โดยผู้สื่อข่าวพิเศษไทยอีนิวส์
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2557
กลุ่มคนไทยในนครนิวยอร์คได้จัดงานเสวนาเรื่อง “วิกฤตการเมืองไทยในปัจจุบัน”
โดยได้เชิญ ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และ รศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ จากมหาวิทยาลัยเกียวโต
เข้าร่วมการเสวนาดังกล่าว ที่มีขึ้น ณ ร้านอาหารไทย “พงษ์ศรี”
ในนครนิวยอร์ค และมีผู้เข้าร่วมรับฟังกว่า 60 คน
อาจารย์ชาญวิทย์ได้กล่าวว่า
ปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของ “สงครามตัวแทน”
ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่า บารมีเก่า เงินเก่า สื่อเก่า กับกลุ่มอำนาจใหม่
บารมีใหม่ เงินใหม่ และสื่อใหม่ โดยส่วนตัวนั้น
อาจารย์ชาญวิทย์เชื่อว่าโอกาสของการปรองดองของกลุ่มที่มีความขัดแย้งทางการ
เมืองนั้นเหลือน้อยมาก และอาจลงเอยด้วยการใช้ความรุนแรงทางการเมือง
ซึ่งฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยนั้น
ยังคงใช้เครื่องมือนานาประเภทในการทำลายล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ซึ่งหากทำสำเร็จ โอกาสที่ฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลอาจจะออกมาต่อต้าน
ความรุนแรงอาจตามมา
นอกจากนี้
อาจารย์ชาญวิทย์ยังได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้กฏหมายหมิ่นพระบรมเด
ชานุภาพอย่างพร่ำเพื้อ
การฟ้องร้องกันได้อย่างเสรีและโทษที่รุนแรงมากที่สุดในโลก
จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปกฏหมายฉบับนี้อย่างเร่งด่วน
หากฝ่ายรอยัลลิสต์ต้องการจะปกป้องสถานัของสถาบันกษัตริย์ต่อไป
ทางด้านอาจารย์ปวินนั้น
ได้ขอให้ทุกฝ่ายมองปัญหาวิกฤตการเมืองไทยในมุมกว้างมากขึ้น
แทนที่จะเน้นเรื่องปัญหาคอร์รับชั่นที่เกิดจากระบอบทักษิณ
(ซึ่งอาจารย์ปวินยังมองว่าเป็นปัญหาสำคัญ
แต่ได้ถูกมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการล้มล้างหลักการทางประชาธิปไตย
โดยอาจารย์ปวินตั้งสมมติฐานว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้น่าจะมาจากปัจจัยสำคัญ 2
ประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม
ทำให้กลุ่มที่เคนถูกมองว่าเป็นคนชายขอบทางการเมือง
ไต่เต้าขึ้นมามีบทบาทในสังคมมากขึ้น
กลุ่มเหล่านี้ต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมทางการเมืองมากขึ้น และประการที่
2
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความกังวลใจขอลกลุ่มชนชั้นนำเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านของ
รัชสมัย
ซึ่งกลายมาเป็นประเด็นที่ขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือดเพื่อการได้มาซึ่งการควบ
คุมการเปลี่ยนผ่านนั้นๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มตนเอง
ทั้งนี้ อาจารย์ปวินยังย้ำว่า
ถึงเวลาแล้วที่สถาบันจะต้องปฏิรูปตัวเอง
และต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับประชาธิปไตย
เพราะหากสถาบันกษัตริย์ยังคงเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
โดยเฉพาะในรัชสมัยหน้า ก็จะนำพาไปสู่ปัญหาที่อาจจะรุนแรงมากขึ้น
เมื่อความต้องการประชาธิปไตยมีมากและความต้องการให้สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือ
การเมืองอย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น