แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

เปิด 20 Quote of the year นิยมสูงสุดว่าด้วยความเข้าใจชาวบ้านของชนชั้นนำ-กลาง

ที่มา ประชาไท


“วรเจตน์-เกษียร-สมศักดิ์-ยิ่งลักษณ์” ถูกโควทมากที่สุดในรอบปี ประเด็นที่มากที่สุดคือ ประชาธิปไตย, นิรโทษกรรม, ความเท่าเทียม, เสรีภาพ, สื่อมวลชน, การเลือกตั้งและปัญหากระบวนการยุติธรรม เป็นต้น
31 ธ.ค.2556 ในรอบปี 2556 ประชาไท ได้ Quote of the Day ไปจำนวน 175 โควท โดยประเด็นที่ทำการโควทมากที่สุดคือ ประเด็นว่าด้วยประชาธิปไตย รองลงมาคือเรื่องนักโทษการเมืองและการนิรโทษกรรม ความเท่าเทียมและความเป็นธรรม เสรีภาพ สื่อมวลชน การเลือกตั้ง ปัญหากระบวนการยุติธรรม สันติวิธีและความรุนแรง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการโควทในประเนเฉพาะอย่างประเด็นกฏหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ม.112 การแก้ไขกฏหมายรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งไทยกัมพูชา เขื่อนแม่วงก์ และปัญหาความขันแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการทำงานของศาลรัฐ ธรรมนูญเป็นต้น
โดยบุคคลที่ประชาไทโควทนั้นส่วนใหญ่จะกระจาย แต่มีผู้ที่ประชาไทได้โควทมากที่สุดจำนวน 7 ครั้งคือ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ รองลงมาเป็น เกษียร เตชะพีระ 6 ครั้ง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล 5 ครั้ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 5 ครั้บ และนิธิ เอียวศรีวงศ์ 4 ครั้ง
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาแต่ละโควทแล้วจึงได้มีการจัดอันดับความนิยมตาม จำนวนยอดกดไลค์และแชร์ต่อในเฟซบุกแฟนเพจประชาไท พบ 20 อันดับโควทที่ได้รับความนิยมในรอบปี 56 ดังนี้
"ชนชั้นนำและชนชั้นกลางกรุงเทพ มักใช้เวลาในฮ่องกง บอสตัน หรือปารีส มากกว่าในหมู่บ้านของไทย" "ทัศนะของพวกเขาที่มองว่า ชาวบ้านยากจนไร้การศึกษา นั้น ล้าสมัยไป 2 ทศวรรษ"
"Members of Bangkok's elite and middle classes are more likely to have spent time in Hong Kong, Boston or Paris than in a Thai village," "Their image of the poor, uneducated villager is two decades out of date."
1. คริส เบเกอร์ นักวิชาการชาวอังกฤษผู้ศึกษาการเมืองไทย กล่าวถึงในรายงานของ ANDREW R.C. MARSHALL  ซึ่งเขียนใน รอยเตอร์ รายงานที่ชื่อว่า "High society hits the streets as prominent Thais join protests" โควทดังกล่าวมียอดกดไลค์ 1,146 ไลค์ และแชร์ไป 728
"เรายินดีเลือกที่จะสละรายการ เพื่อรักษาหลักการ เรายินดีที่จะถูกประนาม คุกคาม เพื่อจะจุดไฟท่ามกลางความมืดหวาดขลาดกลัวต่อการสนทนาเรื่องสถาบันพระมหา กษัตริย์ ให้สว่างไสว เพื่อนำการกล่าวร้ายโจมตีในที่มืดออกสู่ที่แจ้ง ให้คนได้ถกแถลงแสดงเหตุผลและหักล้างกันด้วยปัญญา มิใช่อารมณ์"
2. ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา พิธีกรและผู้ผลิตรายการ แถลงเมื่อ กล่าวเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ในนามทีมงานรายการตอบโจทย์ประเทศไทย ประกาศ "สละรายการ รักษาหลักการ" จากกรณีการตัดสินใจยุติการออกอากาศรายการตอบโจทย์ประเทศไทย ตอนสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ 5 ที่มีกำหนดเผยแพร่ในคืนวันที่ 15 มีนาคม 2556 ซึ่งมียอดกดไลค์โควท 748 และ 288 แชร์
ที่มา : ภิญโญ ประกาศ"สละรายการ รักษาหลักการ" ถอนรายการตอบโจทย์ ฯ
“ประชาธิปัตย์ ต้องไม่ถูกมองว่าดีแต่ปาก เก่งแต่พูด เราต้องสร้างประเทศด้วยงาน นำพรรคกลับมาสู่อ้อมกอดของประชาชน ไม่อิงแอบเผด็จการอีกต่อไป เพราะเราเป็นตัวแทนของคนทุกชนชั้น เพราะประชาธิปัตย์ หลังพิงฝากับเผด็จการมาโดยตลอด จุดยืนนี้จึงจะสร้างศรัทธาในใจประชาชนได้ เมื่อเราคิดเก่ง ทำเก่ง บริหารจัดการเก่ง เราจะชนะพรรคเพื่อไทยเอง”
3. อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "การมีส่วนร่วมของประชาชนกับระบบไพรมารี่และคอคัส" เมื่อวันที่ 4 พ.ค. โควทมียอกไลค์ 720 และแชร์ 554
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์, ปชป.ถกใหญ่ปฏิรูปพรรค 13พ.ค.
“ขึ้นราคาเหล้าเก็บ "ภาษีบาป" กันมามากแล้ว เมื่อไหร่จะไปเก็บ "ภาษีบุญ" จากวัดวะ แม่งรวยชิบหาย บางวัดมีเป็นร้อยล้าน พันล้าน ไม่เสียภาษีมีที่จอดรถให้เช่า ที่ดินให้เช่า สร้างวัตถุมงคล จัดงานอีเวนท์บุญต่างๆ คิดว่าเก็บภาษีปีเดียวนี่อาจจะได้รถไฟฟ้าเพิ่มสักหนึ่งสายเลยนะ"
4. พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ โพสต์สถานะในเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 4 ก.ย. มียอดไลค์ 672 แชร์ 471
"พวกที่เอาภาพคราบน้ำมันที่ประเทศอื่นมาโพสต์ว่าเป็นที่เสม็ดนี่ไม่รู้หรือว่ามันทำร้ายคนบนเกาะเขา"
5. กิตติ สิงหาปัด ผู้ปราศข่าวรายการข่าว 3 มิติ ช่อง 3 ทวีตเมื่อ 30 ก.ค.ทาง @Kitti3Miti มียอดไลค์ 670 และแชร์ 233

"ที่ว่าดิฉันขาดความรู้ ขาดสติปัญญา ท่านสมาชิกบอกว่าดิฉันโง่ ก็คงยากที่จะอธิบายเพราะเราไม่เคยร่วมงานกัน"
6. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวในการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่รัฐสภา เมื่อ 26 พ.ย. โดยมียอดไลค์ 642 แชร์ 219

"พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนี้ ไม่มีใครคัดค้านเลย ถ้าเป็นการนิรโทษกรรมให้แก่ประชาชนบริสุทธิ์ ที่ต้องถูกพลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วย ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย เพียงแต่ไปนั่งฟังการปราศรัย แต่ก็ถูกใช้ความรุนแรงถึงกับล้มตายเป็นร้อย พวกที่ไม่ถึงแก่ชีวิตก็ต้องถูกจับคุมขัง จนบัดนี้ประชาชนเหล่านี้ต่างหากที่ควรได้รับการนิรโทษกรรม"
7. พิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวใน จม.ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการปฎิรูปการเมือง ต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อ 5 พ.ย. มียอดไลค์ 610 แชร์ 297

"เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์ เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดย อำนาจรัฐประหารนั้น"
8. เกษียร เตชะพีระ กล่าวในบทความ “ผลทางการเมืองของมติศาลรัฐธรรมนูญ” เมื่อวันที่ 20 พ.ย. มียอดไลค์ 482 แชร์ 138

"คุณไม่สามารถทำให้คนที่ ตื่นแล้ว สว่างไสวแล้ว กลับไปมืดบอดได้อีกต่อไป ถ้าไม่เชื่อ คุณไม่มีทางเอาพวกเราทั้งหมดออกจากประเทศนี้ได้ คุณอยากเห็นการฆ่ากันแล้วนับจำนวนหัวรอความว่าสุดท้ายเหลือใครมากกว่ากัน ผมหวังนะครับว่าชนชั้นนำเหล่านั้น สถาบันเหล่านั้นจะตระหนักรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง"
9. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวใน เสวนา "คนเท่ากัน เดินหน้าเลือกตั้ง ร่วมกันปฏิรูป" โดยสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. ยอดไลค์ 485 แชร์ 96

"นี่ไม่ใช่ปฏิวัติประชาชน แต่เป็นการตอกลิ่มผ่ากลางประชาชน แบ่งประชาชนออกเป็นสองฝ่าย ขยายความขัดแย้งที่มีอยู่แล้ว ถามง่ายๆ ตั้ง"รัฐบาลประชาชน"แล้ว หากฝ่ายเสื้อแดงจะขอมาบุก"ทำเนียบ"ของ"รัฐบาลประชาชน" บ้างละ มีสิทธิ์ไหม? รัฐบาลประชาชนจะทำอย่างไร"
10. จอน อึ๊งภากรณ์ กล่าวใน 7 ข้อสังเกต 1 คำถาม ต่อโมเดลสภาประชาชน เมื่อ 2 ธ.ค. มียอดไลค์ 469 แชร์ 414

"ไม่มีใครอยากเห็นเผด็จการ รัฐสภาหรอกครับ ผมอยากเห็นเหมือนในหลายประเทศที่ฝ่ายค้านเข้มแข็งและมีเสียงใกล้เคียงกับ พรรครัฐบาล เหมือนในตลาด ผมไม่อยากเห็นใครผูกขาด เพราะถ้ามีคู่แข่งหลายราย สินค้าและบริการราคาจะถูกลง และคุณภาพจะดีขึ้น
แต่ทำอย่างไรได้ ในสนามการเมืองหรือในระบบตลาด เราทำได้แค่เรียกร้องให้กำหนดกติกา และดูแลให้มีการบังคับใช้กติกา เพื่อประกันว่าทุกฝ่ายมีสิทธิเท่าเทียมกันในการแข่งขัน เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะต้องเสนอสินค้าและบริการที่ราคาถูกกว่าและมี คุณภาพดีกว่า ไม่ใช่พอขายของสู้เขาไม่ได้ ก็มาเรียกร้องให้ปิดตลาด ห้ามใครขายสินค้าและบริการ มันไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคครับ"
11. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.56 มียอดไลค์ 466 แชร์ 155

“สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็เคยพยายามแก้ไขมาตรา 190 แต่พอตอนนี้กลับออกมาค้าน สะท้อนว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีหลักการใดๆ”
12. สุขุม นวลสกุล นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กล่าวเมื่อ 23 มี.ค. มียอดไลค์ 468 แชร์ 335

"ถ้าวันนี้ เราทำละครที่สะท้อนปัญหาสังคมจริงๆ แล้วมีใครมาบอกว่า แบบนี้ไม่ดีไม่ถูกต้อง โดยไม่ดูเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงเลย บอกแต่เพียงว่า ต้องโดนแบน จะถูกสั่งแบน หนูว่ามันใจแคบเกินไปนะ"
13. “เก้า” สุภัสสรา ธนชาต ผู้รับบท “สไปรท์” ในละครซีรีส์ เรื่อง "ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น” แสดงความเห็นต่อกรณีกระแสข่าว กสทช.เตรียมสั่งแบนละครเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 25 ก.ค. มียอดไลค์ 452 แชร์ 193

"..ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ต่างๆ ผมเข้าใจว่าหลายคนอยากให้ปัญหาพวกนี้ที่มันอันตราย มันเลวร้ายหมดไปในเร็ววัน ไม่มีประเทศไหนในโลกไม่มีปัญหาคอรัปชั่น ต่อให้เป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่สุดก็ตาม แต่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยใช้ประชาธิปไตยจำกัดคอรัปชั่นลง ไม่ใช่โดยการทำลายประชาธิปไตยเพื่อจะหยุดคอรัปชั่นบางอย่าง แล้วปล่อยให้คอรัปชั่นบางอย่างเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่มีเครื่องมือตรวจสอบ"
14. เกษียร เตชะพีระ สมาชิกสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย กล่าวเมื่อ 10 ธ.ค. มียอดไลค์ 420 แชร์ 155
ที่มา : ถาม-ตอบ: นักวิชาการจะเอาคอรัปชั่น? เลือกตั้งกี่ครั้งก็แพ้ จะให้ทำอย่างไร?

"จะโค่นล้มระบอบทักษิณ อย่างไร พึงระวังอย่าให้ระบอบอื่นที่เลวร้ายกว่ามาแทนที่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง จะโค่นล้มทักษิณอย่างไร ก็อย่าปล่อยให้ระบอบประชาธิปไตย ที่การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญอันจะขาดเสียมิได้ ถูกทำลายไปด้วย หาไม่แล้วความเสียหายร้ายแรงต่าง ๆ จะตามมา อย่างไม่คุ้มกับสิ่งที่ไ้ด้มาเลย"
15. พระไพศาล วิสาโล โพสต์สถานะในเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ยอดไลค์ 410 แชร์ 331

"ถ้าท่านมีความจริงใจและ เห็นด้วยกับหนึ่งในสิทธิมนุษยชนสากล คือสิทธิในร่างกายของตนเองแล้ว ผู้ได้รับรางวัลปีนี้ในประเภทเด็กและเยาวชน ข้าพเจ้าขอเสนอแก่ท่านว่าผู้ที่ควรรับคือ “นักเรียนไทยทั้งหมดผู้กำลังต่อสู้และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนของพวก เขา” ซึ่งเป็นนักสิทธิมนุษยชนตัวจริง ผู้อดทนและเหน็ดเหนื่อยซ้ำอาจถูกกล่าวร้ายในโรงเรียนของพวกเขา ทั้งจากเพื่อนนักเรียนเอง ครู หรือกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าท่านประกาศผู้ได้รับรางวัลดังกล่าวคือพวกเขาเหล่านี้ ถ้าได้เช่นนี้ข้าพเจ้าก็ขออนุโมทนาสาธุการแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง ชาติชุดนี้"
16. เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล กล่าว ในจดหมายถึงกสม.ไม่ขอรับรางวัลดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ยอดไลค์ 400 แชร์ 112

“ทำไมคนกรุงเทพเลือกผู้ ว่าฯ ของตนเองได้ แล้วคนจังหวัดอื่นทำไมเลือกผู้ว่าฯของตนเองไม่ได้ หรือว่าคนจังหวัดอื่นเป็นพลเมืองชั้นสองของประเทศนี้”
17. ชำนาญ จันทร์เรือง เมื่อ 16 ม.ค. ยอดไลค์ 395 แชร์ 400

"การที่พวกเขายืนยันว่า ต้อง "ปฏิรูป" ก่อนเลือกตั้ง ซึ่งแปลไทยเป็นไทยคือ ต้อง make sure ให้ได้ว่า ยิ่งลักษณ์จะไม่ชนะเลือกตั้ง ก่อนจะจัดให้มีการเลือกตั้ง ร่างกฏกติกาอะไรก็แล้วแต่ ที่จะทำให้ไม่ชนะ.."
18. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โพสต์สถานะในเฟชบุ๊ก เมื่อ 19 ธ.ค. ยอดไลค์ 382 แชร์ 182

“ถ้าคนในสังคมร้อยละ 99 เป็นนักบุญหรือเป็นพระหมด ประชาธิปไตยก็จะกลายเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยไปในทันที ก็ไม่จำเป็นแล้วถ้า 99 เปอร์เซ็นต์ในสังคมเป็นพระอรหันต์ เพราะจะไม่มีการขัดกันของผลประโยชน์หรืออุดมการณ์อะไรเลย
แต่ถ้าทั้งสังคมเป็นโจรหมด ประชาธิปไตยก็เกิดขึ้นไม่ได้อยู่แล้วตั้งแต่ต้น ปัญหาคือในโลกของความเป็นจริงที่เราอยู่ มันไม่ใช่โลกของนิทาน มันเป็นโลกของคนดีๆ ชั่วๆ เราไม่ได้ถูกสาปให้ดีหรือชั่วตั้งแต่กำเนิด ทุกคนก็เป็นมนุษย์ที่มีกิเลสตัณหา ทะเยอทะยาน ฉลาดบ้าง โง่บ้างตามเวลา แล้วความคิดของคนก็เปลี่ยนแปลงได้ ไม่มีใครที่จะเห็นตรงกับคนอื่นตลอดเวลาไปทุกเรื่อง หรือเห็นไม่ตรงกับคนอื่นไปตลอดเวลาในทุกเรื่อง"
19. ประจักษ์ ก้องกีรติ กล่าวใน เสวนาหัวข้อ 'มายาคติว่าด้วยประชาธิปไตย' 18 ธ.ค.2556 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยอดไลค์ 370 แชร์ 72

"วันนี้เรามีหน้าที่ปกป้อง ระบอบประชาธิปไตย เรามีหน้าที่ที่จะประคับประคองให้ประเทศหาทางออกเดินหน้าข้างหน้าได้ ถึงแม้ว่าข้างหน้าถ้าเราเทียบกับถนน เราเห็นถนนอยู่เป็นถนนที่ขรุขระ มีขวากหนาม แต่ก็ยังดีกว่าที่เราจะเลี่ยงถนนที่เรามีอยู่เส้นเดียวที่ต้องเดิน ไปเดินในป่าซึ่งเราไม่รู้ว่าตรงนั้นจะเป็นทางลัดหรืออะไร"
20. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อ 26 ธ.ค. ยอดไลค์ 325 แชร์ 57

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น