2 ม.ค.2557 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
เปิดเผยหลังหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนรับมือปัญหาการจราจร
กรณีกลุ่มผู้ชุมนุนมกปปส.ประกาศปิดถนนในกรุงเทพฯว่า
ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมตั้งศูนย์บัญชาการ (วอร์รูม) โดยมีนายสมชัย
ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน
คอยติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม
และแก้ไขปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นจากการปิดถนนอย่างใกล้ชิดแบบวันต่อวัน
พร้อมกับในวันที่ 3 ม.ค.นี้ จะเชิญ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในฐานะหนึ่งในอนุกรรมการแก้ไขปัญหาจราจรเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานคร
มาหารือเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
นอกจากนี้ยังขอร้องประชาชนให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนในช่วงที่มีการปิดถนน และหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทน พร้อมกับมอบให้แต่ละหน่วยงานไปจัดทำแผนการเพิ่มเที่ยววิ่ง รถไฟ รถเมล์ รถไฟฟ้าใต้ดิน เรือคลองแสนแสบ เรือด่วนเจ้าพระยา ให้เพียงพอที่จะรองรับกับการเดินทางประชาชนแล้ว โดยสัปดาห์หน้าจะเริ่มทดลองเพิ่มเที่ยววิ่งในการให้บริการประชาชน ขณะเดียวกันอาจต้องเตรียมหารือร่วมกับภาคเอกชนให้ปรับเวลาการทำงานให้ เหลื่อมกัน เพื่อลดการแออัดการเดินทางในพื้นที่กรุงเทพฯ
ทั้งนี้กระทรวงยังเตรียมจัดหาที่จอดรถบริเวณชานเมือง โดยกำลังเจรจากับเจ้าของสถานที่ เช่น ลานจอดรถของท่าอากาศสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยรังสิตธรรมศาสตร์ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทคบางนา เพื่อให้ประชาชนที่เดินทางเข้ามาในกรุงเทพ จอดรถไว้บริเวณด้านนอกเมือง และมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเข้าเมืองแทน โดยให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำรถชัตเติ้ลบัสออกวิ่งให้บริการ
นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ยังแต่งตั้งให้นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการชุมนุม โดยร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเดินทางที่ถูกต้องให้ประชาชนนำไปประกอบการ ตัดสินใจเลือกเดินทางในช่วงชุมนุม ผ่านเว็บไซต์กระทรวงคมนาคม www.mot.go.th สายด่วนคมนาคม 1356 และสถานีวิทยุ สวพ.91
นอกจากนี้ยังมอบหมายให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ติดตามว่าการชุมนุมปิดถนนในพื้นที่ต่างๆ เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคมหรือไม่ รวมถึงเก็บรวบรวมหลักฐานการกระทำความผิด เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินคดีหากพบว่ากลุ่มผู้ชุมนุมหากพบทำผิดตามกฎหมาย เพราะหากไม่ดำเนินคดีกระทรวงอาจต้องถูกดำเนินคดีในข้อหาละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ รวมถึงเตรียมประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมปิดถนนด้วย ขณะที่นายชูศักดิ์ เกวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม จะรับผิดชอบดูแลและแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือคลองเตยและท่า อากาศยานสุวรรณภูมิที่อาจหยุดชะงัก เนื่องจากปัจจุบันมีการส่งออกสินค้าผ่านทางท่าเรือคลองเตยถึงปีละ 1 ล้านตู้ ขณะที่การส่งออกสินค้าผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีสัดส่วน 24% ของการส่งออกทั้งประเทศ
"การปิดถนนในกรุงเทพถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก กระทรวงคมนาคมในฐานะที่ดูแลเรื่องระบบขนส่งจะต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ผมยืนยันว่าข้าราชการการกระทรวงคมนาคมทุกคนไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการ เมือง ครั้งนี้เป็นการออกมาทำงานตามหน้าที่ โดยก่อนที่ม็อบจะปิดถนน เราต้องหาทางเลือกในการเดินทางให้ประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา กปปส. ประกาศชัดว่าต้องการให้กรุงเทพเป็นอัมพาต"
สธ.ประชุมแผนรองรับเหตุชุมนุม
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวภายหลังประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการ แพทย์และสาธารณสุข กรณีชุมนุมทางการเมือง กระทรวงสาธารณสุข(ส่วนหน้า) ว่า ที่ประชุมได้เตรียมประเมินสถานการณ์และแผนการรองรับเหตุการณ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกรณีมวลชนมีแผนการเคลื่อนไหวต่อในวันที่ 5-8 ม.ค. 2557 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และจะมีการชุมนุมครั้งใหญ่ในวันที่ 13 ม.ค. โดยที่ประชุมเห็นว่าจะยังคงใช้แผนการรับมือตามเดิมเช่นเดียวกับช่วงก่อนปี ใหม่ เนื่องจากสถานการณ์ทั่วไปยังปกติ
นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ส่วนหน้า กล่าวว่า ขณะนี้ศูนย์ส่วนหน้ามีการประเมินสถานการณ์วันต่อวัน ซึ่งในวันนี้สถานการณ์ใกล้เคียงกับที่ผ่านๆ มา คือ อาจมีการปะทะกันเกิดขึ้นที่บริเวณชายขอบการชุมนุม จึงได้มีการเตรียมความพร้อมของทีมกู้ชีพพื้นฐานบริเวณทางขึ้นทางด่วนยมราช ไม่น้อยกว่า 8 ทีม และมีทีมกู้ชีพชั้นสูงอีก 7 ทีม ขณะเดียวกันยังมีทีมที่พร้อมออกปฏิบัติการได้อีกถึง 30 ทีม แต่อย่างไรก็ตามหากสถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลง อาจจะต้องมีการประเมินสถานการณ์เพิ่มเติมระหว่างวัน รวมไปถึงจะมีทีมจากสภากาชาดไทย ศูนย์เอราวัณ กทม. และทีมจาก รพ.วชิรพยาบาล พร้อมให้การสนับสนุนตามแผนเอราวัณ 2 อีก
สำหรับแผนการดูแลผู้ชุมนุมที่จะมีการเคลื่อนไหวในวันที่ 5-8 ม.ค. และการชุมนุมใหญ่วันที่ 13 ม.ค. นั้น จะต้องดูการเคลื่อนตัวของมวลชน ส่วนการกระจายตัวผู้ป่วยฉุกเฉิน จะยึดหลักส่งตัวผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ใกล้มากที่สุด โดยในวันที่ 3 ม.ค.นี้ จะมีการประชุมจัดแบ่งพื้นที่ให้แต่ละโรงพยาบาลดูแลเพิ่มเติม
มท.1 ติงแผนตัดน้ำตัดไฟบ้าน ครม. เตือนอย่าสร้าง "ประเพณีการเมือง" ใหม่
วัน เดียวกัน นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่กลุ่ม กปปส. ประกาศปิด กทม. ในวันที่ 13 ม.ค.ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นห่วงเรื่องนี้ โดยได้โทรศัพท์มาสั่งการตนให้ทำความเข้าใจกับผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ว่าการประปานครหลวง (กปน.) และผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ให้ควบคุมเจ้าหน้าที่ให้ดี ไม่ให้มีการตัดน้ำ ตัดไฟ ซึ่งได้ยืนยันว่า จะดูแลเจ้าหน้าที่ไม่ให้มีการตัดน้ำ ตัดไฟ
"หากอยากจะตัดก็ให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ไปตัดเอง ขอเตือนเรื่องการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่จะไปปิดล้อมและตัดน้ำ ตัดไฟบ้านรัฐมนตรี จะเป็นการสร้างประเพณีทางการเมืองขึ้นมาใหม่ การที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า ทีใครทีมัน แค่อยากฝากว่า อย่าสร้างเป็นประเพณีทางการเมืองขึ้นมาใหม่
ที่มา: มติชนออนไลน์, เนชั่นทันข่าว และไทยรัฐออนไลน์
นอกจากนี้ยังขอร้องประชาชนให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนในช่วงที่มีการปิดถนน และหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทน พร้อมกับมอบให้แต่ละหน่วยงานไปจัดทำแผนการเพิ่มเที่ยววิ่ง รถไฟ รถเมล์ รถไฟฟ้าใต้ดิน เรือคลองแสนแสบ เรือด่วนเจ้าพระยา ให้เพียงพอที่จะรองรับกับการเดินทางประชาชนแล้ว โดยสัปดาห์หน้าจะเริ่มทดลองเพิ่มเที่ยววิ่งในการให้บริการประชาชน ขณะเดียวกันอาจต้องเตรียมหารือร่วมกับภาคเอกชนให้ปรับเวลาการทำงานให้ เหลื่อมกัน เพื่อลดการแออัดการเดินทางในพื้นที่กรุงเทพฯ
ทั้งนี้กระทรวงยังเตรียมจัดหาที่จอดรถบริเวณชานเมือง โดยกำลังเจรจากับเจ้าของสถานที่ เช่น ลานจอดรถของท่าอากาศสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยรังสิตธรรมศาสตร์ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทคบางนา เพื่อให้ประชาชนที่เดินทางเข้ามาในกรุงเทพ จอดรถไว้บริเวณด้านนอกเมือง และมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเข้าเมืองแทน โดยให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำรถชัตเติ้ลบัสออกวิ่งให้บริการ
นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ยังแต่งตั้งให้นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการชุมนุม โดยร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเดินทางที่ถูกต้องให้ประชาชนนำไปประกอบการ ตัดสินใจเลือกเดินทางในช่วงชุมนุม ผ่านเว็บไซต์กระทรวงคมนาคม www.mot.go.th สายด่วนคมนาคม 1356 และสถานีวิทยุ สวพ.91
นอกจากนี้ยังมอบหมายให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ติดตามว่าการชุมนุมปิดถนนในพื้นที่ต่างๆ เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคมหรือไม่ รวมถึงเก็บรวบรวมหลักฐานการกระทำความผิด เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินคดีหากพบว่ากลุ่มผู้ชุมนุมหากพบทำผิดตามกฎหมาย เพราะหากไม่ดำเนินคดีกระทรวงอาจต้องถูกดำเนินคดีในข้อหาละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ รวมถึงเตรียมประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมปิดถนนด้วย ขณะที่นายชูศักดิ์ เกวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม จะรับผิดชอบดูแลและแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือคลองเตยและท่า อากาศยานสุวรรณภูมิที่อาจหยุดชะงัก เนื่องจากปัจจุบันมีการส่งออกสินค้าผ่านทางท่าเรือคลองเตยถึงปีละ 1 ล้านตู้ ขณะที่การส่งออกสินค้าผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีสัดส่วน 24% ของการส่งออกทั้งประเทศ
"การปิดถนนในกรุงเทพถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก กระทรวงคมนาคมในฐานะที่ดูแลเรื่องระบบขนส่งจะต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ผมยืนยันว่าข้าราชการการกระทรวงคมนาคมทุกคนไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการ เมือง ครั้งนี้เป็นการออกมาทำงานตามหน้าที่ โดยก่อนที่ม็อบจะปิดถนน เราต้องหาทางเลือกในการเดินทางให้ประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา กปปส. ประกาศชัดว่าต้องการให้กรุงเทพเป็นอัมพาต"
สธ.ประชุมแผนรองรับเหตุชุมนุม
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวภายหลังประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการ แพทย์และสาธารณสุข กรณีชุมนุมทางการเมือง กระทรวงสาธารณสุข(ส่วนหน้า) ว่า ที่ประชุมได้เตรียมประเมินสถานการณ์และแผนการรองรับเหตุการณ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกรณีมวลชนมีแผนการเคลื่อนไหวต่อในวันที่ 5-8 ม.ค. 2557 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และจะมีการชุมนุมครั้งใหญ่ในวันที่ 13 ม.ค. โดยที่ประชุมเห็นว่าจะยังคงใช้แผนการรับมือตามเดิมเช่นเดียวกับช่วงก่อนปี ใหม่ เนื่องจากสถานการณ์ทั่วไปยังปกติ
นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ส่วนหน้า กล่าวว่า ขณะนี้ศูนย์ส่วนหน้ามีการประเมินสถานการณ์วันต่อวัน ซึ่งในวันนี้สถานการณ์ใกล้เคียงกับที่ผ่านๆ มา คือ อาจมีการปะทะกันเกิดขึ้นที่บริเวณชายขอบการชุมนุม จึงได้มีการเตรียมความพร้อมของทีมกู้ชีพพื้นฐานบริเวณทางขึ้นทางด่วนยมราช ไม่น้อยกว่า 8 ทีม และมีทีมกู้ชีพชั้นสูงอีก 7 ทีม ขณะเดียวกันยังมีทีมที่พร้อมออกปฏิบัติการได้อีกถึง 30 ทีม แต่อย่างไรก็ตามหากสถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลง อาจจะต้องมีการประเมินสถานการณ์เพิ่มเติมระหว่างวัน รวมไปถึงจะมีทีมจากสภากาชาดไทย ศูนย์เอราวัณ กทม. และทีมจาก รพ.วชิรพยาบาล พร้อมให้การสนับสนุนตามแผนเอราวัณ 2 อีก
สำหรับแผนการดูแลผู้ชุมนุมที่จะมีการเคลื่อนไหวในวันที่ 5-8 ม.ค. และการชุมนุมใหญ่วันที่ 13 ม.ค. นั้น จะต้องดูการเคลื่อนตัวของมวลชน ส่วนการกระจายตัวผู้ป่วยฉุกเฉิน จะยึดหลักส่งตัวผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ใกล้มากที่สุด โดยในวันที่ 3 ม.ค.นี้ จะมีการประชุมจัดแบ่งพื้นที่ให้แต่ละโรงพยาบาลดูแลเพิ่มเติม
มท.1 ติงแผนตัดน้ำตัดไฟบ้าน ครม. เตือนอย่าสร้าง "ประเพณีการเมือง" ใหม่
วัน เดียวกัน นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่กลุ่ม กปปส. ประกาศปิด กทม. ในวันที่ 13 ม.ค.ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นห่วงเรื่องนี้ โดยได้โทรศัพท์มาสั่งการตนให้ทำความเข้าใจกับผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ว่าการประปานครหลวง (กปน.) และผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ให้ควบคุมเจ้าหน้าที่ให้ดี ไม่ให้มีการตัดน้ำ ตัดไฟ ซึ่งได้ยืนยันว่า จะดูแลเจ้าหน้าที่ไม่ให้มีการตัดน้ำ ตัดไฟ
"หากอยากจะตัดก็ให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ไปตัดเอง ขอเตือนเรื่องการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่จะไปปิดล้อมและตัดน้ำ ตัดไฟบ้านรัฐมนตรี จะเป็นการสร้างประเพณีทางการเมืองขึ้นมาใหม่ การที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า ทีใครทีมัน แค่อยากฝากว่า อย่าสร้างเป็นประเพณีทางการเมืองขึ้นมาใหม่
ที่มา: มติชนออนไลน์, เนชั่นทันข่าว และไทยรัฐออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น