทร์ และนายกำพล สุดแสวง ออกจากตำแหน่ง โดยอ้างว่าองค์คณะผู้พิพากษาฯ
ทั้ง 8 คน พิจารณาพิพากษาคดียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นวินิจฉัยการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต
โดยองค์คณะฯ ได้นำข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มีประเด็นและเนื้อหาที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วมาทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่
เป็นกรณีที่โด่งดังในช่วงหนึ่งกรณีของคุณจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ที่รักษาการในตําแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในขณะที่ตนเองมีอายุครบ 65 ปีซึ่งเกษียรราชการแล้ว
จนวันที่ 24
กุมภาพันธ์ 2552 นายพิชา วิจิตรศิลป์ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์และเครือข่ายยื่นรายชื่อประชาชนเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอน
ด้วยเหตุว่าการรักษาการในตําแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของคุณหญิงจารุวรรณ
นับตั้งแต่วันครบกําหนดวาระคือวันที่ 31 ธันวาคม 2549
เรื่อยมา น่าจะเป็นการขาดคุณธรรมและจริยธรรม อันมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา
301
นอกจากองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่น่าสนใจของผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีหน้าที่ดูแลจัดสรรผลประโยชน์ของชาติอย่าง
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ก็เคยถูกยื่นถอดถอนถึงสองครั้ง
และทั้งสองครั้งสามารถรวบรวมรายชื่อประชาชนสองหมื่นคนเสนอต่อประธานวุฒิสภาได้
โดยครั้งแรกในวันที่ 13
กันยายน 2555 นายสุรศักดิ์
ศิริพรอดุลศิลป์ และคณะ ยื่นถอดถอนคณะกรรมการ กสทช. ทั้งชุด
เนื่องจากว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย โดยได้ใช้อำนาจหน้าที่ออกประกาศกสทช.
เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่ขัดต่อกฎหมาย และรัฐธรรมนูญมาตรา
47
และครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2556
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
(สรส.) และคณะ รวบรวมรายชื่อประชาชนมายื่นถอดถอน กสทช.ทั้งชุด เนื่องจากส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือ
กฎหมาย กรณีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายมือถือ 3G ประเภทที่
3 ให้บริษัทเอกชน 3 ราย ทำให้กิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน
เอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนส่งผลให้รัฐเสียหาย
สุดท้าย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
โดยปกติ ป.ป.ช. เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการถอดถอน หน้าที่ของ ป.ป.ช. ในกระบวนการนี้
คือการไต่สวน ชี้มูลความผิดเพื่อยื่่นต่อประธานวุฒิสภา ด้วยเหตุนี้ในฐานะที่ ป.ป.ช.
เป็นองค์กรอิสระที่มีอำนาจให้คุณให้โทษดังเช่นองค์การทั้งหลายข้างต้น รัฐธรรมนูญจึงเปิดช่องให้มีการถอดถอนด้วยเช่นกัน
คือประชาชน 20,000
รายชื่อ หรือ ส.ส. 1 ใน 4 ของสภาผู้แทนราษฎร สามารถยื่นต่อประธานวุฒิสภาได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านองค์กรใดเพื่อการไต่สวนชี้มูลความผิดก่อน
อย่าง
ไรก็ตามสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันส่งผลให้หน้าที่ที่จะต้องเป็นกลางของ
ปปช. ถูกตั้งคำถามอยู่บ้าง เช่น
การพิจารณาคดีที่รวดเร็วกรณีทุจริตรับจำนำข้าวของรัฐบาลเพื่อไทย
ขณะที่โครงการประกันราคาข้าวของรัฐบาลประชาธิปัตย์ผ่านมาหลายปีแล้วยังไม่
เสร็จ
รวมทั้งการชี้มูลความผิดของนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒสภา
กรณีจงใจใช้อำนาจขัดรัฐธรรมนูญปมแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว.
ด้วยเหตุที่มีข้อสงสัยในการทำงาน ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2557
นายไพโรจน์ อิสรเสรีพงษ์ ยื่นรายชื่อประชาชน
20,214 คน ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อถอดถอนนายวิชา มหาคุณ กรรมการ
ป.ป.ช. เนื่องจากประพฤติตัวไม่เป็นกลางตามรัฐธรรมนูญมาตรา 248 ซึ่งนี่ไม่ใช่กรณีแรกที่ประชาชนยื่นถอดถอนป.ป.ช.
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13
มี.ค. 2556 นายปรีดา พุกศิริ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น ภาคเหนือตอนล่างและคณะ เคยรวบรวมรายชื่อประชาชนยื่นถอดถอนคณะกรรมการ
ป.ป.ช. ทั้ง 9 คนออกจากตำแหน่ง กรณีมีคำสั่งแต่งตั้งนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา
อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ผู้ที่พัวพันกรณีการทุจริตครุภัณฑ์อาชีวะศึกษาจำนวน
5,300 ล้านบาท
ให้ดำรงตำแหน่งอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบ
ปรามทุจริตโดยใช้กลไกทางการศึกษา (อนุกรรมการ ป.ป.ช.)
ทั้งที่กรมสอบสวนคดีพิเศษก็ได้รับเรื่องการทุจริตดังกล่าวไว้เพื่อเป็นคดี
พิเศษต่อมาเพื่อที่จะรวบรวมคดีส่งต่อไปยังสำนักงาน ป.ป.ช.
และในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการเองก็ได้ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงกับนางสาว
ศศิธารา ในหลายชุดด้วยกัน ซึ่งสรุปตรงกันว่ามีการทุจริตจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น