กกต.สรุปยอดสมัคร ส.ส.เขต ทั่วประเทศ มีผู้สมัครรวม 1,272 คนแต่มี
28 เขตใน 8 จังหวัดไม่มีผู้สมัคร เปิดรับสมัครไม่ได้ 5 จังหวัด
มีผู้สมัครคนเดียว 12 จังหวัด 22 เขต ด้านพรรคเพื่อไทยนำทีมบุกยื่น 4 ข้อ
จี้ กกต.แก้ปัญหาภาคใต้ขวางผู้สมัคร เสนอขยายเวลา
1 ม.ค.57 เวลา 18.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. แถลงสรุปรายงานการรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. 77 จังหวัด 375 เขตเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 28 ธ.ค. 56 - 1 ม.ค. 57 ว่า มีเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครฯ แล้ว รวม 347 เขต มีผู้สมัครฯ ทั้งสิ้น 1,272 คน มีจังหวัดที่เปิดรับสมัครฯ ไม่ได้ 5 จังหวัด 24 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย จ.สุราษฎร์ธานี 6 เขต จ.กระบี่ 3 เขต จ.ตรัง 4 เขต จ.พัทลุง 3 เขต จ.สงขลา 8 เขต
ส่วนเขตเลือกตั้งที่ยังไม่มีผู้สมัครฯ รวม 8 จังหวัด 28 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย จ.สุราษฎร์ธานี คือเขตที่ 1-6 จ.กระบี่ เขตที่ 1- 3 จ.ตรัง เขตที่ 1-4 จ.พัทลุง เขตที่ 1-3 จ.สงขลา เขตที่ 1-8 จ.ชุมพร เขตที่ 1 จ.ภูเก็ต เขตที่ 1 จ.นครศรีธรรมราช เขตที่ 3 และ 8
ด้าน เขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครฯ เพียงคนเดียวรวม 12 จังหวัด 22 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย ภาคใต้ 15 จังหวัด 7 เขตเลือกตั้ง คือ จ.ภูเก็ต เขตที่ 1 จ.นครศรีธรรมราช เขตที่ 7 จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขตที่ 1 -3 จ.ชุมพร เขตที่ 2-3 ภาคเหนือ 16 จังหวัด 9 เขตเลือกตั้ง คือ จ.น่าน เขตที่ 1-3 จ.แพร่ เขตที่ 1-2 จ.อุตรดิตถ์ เขตที่ 1 และ 3 จ.นครสวรรค์ เขตที่ 1 และ 3 ภาคกลาง ปริมณฑล และภาคตะวันออก 26 จังหวัด มี 3 เขตเลือกตั้ง คือ จ.นครปฐม เขตที่ 2 จ.พระนครศรีอยุธยา เขตที่ 3-4 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มี 3 เขตเลือกตั้งคือ จ.ศรีสะเกษ เขตที่ 4 และ 8 จ.ชัยภูมิ เขตที่ 1
นายภุชงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถเข้าไปสมัครฯ ได้ กกต. ขอให้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจโดยเร็วเพื่อรักษาสิทธิ์ ซึ่งวันที่ 2 ม.ค. กกต.จะมีการประชุมเพื่อพิจารณา และหามาตรการเยียวยาให้กับบุคคลดังกล่าว เบื้องต้นพบว่ามีผู้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจแล้ว 123 คน ส่วนข้อเสนอของพรรคเพื่อไทย ที่ขอให้ กกต. ขยายวันรับสมัครฯ ออกไปนั้น คงยาก เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อปฏิทินการเลือกตั้ง โดยเฉพาะได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ไว้ในวันที่ 13 ม.ค. รวมทั้งการเพิ่มชื่อถอนชื่อของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอีกด้วย
นอกจาก นี้ วันที่ 2 ม.ค. กกต.ยังจะมีการประชุมเพื่อมีมติและมีความชัดเจนว่าจะเลือกตั้งกันอย่างไร หรือ จะมีการเลือกตั้งหรือไม่ ในภาพรวมการรับสมัครฯ ขณะนี้ พบว่ามี 7 จังหวัด 40 เขตเลือกตั้ง ที่มีปัญหาหนัก แต่ กกต.ทั้ง 5 คน ไม่มีการนิ่งนอนใจ ประเมินสถานการณ์ทุกวัน พยายามเดินหน้าแก้ไขปัญหาและจัดการเลือกตั้งไปตามกฎหมาย ยืนยันอีกครั้งว่า กกต. ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใด แต่ ทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลางตามระเบียบและข้อกฎหมาย.
ขณะเดียวกันนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย สมาชิกพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย พรรคชาติสามัคคี และพรรคกสิกรไทย เดินทางมายื่น 4 ข้อเรียกร้องต่อ กกต. หลัง 8 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เกิดปัญหาผู้สมัครไม่สามารถเข้าไปสมัครรับเลือกตั้งได้ โดยมี น.ส.สุรณี ผลทวี ผู้อำนวยการสำนักเลขานุการ กกต.เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าว
ทั้งนี้ ข้อเสนอประกอบด้วย 1. หากมีการขัดขวางจนผู้สมัครไม่สามารถรับสมัครได้ ให้สามารถแจ้งความที่สถานีตำรวจในเขตจังหวัดที่มีการเลือกตั้งถึงสาเหตุที่ ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งภายในวันที่ 1 ม.ค.ให้ถือว่าผู้สมัครรายนั้นได้รับสิทธิ์ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยชอบ ด้วยกฎหมาย 2. หากระเบียบ ประกาศ ข้อกำหนดที่ออกโดย กกต.เป็นอุปสรรคทำให้ผู้สมัครเสียสิทธิ์ในการยื่นเอกสาร ขอให้ กกต.แก้ไขเปลี่ยนแปลง ละเว้นระเบียบอันทำให้เป็นการตัดสิทธิ์การสมัคร 3. หากผู้สมัครไม่สามารถสมัครได้ทันภายในวันที่ 1 ม.ค.ขอให้ กกต.ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 235 และ 236 ขยายระยะเวลายื่นเอกสารการรับสมัครออกไปก่อน และ 4. ขอให้ กกต.ดำเนินการกับผู้ขัดขวางการปฏิบัติงานของ กกต.ประจำจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องปรามไม่ให้มีการขัดขวางการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม ก่อนยื่นข้อเรียกร้อง นายพร้อมพงศ์ได้จุดตะเกียงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการแก้ปัญหานายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ขอฝากไปยังนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ซึ่งรับผิดชอบจัดการเลือกตั้งโดยตรง ว่าอย่าออกมาให้สัมภาษณ์ในลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน อย่าเอาความรู้สึกส่วนตัวมาตัดสิน กกต.มีหน้าที่จัดการการเลือกตั้งก็ขอให้ทำหน้าที่ไปตามกฎหมาย และขอให้นายสมชัยลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อให้เห็นสภาพปัญหาจริงซึ่งควรจะย้าย สถานที่รับสมัครไปในสถานที่ของตำรวจหรือทหาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ทั้งนี้ น่าเชื่อว่า กกต.จังหวัดรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่ม กปปส.เพราะมีการลาออก ละทิ้งหน้าที่ จึงขอให้กกต.กลางดำเนินคดีและยึดในหลักนิติรัฐ ทั้งนี้ เชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นหนทางตามระบอบประชาธิปไตยสามารถลดความขัดแย้งได้ จึงไม่อยากให้ขัดขวางการเลือกตั้ง อยากฝากไปยังนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ว่าอย่าปิดกั้นคนไทย 65 ล้านคนที่จะใช้สิทธิ์ผ่านผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 48 ล้านเสียง
กกต.นัดหารือแกนนำ 2 พรรคการเมืองใหญ่หาทางออก
ที่มา : เว็บไซต์ไทยรัฐ, สำนักข่าวไทย
1 ม.ค.57 เวลา 18.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. แถลงสรุปรายงานการรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. 77 จังหวัด 375 เขตเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 28 ธ.ค. 56 - 1 ม.ค. 57 ว่า มีเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครฯ แล้ว รวม 347 เขต มีผู้สมัครฯ ทั้งสิ้น 1,272 คน มีจังหวัดที่เปิดรับสมัครฯ ไม่ได้ 5 จังหวัด 24 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย จ.สุราษฎร์ธานี 6 เขต จ.กระบี่ 3 เขต จ.ตรัง 4 เขต จ.พัทลุง 3 เขต จ.สงขลา 8 เขต
ส่วนเขตเลือกตั้งที่ยังไม่มีผู้สมัครฯ รวม 8 จังหวัด 28 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย จ.สุราษฎร์ธานี คือเขตที่ 1-6 จ.กระบี่ เขตที่ 1- 3 จ.ตรัง เขตที่ 1-4 จ.พัทลุง เขตที่ 1-3 จ.สงขลา เขตที่ 1-8 จ.ชุมพร เขตที่ 1 จ.ภูเก็ต เขตที่ 1 จ.นครศรีธรรมราช เขตที่ 3 และ 8
ด้าน เขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครฯ เพียงคนเดียวรวม 12 จังหวัด 22 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย ภาคใต้ 15 จังหวัด 7 เขตเลือกตั้ง คือ จ.ภูเก็ต เขตที่ 1 จ.นครศรีธรรมราช เขตที่ 7 จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขตที่ 1 -3 จ.ชุมพร เขตที่ 2-3 ภาคเหนือ 16 จังหวัด 9 เขตเลือกตั้ง คือ จ.น่าน เขตที่ 1-3 จ.แพร่ เขตที่ 1-2 จ.อุตรดิตถ์ เขตที่ 1 และ 3 จ.นครสวรรค์ เขตที่ 1 และ 3 ภาคกลาง ปริมณฑล และภาคตะวันออก 26 จังหวัด มี 3 เขตเลือกตั้ง คือ จ.นครปฐม เขตที่ 2 จ.พระนครศรีอยุธยา เขตที่ 3-4 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มี 3 เขตเลือกตั้งคือ จ.ศรีสะเกษ เขตที่ 4 และ 8 จ.ชัยภูมิ เขตที่ 1
นายภุชงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถเข้าไปสมัครฯ ได้ กกต. ขอให้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจโดยเร็วเพื่อรักษาสิทธิ์ ซึ่งวันที่ 2 ม.ค. กกต.จะมีการประชุมเพื่อพิจารณา และหามาตรการเยียวยาให้กับบุคคลดังกล่าว เบื้องต้นพบว่ามีผู้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจแล้ว 123 คน ส่วนข้อเสนอของพรรคเพื่อไทย ที่ขอให้ กกต. ขยายวันรับสมัครฯ ออกไปนั้น คงยาก เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อปฏิทินการเลือกตั้ง โดยเฉพาะได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ไว้ในวันที่ 13 ม.ค. รวมทั้งการเพิ่มชื่อถอนชื่อของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอีกด้วย
นอกจาก นี้ วันที่ 2 ม.ค. กกต.ยังจะมีการประชุมเพื่อมีมติและมีความชัดเจนว่าจะเลือกตั้งกันอย่างไร หรือ จะมีการเลือกตั้งหรือไม่ ในภาพรวมการรับสมัครฯ ขณะนี้ พบว่ามี 7 จังหวัด 40 เขตเลือกตั้ง ที่มีปัญหาหนัก แต่ กกต.ทั้ง 5 คน ไม่มีการนิ่งนอนใจ ประเมินสถานการณ์ทุกวัน พยายามเดินหน้าแก้ไขปัญหาและจัดการเลือกตั้งไปตามกฎหมาย ยืนยันอีกครั้งว่า กกต. ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใด แต่ ทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลางตามระเบียบและข้อกฎหมาย.
ขณะเดียวกันนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย สมาชิกพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย พรรคชาติสามัคคี และพรรคกสิกรไทย เดินทางมายื่น 4 ข้อเรียกร้องต่อ กกต. หลัง 8 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เกิดปัญหาผู้สมัครไม่สามารถเข้าไปสมัครรับเลือกตั้งได้ โดยมี น.ส.สุรณี ผลทวี ผู้อำนวยการสำนักเลขานุการ กกต.เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าว
ทั้งนี้ ข้อเสนอประกอบด้วย 1. หากมีการขัดขวางจนผู้สมัครไม่สามารถรับสมัครได้ ให้สามารถแจ้งความที่สถานีตำรวจในเขตจังหวัดที่มีการเลือกตั้งถึงสาเหตุที่ ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งภายในวันที่ 1 ม.ค.ให้ถือว่าผู้สมัครรายนั้นได้รับสิทธิ์ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยชอบ ด้วยกฎหมาย 2. หากระเบียบ ประกาศ ข้อกำหนดที่ออกโดย กกต.เป็นอุปสรรคทำให้ผู้สมัครเสียสิทธิ์ในการยื่นเอกสาร ขอให้ กกต.แก้ไขเปลี่ยนแปลง ละเว้นระเบียบอันทำให้เป็นการตัดสิทธิ์การสมัคร 3. หากผู้สมัครไม่สามารถสมัครได้ทันภายในวันที่ 1 ม.ค.ขอให้ กกต.ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 235 และ 236 ขยายระยะเวลายื่นเอกสารการรับสมัครออกไปก่อน และ 4. ขอให้ กกต.ดำเนินการกับผู้ขัดขวางการปฏิบัติงานของ กกต.ประจำจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องปรามไม่ให้มีการขัดขวางการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม ก่อนยื่นข้อเรียกร้อง นายพร้อมพงศ์ได้จุดตะเกียงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการแก้ปัญหานายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ขอฝากไปยังนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ซึ่งรับผิดชอบจัดการเลือกตั้งโดยตรง ว่าอย่าออกมาให้สัมภาษณ์ในลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน อย่าเอาความรู้สึกส่วนตัวมาตัดสิน กกต.มีหน้าที่จัดการการเลือกตั้งก็ขอให้ทำหน้าที่ไปตามกฎหมาย และขอให้นายสมชัยลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อให้เห็นสภาพปัญหาจริงซึ่งควรจะย้าย สถานที่รับสมัครไปในสถานที่ของตำรวจหรือทหาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ทั้งนี้ น่าเชื่อว่า กกต.จังหวัดรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่ม กปปส.เพราะมีการลาออก ละทิ้งหน้าที่ จึงขอให้กกต.กลางดำเนินคดีและยึดในหลักนิติรัฐ ทั้งนี้ เชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นหนทางตามระบอบประชาธิปไตยสามารถลดความขัดแย้งได้ จึงไม่อยากให้ขัดขวางการเลือกตั้ง อยากฝากไปยังนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ว่าอย่าปิดกั้นคนไทย 65 ล้านคนที่จะใช้สิทธิ์ผ่านผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 48 ล้านเสียง
กกต.นัดหารือแกนนำ 2 พรรคการเมืองใหญ่หาทางออก
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงภาพรวมการรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตว่า
กกต.ได้ปิดจุดรับสมัครในภาคใต้ไปแล้วหลายจุด
เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนออกมาประท้วงไม่ให้มีการรับสมัครโดยปิดล้อมสถาน
ที่ไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ แต่ในส่วนของ
กกต.ยืนยันว่าจะเดินหน้ารับสมัครต่อไปจนถึงเวลา 16.30 น.ของวันนี้
นายสมชัย กล่าวว่า ข้อเรียกร้องของพรรคเพื่อไทย ที่ขอให้
กกต.ใช้อำนาจขยายเวลาการรับสมัคร
ส.ส.แบบแบ่งเขตในพื้นที่ที่มีการขัดขวางการรับสมัคร
ว่าจะส่งผลกระทบต่อตารางการเลือกตั้งทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม
กกต.จะนำข้อเรียกร้องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม กกต.และวันพรุ่งนี้
กกต.จะหารือกับพรรคประชาธิปัตย์
และพรรคเพื่อไทยเพื่อคลี่คลายสถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้
ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นไปในแนวทางที่ดี เพราะเริ่มมีการปรับเข้าหากัน
ส่วนการพูดคุยกับกลุ่ม กปปส.นั้น
กกต.ได้นัดหมายไว้เช่นกันแต่ยังไม่มีการตอบรับจากฝ่าย กปปส.
โฆษกเพื่อไทยยื่นหนังสือต่อ กกต.ให้ขยายเวลารับสมัคร ส.ส.เขต
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 11.00 น. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ ได้แก่
พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย พรรคกสิกรไทย และพรรคชาติสามัคคี
เดินทางมายื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีนางสุรดี ผงทวี
ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ เป็นตัวแทนมารับหนังสือ
หนังสือดังกล่าวยื่นข้อเรียกร้องต่อ กกต. ให้ผู้สมัคร
ส.ส.ของพรรคการเมืองที่สมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ตามวันเวลาและสถานที่ที่
กำหนด ให้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวัน
และให้ถือว่าผู้สมัครคนนั้นได้รับสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ กกต.ละเว้น
กฎระเบียบ ข้อบังคับ ที่เป็นการตัดสิทธิการสมัครของสมาชิกผู้นั้น ให้
กกต.ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 และ 236 ขยายระยะเวลาการรับสมัครออกไป
และให้ กกต.ดำเนินการกับผู้ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
กกต.จังหวัดอย่างเคร่งครัด
ด้านนายสมชัย ยืนยันขยายวันรับสมัครไม่ได้ โดยจะหารือกันอีกครั้งเวลา 14.00 น.วันนี้
สำหรับการรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครวันสุดท้าย
ที่อาคารจอดรถประจำทาง ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
เมื่อเวลา 10.00 น. มี 3 พรรคการเมืองเดินทางมาสมัคร ได้แก่ พรรคชาติพัฒนา
นายสุรพล เมฆอำนวยชัย เข้าสมัครในเขต 24 ธนบุรี-คลองสาน
ทำให้พรรคชาติพัฒนาส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ครบทั้ง 33
เขตแล้วในวันนี้ ส่วนอีก 1 พรรคการเมือง คือพรรคพลังสหกรณ์ ส่งผู้สมัคร 2
ราย คือ นายวีรวัฒน์ พันธุ์วิเศษ ลงสมัครเขต 12 ดอนเมือง ยกเว้นแขวงสนามบิน
และนายวิศาล จาริยะ ลงสมัครเขต 18 คลองสามวา และพรรคชาติไทยพัฒนา
นายศุภโชค มุ่งดี ลงสมัครเขต 8 ลาดพร้าว-วังทองหลาง และนายบรรลุ เวียงพล
ลงสมัครเขต 21 สะพานสูง-ประเวศ
นายวีระ ยี่แพร ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร
กล่าวถึงขั้นตอนหลังการรับสมัครว่า
จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งภายใน 7 วัน
จึงจะสามารถประกาศรับรองให้เป็นผู้สมัครได้
ซึ่งหากผู้สมัครคนใดไม่ผ่านคุณสมบัติ
สามารถร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ภายใน 3
วัน เพื่อให้ตรวจสอบคุณสมบัติต่อไป
“พนัส” ยัน กกต.เลื่อนวันรับสมัคร ส.ส.เขตได้
นายพนัส ทัศนียานนท์ ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
แถลงว่า กรณีการเลื่อนวันรับสมัครเลือกตั้ง
เนื่องจากปัญหาการขัดขวางการเลือกตั้ง
ตนเห็นว่ามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในข้อกฎหมายโดยเฉพาะกรณีนายสมชัย
ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง ที่แถลงว่าการขยายวันรับสมัคร
ส.ส.เขตไม่สามารถทำได้เพราะเงื่อนกฎหมายกำหนดไว้
หากขยายวันรับสมัครจะเกิดผลกระทบกับระเบียบที่กำหนดไว้
ตนเห็นว่านายสมชัยไม่ใช่นักกฎหมายอาจไม่ได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ ตามมาตรา 7
วงเล็บ 1 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ได้กำหนดไว้ว่า
การรับสมัครต้องกำหนดให้เริ่มรับสมัครภายใน 20 วัน
หลังจากพระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ ซึ่งกำหนดเดิมจนถึงขณะนี้ไม่มีปัญหา
นายพนัส กล่าวว่า ประเด็นสำคัญคือมาตรา 7
กำหนดไว้ในตอนท้ายว่าต้องกำหนดวันรับสมัครไว้ไม่น้อยกว่า 5 วัน แสดงว่าหาก
กกต.จะกำหนดให้รับสมัครได้เกิน 5 วัน (28 ธ.ค.-1 ม.ค.) เป็นสิ่งที่ทำได้
เมื่อการรับสมัครมีปัญหาขัดขวางและยังมีผู้จะลงสมัครซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐ
ธรรมนูญ ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
ถ้าผู้ที่อยากสมัครแต่สมัครไม่ได้ต้องเป็นหน้าที่ของ
กกต.ที่ต้องขยายวันรับสมัครออกไป เมื่อสถานที่รับเลือกตั้งมีปัญหา
กกต.ต้องพิจารณาหาสถานที่รับเลือกตั้งใหม่ที่เหมาะสม
คนที่กำหนดสถานที่คือผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเพียงแต่ผู้อำนวยการฯ
ประกาศมาก็จะมีผลทันที ตนขอเสนอให้ กกต.กลางพิจารณา
โดยให้สั่งให้ผู้อำนวยการฯประจำเขตสั่งการเลือกสถานที่ที่จะไม่มีปัญหา
"การขยายสามารถขยายไปได้จนว่าจะไม่มีผู้มาสมัคร
ขอเพียงอย่าให้เกินวันที่กำหนดไว้ว่าเป็นวันเลือกตั้ง
ที่คุณสมชัยบอกว่าเลื่อนไม่ได้
แล้วแนะนำให้เลื่อนวันเลือกตั้งออกไปโดยให้รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการ
ขอยืนยันว่าเรื่องนี้รัฐบาลทำไม่ได้ ถ้ารัฐบาลทำตามจะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา
108 ทันที กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องยึดตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนดไว้
หากเลื่อนออกไปจะขัดรัฐธรรมนูญทันที" นายพนัส กล่าว
นายพนัส กล่าวอีกว่า สิ่งที่
กกต.กลางต้องทำคือต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยเฉพาะประเด็นการขยายวัน
รับสมัคร ตนเชื่อว่าไม่เป็นอุปสรรค กกต.สามารถดำเนินการได้ทันที
ส่วนปัญหาเรื่องสถานที่เมื่อ กกต.รู้ดีว่าสถานที่ใดมีปัญหาย่อมเป็นอุปสรรค
หาก
กกต.ยังดันทุรังใช้สถานที่ที่มีคนมาล้อมมากดดันได้อาจเข้าข่ายจงใจไม่
ปฏิบัติตามหน้าที่ มีเจตนาขัดขวางไม่ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ถือเป็นข้อห้ามตามมาตรา 20 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
ถ้าพฤติการณ์แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่
กกต.จะไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุงล่วงถือว่า กกต.มีโทษตามกฎหมาย
ด้านนายสุนัย จุลพงศธร อดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
กล่าวว่า การแสดงออกของ
กกต.จังหวัดหลายจังหวัดได้แสดงให้เห็นว่าเป็นพวกของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
เลขาธิการ กปปส. จึงขอให้กำลังใจ กกต.กลางที่จะจัดการปัญหาต่างๆ
ให้เรียบร้อย ส่วนปัญหาการรับสมัคร ส.ส.ระบบเขต ตนขอให้กำลังใจ กกต. เพราะ
กกต.เพิ่งเข้ามารับหน้าที่ใหม่ อาจจะยังทำหน้าที่ไม่เต็มที่ ขอให้
กกต.อดทนทำหน้าที่ตามกฎหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น