แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สามารถ โต้ วรเจตน์ ม.112 ไม่ใช่ผลกระทบจากการเมือง

ที่มา ข่าวสด

 เมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่รัฐสภา นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธาณคณะกรรมาธิการนิรโทษฯ  ให้สัมภาษณ์ ถึงกรณี ที่ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 ใน คณะนิติราษฎร์ ตั้งข้อสังเกต ว่า การนิรโทษกรรมโดยไม่รวมคดี 112 ถือเป็นการเขียนกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 ขัดต่อคำชี้แจงของกรรมาธิการที่มีการแก้ไขเนื้อหาเพิ่มเติมจากร่างเดิมของ นายวรชัย เหมะ จากนิรโทษฯเฉพาะประชาชนกลายเป็นครอบคลุมหมดทุกส่วน ว่า ม.112 ว่าด้วยการหมิ่นฯ เป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบัน แต่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องระหว่างประชาชน 2 กลุ่ม ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ บุคคลใดที่เป็นลากสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือกล่าวพาดพิงถึงสถาบัน จะให้ถือว่าอยู่ในเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ก็จะถือว่าขัดหลัก และประเด็นที่สำคัญในรัฐธรรมนูญระบุชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ ดังนั้นประเด็นนี้ถือเป็นความชัดเจน

นายสามารถ กล่าววว่า อยากฝากไปถึง อาจารย์วรเจตน์ ว่า กรรมาธิการได้มีการพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว ยืนยันว่าการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองของประชาชน ส่วนการพิจารณาหากเสร็จสิ้นภายในวันนี้ก็จะให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่สรุป เสนอต่อ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานฯ แต่ไม่ได้มีการตั้งธง หรือหารือกับ นายสมศักดิ์ มาก่อนว่า จะนำเข้าต้องพิจารณาในวันที่ 30 ต.ค. หรือวันที่ 6 พ.ย.

เมื่อถามว่า ประเด็นใน ม.112 จะทำให้เกิดการแตกแยกกันในกลุ่มคนเสื้อแดงหรือไม่ นายสามารถ กล่าวว่า ต้องทำความเข้าใจ เพราะถ้าจะให้มีการนริโทษกรรมก็เป็นเรื่องที่ต้องมีการทำความเข้าใจ อย่างที่ตนบอกว่าคนเสื้อแดงเองก็อยากให้มีการนิรโทษกรรมเฉพาะประชาชน แต่ถ้าเขียนแบบนั้นอย่างที่เสื้อแดงต้องการ แต่ในที่สุดจะไม่มีใครได้สักคน ก็จะล้มตั้งแต่เขียนแล้วเพราะขัดหลักเสมอภาค ตามมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญ

เมื่อ ถามต่อว่า นายประยุทธ ศิริพานิชย์ ในฐานะกมธ. ให้สัมภาษณ์สื่อว่า เสนอแก้ไขร่างดังกล่าวเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้าน นายสามารถ กล่าวว่า ตนยังไม่ได้ยิน นายประยุทธ์ พูดอย่างนั้น ส่วนจะนำไปสู่การตีความว่าเป็นผลประโยชน์ขัดกันหรือไม่ ตนขอยกตัวอย่าง คงมีผลประโยชน์ทับซ้อนมาแล้วตั้งแต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแบ่งเขต เลือกตั้งสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น