แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

นิวยอร์กไทม์ เปิดโปง 'ตุลาการรัฐประหาร' ในไทย

ที่มา Voice TV 21

 นิวยอร์กไทม์ เปิดโปง 'ตุลาการรัฐประหาร' ในไทย
 
by sathitm 1 เมษายน 2557 เวลา 10:29 น

นิวยอร์กไทม์จับตาพลังปฏิปักษ์ประชาธิปไตยในศาลและองค์กรอิสระ จ่อวินิจฉัยคดีรับจำนำข้าวเข้าทางกลุ่มต่อต้านรัฐบาลพรรคเพื่อไทย พร้อมชำแหละเครือข่ายสืบทอดอำนาจจากรัฐประหารปี 2549

เมื่อวันจันทร์ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ เสนอบทวิเคราะห์การเมืองไทย เรื่อง "บางฝ่ายคาดศาลไทยทำรัฐประหาร" ระบุว่า บรรดาตุลาการและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งเรียกกันในนามว่า "องค์กรอิสระ" ที่กำลังไต่สวนคดีร้องเรียนรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีประวัติมาช้านานในการต่อต้านนางสาวยิ่งลักษณ์และรัฐบาลของเธอ



บทวิเคราะห์ชิ้นนี้อ้างความเห็นของนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายและนักวิจารณ์ ชี้ว่า เราไม่สามารถเข้าใจสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันในประเทศไทยโดยอิงหลักการ ทางกฎหมายได้อีกต่อไปแล้ว เวลานี้สถานการณ์เป็นเรื่องของการเมืองดิบๆ หลักนิติรัฐถูกบิดเบือนเพื่อรับใช้เป้าหมายทางการเมือง

เมื่อวันจันทร์ นางสาวยิ่งลักษณ์เข้าพบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช. ในคดีโครงการรับจำนำข้าว หากป.ป.ช.ชี้มูลความผิด นางสาวยิ่งลักษณ์จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี


@  นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางเข้าพบคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อ 31 มีนาคม 2557 ในคดีโครงการรับจำนำข้าว

รายงานชี้ว่า นายวิชา มหาคุณ หนึ่งในกรรมการป.ป.ช.ที่ไต่สวนคดีรับจำนำข้าว มีประวัติเป็นคู่อริกับพรรคของยิ่งลักษณ์ เขาได้รับการแต่งตั้งจากกองทัพเพื่อปี 2550 ให้ร่วมยกร่างรัฐธรรมนูญภายหลังการรัฐประหารโค่นนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของยิ่งลักษณ์ เมื่อปี 2549

รัฐธรรมนูญปี 2550 มุ่งเป้าทำลายอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ด้วยการให้ผู้พิพากษาและหัวหน้าของบรรดาองค์กรอิสระเป็นคนแต่งตั้ง วุฒิสมาชิกครึ่งหนึ่งของวุฒิสภา จากเดิมซึ่งวุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

รายงานยกคำพูดของนายวิชาซึ่งกล่าวไว้ในช่วงเวลานั้นว่า "เราทุกคนรู้ว่า การเลือกตั้งคือความชั่วร้าย" และว่า อำนาจต้องถูกถ่ายโอนมาสู่มือของผู้พิพากษา ไม่ใช่พวกผู้แทนจากการเลือกตั้ง ซึ่งเขาบอกว่าเป็นตัวการทำให้ประเทศชาติ "ล่มสลาย"

"ประชาชน โดยเฉพาะนักวิชาการ ที่อยากเห็นรัฐธรรมนูญนำไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง เป็นพวกไร้เดียงสา" นิวยอร์กไทม์อ้างคำพูดของนายวิชา

บทวิเคราะห์ชิ้นนี้ บรรยายต่อไปว่า ผู้พิพากษา 3 คนในศาลรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน ซึ่งออกคำวินิจฉัยเป็นโทษต่อรัฐบาลหลายคดี ก็เคยเป็นสมาชิกในคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ด้วยเช่นกัน



"ภาวะตีบตันทางการเมืองที่ดำเนินมานาน 5 เดือนเป็นผลจากการช่วงชิงอำนาจระหว่างฝ่ายนางสาวยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย ซึ่งยังคงมีคะแนนนิยมหนาแน่นในเขตนอกเมืองหลวง กับฝ่ายผู้พิพากษาและองค์กรอิสระในกรุงเทพ ซึ่งต้องการบดขยี้ขบวนการที่พวกเขาเห็นว่าเป็นพวกประชานิยมที่เลวร้าย และรุกล้ำอำนาจของพวกตน" บทวิเคราะห์ระบุ

ในประเทศไทย การโค่นนางสาวยิ่งลักษณ์ และอาจรวมถึงคณะรัฐมนตรีของเธอทั้งชุด เรียกกันว่า รัฐประหารโดยศาล

นายลิขิต ธีรเวคิน นักรัฐศาสตร์แถวหน้า ซึ่งมักได้รับเชิญเป็นวิทยากรทางโทรทัศน์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า กำลังมีการปั่นกระแสเพื่อปูทางไปสู่ตุลาการรัฐฆาต "นี่คือรัฐประหารที่ทำกันในระบบ โดยใช้กฎหมาย อย่าปฏิเสธเลย ใครๆก็รู้ ทั้งในประเทศและนอกประเทศ"


@  ศาลรัฐธรรมนูญของไทย ถูกจับตาว่า อาจโค่นนายกรัฐมนตรี หลังมีประวัติออกคำวินิจฉัยเป็นโทษต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ และโครงการสาธารณูปโภค

จากนั้น บทวิเคราะห์ได้ย้อนเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลกับศาลรัฐธรรมนูญใน หลายกรณี ตั้งแต่คำวินิจฉัยที่ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยองค์ประกอบของวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ถือเป็นการ "ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย" ไปจนถึงคำวินิจฉัยที่สกัดกั้นโครงการสาธารณูปโภค ผู้พิพากษาบอกว่า รถไฟความเร็วสูงไม่เหมาะสมสำหรับเมืองไทย นักวิจารณ์แย้งว่า ดุลยพินิจในเรื่องนี้เป็นของสมาชิกสภา ไม่ใช่ศาล

รายงานระบุว่า การปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญได้ฟื้นคำวิจารณ์ในเรื่องความเป็นสอง มาตรฐานในสังคมไทย ผู้สนับสนุนรัฐบาลบอกว่า แกนนำการประท้วง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ มีคดีฆ่าคนตายติดตัวจากกรณีการปราบปราม "คนเสื้อแดง" ที่สนับสนุนทักษิณเมื่อปี 2553 แต่เขาเพิกเฉยที่จะไปขึ้นศาล นอกจากนี้ ป.ป.ช.ดำเนินคดีรับจำนำข้าวอย่างฉับพลันทันที ในขณะที่คดีคอร์รัปชั่นอื่นๆแทบไม่คืบหน้า ทั้งนี้ ป.ป.ช.ตอบโต้คำวิจารณ์นี้เมื่อวันจันทร์ โดยบอกว่า ใช้เวลาทำคดีข้าวมาเกือบ 2 ปีแล้ว.

Source: New York Times
Photo: AFP






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น