ตำราวิชาการไทยศึกษา A History of
Thailand
ซึ่งถูกใช้เรียนและสอนในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกมาเป็นเวลากว่าสิบปี
ได้ถูกแปลเป็นภาษาไทยแล้วโดยสำนักพิมพ์มติชน โดยนักวิชาการประวัติศาสตร์ไทย
หวังให้เป็นทางเลือกกับการศึกษาประวัติศาสตร์ในแนววิพากษ์มากขึ้น
สำนักพิมพ์มติชน
เปิดตัวหนังสือวิชาการเรื่อง "ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" ซึ่งแปลมาจาก A
History of Thailand ของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
เขียนโดยศาสตราจารย์คริส เบเกอร์ และศาสตราจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร
สองนักวิชาการอาวุโสผู้เชี่ยวชาญด้านไทยศึกษา
โดยหนังสือนี้ถูกใช้เป็นแบบเรียนมาตรฐานสากล สำหรับนักเรียนวิชาไทยศึกษา
ในมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ
ผู้เขียนกล่าวว่า
การเขียนหนังสือเรื่องการเมืองไทย มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก วงวิชาการไทยศึกษา
เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสงครามเย็น ตลอดจนแนวคิดว่าด้วยความเป็นไทย
ซึ่งเป็นแนวคิดที่ล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
จึงต้องการนำเสนอประวัติศาสตร์ไทย ที่สอดคล้องกับยุคสมัยมากขึ้น
ประเด็นสำคัญ คือการมุ่งอภิปราย
การเกิดขึ้นของรัฐ-ชาติไทย พัฒนาการทางเศรษฐกิจ-การเมือง
ในมุมมองที่ฉีกออกจากการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย แบบกระทรวงศึกษาธิการ
ที่มุ่งเน้นบทบาทของชนชั้นนำ// และยังชี้ให้เห็นพัฒนาการของความขัดแย้ง
ต่อสู้ ระหว่างฝ่ายชนชั้นนำเดิม และฝ่ายชนชั้นนำใหม่
ตลอดจนพลังมวลชนที่ขึ้นมามีบทบาทมากขึ้น
หนังสือเล่มนี้ จึงเป็นประโยชน์
ทั้งในฐานะเอกสารบทเรียน สำหรับนักเรียนและนักวิชาการด้านไทยศึกษา
ในแง่ของข้อมูล ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
ที่ไม่สามารถหาได้จากตำราประวัติศาสตร์ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ
และขณะนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยฉบับสมบูรณ์แล้ว
3 เมษายน 2557 เวลา 12:33 น.
![ได้เวลาฉีกประวัติศาสตร์ไทยฉบับกระทรวงศึกษาฯ ได้เวลาฉีกประวัติศาสตร์ไทยฉบับกระทรวงศึกษาฯ](http://images.voicecdn.net/contents/168/87/horizontal/101857.jpg)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น