ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ปกติจะมีการจัดอันดับสุดยอดด้านต่างๆ โดยสื่อหลากสำนัก
และประชาไทได้พยายามหาประเด็นมานำเสนอทุกๆ ปี อย่างไรก็ตาม ในปีนี้
กองบรรณาธิการเห็นว่า ในรอบหลายปีที่ผ่านมา
หลายสิ่งหลายอย่างในประเทศไทยมีเพียงประเด็นวนเวียนและย่ำเท้าอยู่กับที่
จึงได้ทำการคัดเลือกประเด็นย่ำอยู่กับที่-วนลูป
ของชาติมานำเสนอทดแทนการจัดอันดับพิเศษ
ประเด็นที่สาม ที่กองบรรณาธิการเห็นว่าเป็นประเด็นที่แทบไม่ขยับไปไหน คือข้อเสนอปฏิรูปประเทศไทยประเด็นร้อนทางการเมืองที่คาดว่าจะคงกระแสการพูด ถึงกันข้ามปีไปจนถึงหลังการเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 (ถ้ามี) ได้รับการสนองตอบจากภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่างล้นหลาม เพราะถือเป็นข้อเสนอที่มีความพยายามขับเคลื่อนกันมายาวนาน เพื่อหวังแก้ปัญหาหมักหมมที่มีอยู่หลายรูปแบบในสังคมแต่กลับไม่ได้รับการตอบ สนองมากนักในห้วงเวลาที่ผ่านมา
ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ปฏิรูประบบรัฐสภา ปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ปฏิรูประบบการเงินการคลังของประเทศ ปฏิรูปการจัดการและการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสุขภาพ ปฏิรูปอำนาจตุลาการและกระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปกฎหมายต้านคอรัปชั่น ฯลฯ หลากหลายข้อเสนอการปฏิรูประรอกล่าสุดของภาคประชาสังคม ซึ่งไม่ใช่ไม่เคยเกิดขึ้น
ในสายตาคนนอก ประเด็นของภาคประชาสังคมดูเหมือนไม่ขยับขับเคลื่อนไปมากนัก จากข้อเรียกร้องหลายกรณีที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กับปัญหาเดิมๆ ที่แก้ไขไม่ได้หากไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างอย่างแท้จริง ตามที่เป็นข่าวรายวันรายปีให้เห็นจนชินตา เพียงแต่หนักหนาสาหัสมากน้อยแล้วแต่กรณี ดูเหมือนวิกฤติการณ์การเมืองจะกลายเป็นจังหวะให้ภาคประชาสังคมได้ฉกฉวยมา เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง แต่ขณะเดียวกันข้อเสนอ ‘ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง’ ก็กลายมาเป็นเงื่อนล็อกทางการเมือง
เพื่อให้เห็นมุมมองของคนในซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย ประชาไทสัมภาษณ์คนในเนื้องานของภาคประชาสังคมทั้งในรุ่นใหญ่ รุ่นกลาง และรุ่นใหม่ ถึงความคิดเห็นต่อปรากฏการณ์ที่เกิดซ้ำๆ ในการทำงานภาคประชาสังคมที่ผ่านมา และความเป็นไปในการแก้ปัญหาในประเด็นที่พวกเขาทำงานอยู่ พร้อมทัศนะต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ถูกจุดกระแสโดยฝาก ฝั่งการเมือง
ในแวดวงภาคประชาสังคมที่ผมคลุกคลีข้อเรียกร้องด้านการปฏิรูปจะเป็นเรื่อง สิทธิชุมชน การจัดการดินน้ำป่า การปกครองท้องถิ่น ผู้ว่ามาจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสวัสดิการรอบด้านยั่งยืน การเข้าถึงยา การกำจัดการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ผู้ขายบริการทางเพศ ผู้ใช้ยาเสพติด ตลอดจนการปฏิรูปกฎหมายไม่ให้เป็นอาชญากร เสรีภาพการแสดงออก และการยกเลิกมาตรา 112 เป็นต้น
สิ่งที่ย่ำอยู่กับที่คือทุกรัฐบาล ทุกขบวนการทางการเมือง แดง เหลือง หลากสี กปปส. เมินเฉยต่อข้อเสนอของภาคประชาสังคม
สิ่งที่ฉายภาพซ้ำมากในบ้านเราตอนนี้ ข้อแรกคือ ความต่างทางความคิดทางการเมือง ซึ่งซ้ำมานานหลายปีแล้ว แน่นอนถึงเราจะเชื่อว่าความเห็นที่แตกต่างเป็นเรื่องประชาธิปไตย แต่มันก็มีส่วนที่มากระทบการทำงานอยู่เหมือนกัน เพราะการที่คนคิดต่างกัน บางครั้งกว่าจะรวบรวมให้มาคิดเรื่องเดียวกันมันยาก หรือบางครั้งความเห็นที่แตกต่างกันทางการเมืองมันทำให้เรามัวไปถกเถียงกัน เรื่องนั้น แล้วข้ามเรื่องที่เป็นปัญหาของตัวเองไป สิ่งที่เราอยากเห็นก็คือ อยากให้ภาคประชาชน ทั้งเอ็นจีโอและชาวบ้านกลับมาทุ่มเทความคิดของเรากับเรื่องการแก้ปัญหาพื้น ฐาน ปัญหาปากท้อง ปัญหาที่แท้จริงเรามากกว่าเรื่องการเมือง เรื่องข้างบน
ข้อที่ 2 ที่คิดว่าเป็นสิ่งที่เกิดซ้ำๆ ในช่วงหลายปีมานี้คือ พอทั้งสังคมหันไปสนใจเรื่องทางการเมืองกันมาก เรื่องที่เป็นประเด็นของประชาชน ของคนยากคนจนในสังคมจึงไม่ค่อยมีพื้นที่ความสนใจ ไม่ค่อยมีพื้นที่ในข่าว อันนี้เกิดซ้ำมาหลายปีแล้วที่เรื่องของเราไม่ค่อยเป็นที่สนใจของสื่อ
ข้อที่ 3 การแก้ไม่แก้รัฐธรรมนูญยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ความจริงสำหรับภาคประชาชนพูดให้ถึงที่สุดการแก้รัฐธรรมนูญก็เป็นอีกโอกาส หนึ่งของเรา เช่น โอกาสในการเสนอกฎหมาย โอกาสในการให้น้ำหนักกับประชาธิปไตยทางตรง เรื่องอำนาจของประชาชนที่จะตรวจสอบรัฐ เราก็อยากให้มีข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญเหมือนกัน และเราเชื่อว่าไม่มีอะไรสมบูรณ์ รัฐธรรมนูญ 40 หรือ 50 ก็ไม่ได้สมบูรณ์ที่สุด ต้องหาจุดที่เป็นการตัดสินใจร่วมกันได้ของสังคม แต่ตรงนี้อยู่นิ่งอยู่ที่การแก้กับไม่แก้รัฐธรรมนูญ 50 มาหลายปีแล้ว เราอยากให้มันเคลื่อน
ทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราอยากเห็นข้อสรุป เพื่อที่เราจะได้เดินไปข้างหน้ากันต่อ
ส่วนจะทำอย่างไรจึงจะผ่านจุดนี้ไปได้ ในส่วนของภาคประชาชนคงต้องมีการคุยกัน ต้องวิเคราะห์สถานการณ์และแยกแยะให้ได้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ไม่เป็นประโยชน์ และจะทำให้สถานการณ์ตอนนี้เป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนได้ อย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาก็มีความพยายามในการคุย หากไม่เสียอารมณ์กันไปก่อน คิดว่าภาคประชาชนทั้งเอ็นจีโอและชาวบ้านต้องตั้งหลักให้ได้ และวิเคราะห์ว่าในสถานการณ์แบบนี้จะทำอย่างไรให้เป็นประโยชน์กับคนข้างล่าง กับประชาชนมากที่สุด
ความเห็นต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน
ในกระแสการปฏิรูป ตอนนี้ในส่วนของ กป.อพช.กำลังรวบรวมข้อมูลเรื่องการปฏิรูปและจัดพูดคุย ที่เราพูดกันมากในโอกาสหากจะปฏิรูป คือ 1.ข้อเสนอจากเครือข่ายต่างๆ เพื่อที่จะให้ประเด็นปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไข 2.การทำให้อำนาจของประชาชนเข้มแข็งขึ้น พูดกันถึงขั้นว่าเราอยากเห็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่พูดถึงอำนาจของประชาชน ซึ่งในที่นี้หมายถึงทั้งการเลือกตั้ง หลังการเลือกตั้งแล้วเราจะตรวจสอบรัฐอย่างไร อำนาจในการเสนอกฎหมาย อำนาจในการตรวจสอบรัฐ อำนาจที่จะยืนยันเรื่องประชาธิปไตยทางตรง อำนาจในการตัดสินใจเรื่องนโยบาย อำนาจในการตัดสินใจเรื่องทรัพยากร
ที่พูดกันมาก็คือว่า เราอยากให้โอกาสของการปฏิรูปครั้งนี้มันเสริมอำนาจประชาชน และถ้าเป็นไปได้ในการแก้รัฐธรรมนูญก็อยากให้มันไปถึงประเด็นการทำให้อำนาจ ของประชาชนชัดเจนขึ้น โดยสรุปจากสถานการณ์ปัจจุบันที่ว่าการใช้รัฐธรรมนูญ 40 และ 50 เราเห็นจุดอ่อนอะไร ตรงนี้คงเป็นการบ้านใหญ่ที่ขบวนภาคประชาชนจะทำในช่วงนี้ และรอให้กระแสการแก้รัฐธรรมนูญพูดกันชัดเจนขึ้นก็คงมีการเสนอเรื่องเหล่านี้ เข้าไป
คิดว่าการแก้รัฐธรรมนูญกับการปฏิรูปต้องทำไปด้วยกัน เพราะข้อเสนอปฏิรูปบางอย่างต้องเอาไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ
สำหรับประเด็น ‘การปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง’ หรือ ‘เลือกตั้งก่อนปฏิรูป’ ในส่วนของ กป.อพช.เราไม่อยากพูดในประเด็นนี้แล้ว คิดว่าไม่ใช่ประเด็นของเรา ไม่อยากเถียงเพราะทั้งสองทางมีทั้งข้อดีและข้ออ่อน เราจึงมองข้ามช็อตไปที่ว่าปฏิรูปอะไร เนื้อหาของการปฏิรูปคืออะไร ไม่ว่าก่อนหรือหลักก็ต้องปฏิรูปทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ กป.อพช.พูด กันอย่างชัดเจนคือการปฏิรูปไม่ใช่สิ่งที่จะเสร็จสิ้นได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ต้องใช้เวลาและต้องคิดกันอย่างละเอียด ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ แต่ที่แน่ๆ คืออย่างไรก็ต้องกลับไปสู่การเลือกตั้ง ต้องเลือกตั้งและต้องปฏิรูป
เราเชื่อว่าถึงอย่างไรการเมืองต้องอยู่ในระบบปกติ หรือต้องกลับมาสู่ระบบปกติโดยเร็ว แถลงการณ์ฉบับหลังสุดของเรา ราเสนอให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นมันเป็นช่องว่าง แต่ข้อเสนอของเราก็คือก่อนจะไปถึงการเลือกตั้งอยากเห็นการจัดโครงสร้างว่ามี การเตรียมสำหรับการปฏิรูปไว้อย่างไร ไม่อยากให้ข้อเสนอเป็นเพียงแค่สิ่งที่พูดกันตอนหาเสียงก่อนเลือกตั้ง อยากให้วางโครงสร้าง กลไก ขั้นตอนจังหวะก้าวว่าเราจะไปสู่การปฏิรูปกันได้อย่างไรให้ชัดเจนก่อน แล้วค่อยเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง
ที่ผ่านมา ในการทำงานภาคประชาสังคมมีทั้งความขัดแย้งและความร่วมมือ ไม่มีอะไรที่เกิดซ้ำๆ ย่ำอยู่กับที่ ทุกอย่างมีพลวัตรของมัน การอธิบายขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์มากกว่า ถ้ามองจากภาคประชาสังคมก็ต้องดูว่าเรากำลังอธิบายกับใคร อธิบายเพื่ออะไร เช่น ถ้าอธิบายเพื่อขอการสนับสนุนจากแหล่งทุนเพื่อต่อยอดความคิด ก็ต้องอธิบายว่ามันมีความก้าวหน้า แต่ว่าเป็นไปด้วยความล่าช้าเพราะขาดงบประมาณ แต่ถ้านำเสนอต่อสาธารณะก็ต้องอ้างว่าย่ำอยู่กับที่ไม่ไปไหน เพื่อให้คนหันมาสนใจหรือเพื่อประณามกลไกการแก้ไขปัญหา
คือจะบอกว่าเรื่องทุกเรื่องสามารถอธิบายได้ทุกแบบ ดังนั้นจึงไม่สามารถตอบได้ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง
ถ้าพูดถึงความฝัน มันก็ฝันไปได้ทั้งนั้นแหละ ฉันก็อยากได้สังคมที่เป็นธรรม สังคมที่ดีงาม สังคมที่มีความเสมอภาค เสรีภาพ ภราดรภาพ แต่มันคงไม่เป็นจริงง่ายๆ ถ้ากำหนดเวลา 5 ปี 10 ปี ก็คงบอกง่ายๆ ว่า อยากได้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน และความขัดแย้งในสังคมนี่แหละจะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงไปสู่จุดนั้น
ความเห็นต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน
สำหรับข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน คิดว่าข้อเสนอนี้เป็นทางลงสำหรับกลุ่ม กปปส.และเป็นการฉวยโอกาสของภาคประชาสังคมที่นำเสนอว่าสถานการณ์สังคมสุกงอม พอที่จะดำเนินการปฏิรูปแล้ว แต่เอาเข้าจริงๆ คิดว่าบรรดาแกนนำภาคประชาสังคมบางคนหวังว่าจะได้ประโยชน์ส่วนตนมากกว่า เช่น ประโยชน์จากการได้เป็นสมาชิกสภาประชาชน ประโยชน์จากการได้รับตำแหน่งต่างๆ ที่ไม่ต้องมาโดยการเลือกตั้ง ประโยชน์จากการได้จัดเวที แม้กระทั่งการได้ประโยชน์จากการเอาสถานการณ์ไปเขียนขอทุนจากแหล่งทุน
ส่วนการปฏิรูปกับการเมืองจะเดินไปพร้อมกันได้หรือไม่ ถามว่าทำไมถึงจะเดินไปพร้อมกันไม่ได้? ในเมื่อไม่ได้ขัดแย้งกัน แน่นอนว่าการปฏิรูปต้องส่งผลต่อการเมือง แต่ไม่ได้หมายความว่าปฏิรูปแล้วจะไม่มีการเมือง หรือปฏิรูปแล้วการเมืองจะดีขึ้น ดูจากรัฐธรรมนูญปี 40-50 ก็ไม่เห็นว่าการเมืองจะมีอะไรดีขึ้น แถมยังตกต่ำลงถึงขนาดว่าภาคประชาสังคมบางส่วนยังไปสนับสนุนให้เกิดการรัฐ ประหารในปี 49 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าละอายมาก
ดังนั้นอย่าไปกังวลว่าทั้งสองเรื่องนี้จะเดินหน้าไปพร้อมกันไม่ได้
สิ่งที่เห็นว่าเป็นการปรากฏการณ์ทำงานย่ำอยู่กับที่ คือ งานเอ็นจีโอ ไม่ค่อยมีการสรุปบทเรียนความล้มเลว เลยทำให้ปัญหาไม่ถูกแก้ไขอย่างแท้จริง ยกตัวอย่าง ปัญหาเรื่องคนกับป่า ทั้งๆ ที่รากของปัญหาคือ กฎหมาย แต่พอร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนไม่ผ่าน ก็ไม่มีการผลักดันอะไรในระดับยุทธศาสตร์ต่อ กลับใช้วิธีต่อรองกับรัฐบาลเป็นครั้งๆ ไป ซึ่งไม่ได้แก้ไขปัญหาระยะยาว เพิ่งจะมามีการรณรงค์เรื่องกฎหมายป่าไม้ 4 ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้เอง ส่วนตัวเห็นว่ามันเป็นการย่ำอยู่กับที่เพราะไม่ได้สรุปบทเรียนและหาทางออก
อยากเห็นสังคมทุกภาคส่วนต่อสู้ ต่อรองกันอย่างเท่าเทียมในทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีสวัสดิการพื้นฐานรองรับคนที่แพ้ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีศักย์ศรี ไอเดียแบบรัฐสวัสดิการ ส่วนทำอย่างไร สวัสดิการพื้นฐานสำคัญรัฐต้องรับผิดชอบ 1.การศึกษาถึงปริญญาตรี 2.การรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ 3.ที่อยู่อาศัย โดยต้องปรับโครงสร้างภาษี เก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า ลดงบประมาณกองทัพ ฯลฯ
ความเห็นต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน
ไม่ค่อยเห็นด้วยกับข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะมันไปสร้างเงื่อนไขให้เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย และไม่เห็นว่าการปฏิรูปจะสามารถทำเสร็จได้ในเวลาสั้นๆ เพราะมันเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งประชาชนในหลายพื้นที่ทำกันมานานแล้วผ่านการเคลื่อนไหวของพวกเขา
ส่วนการปฏิรูปกับการเมืองจะเดินไปด้วยกันนั้น มันเป็นไปได้ยากแต่มันไปด้วยกันได้ ลองนึกเล่นๆ ว่าถ้าขบวนการ กปปส.หรือ นปช.เอาจริงเอาจังเรื่องการปฏิรูป และเกาะติดตลอดแบบที่มาเคลื่อนไหวกันตอนนี้ ทำไมมันจะไม่เกิด แต่ขบวนการประชาชนที่ผ่านมาไม่เคยสร้างแนวร่วมได้มากขนาดนี้ก็เลยกดดัน รัฐบาลได้ไม่มาก แต่สุดท้ายมันต้องไปด้วยกัน
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การทำงานภาคประชาสังคมมีเรื่องราวที่เกิดซ้ำๆ ที่จะเห็นชัดเจนคือ การเคลื่อนไหวแก้ปัญหากลุ่มชนที่ด้อยโอกาส กลุ่มชายขอบ โดยการผลักดันกฎหมาย นโยบายต่างๆ เพื่อให้เอื้อต่อการแก้ปัญหาประเด็นต่างๆ ที่แต่ละกลุ่มทำงานกัน แต่ท้ายสุดก็ไม่มีกฎหมายนโยบายใดที่ทางรัฐบาลได้ออกมาเพื่อแก้ปัญหากลุ่มคน เหล่านั้น
ที่เห็นรูปแบบการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ทำซ้ำๆ เหมือนกันทุกรัฐบาลคือ การตั้งคณะกรรมการ ชุดต่างๆ ซึ่งก็มีการแก้ปัญหาได้บ้างเป็นบางกรณี แต่ไม่เคยที่จะส่งผลที่จะออกมาเป็นนโยบายแก้ปัญหาโดยองค์รวมได้เลยสักกรณี เดียว เช่น การแก้ปัญหาที่ดินที่ทางขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ผลักดันนั้น ก็ได้เพียงระเบียบสำนักนายกฯ มาดำเนินแก้ปัญหาในรูปแบบโฉนดชุมชน แต่เอาเข้าจริงก็ไม่สามารถบังคับใช้ได้เพราะติดเรื่องกฎหมายที่ดินของแต่ละ หน่วยงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เหนือกว่าระเบียบสำนักนายกฯ
ส่วนอีก 5-10 ปีข้างหน้า สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นนั้นคือความเป็นธรรม เท่าเทียมกันในสังคม ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ หรือถูกละเลยจากสังคม สิ่งที่จะไปให้ถึงตรงนั้นได้คงต้องผ่านการต่อสู้เรียกร้องจากภาคส่วน ประชาชนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบที่แท้จริง รวมกลุ่มกันมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
หากจะมองในปัจจุบันนี้เอง การเคลื่อนไหวเรียกร้องของภาคประชาสังคมเองก็จะเรียกร้องในส่วนประเด็นงาน ที่ตนเองทำเป็นหลักเสียมากกว่า ซึ่งจากสภาพการการเมืองปัจจุบันนี้ การรวมกลุ่มคนที่เดือดร้อนจากนโยบายที่ไม่เป็นธรรมของรัฐ มีความจำเป็นมาก หากภาคส่วนประชาสังคม สามารถรวมกลุ่มกันเป็นหนึ่งเดียว ข้อเรียกร้องที่มีทิศทางไปแนวเดียวกันจะสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาของกลุ่มคน ชายขอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเชิงนโยบาย หรือรายกรณี
ความเห็นต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน
ส่วนตัวเห็นด้วยกับการปฏิรูปเป็นอย่างยิ่ง เรื่องนี้หากในส่วนของภาคประชาสังคมเองแล้วไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ หากแต่ไม่เคยมีรัฐบาลไหนที่จะสนใจในการปฏิรูป ส่วนสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า “การปฏิรูป” ที่กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กปปส.หรือรัฐบาลใช้ เป็นเพียงคำอ้างในการรักษาอำนาจตัวเองให้อยู่นานวันขึ้นเท่านั้น เพราะเนื้อหาในการปฏิรูปที่คุยกันมาก พูดกันเยอะ ล้วนแล้วแต่เน้นหนักในเรื่องวิธีการเข้าสู่อำนาจแบบใดที่ฝ่ายตนจะได้เปรียบ ไม่เคยเลยที่จะได้เอ่ยถึงการปฏิรูปประเทศอย่างไรถึงจะไม่มีความเหลื่อมล้ำใน ประเทศ
ดังนั้นข้อเสนอที่คิดว่าการปฏิรูปควรจะเน้นหนัก คือเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในทุกๆ ด้านอย่างเป็นรูปธรรมให้ชัดเจน มากกว่าที่จะเน้นเรื่องวิธีการเข้าสู่อำนาจ เพราะจากต้นแบบวิธีการได้มีการพูดคุยหารือครั้งใหญ่มาแล้วถึง 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกช่วงการออกรัฐธรรมนูญ ปี 40 และครั้งที่สองคือการออกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะมุ่งเน้นเรื่องวิธีการมากนัก
และอีกประเด็นคือหากมีการปฏิรูปแล้วเสร็จจะทำอย่างไรที่ให้รัฐนั้นจะ เคารพสิทธิความเป็นภาคประชาสังคมให้เพิ่มมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
โดยหลักแล้วคิดว่าการปฏิรูปจำเป็นที่จะต้องเดินไปพร้อมกับการเมือง เนื่องจากมันไม่สามารถที่จะทำให้ขาดกันได้เพราะคนที่เรียกร้องและถูกเรียก ร้องล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการการเมือง โดยส่วนตัวคิดว่าการจะเดินไปพร้อมกันได้นั้นทั้งฝ่ายถูกเรียกร้องและฝ่าย เรียกร้องควรจะยุติการเคลื่อนไหวที่ส่อจะให้เกิดความรุนแรง และใช้เวทีการพูดคุยกันในการแก้ปัญหา เคารพกติกาที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหากแต่ละฝ่ายมีความจริงใจอยากปฏิรูปควรจะนั่งคุยวิธีการปฏิรูปกันได้ โดยไม่ต้องใช้กำลังห้ำหั่นกัน
ข่าวคราวปัญหาความเดือดร้อนของภาคประชาชนส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่เกิด ซ้ำๆ ทั้งนั้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมันไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย และก็ไม่แน่ใจว่ามันควรจะเกิดแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือเปล่า แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มันไม่ได้ดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดกระบวนการเกิด ซ้ำก็มีอยู่เสมอ
ยกตัวอย่างเรื่องที่ดิน ตราบใดที่การปฏิรูปที่ดิน การกระจายการถือครองที่ดินยังไม่มีความเป็นธรรม หรือระบบกฎหมาย ระบบยุติธรรมยังดูเหมือนไม่ได้เป็นเครื่องมือของคนจน คนส่วนน้อย คนชายขอบ ตราบนั้นเรื่องความขัดแย้งระหว่างรัฐกับคนเล็กคนน้อย หรือนายทุนกับคนเล็กคนน้อยในเรื่องที่ดินหรือในเรื่องป่าก็ยังจะดำเนินอยู่ มันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ
แม้แต่บางครั้งที่เราแก้ปัญหาไปแล้ว เราก็ต้องเตรียมใจไว้เหมือนกันว่าการเกิดซ้ำยังสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากในบางกรณีกลุ่มผลประโยชน์ก็สามารถรุกกลับมาแย่งชิงพื้นที่คืนไปได้ เหมือนกัน เช่น แม้แก้กฎหมายไปแล้วยังสามารถแก้กลับได้ รัฐธรรมนูญแก้ไปแล้วยังแก้กลับได้ มันเป็นกระบวนการต่อรอง ต่อสู้ ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่จะต้องดำเนินต่อไป จึงไม่แปลกใจและไม่รู้สึกรำคาญต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม ประเด็นสำคัญคือ การแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมันไม่เกิดขึ้นและไม่แน่ใจว่าจะเดินขึ้น ได้หรือไม่ เราก็ต้องทำใจเรื่องของการเกิดซ้ำ
ในเรื่องที่ดิน มีหมุดหมายการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เป็นรูปธรรม คือเรื่องกฎหมาย 4 ฉบับ ประกอบด้วย เรื่องโฉนดชุมชน ธนาคารที่ดิน ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า และเรื่องกองทุนยุติธรรม ซึ่งภาคประชาชนพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นในปีนี้ นี่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้การเกิดปัญหาซ้ำๆ เบาบางไป แต่คงไม่ได้สิ้นสุดไปเลยทีเดียว
ใช่.. กฎหมายที่ดิน 4 ฉบับ ตรงนี้เป็นส่วนของการปฏิรูปด้วย ซึ่งจริงๆ กระบวนการปฏิรูปเป็นกระบวนการที่คนที่ต่อสู่เชิงสังคมผลักดันอยู่ตลอดเวลา ทุกนาทีคือการปฏิรูป ไม่ต้องมารอขบวนหรือรอคำสั่งสำนักนายก แต่มีการผลักดันอยู่แล้วตามช่องทางที่เป็นไปได้ เพราะฉะนั้นแนวทางการผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การถือครองที่ดิน และใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเป็นธรรมนั้นมีอยู่แล้ว และมีแนวทางที่ปีนี้จะเข้าชื่อเสนอกฎหมายทั้ง 4 ฉบับ เข้าสู่สภาฯ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีเวทีอย่างเป็นทางการเรื่องการปฏิรูปและเวทีนั้นมี ความชอบธรรม เรื่องนี้ก็จะถูกนำเสนอเข้าไปเช่นเดียวกัน
ความเห็นต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน
การปฏิรูปสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายโอกาส และสามารถเป็นได้ทั้งโอกาสที่ดีหรือการสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ขึ้นอยู่กับบริบทและเงื่อนไข คือ 1.ถ้าต้นทางที่มาของการปฏิรูปไม่ได้มีความชอบธรรม หรือไม่ได้มีความไว้เนื้อเชื่อใจของคนส่วนใหญ่ การปฏิรูปนั้นไม่มีความหมาย 2.ถ้าการปฏิรูปนั้นไม่ได้เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศที่ประชาชนมีสิทธิมีเสียง ประชาชนสามารถเขาถึงและมีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ การปฏิรูปนั้นก็ไร้ความหมายเช่นเดียวกัน
หากเอาเงื่อนไขสำคัญทั้ง 2 ข้อมาจับดูการปฏิรูปในปัจจุบันนี้ โมเดลแรก การปฏิรูปในโมเดลของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ต้องถามว่าการปฏิรูปนี้ต้นทางมีความชอบธรรมและได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ หรือไม่ การปฏิรูปนี้คน ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง สามารถมีสิทธิเทียมกันไม่ว่าจะจนหรือรวย ไม่ว่าจะโง่หรือฉลาด ไม่ว่าจะเป็นทหาร เป็นข้าราชการ หรือเป็นชาวบ้าน มีสิทธิเท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่ การปฏิรูปนี้ก็ไร้ความหมาย
ขณะเดียวกัน โมเดลสภาประชาชนของ กปปส.ถ้าที่มาวิธีการไม่เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ ก็ไม่มีความหมาย และหากขบวนการนั้นไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้ เช่น คุณชี้นิ้วบอกว่า 100 คนนี้ คนนี้ตั้ง อีก 300 คน ผมคัดมาเอง หลังจากนั้นไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลใดๆ ทั้งนั้น ถามว่ามันเกิดขึ้นภายใต้ระบบที่ประชาชนมีสิทธิเท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่ การปฏิรูปก็ไม่มีความหมาย
ถ้าจะพูดสั้นๆ สำหรับผม ทั้ง 2 โมเดล ขณะนี้สอบตก 2 ข้อแรกของการปฏิรูป เพราะฉะนั้นหากเดินตาม 2 โมเดลนี้แบบไม่สนอะไร กำปั้นทุบดินแล้วเดินกันไป ก็ไม่มีประโยชน์อะไร เป็นเพียงแค่เครื่องมือเพื่อพยายามสร้างความชอบธรรมและสร้างแรงสนับสนุนทาง การเมือง เพื่อเป้าหมายอื่นที่ไม่ใช่การปฏิรูป เพราะฉะนั้นการปฏิรูปก็จะไม่มีความหมาย
ไม่มีผู้ที่อยู่ในอำนาจไหนที่อยากให้เกิดการปฏิรูป เพราะการปฏิรูปคือการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เป็นอยู่ และเขาก็อยู่ในอำนาจอยู่แล้วจะเปลี่ยนแปลงทำไม อันนี้เป็นเงื่อนไขเบื้องต้น เพราะฉะนั้นการปฏิรูปจะเกิดขึ้นเมื่ออำนาจรัฐหรือผู้กุมอำนาจนั้นไม่ได้มี อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เกิดสภาพสมดุลบางอย่างในสังคมขึ้นมา ห้วงจังหวะนั้นน่าจะเกิดการปฏิรูปได้ดีที่สุด ถามว่าช่วงที่ผ่านมาห่วงจังหวะนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่ น่าที่จะเกิดขึ้นได้และเงื่อนไขสถานการณ์เปิดโอกาสที่จะเกิดการปฏิรูปได้ เพราะภาครัฐไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอีกต่อไป มีกลุ่มประท้วง ภาครัฐหมดความชอบธรรมในหลายแง่มุม เกิดการเพลี่ยงพล้ำ เพราะฉะนั้นการที่จะอยู่ต่อได้ ภาครัฐต้องมีการเปลี่ยนแปลงและเสนอแนวทางเพื่อให้เกิดการยอมรับ นั่นคือการปฏิรูป
ทางมันปูมาดี เพียงแต่จะต้องอาศัยความจริงใจและแรงกดดันเข้าสู้การปฏิรูปอย่าแท้จริง ประเด็นก็คือ ต้องถามว่า กปปส.ต้องการปฏิรูปหรือไม่ หาก กปปส.ต้องการปฏิรูปเป็นแกนหลัก การปฏิรูปก็จะเกิดขึ้นได้ โดยการกดดันรัฐบาลและประชาชนไปร่วมกดดันรัฐบาลว่ากระบวนการปฏิรูปที่รัฐบาล ในฐานะฝ่ายบริหารจะอำนวยการให้เกิดขึ้น หรือมีบทบาทเชื่อมโยง ข้องเกี่ยว ต้องไม่ทำแบบลูบหน้าปะจมูกหรือเอาตัวรอดไปวันๆ แต่ กปปส.ไม่ได้มีวาระเรื่องการปฏิรูป เรื่องการปฏิรูปจึงไม่ได้ถูกบีบไปยังรัฐบาลเพื่อให้ออกโมเดลที่จะนำไปสู่การ ปฏิรูปที่แท้จริงได้ รัฐบาลจึงทำแค่เอาตัวรอดให้ไปสู่การเลือกตั้งเท่านั้นเอง
โจทย์คือ ไม่มีรัฐบาลไหนที่พลังปฏิรูปจะออกมาจากรัฐบาลเอง เป็นไปได้ยากมาก จึงต้องมาจากพลังในส่วนอื่น แต่พลังในส่วนอื่นนี้ คำจากปากพูดเรื่องปฏิรูป แต่ความจริงไม่ได้ต้องการปฏิรูป การปฏิรูปจึงไม่เกิด ทั้งที่เงื่อนไขสถานการณ์อำนวยให้เกิดได้
สิ่งที่เราพยายามจะพูดคือ ภาคประชาสังคมจะต้องพยายามบีบเพื่อให้คนในสังคมเห็นว่าจริงๆ การปฏิรูปน่าจะเป็นแกนหลัก แกนหลักไม่ใช่การช่วงชิงอำนาจรัฐ ไม่ได้อยู่ที่นาย ก หรือนาง ข มาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ที่ว่าเรามีระบบระเบียบ มีกฎกติกาเพื่อการอยู่ร่วมกัน และมีการปฏิรูปที่จริงจัง ตรงนี้ถ้าสังคมรวมกันขับเคลื่อนตรงนี้ การปฏิรูปเกิดขึ้นได้ แต่ ณ ขณะนี้สังคมถูกให้ข้อมูลว่าการแย่งชิงอำนาจรัฐเป็นโจทย์อันดับต้น
การบอกว่า ‘เอาปฏิรูปก่อน’ หรือ ‘เอาเลือกตั้งก่อน’ ตรงนี้เป็นโจทย์ที่บีบเข้าสู่การชิงอำนาจรัฐผ่านการเลือกตั้งหรือไม่เลือก ตั้ง การปฏิรูปถูกนำมาเป็นแค่ข้อกล่าวอ้างในการชิงอำนาจรัฐเท่านั้น
ส่วนตัวหนุนการปฏิรูปสุดตัว ชีวิตเกิดมาเพื่อการปฏิรูป อย่างไรก็อยากให้เกิดการปฏิรูป เพียงแต่ว่าการปฏิรูปอย่างที่บอกมันต้องเกิดบนบางเงื่อนไขที่เหมาะสม ถ้ามันสอบไม่ผ่านอย่าดันทุรัง เสียเวลา ยกตัวอย่าง การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ตั้งคณะกรรมการชุดอานันท์ ปันยารชุน และชุดนพ.ประเวศ วะสี ทั้งที่อยากปฏิรูปใจจะขาดแต่ไม่ร่วมเพราะเห็นว่าไม่มีประโยชน์ เสียเวลา และหากเข้าไปร่วมการปฏิรูปที่แท้จริงจะไม่เกิด
การปฏิรูปไม่ใช่สักแต่จะปฏิรูป ต้องมองเชิงยุทธศาสตร์ ต้องดูด้วยว่าจะเกิดขึ้นจริงในตอนไหน อย่างไร บางทีไม่ต้องไปร่วมขบวนแต่ก็สามารถรันไปได้ ก่อนหน้านี้ที่ทำเรื่อง FTA การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องไปร่วมขบวนการปฏิรูป หรือใช้เวทีปฏิรูป แต่ใช้พลังของประชาชนต่อกรกับอำนาจรัฐ ทุน และข้าราชการประจำ ซึ่งในที่สุดการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นได้
ภาคประชาสังคมกับการเป็นพลังทางเลือกในสังคมไทย
หลายคนก็จะบอกว่าทำไมไม่มีพลังที่ 3 หรือไม่มีทางเลือกอื่นๆ ส่วนตัวมองว่าภาคประชาสังคมมีข้อจำกัด 2 ส่วน คือ 1.ในเชิงผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ภาคประชาสังคมไม่มีความชำนาญในเรื่องของการเมืองเลือกตั้งและไม่ทักษะ ส่วนจะเลื่อมใสหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้นในปัจจุบันนี้จึงไม่สามารถเข้าสู่สนามการเมืองเลือกตั้งและดู เป็นทางเลือกภายใต้ระบอบประชาธิปไตยตัวแทนได้
2.ในเชิงเสนอแนวคิดและทางออกของสังคม มีปัญหาว่าภาคประชาสังคมไทยไม่มีจุดยืนร่วมต่อประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิทางประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน และไม่มีประเด็นร่วมในการจัดอันดับความสำคัญว่าเรื่องการแก้ปัญหาเชิง ประเด็น หรือการแก้ไขปัญหาหลักการพื้นฐานสิทธิประชาธิปไตยต้องเรียงลำดังอย่างไร เมื่อไม่มีฉันทามติ และพูดได้ว่าแตกเป็นเสี่ยงๆ ในความเห็นต่อเรื่องนี้ทำให้ขาดพลังที่จะผลักดันหรือนำเสนอทางออกไม่ว่าจะ เล็กหรือใหญ่ต่อสังคมในปัจจุบัน แม้ว่าภาคประชาสังคมจะทำงานในเรื่องเหล่านี้ ต่อสู้ และเหนื่อยในเรื่องเหล่านี้มานานมาก แต่ด้วยไม่มีความแหลมคม ไม่มีความชัดเจน ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์สังคมเฉพาะหน้าในปัจจุบันได้
การช่วยเหลือของภาคประชาชนทำได้ แต่ไม่สามารถเป็นผู้นำทางในสังคมขณะนี้ได้ แม้จะเคยทำได้ในบางบริบท แต่สังคมเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จังหวะที่พัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยเดินมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนตัวที่ทำงานในภาคประชาสังคมก็มองว่าเป็นข้อบกพร่องของตนเองเช่นกัน แต่ ณ ปัจจุบันนี้ภาคประชาสังคมไม่มีศักยภาพที่เป็นหนึ่งเดียวเพียงพอในการตอบ โจทย์เฉพาะหน้า และนำไปสู่ประเด็นอื่นๆ
สังคมมีโจทย์เฉพาะหน้าอยู่ เช่น ความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องการเลือกตั้ง การใช้ความรุนแรง การจะอยู่ฝ่ายไหน การจะปฏิรูปก่อนหรือหลังเลือกตั้ง การจะปฏิรูปโมเดลอะไร ฯลฯ เหล่านี้เป็นโจทย์เฉพาะหน้าซึ่งมีความสำคัญแต่ไม่ใช่สิ่งสำคัญทั้งหมด ความสำคัญในอีกระดับหนึ่งคือเนื้อหาที่จะนำพาสังคมในเชิงประเด็น ไม่ว่าการจัดการน้ำ ป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรชายฝั่ง เรื่องต่างๆ เหล่านี้เป็นจุดแข็งของภาคประชาสังคม ซึ่งภาคประชาสังคมก็ไปเน้นตรงนั้นแต่ไม่ตอบโจทย์เฉพาะหน้า
เมื่อไม่ตอบโจทย์เฉพาะหน้าก็ไปสู่ประเด็นของตัวเองไม่ได้ จึงกลายเป็นปัญหาขยับไม่ได้ ทั้งที่ตัวเองมีของดี มีเนื้อหาอยู่ และความจริงหากสังคมจะตอบโจทย์เฉพาะหน้าแล้วสุดท้ายไม่ไปลงเนื้อหาสังคมก็ ไม่ไปไหน เพียงแต่สังคมในขณะนี้หากไม่ตอบโจทย์เฉพาะหน้ามันนำพาใครไปไหนไม่ได้ หากนำเสนอเนื้อหาปฏิรูปก็จะถูกตั้งคำถามว่าจะปฏิรูปตอนไหน ก่อนหรือหลังเลือกตั้ง หากไม่ตอบ ไม่ว่าเนื้อหาจะดีอย่างไรก็ไม่มีใครฟังคุณ และการประชุมภาคประชาสังคมข้อสรุปคือไม่สามารถหาข้อตกลงหรือข้อยุติได้ว่าจะ เอาโมเดลไหน จะเอาแบบไหนกันแน่ จึงกลายเป็นติดขัดไปไหนไม่รอด
ส่วนตัวทำงานเชิงประเด็นอยู่ แต่ก็ต้องยึดมั่นหลักการบางอย่าง ต้องพยายามผลักดันเชิงประเด็นให้ดีที่สุด เพราะคิดว่าจะมาตีกันตายด้วยหลักการ อุดมการณ์ที่เป็นนามธรรม หรือว่าบอกเลือกตั้งๆ อย่างเดียวมันไม่มีประโยชน์ ต้องนำไปสู่เนื้อหา แต่ขณะเดียวกันจะต้องตอบโจทย์ปัจจุบันได้ว่าจะเอาอย่างรับเงื่อนไขที่เกิด ขึ้น ถ้าคนฆ่ากันคุณต้องพูดให้ชัด ต้องประณามคนที่ใช้ความรุนแรงไม่ว่าฝ่ายไหน และถ้ารู้ว่าฝ่ายไหนวางแผนให้เกิดความรุนแรง แม้ว่าเขาเป็นเพื่อนก็จะต้องแสดงจุดยืนให้ชัดเจน ถ้าคุณไม่กล้าทำผมคิดว่ามันลำบาก
สำหรับภาคประชาสังคม สถานการณ์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียนแต่เป็นบทเรียนที่ยังสอบไม่ผ่านเท่านั้นเอง ตั้งแต่ปี 53 ถือเป็นบทเรียนที่เจ็บปวดมาก ภาคประชาสังคมผ่านบทเรียนมาหลายขั้นตอนในความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา หลายปี เมื่อปี 49 ก็เป็นบทเรียนที่ภาคประชาชนในส่วนกลางเข้าไปร่วมกันพันธมิตรฯ เมื่อมีการเรียกร้องมาตรา 7 ก็ขยับออก ตรงนี้เป็นบทเรียนว่าจะเข้าไปร่วมในบางจังหวะก็อาจกลายเป็นบันได เป็นฐานที่จะเดินไปในแนวทางที่ไม่ได้เห็นร่วมด้วยเลยเสียทีเดียว
หลังการปฏิวัติมาสู่ปี 53 มันขยับไม่ออกจนถึงขนาดว่าสูญเสียความชอบธรรมในหลายส่วนไป ก็ถือเป็นบทเรียนที่หลายคนตระหนักแล้ว แต่การสอบครั้งให้ก็กลับมาอีกในสถานการณ์ปัจจุบัน เกิดคำถามว่าบทเรียนเดิมๆ ได้นำพาให้สอบผ่านในครั้งนี้หรือไม่ ส่วนตัวมองว่ายังไม่ผ่าน อย่างไรก็ตามยังมีความพยายาม จากการทำแถลงการณ์ของกลุ่มภาคประชาสังคมบางกลุ่มทั้งที่ใช้ชื่อใหม่ หรือใช้ชื่อคนไม่กี่คน แต่การออกมาเป็นองคาพยพใหญ่ที่มีน้ำหนักและมีพลังยังไม่เกิด
ต่อคำถามเรื่องการปฏิรูปภาคประชาสังคม คิดว่ามันไม่ใช่ยูนิฟอร์ม ส่วนตัวก็อยากปฏิรูปตัวเอง แต่ไม่สามารถไปบังคับคนอื่นได้ ต้องมองแบบโพสโมเดิร์นหน่อยๆ ในส่วนองค์กรที่มีโครงสร้าง เช่น กป.อพช.ก็ต้องถามว่าจะปฏิรูปได้ไหม ภาคประชาสังคมมีหลายเฉด ผมก็คิดไม่เหมือนรุ่นพี่หลายๆ คน
สังคมในอนาคตอันใกล้หนีการปฏิรูปไม่ได้ เพียงแต่ว่ามันจะเกิดขึ้นอย่างดีขนาดไหนคงต้องคอยดูกัน เช่น ภาพเลวร้ายที่สุดคือเกิดความรุนแรงเกิดการนองเลือด เกิดการสูญเสีย แต่หลังเหตุการณ์นิ่งลงก็มักเกิดการปฏิรูปตามมาเป็นเรื่องปกติ หรือหากไม่เกิดการนองเลือด อาจเกิดการปฏิรูปแบบที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพยายามเสนอขึ้นมา ทีนี้เราจะเข้าไปผลักดันให้มันดีที่สุดได้อย่างไร
ถึงอย่างไรการปฏิรูปก็ต้องเกิด ผมมองเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพียงแต่หวังว่าผ่านกระบวนการเรียนรู้นี้คนจะไม่ตายกันมากจนเกินไป เพราะพลังของคู่ขัดแย้งมีมากทั้ง 2 ฝ่าย ต่างต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน
ตัวอย่างแถลงการณ์การแสดงท่าทีของภาคประชาสังคมในช่วงวิกฤติการณ์เมืองครั้งล่าสุด
กป.อพช.เสนอสูตรตั้งคณะปฏิรูปฯ วอนรบ.-กปปส.เร่งเจรจา หนุนเลือกตั้ง
สมานฉันท์แรงงานไทย แถลงจุดยืน ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
ประชาสังคม 20 จังหวัดอีสาน ประกาศ ‘ปฏิรูปประเทศไทย’ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ชี้ กปปส.นำประเทศเดินถอยหลัง
พีมูฟแถลงจุดยืน หนุนเลือกตั้ง ควบคู่เริ่มปฏิรูปเชิงโครงสร้าง
'สมัชชาคนจน' แถลง เลือกตั้งก่อน แล้วค่อยปฏิรูปประเทศ-แก้ รธน.
คปสม.เสนอปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ แก้ รธน.เพิ่ม ‘สภาพลเมือง’ ให้ ปชช.มีอำนาจถ่วงดุล
สลัม 4 ภาค หนุน สปป. เสนอทุกพรรคลงสัตยาบันก่อนเลือกตั้ง ร่วมแก้ รธน.-แก้ปัญหาโครงสร้างสังคม
ภาคประชาสังคม แนะแนวทางปฏิรูปประเทศ ‘ขับเคลื่อนสภาประชาชน’
ประเด็นที่สาม ที่กองบรรณาธิการเห็นว่าเป็นประเด็นที่แทบไม่ขยับไปไหน คือข้อเสนอปฏิรูปประเทศไทยประเด็นร้อนทางการเมืองที่คาดว่าจะคงกระแสการพูด ถึงกันข้ามปีไปจนถึงหลังการเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 (ถ้ามี) ได้รับการสนองตอบจากภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่างล้นหลาม เพราะถือเป็นข้อเสนอที่มีความพยายามขับเคลื่อนกันมายาวนาน เพื่อหวังแก้ปัญหาหมักหมมที่มีอยู่หลายรูปแบบในสังคมแต่กลับไม่ได้รับการตอบ สนองมากนักในห้วงเวลาที่ผ่านมา
ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ปฏิรูประบบรัฐสภา ปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ปฏิรูประบบการเงินการคลังของประเทศ ปฏิรูปการจัดการและการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสุขภาพ ปฏิรูปอำนาจตุลาการและกระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปกฎหมายต้านคอรัปชั่น ฯลฯ หลากหลายข้อเสนอการปฏิรูประรอกล่าสุดของภาคประชาสังคม ซึ่งไม่ใช่ไม่เคยเกิดขึ้น
ในสายตาคนนอก ประเด็นของภาคประชาสังคมดูเหมือนไม่ขยับขับเคลื่อนไปมากนัก จากข้อเรียกร้องหลายกรณีที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กับปัญหาเดิมๆ ที่แก้ไขไม่ได้หากไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างอย่างแท้จริง ตามที่เป็นข่าวรายวันรายปีให้เห็นจนชินตา เพียงแต่หนักหนาสาหัสมากน้อยแล้วแต่กรณี ดูเหมือนวิกฤติการณ์การเมืองจะกลายเป็นจังหวะให้ภาคประชาสังคมได้ฉกฉวยมา เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง แต่ขณะเดียวกันข้อเสนอ ‘ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง’ ก็กลายมาเป็นเงื่อนล็อกทางการเมือง
เพื่อให้เห็นมุมมองของคนในซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย ประชาไทสัมภาษณ์คนในเนื้องานของภาคประชาสังคมทั้งในรุ่นใหญ่ รุ่นกลาง และรุ่นใหม่ ถึงความคิดเห็นต่อปรากฏการณ์ที่เกิดซ้ำๆ ในการทำงานภาคประชาสังคมที่ผ่านมา และความเป็นไปในการแก้ปัญหาในประเด็นที่พวกเขาทำงานอยู่ พร้อมทัศนะต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ถูกจุดกระแสโดยฝาก ฝั่งการเมือง
000
“สิ่งที่ย่ำอยู่กับที่คือทุกรัฐบาล ทุกขบวนการทางการเมือง แดง เหลือง หลากสี กปปส. เมินเฉยต่อข้อเสนอของภาคประชาสังคม”
จอน อึ๊งภากรณ์ เอ็นจีโอและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนในแวดวงภาคประชาสังคมที่ผมคลุกคลีข้อเรียกร้องด้านการปฏิรูปจะเป็นเรื่อง สิทธิชุมชน การจัดการดินน้ำป่า การปกครองท้องถิ่น ผู้ว่ามาจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสวัสดิการรอบด้านยั่งยืน การเข้าถึงยา การกำจัดการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ผู้ขายบริการทางเพศ ผู้ใช้ยาเสพติด ตลอดจนการปฏิรูปกฎหมายไม่ให้เป็นอาชญากร เสรีภาพการแสดงออก และการยกเลิกมาตรา 112 เป็นต้น
สิ่งที่ย่ำอยู่กับที่คือทุกรัฐบาล ทุกขบวนการทางการเมือง แดง เหลือง หลากสี กปปส. เมินเฉยต่อข้อเสนอของภาคประชาสังคม
000
“พอทั้ง สังคมหันไปสนใจเรื่องทางการเมืองกันมาก เรื่องที่เป็นประเด็นของประชาชน ของคนยากคนจนในสังคมจึงไม่ค่อยมีพื้นที่ความสนใจ ไม่ค่อยมีพื้นที่ในข่าว อันนี้เกิดซ้ำมาหลายปีแล้วที่เรื่องของเราไม่ค่อยเป็นที่สนใจของสื่อ”
“เราอยากให้ โอกาสของการปฏิรูปครั้งนี้มันเสริมอำนาจประชาชน และถ้าเป็นไปได้ในการแก้รัฐธรรมนูญก็อยากให้มันไปถึงประเด็นการทำให้อำนาจ ของประชาชนชัดเจนขึ้น”
สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช)สิ่งที่ฉายภาพซ้ำมากในบ้านเราตอนนี้ ข้อแรกคือ ความต่างทางความคิดทางการเมือง ซึ่งซ้ำมานานหลายปีแล้ว แน่นอนถึงเราจะเชื่อว่าความเห็นที่แตกต่างเป็นเรื่องประชาธิปไตย แต่มันก็มีส่วนที่มากระทบการทำงานอยู่เหมือนกัน เพราะการที่คนคิดต่างกัน บางครั้งกว่าจะรวบรวมให้มาคิดเรื่องเดียวกันมันยาก หรือบางครั้งความเห็นที่แตกต่างกันทางการเมืองมันทำให้เรามัวไปถกเถียงกัน เรื่องนั้น แล้วข้ามเรื่องที่เป็นปัญหาของตัวเองไป สิ่งที่เราอยากเห็นก็คือ อยากให้ภาคประชาชน ทั้งเอ็นจีโอและชาวบ้านกลับมาทุ่มเทความคิดของเรากับเรื่องการแก้ปัญหาพื้น ฐาน ปัญหาปากท้อง ปัญหาที่แท้จริงเรามากกว่าเรื่องการเมือง เรื่องข้างบน
ข้อที่ 2 ที่คิดว่าเป็นสิ่งที่เกิดซ้ำๆ ในช่วงหลายปีมานี้คือ พอทั้งสังคมหันไปสนใจเรื่องทางการเมืองกันมาก เรื่องที่เป็นประเด็นของประชาชน ของคนยากคนจนในสังคมจึงไม่ค่อยมีพื้นที่ความสนใจ ไม่ค่อยมีพื้นที่ในข่าว อันนี้เกิดซ้ำมาหลายปีแล้วที่เรื่องของเราไม่ค่อยเป็นที่สนใจของสื่อ
ข้อที่ 3 การแก้ไม่แก้รัฐธรรมนูญยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ความจริงสำหรับภาคประชาชนพูดให้ถึงที่สุดการแก้รัฐธรรมนูญก็เป็นอีกโอกาส หนึ่งของเรา เช่น โอกาสในการเสนอกฎหมาย โอกาสในการให้น้ำหนักกับประชาธิปไตยทางตรง เรื่องอำนาจของประชาชนที่จะตรวจสอบรัฐ เราก็อยากให้มีข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญเหมือนกัน และเราเชื่อว่าไม่มีอะไรสมบูรณ์ รัฐธรรมนูญ 40 หรือ 50 ก็ไม่ได้สมบูรณ์ที่สุด ต้องหาจุดที่เป็นการตัดสินใจร่วมกันได้ของสังคม แต่ตรงนี้อยู่นิ่งอยู่ที่การแก้กับไม่แก้รัฐธรรมนูญ 50 มาหลายปีแล้ว เราอยากให้มันเคลื่อน
ทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราอยากเห็นข้อสรุป เพื่อที่เราจะได้เดินไปข้างหน้ากันต่อ
ส่วนจะทำอย่างไรจึงจะผ่านจุดนี้ไปได้ ในส่วนของภาคประชาชนคงต้องมีการคุยกัน ต้องวิเคราะห์สถานการณ์และแยกแยะให้ได้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ไม่เป็นประโยชน์ และจะทำให้สถานการณ์ตอนนี้เป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนได้ อย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาก็มีความพยายามในการคุย หากไม่เสียอารมณ์กันไปก่อน คิดว่าภาคประชาชนทั้งเอ็นจีโอและชาวบ้านต้องตั้งหลักให้ได้ และวิเคราะห์ว่าในสถานการณ์แบบนี้จะทำอย่างไรให้เป็นประโยชน์กับคนข้างล่าง กับประชาชนมากที่สุด
ความเห็นต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน
ในกระแสการปฏิรูป ตอนนี้ในส่วนของ กป.อพช.กำลังรวบรวมข้อมูลเรื่องการปฏิรูปและจัดพูดคุย ที่เราพูดกันมากในโอกาสหากจะปฏิรูป คือ 1.ข้อเสนอจากเครือข่ายต่างๆ เพื่อที่จะให้ประเด็นปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไข 2.การทำให้อำนาจของประชาชนเข้มแข็งขึ้น พูดกันถึงขั้นว่าเราอยากเห็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่พูดถึงอำนาจของประชาชน ซึ่งในที่นี้หมายถึงทั้งการเลือกตั้ง หลังการเลือกตั้งแล้วเราจะตรวจสอบรัฐอย่างไร อำนาจในการเสนอกฎหมาย อำนาจในการตรวจสอบรัฐ อำนาจที่จะยืนยันเรื่องประชาธิปไตยทางตรง อำนาจในการตัดสินใจเรื่องนโยบาย อำนาจในการตัดสินใจเรื่องทรัพยากร
ที่พูดกันมาก็คือว่า เราอยากให้โอกาสของการปฏิรูปครั้งนี้มันเสริมอำนาจประชาชน และถ้าเป็นไปได้ในการแก้รัฐธรรมนูญก็อยากให้มันไปถึงประเด็นการทำให้อำนาจ ของประชาชนชัดเจนขึ้น โดยสรุปจากสถานการณ์ปัจจุบันที่ว่าการใช้รัฐธรรมนูญ 40 และ 50 เราเห็นจุดอ่อนอะไร ตรงนี้คงเป็นการบ้านใหญ่ที่ขบวนภาคประชาชนจะทำในช่วงนี้ และรอให้กระแสการแก้รัฐธรรมนูญพูดกันชัดเจนขึ้นก็คงมีการเสนอเรื่องเหล่านี้ เข้าไป
คิดว่าการแก้รัฐธรรมนูญกับการปฏิรูปต้องทำไปด้วยกัน เพราะข้อเสนอปฏิรูปบางอย่างต้องเอาไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ
สำหรับประเด็น ‘การปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง’ หรือ ‘เลือกตั้งก่อนปฏิรูป’ ในส่วนของ กป.อพช.เราไม่อยากพูดในประเด็นนี้แล้ว คิดว่าไม่ใช่ประเด็นของเรา ไม่อยากเถียงเพราะทั้งสองทางมีทั้งข้อดีและข้ออ่อน เราจึงมองข้ามช็อตไปที่ว่าปฏิรูปอะไร เนื้อหาของการปฏิรูปคืออะไร ไม่ว่าก่อนหรือหลักก็ต้องปฏิรูปทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ กป.อพช.พูด กันอย่างชัดเจนคือการปฏิรูปไม่ใช่สิ่งที่จะเสร็จสิ้นได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ต้องใช้เวลาและต้องคิดกันอย่างละเอียด ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ แต่ที่แน่ๆ คืออย่างไรก็ต้องกลับไปสู่การเลือกตั้ง ต้องเลือกตั้งและต้องปฏิรูป
เราเชื่อว่าถึงอย่างไรการเมืองต้องอยู่ในระบบปกติ หรือต้องกลับมาสู่ระบบปกติโดยเร็ว แถลงการณ์ฉบับหลังสุดของเรา ราเสนอให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นมันเป็นช่องว่าง แต่ข้อเสนอของเราก็คือก่อนจะไปถึงการเลือกตั้งอยากเห็นการจัดโครงสร้างว่ามี การเตรียมสำหรับการปฏิรูปไว้อย่างไร ไม่อยากให้ข้อเสนอเป็นเพียงแค่สิ่งที่พูดกันตอนหาเสียงก่อนเลือกตั้ง อยากให้วางโครงสร้าง กลไก ขั้นตอนจังหวะก้าวว่าเราจะไปสู่การปฏิรูปกันได้อย่างไรให้ชัดเจนก่อน แล้วค่อยเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง
000
“ในการทำงาน ภาคประชาสังคมมีทั้งความขัดแย้งและความร่วมมือ ไม่มีอะไรที่เกิดซ้ำๆ ย่ำอยู่กับที่ ทุกอย่างมีพลวัตรของมัน การอธิบายขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์มากกว่า..”
“ข้อเสนอการ ปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน คิดว่าข้อเสนอนี้เป็นทางลงสำหรับกลุ่ม กปปส.และเป็นการฉวยโอกาสของภาคประชาสังคมที่นำเสนอว่าสถานการณ์สังคมสุกงอม พอที่จะดำเนินการปฏิรูปแล้ว...”
บารมี ไม่มีปัญหา (นามสมมติ) คนทำงานในภาคประชาสังคมมายาวนานที่ผ่านมา ในการทำงานภาคประชาสังคมมีทั้งความขัดแย้งและความร่วมมือ ไม่มีอะไรที่เกิดซ้ำๆ ย่ำอยู่กับที่ ทุกอย่างมีพลวัตรของมัน การอธิบายขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์มากกว่า ถ้ามองจากภาคประชาสังคมก็ต้องดูว่าเรากำลังอธิบายกับใคร อธิบายเพื่ออะไร เช่น ถ้าอธิบายเพื่อขอการสนับสนุนจากแหล่งทุนเพื่อต่อยอดความคิด ก็ต้องอธิบายว่ามันมีความก้าวหน้า แต่ว่าเป็นไปด้วยความล่าช้าเพราะขาดงบประมาณ แต่ถ้านำเสนอต่อสาธารณะก็ต้องอ้างว่าย่ำอยู่กับที่ไม่ไปไหน เพื่อให้คนหันมาสนใจหรือเพื่อประณามกลไกการแก้ไขปัญหา
คือจะบอกว่าเรื่องทุกเรื่องสามารถอธิบายได้ทุกแบบ ดังนั้นจึงไม่สามารถตอบได้ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง
ถ้าพูดถึงความฝัน มันก็ฝันไปได้ทั้งนั้นแหละ ฉันก็อยากได้สังคมที่เป็นธรรม สังคมที่ดีงาม สังคมที่มีความเสมอภาค เสรีภาพ ภราดรภาพ แต่มันคงไม่เป็นจริงง่ายๆ ถ้ากำหนดเวลา 5 ปี 10 ปี ก็คงบอกง่ายๆ ว่า อยากได้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน และความขัดแย้งในสังคมนี่แหละจะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงไปสู่จุดนั้น
ความเห็นต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน
สำหรับข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน คิดว่าข้อเสนอนี้เป็นทางลงสำหรับกลุ่ม กปปส.และเป็นการฉวยโอกาสของภาคประชาสังคมที่นำเสนอว่าสถานการณ์สังคมสุกงอม พอที่จะดำเนินการปฏิรูปแล้ว แต่เอาเข้าจริงๆ คิดว่าบรรดาแกนนำภาคประชาสังคมบางคนหวังว่าจะได้ประโยชน์ส่วนตนมากกว่า เช่น ประโยชน์จากการได้เป็นสมาชิกสภาประชาชน ประโยชน์จากการได้รับตำแหน่งต่างๆ ที่ไม่ต้องมาโดยการเลือกตั้ง ประโยชน์จากการได้จัดเวที แม้กระทั่งการได้ประโยชน์จากการเอาสถานการณ์ไปเขียนขอทุนจากแหล่งทุน
ส่วนการปฏิรูปกับการเมืองจะเดินไปพร้อมกันได้หรือไม่ ถามว่าทำไมถึงจะเดินไปพร้อมกันไม่ได้? ในเมื่อไม่ได้ขัดแย้งกัน แน่นอนว่าการปฏิรูปต้องส่งผลต่อการเมือง แต่ไม่ได้หมายความว่าปฏิรูปแล้วจะไม่มีการเมือง หรือปฏิรูปแล้วการเมืองจะดีขึ้น ดูจากรัฐธรรมนูญปี 40-50 ก็ไม่เห็นว่าการเมืองจะมีอะไรดีขึ้น แถมยังตกต่ำลงถึงขนาดว่าภาคประชาสังคมบางส่วนยังไปสนับสนุนให้เกิดการรัฐ ประหารในปี 49 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าละอายมาก
ดังนั้นอย่าไปกังวลว่าทั้งสองเรื่องนี้จะเดินหน้าไปพร้อมกันไม่ได้
000
“งานเอ็นจีโอ ไม่ค่อยมีการสรุปบทเรียนความล้มเลว เลยทำให้ปัญหาไม่ถูกแก้ไขอย่างแท้จริง...”
“ไม่ค่อย เห็นด้วยกับข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะมันไปสร้างเงื่อนไขให้เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย และไม่เห็นว่าการปฏิรูปจะสามารถทำเสร็จได้ในเวลาสั้นๆ”
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ทนายความประจำมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อมสิ่งที่เห็นว่าเป็นการปรากฏการณ์ทำงานย่ำอยู่กับที่ คือ งานเอ็นจีโอ ไม่ค่อยมีการสรุปบทเรียนความล้มเลว เลยทำให้ปัญหาไม่ถูกแก้ไขอย่างแท้จริง ยกตัวอย่าง ปัญหาเรื่องคนกับป่า ทั้งๆ ที่รากของปัญหาคือ กฎหมาย แต่พอร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนไม่ผ่าน ก็ไม่มีการผลักดันอะไรในระดับยุทธศาสตร์ต่อ กลับใช้วิธีต่อรองกับรัฐบาลเป็นครั้งๆ ไป ซึ่งไม่ได้แก้ไขปัญหาระยะยาว เพิ่งจะมามีการรณรงค์เรื่องกฎหมายป่าไม้ 4 ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้เอง ส่วนตัวเห็นว่ามันเป็นการย่ำอยู่กับที่เพราะไม่ได้สรุปบทเรียนและหาทางออก
อยากเห็นสังคมทุกภาคส่วนต่อสู้ ต่อรองกันอย่างเท่าเทียมในทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีสวัสดิการพื้นฐานรองรับคนที่แพ้ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีศักย์ศรี ไอเดียแบบรัฐสวัสดิการ ส่วนทำอย่างไร สวัสดิการพื้นฐานสำคัญรัฐต้องรับผิดชอบ 1.การศึกษาถึงปริญญาตรี 2.การรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ 3.ที่อยู่อาศัย โดยต้องปรับโครงสร้างภาษี เก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า ลดงบประมาณกองทัพ ฯลฯ
ความเห็นต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน
ไม่ค่อยเห็นด้วยกับข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะมันไปสร้างเงื่อนไขให้เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย และไม่เห็นว่าการปฏิรูปจะสามารถทำเสร็จได้ในเวลาสั้นๆ เพราะมันเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งประชาชนในหลายพื้นที่ทำกันมานานแล้วผ่านการเคลื่อนไหวของพวกเขา
ส่วนการปฏิรูปกับการเมืองจะเดินไปด้วยกันนั้น มันเป็นไปได้ยากแต่มันไปด้วยกันได้ ลองนึกเล่นๆ ว่าถ้าขบวนการ กปปส.หรือ นปช.เอาจริงเอาจังเรื่องการปฏิรูป และเกาะติดตลอดแบบที่มาเคลื่อนไหวกันตอนนี้ ทำไมมันจะไม่เกิด แต่ขบวนการประชาชนที่ผ่านมาไม่เคยสร้างแนวร่วมได้มากขนาดนี้ก็เลยกดดัน รัฐบาลได้ไม่มาก แต่สุดท้ายมันต้องไปด้วยกัน
000
“รูปแบบการ แก้ปัญหาของรัฐบาลที่ทำซ้ำๆ เหมือนกันทุกรัฐบาลคือ การตั้งคณะกรรมการ ชุดต่างๆ ซึ่งก็มีการแก้ปัญหาได้บ้างเป็นบางกรณี แต่ไม่เคยที่จะส่งผลที่จะออกมาเป็นนโยบายแก้ปัญหาโดยองค์รวมได้เลยสักกรณี เดียว..”
“การปฏิรูป ที่กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กปปส.หรือรัฐบาลใช้ เป็นเพียงคำอ้างในการรักษาอำนาจตัวเองให้อยู่นานวันขึ้นเท่านั้น เพราะเนื้อหาในการปฏิรูปที่คุยกันมาก พูดกันเยอะ ล้วนแล้วแต่เน้นหนักในเรื่องวิธีการเข้าสู่อำนาจแบบใดที่ฝ่ายตนจะได้เปรียบ ไม่เคยเลยที่จะได้เอ่ยถึงการปฏิรูปประเทศอย่างไรถึงจะไม่มีความเหลื่อมล้ำใน ประเทศ”
คมสันติ์ จันทร์อ่อน กองเลขาเครือข่ายสลัม 4 ภาคในช่วงเวลาที่ผ่านมา การทำงานภาคประชาสังคมมีเรื่องราวที่เกิดซ้ำๆ ที่จะเห็นชัดเจนคือ การเคลื่อนไหวแก้ปัญหากลุ่มชนที่ด้อยโอกาส กลุ่มชายขอบ โดยการผลักดันกฎหมาย นโยบายต่างๆ เพื่อให้เอื้อต่อการแก้ปัญหาประเด็นต่างๆ ที่แต่ละกลุ่มทำงานกัน แต่ท้ายสุดก็ไม่มีกฎหมายนโยบายใดที่ทางรัฐบาลได้ออกมาเพื่อแก้ปัญหากลุ่มคน เหล่านั้น
ที่เห็นรูปแบบการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ทำซ้ำๆ เหมือนกันทุกรัฐบาลคือ การตั้งคณะกรรมการ ชุดต่างๆ ซึ่งก็มีการแก้ปัญหาได้บ้างเป็นบางกรณี แต่ไม่เคยที่จะส่งผลที่จะออกมาเป็นนโยบายแก้ปัญหาโดยองค์รวมได้เลยสักกรณี เดียว เช่น การแก้ปัญหาที่ดินที่ทางขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ผลักดันนั้น ก็ได้เพียงระเบียบสำนักนายกฯ มาดำเนินแก้ปัญหาในรูปแบบโฉนดชุมชน แต่เอาเข้าจริงก็ไม่สามารถบังคับใช้ได้เพราะติดเรื่องกฎหมายที่ดินของแต่ละ หน่วยงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เหนือกว่าระเบียบสำนักนายกฯ
ส่วนอีก 5-10 ปีข้างหน้า สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นนั้นคือความเป็นธรรม เท่าเทียมกันในสังคม ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ หรือถูกละเลยจากสังคม สิ่งที่จะไปให้ถึงตรงนั้นได้คงต้องผ่านการต่อสู้เรียกร้องจากภาคส่วน ประชาชนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบที่แท้จริง รวมกลุ่มกันมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
หากจะมองในปัจจุบันนี้เอง การเคลื่อนไหวเรียกร้องของภาคประชาสังคมเองก็จะเรียกร้องในส่วนประเด็นงาน ที่ตนเองทำเป็นหลักเสียมากกว่า ซึ่งจากสภาพการการเมืองปัจจุบันนี้ การรวมกลุ่มคนที่เดือดร้อนจากนโยบายที่ไม่เป็นธรรมของรัฐ มีความจำเป็นมาก หากภาคส่วนประชาสังคม สามารถรวมกลุ่มกันเป็นหนึ่งเดียว ข้อเรียกร้องที่มีทิศทางไปแนวเดียวกันจะสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาของกลุ่มคน ชายขอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเชิงนโยบาย หรือรายกรณี
ความเห็นต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน
ส่วนตัวเห็นด้วยกับการปฏิรูปเป็นอย่างยิ่ง เรื่องนี้หากในส่วนของภาคประชาสังคมเองแล้วไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ หากแต่ไม่เคยมีรัฐบาลไหนที่จะสนใจในการปฏิรูป ส่วนสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า “การปฏิรูป” ที่กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กปปส.หรือรัฐบาลใช้ เป็นเพียงคำอ้างในการรักษาอำนาจตัวเองให้อยู่นานวันขึ้นเท่านั้น เพราะเนื้อหาในการปฏิรูปที่คุยกันมาก พูดกันเยอะ ล้วนแล้วแต่เน้นหนักในเรื่องวิธีการเข้าสู่อำนาจแบบใดที่ฝ่ายตนจะได้เปรียบ ไม่เคยเลยที่จะได้เอ่ยถึงการปฏิรูปประเทศอย่างไรถึงจะไม่มีความเหลื่อมล้ำใน ประเทศ
ดังนั้นข้อเสนอที่คิดว่าการปฏิรูปควรจะเน้นหนัก คือเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในทุกๆ ด้านอย่างเป็นรูปธรรมให้ชัดเจน มากกว่าที่จะเน้นเรื่องวิธีการเข้าสู่อำนาจ เพราะจากต้นแบบวิธีการได้มีการพูดคุยหารือครั้งใหญ่มาแล้วถึง 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกช่วงการออกรัฐธรรมนูญ ปี 40 และครั้งที่สองคือการออกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะมุ่งเน้นเรื่องวิธีการมากนัก
และอีกประเด็นคือหากมีการปฏิรูปแล้วเสร็จจะทำอย่างไรที่ให้รัฐนั้นจะ เคารพสิทธิความเป็นภาคประชาสังคมให้เพิ่มมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
โดยหลักแล้วคิดว่าการปฏิรูปจำเป็นที่จะต้องเดินไปพร้อมกับการเมือง เนื่องจากมันไม่สามารถที่จะทำให้ขาดกันได้เพราะคนที่เรียกร้องและถูกเรียก ร้องล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการการเมือง โดยส่วนตัวคิดว่าการจะเดินไปพร้อมกันได้นั้นทั้งฝ่ายถูกเรียกร้องและฝ่าย เรียกร้องควรจะยุติการเคลื่อนไหวที่ส่อจะให้เกิดความรุนแรง และใช้เวทีการพูดคุยกันในการแก้ปัญหา เคารพกติกาที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหากแต่ละฝ่ายมีความจริงใจอยากปฏิรูปควรจะนั่งคุยวิธีการปฏิรูปกันได้ โดยไม่ต้องใช้กำลังห้ำหั่นกัน
000
“การแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมันไม่เกิดขึ้นและไม่แน่ใจว่าจะเดินขึ้นได้หรือไม่ เราก็ต้องทำใจเรื่องของการเกิดซ้ำ”
“... หาก กปปส.ต้องการปฏิรูปเป็นแกนหลัก การปฏิรูปก็จะเกิดขึ้นได้ โดยการกดดันรัฐบาลและประชาชนไปร่วมกดดันรัฐบาลว่ากระบวนการปฏิรูปที่รัฐบาล ในฐานะฝ่ายบริหารจะอำนวยการให้เกิดขึ้น หรือมีบทบาทเชื่อมโยง ข้องเกี่ยว ต้องไม่ทำแบบลูบหน้าปะจมูกหรือเอาตัวรอดไปวันๆ แต่ กปปส.ไม่ได้มีวาระเรื่องการปฏิรูป ...”
“การช่วย เหลือของภาคประชาชนทำได้ แต่ไม่สามารถเป็นผู้นำทางในสังคมขณะนี้ได้ แม้จะเคยทำได้ในบางบริบท แต่สังคมเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จังหวะที่พัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยเดินมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนตัวที่ทำงานในภาคประชาสังคมก็มองว่าเป็นข้อบกพร่องของตนเองเช่นกัน แต่ ณ ปัจจุบันนี้ภาคประชาสังคมไม่มีศักยภาพที่เป็นหนึ่งเดียวเพียงพอในการตอบ โจทย์เฉพาะหน้า และนำไปสู่ประเด็นอื่นๆ”
จักรชัย โฉมทองดี รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)ข่าวคราวปัญหาความเดือดร้อนของภาคประชาชนส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่เกิด ซ้ำๆ ทั้งนั้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมันไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย และก็ไม่แน่ใจว่ามันควรจะเกิดแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือเปล่า แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มันไม่ได้ดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดกระบวนการเกิด ซ้ำก็มีอยู่เสมอ
ยกตัวอย่างเรื่องที่ดิน ตราบใดที่การปฏิรูปที่ดิน การกระจายการถือครองที่ดินยังไม่มีความเป็นธรรม หรือระบบกฎหมาย ระบบยุติธรรมยังดูเหมือนไม่ได้เป็นเครื่องมือของคนจน คนส่วนน้อย คนชายขอบ ตราบนั้นเรื่องความขัดแย้งระหว่างรัฐกับคนเล็กคนน้อย หรือนายทุนกับคนเล็กคนน้อยในเรื่องที่ดินหรือในเรื่องป่าก็ยังจะดำเนินอยู่ มันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ
แม้แต่บางครั้งที่เราแก้ปัญหาไปแล้ว เราก็ต้องเตรียมใจไว้เหมือนกันว่าการเกิดซ้ำยังสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากในบางกรณีกลุ่มผลประโยชน์ก็สามารถรุกกลับมาแย่งชิงพื้นที่คืนไปได้ เหมือนกัน เช่น แม้แก้กฎหมายไปแล้วยังสามารถแก้กลับได้ รัฐธรรมนูญแก้ไปแล้วยังแก้กลับได้ มันเป็นกระบวนการต่อรอง ต่อสู้ ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่จะต้องดำเนินต่อไป จึงไม่แปลกใจและไม่รู้สึกรำคาญต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม ประเด็นสำคัญคือ การแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมันไม่เกิดขึ้นและไม่แน่ใจว่าจะเดินขึ้น ได้หรือไม่ เราก็ต้องทำใจเรื่องของการเกิดซ้ำ
ในเรื่องที่ดิน มีหมุดหมายการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เป็นรูปธรรม คือเรื่องกฎหมาย 4 ฉบับ ประกอบด้วย เรื่องโฉนดชุมชน ธนาคารที่ดิน ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า และเรื่องกองทุนยุติธรรม ซึ่งภาคประชาชนพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นในปีนี้ นี่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้การเกิดปัญหาซ้ำๆ เบาบางไป แต่คงไม่ได้สิ้นสุดไปเลยทีเดียว
ใช่.. กฎหมายที่ดิน 4 ฉบับ ตรงนี้เป็นส่วนของการปฏิรูปด้วย ซึ่งจริงๆ กระบวนการปฏิรูปเป็นกระบวนการที่คนที่ต่อสู่เชิงสังคมผลักดันอยู่ตลอดเวลา ทุกนาทีคือการปฏิรูป ไม่ต้องมารอขบวนหรือรอคำสั่งสำนักนายก แต่มีการผลักดันอยู่แล้วตามช่องทางที่เป็นไปได้ เพราะฉะนั้นแนวทางการผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การถือครองที่ดิน และใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเป็นธรรมนั้นมีอยู่แล้ว และมีแนวทางที่ปีนี้จะเข้าชื่อเสนอกฎหมายทั้ง 4 ฉบับ เข้าสู่สภาฯ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีเวทีอย่างเป็นทางการเรื่องการปฏิรูปและเวทีนั้นมี ความชอบธรรม เรื่องนี้ก็จะถูกนำเสนอเข้าไปเช่นเดียวกัน
ความเห็นต่อข้อเสนอการปฏิรูปในสถานการณ์ปัจจุบัน
การปฏิรูปสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายโอกาส และสามารถเป็นได้ทั้งโอกาสที่ดีหรือการสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ขึ้นอยู่กับบริบทและเงื่อนไข คือ 1.ถ้าต้นทางที่มาของการปฏิรูปไม่ได้มีความชอบธรรม หรือไม่ได้มีความไว้เนื้อเชื่อใจของคนส่วนใหญ่ การปฏิรูปนั้นไม่มีความหมาย 2.ถ้าการปฏิรูปนั้นไม่ได้เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศที่ประชาชนมีสิทธิมีเสียง ประชาชนสามารถเขาถึงและมีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ การปฏิรูปนั้นก็ไร้ความหมายเช่นเดียวกัน
หากเอาเงื่อนไขสำคัญทั้ง 2 ข้อมาจับดูการปฏิรูปในปัจจุบันนี้ โมเดลแรก การปฏิรูปในโมเดลของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ต้องถามว่าการปฏิรูปนี้ต้นทางมีความชอบธรรมและได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ หรือไม่ การปฏิรูปนี้คน ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง สามารถมีสิทธิเทียมกันไม่ว่าจะจนหรือรวย ไม่ว่าจะโง่หรือฉลาด ไม่ว่าจะเป็นทหาร เป็นข้าราชการ หรือเป็นชาวบ้าน มีสิทธิเท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่ การปฏิรูปนี้ก็ไร้ความหมาย
ขณะเดียวกัน โมเดลสภาประชาชนของ กปปส.ถ้าที่มาวิธีการไม่เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ ก็ไม่มีความหมาย และหากขบวนการนั้นไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้ เช่น คุณชี้นิ้วบอกว่า 100 คนนี้ คนนี้ตั้ง อีก 300 คน ผมคัดมาเอง หลังจากนั้นไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลใดๆ ทั้งนั้น ถามว่ามันเกิดขึ้นภายใต้ระบบที่ประชาชนมีสิทธิเท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่ การปฏิรูปก็ไม่มีความหมาย
ถ้าจะพูดสั้นๆ สำหรับผม ทั้ง 2 โมเดล ขณะนี้สอบตก 2 ข้อแรกของการปฏิรูป เพราะฉะนั้นหากเดินตาม 2 โมเดลนี้แบบไม่สนอะไร กำปั้นทุบดินแล้วเดินกันไป ก็ไม่มีประโยชน์อะไร เป็นเพียงแค่เครื่องมือเพื่อพยายามสร้างความชอบธรรมและสร้างแรงสนับสนุนทาง การเมือง เพื่อเป้าหมายอื่นที่ไม่ใช่การปฏิรูป เพราะฉะนั้นการปฏิรูปก็จะไม่มีความหมาย
ไม่มีผู้ที่อยู่ในอำนาจไหนที่อยากให้เกิดการปฏิรูป เพราะการปฏิรูปคือการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เป็นอยู่ และเขาก็อยู่ในอำนาจอยู่แล้วจะเปลี่ยนแปลงทำไม อันนี้เป็นเงื่อนไขเบื้องต้น เพราะฉะนั้นการปฏิรูปจะเกิดขึ้นเมื่ออำนาจรัฐหรือผู้กุมอำนาจนั้นไม่ได้มี อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เกิดสภาพสมดุลบางอย่างในสังคมขึ้นมา ห้วงจังหวะนั้นน่าจะเกิดการปฏิรูปได้ดีที่สุด ถามว่าช่วงที่ผ่านมาห่วงจังหวะนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่ น่าที่จะเกิดขึ้นได้และเงื่อนไขสถานการณ์เปิดโอกาสที่จะเกิดการปฏิรูปได้ เพราะภาครัฐไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอีกต่อไป มีกลุ่มประท้วง ภาครัฐหมดความชอบธรรมในหลายแง่มุม เกิดการเพลี่ยงพล้ำ เพราะฉะนั้นการที่จะอยู่ต่อได้ ภาครัฐต้องมีการเปลี่ยนแปลงและเสนอแนวทางเพื่อให้เกิดการยอมรับ นั่นคือการปฏิรูป
ทางมันปูมาดี เพียงแต่จะต้องอาศัยความจริงใจและแรงกดดันเข้าสู้การปฏิรูปอย่าแท้จริง ประเด็นก็คือ ต้องถามว่า กปปส.ต้องการปฏิรูปหรือไม่ หาก กปปส.ต้องการปฏิรูปเป็นแกนหลัก การปฏิรูปก็จะเกิดขึ้นได้ โดยการกดดันรัฐบาลและประชาชนไปร่วมกดดันรัฐบาลว่ากระบวนการปฏิรูปที่รัฐบาล ในฐานะฝ่ายบริหารจะอำนวยการให้เกิดขึ้น หรือมีบทบาทเชื่อมโยง ข้องเกี่ยว ต้องไม่ทำแบบลูบหน้าปะจมูกหรือเอาตัวรอดไปวันๆ แต่ กปปส.ไม่ได้มีวาระเรื่องการปฏิรูป เรื่องการปฏิรูปจึงไม่ได้ถูกบีบไปยังรัฐบาลเพื่อให้ออกโมเดลที่จะนำไปสู่การ ปฏิรูปที่แท้จริงได้ รัฐบาลจึงทำแค่เอาตัวรอดให้ไปสู่การเลือกตั้งเท่านั้นเอง
โจทย์คือ ไม่มีรัฐบาลไหนที่พลังปฏิรูปจะออกมาจากรัฐบาลเอง เป็นไปได้ยากมาก จึงต้องมาจากพลังในส่วนอื่น แต่พลังในส่วนอื่นนี้ คำจากปากพูดเรื่องปฏิรูป แต่ความจริงไม่ได้ต้องการปฏิรูป การปฏิรูปจึงไม่เกิด ทั้งที่เงื่อนไขสถานการณ์อำนวยให้เกิดได้
สิ่งที่เราพยายามจะพูดคือ ภาคประชาสังคมจะต้องพยายามบีบเพื่อให้คนในสังคมเห็นว่าจริงๆ การปฏิรูปน่าจะเป็นแกนหลัก แกนหลักไม่ใช่การช่วงชิงอำนาจรัฐ ไม่ได้อยู่ที่นาย ก หรือนาง ข มาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ที่ว่าเรามีระบบระเบียบ มีกฎกติกาเพื่อการอยู่ร่วมกัน และมีการปฏิรูปที่จริงจัง ตรงนี้ถ้าสังคมรวมกันขับเคลื่อนตรงนี้ การปฏิรูปเกิดขึ้นได้ แต่ ณ ขณะนี้สังคมถูกให้ข้อมูลว่าการแย่งชิงอำนาจรัฐเป็นโจทย์อันดับต้น
การบอกว่า ‘เอาปฏิรูปก่อน’ หรือ ‘เอาเลือกตั้งก่อน’ ตรงนี้เป็นโจทย์ที่บีบเข้าสู่การชิงอำนาจรัฐผ่านการเลือกตั้งหรือไม่เลือก ตั้ง การปฏิรูปถูกนำมาเป็นแค่ข้อกล่าวอ้างในการชิงอำนาจรัฐเท่านั้น
ส่วนตัวหนุนการปฏิรูปสุดตัว ชีวิตเกิดมาเพื่อการปฏิรูป อย่างไรก็อยากให้เกิดการปฏิรูป เพียงแต่ว่าการปฏิรูปอย่างที่บอกมันต้องเกิดบนบางเงื่อนไขที่เหมาะสม ถ้ามันสอบไม่ผ่านอย่าดันทุรัง เสียเวลา ยกตัวอย่าง การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ตั้งคณะกรรมการชุดอานันท์ ปันยารชุน และชุดนพ.ประเวศ วะสี ทั้งที่อยากปฏิรูปใจจะขาดแต่ไม่ร่วมเพราะเห็นว่าไม่มีประโยชน์ เสียเวลา และหากเข้าไปร่วมการปฏิรูปที่แท้จริงจะไม่เกิด
การปฏิรูปไม่ใช่สักแต่จะปฏิรูป ต้องมองเชิงยุทธศาสตร์ ต้องดูด้วยว่าจะเกิดขึ้นจริงในตอนไหน อย่างไร บางทีไม่ต้องไปร่วมขบวนแต่ก็สามารถรันไปได้ ก่อนหน้านี้ที่ทำเรื่อง FTA การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องไปร่วมขบวนการปฏิรูป หรือใช้เวทีปฏิรูป แต่ใช้พลังของประชาชนต่อกรกับอำนาจรัฐ ทุน และข้าราชการประจำ ซึ่งในที่สุดการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นได้
ภาคประชาสังคมกับการเป็นพลังทางเลือกในสังคมไทย
หลายคนก็จะบอกว่าทำไมไม่มีพลังที่ 3 หรือไม่มีทางเลือกอื่นๆ ส่วนตัวมองว่าภาคประชาสังคมมีข้อจำกัด 2 ส่วน คือ 1.ในเชิงผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ภาคประชาสังคมไม่มีความชำนาญในเรื่องของการเมืองเลือกตั้งและไม่ทักษะ ส่วนจะเลื่อมใสหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้นในปัจจุบันนี้จึงไม่สามารถเข้าสู่สนามการเมืองเลือกตั้งและดู เป็นทางเลือกภายใต้ระบอบประชาธิปไตยตัวแทนได้
2.ในเชิงเสนอแนวคิดและทางออกของสังคม มีปัญหาว่าภาคประชาสังคมไทยไม่มีจุดยืนร่วมต่อประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิทางประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน และไม่มีประเด็นร่วมในการจัดอันดับความสำคัญว่าเรื่องการแก้ปัญหาเชิง ประเด็น หรือการแก้ไขปัญหาหลักการพื้นฐานสิทธิประชาธิปไตยต้องเรียงลำดังอย่างไร เมื่อไม่มีฉันทามติ และพูดได้ว่าแตกเป็นเสี่ยงๆ ในความเห็นต่อเรื่องนี้ทำให้ขาดพลังที่จะผลักดันหรือนำเสนอทางออกไม่ว่าจะ เล็กหรือใหญ่ต่อสังคมในปัจจุบัน แม้ว่าภาคประชาสังคมจะทำงานในเรื่องเหล่านี้ ต่อสู้ และเหนื่อยในเรื่องเหล่านี้มานานมาก แต่ด้วยไม่มีความแหลมคม ไม่มีความชัดเจน ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์สังคมเฉพาะหน้าในปัจจุบันได้
การช่วยเหลือของภาคประชาชนทำได้ แต่ไม่สามารถเป็นผู้นำทางในสังคมขณะนี้ได้ แม้จะเคยทำได้ในบางบริบท แต่สังคมเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จังหวะที่พัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยเดินมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนตัวที่ทำงานในภาคประชาสังคมก็มองว่าเป็นข้อบกพร่องของตนเองเช่นกัน แต่ ณ ปัจจุบันนี้ภาคประชาสังคมไม่มีศักยภาพที่เป็นหนึ่งเดียวเพียงพอในการตอบ โจทย์เฉพาะหน้า และนำไปสู่ประเด็นอื่นๆ
สังคมมีโจทย์เฉพาะหน้าอยู่ เช่น ความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องการเลือกตั้ง การใช้ความรุนแรง การจะอยู่ฝ่ายไหน การจะปฏิรูปก่อนหรือหลังเลือกตั้ง การจะปฏิรูปโมเดลอะไร ฯลฯ เหล่านี้เป็นโจทย์เฉพาะหน้าซึ่งมีความสำคัญแต่ไม่ใช่สิ่งสำคัญทั้งหมด ความสำคัญในอีกระดับหนึ่งคือเนื้อหาที่จะนำพาสังคมในเชิงประเด็น ไม่ว่าการจัดการน้ำ ป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรชายฝั่ง เรื่องต่างๆ เหล่านี้เป็นจุดแข็งของภาคประชาสังคม ซึ่งภาคประชาสังคมก็ไปเน้นตรงนั้นแต่ไม่ตอบโจทย์เฉพาะหน้า
เมื่อไม่ตอบโจทย์เฉพาะหน้าก็ไปสู่ประเด็นของตัวเองไม่ได้ จึงกลายเป็นปัญหาขยับไม่ได้ ทั้งที่ตัวเองมีของดี มีเนื้อหาอยู่ และความจริงหากสังคมจะตอบโจทย์เฉพาะหน้าแล้วสุดท้ายไม่ไปลงเนื้อหาสังคมก็ ไม่ไปไหน เพียงแต่สังคมในขณะนี้หากไม่ตอบโจทย์เฉพาะหน้ามันนำพาใครไปไหนไม่ได้ หากนำเสนอเนื้อหาปฏิรูปก็จะถูกตั้งคำถามว่าจะปฏิรูปตอนไหน ก่อนหรือหลังเลือกตั้ง หากไม่ตอบ ไม่ว่าเนื้อหาจะดีอย่างไรก็ไม่มีใครฟังคุณ และการประชุมภาคประชาสังคมข้อสรุปคือไม่สามารถหาข้อตกลงหรือข้อยุติได้ว่าจะ เอาโมเดลไหน จะเอาแบบไหนกันแน่ จึงกลายเป็นติดขัดไปไหนไม่รอด
ส่วนตัวทำงานเชิงประเด็นอยู่ แต่ก็ต้องยึดมั่นหลักการบางอย่าง ต้องพยายามผลักดันเชิงประเด็นให้ดีที่สุด เพราะคิดว่าจะมาตีกันตายด้วยหลักการ อุดมการณ์ที่เป็นนามธรรม หรือว่าบอกเลือกตั้งๆ อย่างเดียวมันไม่มีประโยชน์ ต้องนำไปสู่เนื้อหา แต่ขณะเดียวกันจะต้องตอบโจทย์ปัจจุบันได้ว่าจะเอาอย่างรับเงื่อนไขที่เกิด ขึ้น ถ้าคนฆ่ากันคุณต้องพูดให้ชัด ต้องประณามคนที่ใช้ความรุนแรงไม่ว่าฝ่ายไหน และถ้ารู้ว่าฝ่ายไหนวางแผนให้เกิดความรุนแรง แม้ว่าเขาเป็นเพื่อนก็จะต้องแสดงจุดยืนให้ชัดเจน ถ้าคุณไม่กล้าทำผมคิดว่ามันลำบาก
สำหรับภาคประชาสังคม สถานการณ์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียนแต่เป็นบทเรียนที่ยังสอบไม่ผ่านเท่านั้นเอง ตั้งแต่ปี 53 ถือเป็นบทเรียนที่เจ็บปวดมาก ภาคประชาสังคมผ่านบทเรียนมาหลายขั้นตอนในความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา หลายปี เมื่อปี 49 ก็เป็นบทเรียนที่ภาคประชาชนในส่วนกลางเข้าไปร่วมกันพันธมิตรฯ เมื่อมีการเรียกร้องมาตรา 7 ก็ขยับออก ตรงนี้เป็นบทเรียนว่าจะเข้าไปร่วมในบางจังหวะก็อาจกลายเป็นบันได เป็นฐานที่จะเดินไปในแนวทางที่ไม่ได้เห็นร่วมด้วยเลยเสียทีเดียว
หลังการปฏิวัติมาสู่ปี 53 มันขยับไม่ออกจนถึงขนาดว่าสูญเสียความชอบธรรมในหลายส่วนไป ก็ถือเป็นบทเรียนที่หลายคนตระหนักแล้ว แต่การสอบครั้งให้ก็กลับมาอีกในสถานการณ์ปัจจุบัน เกิดคำถามว่าบทเรียนเดิมๆ ได้นำพาให้สอบผ่านในครั้งนี้หรือไม่ ส่วนตัวมองว่ายังไม่ผ่าน อย่างไรก็ตามยังมีความพยายาม จากการทำแถลงการณ์ของกลุ่มภาคประชาสังคมบางกลุ่มทั้งที่ใช้ชื่อใหม่ หรือใช้ชื่อคนไม่กี่คน แต่การออกมาเป็นองคาพยพใหญ่ที่มีน้ำหนักและมีพลังยังไม่เกิด
ต่อคำถามเรื่องการปฏิรูปภาคประชาสังคม คิดว่ามันไม่ใช่ยูนิฟอร์ม ส่วนตัวก็อยากปฏิรูปตัวเอง แต่ไม่สามารถไปบังคับคนอื่นได้ ต้องมองแบบโพสโมเดิร์นหน่อยๆ ในส่วนองค์กรที่มีโครงสร้าง เช่น กป.อพช.ก็ต้องถามว่าจะปฏิรูปได้ไหม ภาคประชาสังคมมีหลายเฉด ผมก็คิดไม่เหมือนรุ่นพี่หลายๆ คน
สังคมในอนาคตอันใกล้หนีการปฏิรูปไม่ได้ เพียงแต่ว่ามันจะเกิดขึ้นอย่างดีขนาดไหนคงต้องคอยดูกัน เช่น ภาพเลวร้ายที่สุดคือเกิดความรุนแรงเกิดการนองเลือด เกิดการสูญเสีย แต่หลังเหตุการณ์นิ่งลงก็มักเกิดการปฏิรูปตามมาเป็นเรื่องปกติ หรือหากไม่เกิดการนองเลือด อาจเกิดการปฏิรูปแบบที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพยายามเสนอขึ้นมา ทีนี้เราจะเข้าไปผลักดันให้มันดีที่สุดได้อย่างไร
ถึงอย่างไรการปฏิรูปก็ต้องเกิด ผมมองเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพียงแต่หวังว่าผ่านกระบวนการเรียนรู้นี้คนจะไม่ตายกันมากจนเกินไป เพราะพลังของคู่ขัดแย้งมีมากทั้ง 2 ฝ่าย ต่างต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน
ตัวอย่างแถลงการณ์การแสดงท่าทีของภาคประชาสังคมในช่วงวิกฤติการณ์เมืองครั้งล่าสุด
กป.อพช.เสนอสูตรตั้งคณะปฏิรูปฯ วอนรบ.-กปปส.เร่งเจรจา หนุนเลือกตั้ง
สมานฉันท์แรงงานไทย แถลงจุดยืน ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
ประชาสังคม 20 จังหวัดอีสาน ประกาศ ‘ปฏิรูปประเทศไทย’ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ชี้ กปปส.นำประเทศเดินถอยหลัง
พีมูฟแถลงจุดยืน หนุนเลือกตั้ง ควบคู่เริ่มปฏิรูปเชิงโครงสร้าง
'สมัชชาคนจน' แถลง เลือกตั้งก่อน แล้วค่อยปฏิรูปประเทศ-แก้ รธน.
คปสม.เสนอปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ แก้ รธน.เพิ่ม ‘สภาพลเมือง’ ให้ ปชช.มีอำนาจถ่วงดุล
สลัม 4 ภาค หนุน สปป. เสนอทุกพรรคลงสัตยาบันก่อนเลือกตั้ง ร่วมแก้ รธน.-แก้ปัญหาโครงสร้างสังคม
ภาคประชาสังคม แนะแนวทางปฏิรูปประเทศ ‘ขับเคลื่อนสภาประชาชน’
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น