แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

01 - บทนำสาธยายธรรม mp3

ที่มา Downmerng Ar

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมทำการสาธยายธรรม
ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔
ซึ่งทำให้สัทธรรมตั้งมั่น
ไม่ลบเลือนจนเสื่อมสูญไป
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย!   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมตรึกตรอง เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรม
ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา โดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕
ซึ่งทำให้สัทธรรมตั้งมั่น
ไม่ลบเลือนจนเสื่อมสูญไป
(ในที่นี้ยกมา ๒ ข้อ จาก ๕ ข้อ ของธรรม ๕ ประการ
ซึ่งทำให้สัทธรรมตั้งมั่น ไม่ลบเลือนจนเสื่อมสูญไป)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๗/๑๕๕.

ธรรมเป็นรุ่งอรุณแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อดวงอาทิตย์กำลังขึ้น
สิ่งที่มาก่อน เป็นนิมิตให้เห็นก่อน คือการขึ้นมาแห่งอรุณ ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อมีการเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ของภิกษุ
สิ่งที่มาก่อน เป็นนิมิตให้เห็นก่อน
คือความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย !
นี้คือความหวังของภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร
คือเธอจักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้
จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖/๑๒๙

“หิ่งห้อยนั้น ย่อมส่องแสงอยู่ได้ชั่วเวลาที่ดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นมา
ครั้นอาทิตย์ขึ้นมา หิ่งห้อยก็หมดแสงไม่มีสว่างอีก.
เดียรถีย์ทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น.
โอกาสอยู่ได้ชั่วเวลาที่บุคคลผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองยังไม่เกิดขึ้นในโลก.
พวกที่ได้แต่นึกๆ เอา ย่อมบริสุทธิ์ไม่ได้.
ถึงแม้สาวกของเขาก็เหมือนกัน.
ผู้ที่มีความเห็นผิด จะไม่พ้นทุกข์ไปได้เลย”.
-บาลี อุ. ขุ. ๒๕/๑๙๖/๑๔๖

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

Homage to the Blessed,
Noble and Perfectly, Enlighten One.

ประโยชน์ของการสาธยายธรรม
๑, เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม
(หนึ่งในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕.
๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ (หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.
๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต
ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๗๓.
๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ
ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒.
๕. ทำให้ไม่เป็นมลทิน
อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕..
๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน (หนึ่งในห้าบริขารของจิต)
มู. . ๑๓/๕๐๐/๗๒๘.
. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้
(หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง)
สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๓/๕๘.

วิธีการสาธยายธรรมให้แจ่มแจ้งได้นาน
ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกเหนี่ยวรั้ง ย่อมรู้ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด ออกซึ่งนิวรณ์ทั้งห้า (กามราคะ, พยาบาท, ถีนมิทธะ, อุทธัจจกุกกุจจะ, วิจิกิจฉา) ทำให้รู้เห็นประโยชน์ตามที่เป็นจริง
มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖๖/๖๐๓.

ข้อควรระวังและวิธีป้องกันในการสาธยายธรรม
...อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ ทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟัง ได้เรียนมาโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้นๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)...
...เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้นๆ ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น, ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจ ในภายในเนืองๆ. ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)...
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๙-๑๐๐/๗๓-๗๔.

ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอกระทำการ “สาธยายธรรม” ตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แล้วโดย พิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ ตนกระทำการสาธยายนั้น
- ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้ง อรรถรู้แจ้งธรรม
- ความอิ่มใจ (ปีติ) ย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ
- ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบ ระงับแล้ว
- ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข
- ย่อมตั้งมั่น นี้คือธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติข้อที่สาม...
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.

...โมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึง ตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึง “สาธยายธรรม” ตามที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้...

สตฺตก. อํ. ๒๓/๘๗/๕๘.




01 - บทนำสาธยายธรรม mp3
พุทธวจน ฉบับ ๑๐ สาธยายธรรม วัดนาป่าพง
ฟัง และ DOWNLOAD (MP3) http://watnapp.com/audio/view_categor...





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น