บทสวด เพื่อผู้เจ็บไข้
ยังกัญจิ ภิกขะเว ทุพพะลัง คิลานะกัง
ปัญจะ ธัมมา นะ วิชะหันติ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมห้าประการ
ไม่เว้นห่างไปเสีย จากคนเจ็บไข้
ทุพพลภาพคนใด
ตัสเสตัง ปาฏิกังขัง นะจิรัสเสวะ
ข้อนี้เป็นสิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้
ต่อการไม่นานเทียว คือ
อาสะวานัง ขะยา อะนาสะวัง เจโตวิมุตติง
ปัญญาวิมุตติง
เขาจักกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ทิฏเฐวะ ธัมเม สะยัง อภิญญา สัจฉิกัต๎วา
อุปะสัมปัชชะ วิหะริสสะติ
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้
เข้าถึงแล้ว แลอยู่ต่อกาลไม่นานเทียว
กะตะเม ปัญจะ อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
ธรรมห้าประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อะสุภานุปัสสี กาเย วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย
อาหาเร ปฏิกกูละสัญญี
เป็นผู้มีปกติสำคัญว่า ปฏิกูลในอาหาร
สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญี
เป็นผู้มีปกติสำคัญว่า ไม่น่ายินดี
ในโลกทั้งปวง
สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจานุปัสสี
เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยง
ในสังขารทั้งหลาย
มะระณะสัญญา โข ปะนัสสะ อัชฌัตตัง
สุปัฏฐิตา โหติ
มีสติอันตนเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในกาย
แล้วเห็นการเกิดดับภายใน
ยังกัญจิ ภิกขะเว ทุพพะลัง คิลานะกัง
อิเม ปัญจะ ธัมมา นะ วิชะหันติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมห้าประการ
ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้
ทุพพลภาพคนใด
ตัสเสตัง ปาฏิกังขัง นะจิรัสเสวะ
ข้อนี้เป็นสิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้
ต่อกาลไม่นานเทียว คือ
อาสะวานัง ขะยา อะนาสะวัง เจโตวิมุตติง
ปัญญาวิมุตติง
เขาจักกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ทิฏเฐวะ ธัมเม สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัต๎วา
อุปะสัมปัชชะ วิหะริสสะตีติ
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้
เข้าถึงแล้ว แลอยู่
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๐/๑๒๑
บทสวด ที่สุดแห่งทุกข์
เอต๎ถะ จะ เต มาลุงก๎ยะปุตตะ
ทิฏฐะสุตะมุตะวิญญาตัพเพสุ ธัมเมสุ
มาลุงก๎ยะบุตร ในบรรดาสิ่งที่ท่านได้เห็น
ได้ฟัง ได้รู้สึก ได้รู้แจ้งเหล่านั้น
ทิฏเฐ ทิฏฐะมัตตัง ภะวิสสะติ
ในสิ่งที่ท่านเห็นแล้ว
จักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็น
สุเต สุตะมัตตัง ภะวิสสะติ
ในสิ่งที่ท่านฟังแล้ว
จักเป็นแต่เพียงสักว่าได้ยิน
มุเต มุตะมัตตัง ภะวิสสะติ
ในสิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว
จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก
วิญญาเต วิญญาตะมัตตัง ภะวิสสะติ
ในสิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว
ก็จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง
ยะโต โข เต มาลุงก๎ยะปุตตะ
ทิฏฐะสุตะมุตะวิญญาตัพเพสุ ธัมเมสุ
มาลุงก๎ยะบุตร เมื่อใดแล
ในบรรดาธรรมเหล่านั้น
ทิฏเฐ ทิฏฐะมัตตัง ภะวิสสะติ
เมื่อสิ่งที่เห็นแล้ว สักว่าเห็น
สุเต สุตะมัตตัง ภะวิสสะติ
สิ่งที่ฟังแล้ว สักว่าได้ยิน
มุเต มุตะมัตตัง ภะวิสสะติ
สิ่งที่รู้สึกแล้ว สักว่ารู้สึก
วิญญาเต วิญญาตะมัตตัง ภะวิสสะติ
สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สักว่ารู้แจ้ง ดังนี้แล้ว
ตะโต ต๎วัง มาลุงก๎ยะปุตตะ นะ เตนะ
มาลุงก๎ยะบุตร เมื่อนั้น ตัวตนย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น
ยะโต ต๎วัง มาลุงก๎ยะปุตตะ นะ เตนะ
ตะโต ต๎วัง มาลุงก๎ยะปุตตะ นะ ตัตถะ
มาลุงก๎ยะบุตร เมื่อใดตัวตนไม่มี
เพราะเหตุนั้น เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้นๆ
ยะโต ต๎วัง มาลุงก๎ยะปุตตะ นะ ตัตถะ
มาลุงก๎ยะบุตร เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้นๆ
ตะโต มาลุงก๎ยะปุตตะ เนวิธะ
นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเรนะ
เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้
ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
เอเสวันโต ทุกขัสสาติ
นั่นแหละ คือ ที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้
สฬา. สํ. ๑๘/๙๑/๑๓๓.
บทสวด อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
กะถัญจะ อานันทะ อะริยัสสะ วินะเย
อะนุตตะรา อินท๎ริยะภาวะนา โหติ
อานนท์ อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า
อิธานันทะ ภิกขุโน จักขุนา รูปัง ทิส๎วา
อุปปัชชะติ มะนาปัง
อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ เพราะเห็นรูปด้วยตา
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจก็เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ อะมะนาปัง
ไม่เป็นที่ชอบใจ ก็เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ มะนาปามะนาปัง
เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ ก็เกิดขึ้น
โส เอวัง ปะชานาติ อุปปันนัง โข
เม อิทัง มะนาปัง
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้
อุปปันนัง อะมะนาปัง
ไม่เป็นที่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว
อุปปันนัง มะนาปามะนาปัง
เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
ที่เกิดขึ้นแล้ว
ตัญจะ โข สังขะตัง โอฬาริกัง
ปะฏิจจะ สะมุปปันนัง
เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบๆ
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น
เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง
แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต
ยะทิทัง อุเปกขาติ
กล่าวคือ อุเบกขา ดังนี้
ตัสสะ ตัง อุปปันนัง มะนาปัง
เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ
ที่เกิดขึ้นแล้ว
อุปปันนัง อะมะนาปัง
ไม่เป็นที่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว
อุปปันนัง มะนาปามะนาปัง
เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
ที่เกิดขึ้นแล้ว
นิรุชฌะติ อุเปกขา สัณฐาติ
นั้นย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่
เสยยะถาปิ อานันทะ จักขุมา ปุริโส
อุมมิเลต๎วา วา นิมมิเลยยะ นิมมิเลต๎วา
วา อุมมิเลยยะ เอวะเมวะ โข อานันทะ
ยัสสะกัสสะจิ เอวัง สีฆัง เอวัง ตุวะฏัง
เอวัง อัปปะกะสิเรนะ อุปปันนัง มะนาปัง
อุปปันนัง อะมะนาปัง อุปปันนัง มะนาปามะนาปัง
นิรุชฌะติ อุเปกขา สัณฐาติ
อานนท์ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่
ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็ว
เหมือนการกระพริบตาของคน ส่วนอุเบกขา
ยังคงดำรงอยู่
อะยัง วุจจะตานันทะ อริยัสสะ วินะเย
อะนุตตะรา อินท ๎ริยะภาวะนา
จักขุวิญเญยเยสุ รูเปสุ
อานนท์ นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
ในอริยวินัย ในกรณีแห่งรูป ที่รู้แจ้งด้วยจักษุ
(ผู้สวดพึงพิจารณาอนุโลมตามในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ โสตะ, ฆานะ, ชิวหา,
กายะ และมโน)
อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๑/๘๕๖
บทสวด ก่อนนอน
สะยานัสสะ เจปิ ภิกขะเว ภิกขุโน
ชาคะรัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุนอนตื่นอยู่
อุปปัชชะติ กามะวิตักโก วา
พ๎ยาปาทะวิตักโก วา วิหิงสาวิตักโก วา
ถ้ามีกามวิตก พยาบาทวิตก
หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้น
ตัญจะ ภิกขุ นาธิวาเสติ ปะชะหะติ
วิโนเทติ พ๎ยันตีกะโรติ
และภิกษุนั้นก็ไม่รับเอาวิตกเหล่านั้นไว้
อะนะภาวัง คะเมติ
แต่สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก
ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ
สะยาโนปิ ภิกขะเว ภิกขุ ชาคะโร เอวังภูโต
อาตาปี โอตตัปปี สะตะตัง สะมิตัง
อารัทธะวิริโย ปะหิตัตโตติ วุจจะตีติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นอย่างนี้
แม้กำลังนอนตื่นอยู่ ก็เรียกว่า
เป็นผู้ปรารภความเพียร
รู้สึกกลัว (ต่อบาปอกุศล)
อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิตย์
ตัสสะ เจ อานันทะ ภิกขุโน อิมินา
วิหาเรนะ วิหะระโต
อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สะยะนายะ จิตตัง นะมะติ
จิตน้อมไปเพื่อการนอน
โส สะยะติ เอวัง มัง สะยันตัง
นาภิชฌาโทมะนัสสา ปาปะกา อะกุสะลา
ธัมมา อันวาสสะวิสสันตีติ
ภิกษุนั้นก็นอนด้วยการตั้งจิตว่า
อกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย
คือ อภิชฌาและโทมนัส
จักไม่ไหลไปตามเราผู้นอนอยู่
ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้
อิติหะ ตัตถะ สัมปะชาโน โหติ
ในกรณีอย่างนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
ในกรณีแห่งการนอนนั้น
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘/๑๑.
อุปริ. ม. ๑๔/๒๓๘/๒๔๘
06 - บทสวด เพื่อผู้เจ็บไข้ ที่สุดแห่งทุกข์ อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ ก่อนนอน mp3 พุทธวจน ฉบับ ๑๐ สาธยายธรรม วัดนาป่าพง ฟัง และ DOWNLOAD (MP3) http://watnapp.com/audio/view_categor...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น