กรุงเทือก?-แผนภูมิการเลือกตั้งกรุงเทพฯเมื่อปี2554 สีฟ้าคือพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน ที่พรรคประชาธิปัตย์กวาดเก้าอี้ไปเกือบหมด ส่วนสีแดงคือพื้นที่กรุงเทพฯรอบนอกที่เป็นพื้นที่พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง พื้นที่กรุงเทพฯชั้นในคือเขตที่กปปส.ประกาศจะปิด
หมายเหตุไทยอีนิวส์:ม็อบกปปส.จะปิดกรุงเทพฯชั้นใน 20 แยกสำคัญ แล้วใครได้รับผลกระทบหลัก? หากดูแผนภูมิผลการเลือกตั้งปี 2554 และอ่านรายงานจากเว็บไซต์ siamintelligence ต่อไปนี้ คงได้คำตอบชัดๆว่า ล้วนแต่เป็นชาวกรุงเทพฯชั้นในที่เป็นฐานเสียงใหญ่ของประชาธิปัตย์แทบทั้งนั้น
ดูเหมือนว่าม็อบของคณะกรรมการประชาชน
เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหา
กษัตริย์เป็นประมุข(กปปส.)
ยังไม่ลดดีกรีความร้อนแรงเพราะถึงแม้อากาศจะหนาวเหน็บและติดเทศกาลหยุดยาว
แต่สุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะเลขาธิการ
กปปส.กลับทำให้อุณหภูมิทางการเมืองไทยสูงขึ้น
ด้วยการประกาศให้มวลชนไปพักผ่อนในช่วง
วันหยุดยาวปีใหม่ 2557 ก่อนที่จะกลับมาร่วมต่อสู้กับมวลมหาประชาชนต่อ
โดยคราวนี้จะยกระดับถึงขั้นการ “ปิดกรุงเทพ” โดยถ้อยคำที่คุณสุเทพ
ได้ปราศรัยในวันที่ 28 ธันวาคม 2556 มีเนื้อหาดังนี้
ส่วนพี่น้องชาวต่างจังหวัดที่จะร่วม กับเรา หลังเสร็จปีใหม่ จะได้เตรียมตัวมาร่วมกับเรา เพราะสู้คราวนี้ยืนยาวร่วม 10-20 วัน ให้เตรียมตัวมาเป็นนักปฏิวัติให้เต็มตัว อย่าเอาอาวุธมา เอาเฉพาะตะหลิว หม้อ ไห มาหุงข้าวกินเท่านั้น พอเลยปีใหม่ผมจะประกาศวันที่ชัดเจน ให้พี่น้องเดินทางมาล่วงหน้า ไม่ให้ตำรวจมาขวางได้อีก สำหรับ ชาวกรุงเทพฯจะได้เตรียมตัว ใครมีธุระ ควรจะรีบทำให้เสร็จสิ้นอาทิตย์แรกของเดือนมกราคม หลังจากนั้นเราจะปิดเมือง เราทำถนนในกรุงเทพฯให้เป็นถนนคนเดิน อนุญาตเฉพาะรถเมลล์ รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน ขนส่งมวลชน รถไฟ เราไม่ไปยุ่ง แต่บนถนนไม่มีรถยนต์ขับ ยึดทุกถนน ทุกสามแยก ทุกสี่แยก เราขอโทษล่วงหน้า ถ้าใครด่าเรา เราจำเป็นจริงๆต้องไล่รัฐบาลระบอบทักษิณ ทำหนนี้หนเดียว ไล่หมดประเทศแล้ว มีสภาประชาชน และก็จะส่งคืนประเทศ
ซึ่งถือว่าเป็นการยกระดับการชุมนุมไป
อีกขั้น แต่ถ้าหากไตร่ตรองให้ดีมาตรการดังกล่าวยังคงมีภาพสะท้อนบางอย่างถึง
“ความเหลื่อมล้ำ”ที่น่าสนใจ
ในคำปราศรัยของคุณสุเทพมันก็ยังมีมุมของความเป็น “กรุงเทพชั้นใน”อยู่ในตัว
คุณสุเทพคงไม่ได้หมายถึง หนองจอก คันนายาว ตลิ่งชัน
หรือมีนบุรีแน่ๆแต่คงหมายถึงสีลม สุขุมวิท รัชดาภิเษก สยาม เยาวราช
ราชดำเนินเหมือนที่เคยชุมนุมครั้งที่ผ่านๆมามากกว่า
ถ้าหากมองลงลึกไปจริงๆหากมองตามผลการ
เลือกตั้งทั่วไปในปี 2554 เราจะพบว่า “กรุงเทพชั้นใน”
นั้นเป็นฐานที่มั่นของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งกวาดไปทั้งหมด 23 ที่นั่ง
โดยพรรคเพื่อไทยได้ไปทั้งสิ้น 10 ที่นั่ง โดย 10
ที่นั่งที่พรรคเพื่อไทยได้อยู่พื้นที่กรุงเทพชั้นนอกแทบทั้งหมด
ยกเว้นเขตดุสิตที่ ลีลาวดี วัชโรบล เอาชนะ ตั๊น จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี
ขาประจำเวที กปปส.ไปหวุดหวิดหลักร้อยคะแนน
ลึกไปกว่านั้นคนกรุงเทพเองก็ยังแบ่งชน
ชั้นกันเองโดยการพัฒนาและดูแลรักษาเมืองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในขณะที่กรุงเทพ
ชั้นในได้รับการปกป้องจากน้ำท่ว มใหญ่ปี 2554
พื้นที่รอบนอกและปริมณฑลมีน้ำท่วมขังอยู่ ผู้ว่าฯ กลับจัดงาน Big Cleaning
Day ในย่านบางพลัดเสียแล้ว
รวมไปถึงการที่กรุงเทพชั้นในได้สาธารณูปโภคทั้งรถไฟฟ้า และใต้ดิน
แต่แถวหนองจอก หนองแขมบางส่วนประปาก็ยังไปไม่ถึ ง
บางคนอาจจะพูดว่าคนชนบทและคนกรุงเทพ
นั้นมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่
แต่แท้ที่จริงแล้วในระดับความเหลื่อมล้ำมีกระทั่งในมิติคนที่อาศัยในเขต
เมืองเดียวกันและที่น่าสังเกตไปกว่านั้นก็คือ คนที่เข้า มาทำงานในสำนัก
งานในกรุงเทพชั้นใน ก็มีบ้านอยู่ชานเมืองชั้นนอกทั้งนั้น
ส่วนที่ของกรุงเทพชั้นในกลับถูกสงวนให้อีลิท ผู้ดีเก่า
และเจ้าที่ดินทั้งนั้น
ซึ่งคนที่มีต้นทุนสูงมักไม่ได้รับผลกระทบมากเท่ากับคนที่มีต้นทุนน้อยกว่า
ยกตัวอย่างเช่น
การเดินทางหากแม้นไม่สามารถเข้ามาทำงานในกรุงเทพชั้นในที่มีระบบขนส่ง
สาธารณะสะดวกสบาย
ก็จำเป็นต้องใช้บริการรถแท็กซี่ซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น
ทั้งที่คนกรุงเทพทุกภาคส่วนจ่ายภาษีบำรุงท้องที่ร่วมกัน
หรือการที่ทางกรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์จัดสาธารณูปโภคไปสนับสนุน
ม็อบทั้งรถสุขาเคลื่อนที่ เครื่องปั่นไฟ
และอุปกรณ์ให้แสงสว่างก็เป็นที่น่าตั้งคำถามว่า
แท้จริงแล้วกรุงเทพมหานครนั้นทำไปเพื่อใคร ในขณะที่วันที่ 24 ธันวาคม 2556
ที่ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสเสีย กลับไม่ได้แสดงความรับผิดชอบหรือแก้ปัญหาใดๆ
มีแต่รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม
ลงพื้นที่ในการจัดรถสำรองเพื่อส่งผู้โดยสารตกค้าง
ถึงเวลาที่ต้องกลับมาตั้งคำถามว่าถ้า
หากกรุงเทพฯ ปิดตัวลง 10 -20 วันแบบที่ กปปส.เสนอนั้น
ใครจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบที่แท้จริง และใคร กลุ่มใด
หรือพรรคใดที่จะได้รับผลประโยชน์จากความวุ่นวายดังกล่าว?
กรุงเทพฯมีเขตปกครอง 50 เขต
รายชื่อเขตในกรุงเทพมหานครเรียงตามขนาดพื้นที่
อันดับ | เขต | พื้นที่ (ตร.กม.) | พ.ศ. 2531 | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2545 |
---|---|---|---|---|---|
1 | หนองจอก | 236.261 | 236.261 | 236.261 | 236.261 |
2 | ลาดกระบัง | 123.859 | 123.859 | 123.859 | 123.859 |
3 | บางขุนเทียน | 120.687 | 179.599 | 155.432 | 120.687 |
4 | คลองสามวา | 110.686 | - | - | 110.686 |
5 | มีนบุรี | 63.645 | 174.331 | 174.331 | 63.645 |
6 | ประเวศ | 52.500 | - | 52.500 | 52.500 |
7 | ทวีวัฒนา | 50.219 | - | - | 50.219 |
8 | สายไหม | 44.615 | - | - | 44.615 |
9 | บางแค | 44.456 | - | - | 44.456 |
10 | บางเขน | 42.123 | 179.290 | 152.554 | 42.123 |
11 | ดอนเมือง | 36.803 | - | 81.418 | 36.803 |
12 | หนองแขม | 35.825 | 42.933 | 42.933 | 35.825 |
13 | บางบอน | 34.745 | - | - | 34.745 |
14 | จตุจักร | 32.908 | |||
15 | ทุ่งครุ | 30.741 | |||
16 | ตลิ่งชัน | 29.479 | |||
17 | บางกะปิ | 28.523 | |||
18 | สะพานสูง | 28.124 | |||
19 | จอมทอง | 26.265 | |||
20 | คันนายาว | 25.980 | |||
21 | บึงกุ่ม | 24.311 | |||
22 | สวนหลวง | 23.678 | |||
23 | หลักสี่ | 22.841 | |||
24 | ลาดพร้าว | 21.500 | |||
25 | วังทองหลาง | 18.905 | |||
26 | บางนา | 18.789 | |||
27 | ภาษีเจริญ | 17.834 | |||
28 | ยานนาวา | 16.662 | |||
29 | ราษฎร์บูรณะ | 15.782 | |||
30 | ห้วยขวาง | 15.033 | |||
31 | พระโขนง | 13.986 | |||
32 | คลองเตย | 13.000 | |||
33 | วัฒนา | 12.565 | |||
34 | บางกอกน้อย | 11.944 | |||
35 | บางซื่อ | 11.500 | |||
36 | บางพลัด | 11.360 | |||
37 | บางคอแหลม | 10.921 | |||
38 | ดุสิต | 10.700 | |||
39 | พญาไท | 9.595 | |||
40 | สาทร | 9.326 | |||
41 | ธนบุรี | 8.551 | |||
42 | ดินแดง | 8.400 | |||
43 | ปทุมวัน | 8.370 | |||
44 | ราชเทวี | 7.126 | |||
45 | บางกอกใหญ่ | 6.180 | |||
46 | คลองสาน | 6.051 | |||
47 | บางรัก | 5.540 | |||
48 | พระนคร | 5.536 | |||
49 | ป้อมปราบศัตรูพ่าย | 1.931 | |||
50 | สัมพันธวงศ์ | 1.416 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น