http://www.youtube.com/watch?v=rBqUQFvcq-8
สัมภาษณ์สดทางโทรศัพท์ กับคุณพีรพันธุ์ พาลุสุข
ฝ่ายกฎหมายรัฐบาล หลังศาลรัฐธรรมนูญรับตีความสถานะนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายรัฐบาลยืนยันแล้วว่า จะต่อสู้ตามกระบวนยุติธรรมถึงที่สุด
ที่มา Voice TV
ooo
ภาพ InsideThaiGov |
ooo
ความเห็นของ อ. พนัส ทัศนียานนท์...
ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องของนายไพบูลย์ นิติตะวันกับคณะไว้พิจารณา เพราะ
1.นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากความเป็น
รัฐมนตรีไปแล้วเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 9 ธันวาคม
2556
จึงไม่มีเหตุที่จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยได้อีกว่านายกรัฐมนตรี
ต้องพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีเพราะเหตุได้กระทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 268
2. การที่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี
เป็นการใช้อำนาจบริหารในการแต่งตั้ง
โยกย้ายข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน
ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงได้ทุก
ตำแหน่ง
แต่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนและกระบวนการตามที่กฎหมายว่าด้วยข้า
ราชการพลเรือนและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้
การที่นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งโยกย้ายนายถวิล
จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงฯมาเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นตำแหน่งระดับเดียวกัน จึงมีอำนาจกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
3. การใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีออกคำสั่งย้ายนายถวิล
จึงมิใช่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงอำนาจการแต่งตั้งโยกย้ายของผู้อื่นซึ่ง
ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบกับมาตรา 266 แต่อย่างใด
เพราะเป็นการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีเอง
หาได้ก้าวก่ายแทรกแซงอำนาจตามกฎหมายของบุคคลอื่นแต่อย่างใดไม่
4.
ตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่ให้เพิกถอนคำสั่งย้ายนายถวิล
มิได้เป็นการเพิกถอนเพราะเหตุนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจก้าวก่ายหรือแทรกแซงอำนาจ
การสั่งแต่งต้ังโยกย้ายของบุคคลอื่นซึ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268
แต่เป็นการวินิจฉัยว่าการออกคำสั่งของนายกรัฐมนตรีให้โยกย้ายนายถวิลมาประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นการใช้ดุลพินิจในการใช้อำนาจโยกย้ายที่ไม่ชอบด้วย
กระบวนการและขั้นตอนตาใที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยข้าราชการพลเรือนและ
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากมิได้แสดงเหตุผลให้ชัดแจ้งว่าทำไมจึงมีความจำเป็นต้องโยกย้ายนาย
ถวิลออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงฯ
5.
คำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดในเรื่องนี้มีปัญหาเกี่ยวกับความถูกต้องชอบ
ธรรมของกระบวนการชี้ขาดตัดสินคดี
เพราะประธานศาลปกครองสูงสุดใช้อำนาจสั่งให้นำคดีเข้าสู่การพิจารณาของที่
ประชุมใหญ่ และตุลาการซึ่งเป็นองคณะและเจ้าของสำนวนรวม 8 คน
มีความเห็นแย้งกับความเห็นของที่ประชุมใหญ่ และได้ทำความเห็นแย้งคัดค้านไว้
สรุป การที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งย้ายนายถวิล
เปลี่ยนศรีไม่เข้าข่ายเป็นการต้องห้ามตาม รธน. มาตรา 268
ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีจึงไม่สิ้นสุดลงตาม รธน. มาตรา 182(7)
ดังที่นายไพบูลย์ นิติตะวันกับพวกอ้างในคำร้อง
และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอำนาจตามมาตรา 182
วรรคสาม
ที่จะวินิจฉัยได้ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงโดยอาศัยอำนาจ
ตามมาตรา 182 วรรคสามดังกล่าว
เพราะความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ได้มีการประกาศ
ยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 9 ธันวาคม 2556 นั้นแล้ว (รธน.มาตรา 180(2))
จึงไม่มีความเป็นรัฐมนตรีที่จะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าได้สิ้นสุดลง
ตามมาตรา 182 วรรคสามอีกหรือไม่แต่อย่างใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น