วิทยุชุมชนชี้ 2 ปี กสทช.ไร้ความหมาย ทำลายความหวัง
เตรียมปรับบทบาทจากผู้ประกอบการรายเล็กสู่องค์กรตรวจสอบ ผู้บริโภคจวก
กสทช.ทำตัวเป็นนายหน้าให้ภาคธุรกิจ ด้านนักวิชาการชี้เงินอู้ฟู่
ร้องแจงเงินบริจาคการกุศล-งบดูงานต่างประเทศ-ประชาสัมพันธ์
วันนี้ (1 ต.ค.56) สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ (สวชช.) จัดเวทีสาธารณะ
“2 ปี กสทช.กับความไว้วางใจจากสังคม” ที่สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน
ราชเทวี กรุงเทพฯ
สรุปภาพรวมการทำงานที่ผ่านมาของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในด้านต่างๆ
ทั้งในส่วนวิทยุชุมชน ผู้บริโภค แรงงาน และข้อเสนอจากฟากฝั่งนักวิชาการ
วิทยุชุมชนชี้ 2 ปี กสทช.ไร้ความหมาย ทำลายความหวัง
วิชาญ อุ่นอก เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ กล่าวว่า 2
ปีที่ผ่านมา ปัญหาของวิทยุชุมชนยังไม่ถูกแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม
แม้มีความเคลื่อนไหวในสื่อมวลชนระบุ กสทช.มีการแบ่งวิทยุชุมชนเป็น 3 ประเภท
คือ วิทยุบริการสาธารณะ บริการชุมชน และวิทยุธุรกิจ ซึ่งทำให้มีวิทยุกว่า
7,000 สถานีเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการจัดสรรคลื่น แต่
กสทช.กลับไม่มีมาตรการกำกับวิทยุแต่ละประเภทที่ชัดเจน ทำให้ปัญหาเดิมๆ
ยังคงอยู่ เช่น กำลังส่งสูงเกินกำหนด การโฆษณาผิดกฎหมาย
หรือวิทยุที่มีแนวโน้มปลุกปั่นความรุนแรง
นอกจากนั้น ในแง่การพัฒนาของวิทยุชุมชนก็ยังไปไม่ถึงไหน เนื่องจาก
วิทยุชุมชนไม่สามารถเข้าถึงกองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช. โดยในช่วง 2
ปีที่ผ่านมา เท่าที่มีการตรวจสอบข้อมูลจากเครือข่าย
พบว่าไม่มีวิทยุชุมชนที่เขียนโครงการส่งแล้วได้รับการสนับสนุนจากกองทุนดัง
กล่าว
เนื่องจากกติกาที่มีออกมาในตอนหลังได้กีดกันวิทยุชุมชนออกจากการเข้าถึง
แหล่งทุน
และกลายมาเป็นปัญหาหลักอีกอันหนึ่งที่กระทบการทำงานของวิทยุชุมชนที่ไม่รับ
โฆษณาซึ่งต้องการผลิตเนื้อหาที่ดีมีคุณภาพให้ชุมชน
โดยคาดหวังให้กองทุนช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายพื้นฐาน
“วิทยุชุมชนได้แค่ใบอนุญาตทดลองออกอากาศ ไม่ใช้ใบอนุญาตตัวจริง
ไม่เข้าเงื่อนไขในการรับเงินสนับสนุน”
วิชาญกล่าวถึงเหตุผลที่วิทยุชุมชนถูกปฏิเสธจากสำนักงานกองทุนฯ
วิชาญ กล่าวต่อมาว่า การกำกับที่ไม่เป็นจริงของ
กสทช.ยังส่งผลกระทบต่อวิทยุที่เข้าสู่กระบวนการขอใบอนุญาตฯ ด้วย
เนื่องจากใบอนุญาตทดลองออกอากาศต้องต่ออายุทุก 1
ปีและมีค่าใช้จ่ายเรื่องค่าธรรมเนียม แต่คนที่อยู่นอกกรอบนั้น
กสทช.ไม่มีการดำเนินการอะไร ไม่มีการกำกับ
ทำให้คนกลุ่มนี้ยังสามารถออกอากาศได้และไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม
กลายเป็นปัญหา
การที่ กสทช.ที่ปฏิบัติงานอยู่ตอนนี้บอกว่า
วิทยุกระจายเสียงไม่ใช่วาระหลัก ทำให้ปัญหาไม่ถูกแก้อย่างเป็นระบบ
เกิดการหมักหมม ทั้งนี้ หากปีหน้าวาระหลักของ กสทช.เป็นเรื่องวิทยุ
ก็ไม่แน่ว่าวิทยุประเภทบริการชุมชนจะถูกพูดถึงและได้รับการอุดหนุนอย่างจริง
จัง เพราะจากสถานการณ์ที่ผ่านมาเห็นได้ว่า
อาจมีการลอบบี้เกิดขึ้นจากวิทยุกลุ่มธุรกิจ
หรือกลุ่มที่มีความใกล้ชิดนักการเมืองได้ อีกทั้ง อาจมีปัญหาคล้ายในเรื่อง
3G และทีวีดิจิตอลซึ่งดูจะผิดเพี้ยนไปจากหลักการปฏิรูปสื่อที่เคยตั้งไว้
ทั้งยังเกิดคำถามว่าใครคือผู้ได้รับประโยชน์จากการประมูลทรัพยากรของรัฐ
“การเกิดขึ้นของ กสทช.เต็มไปด้วยความคาดหวัง แต่วันนี้รู้สึกว่าแม้ไม่มี กสทช.ก็แทบไม่แตกต่างกัน” วิชาญให้ความเห็น
วิชาญ วิเคราะห์ด้วยว่า
ในอนาคตสถานการณ์อาจดีขึ้นได้ยากและอาจแย่กว่าเดิม เพราะ กสทช.ทั้ง 11 คน
ต่างแสดงตัวว่าได้ทำหน้าที่ตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ มากขึ้น
และเชื่อว่าเสียงของ 2 ตัวแทน กสทช.ภาคประชาชนจะเบาลงเรื่อยๆ
เตรียมปรับบทบาทจากผู้ประกอบการรายเล็ก สู่องค์กรตรวจสอบ
วิชาญ กล่าวอีกว่า การบอกว่า “ไม่เป็นวาระ” เป็นเพียงคำอ้าง ของ
กสทช.ซึ่งจากเดิมเรื่องวิทยุชุมชนก็ถูกปล่อยผ่านจาก
กทช.โดยอ้างว่าไม่มีอำนาจ ทั้งนี้
สื่อชุมชนที่เกิดขึ้นจำนวนมากมีความคิดความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้
กสทช.กุมกระแสไม่ได้และถูกตรวจสอบจากรายย่อยๆ เต็มไปหมด ต่างจากสื่อหลักที่
กสทช.คุมได้ จึงทำให้ไม่ส่งเสริม และดองไว้
“ที่ผ่านมา 2 ปี กลุ่มวิทยุชุมชนพยายามทำงานร่วม แต่
กสทช.ไม่มีความจริงใจ เราจึงจะปรับบทบาทจากผู้ประกอบการรายเล็กๆ
สู่องค์กรติดตามตรวจสอบการทำงานของ กสทช.” วิชาญกล่าว
เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ กล่าวด้วยว่า
ขณะนี้ไม่มีความคาดหวังแล้วว่า กสทช.จะแก้ปัญหาได้
วิทยุชุมชนต้องลุกขึ้นมาจัดการตนเอง โดย 1.ประสานเครือข่ายวิทยุขนาดเล็ก
ทั้งวิทยุชุมชน วิทยุธุรกิจระดับชุมชน และวิทยุสื่อการเมือง
เพื่อสร้างมาตรฐานจริยธรรมของสื่อขนาดเล็กในฐานะสื่อที่ดี
เพื่อให้สังคมเห็นความแตกต่างจากวิทยุที่มีอยู่ทั่วไป
และสร้างพื้นที่ในการต่อรอง 2.กระจายข้อมูลข่าวสารสู่ชุมชนพื้นที่ต่างๆ
ในฐานะที่เป็นองค์กรสื่อ
เพื่อให้คนทั่วไปรู้สึกว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว
ส่วนกรณี กสทช.เสียงข้างน้อยนั้น วิชาญ แสดงความเห็นว่า
กสทช.ลงมติทำงานด้วยเสียงข้างมาก และมีการประเมินว่าภาคประชาชนทำอะไรไม่ได้
ไม่มีพลัง ดังนั้น การหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในจาก
กสทช.เสียงข้างน้อยจึงทำได้ยากหากภาคประชาชนไม่ร่วมกันกดดัน ซึ่งที่ผ่านมา
กสทช.ที่เป็นตัวแทนของภาคประชาชนค่อนข้างเหนื่อยมาก และทำอะไรได้จำกัด
จึงต้องมีการรวมพลังของภาคประชาชนให้มากขึ้นและจัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม
“เวลา 2 ปี นำมาสู่ความไม่เชื่อมั่นว่า
กสทช.จะนำไปสู่การทำงานปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง
และแสดงให้เห็นว่าองค์กรอิสระควรมีสังคมตรวจสอบ
อีกทั้งยังสะท้อนว่าเราไว้วางใจองค์กรอิสระมากเกินไป” วิชาญกล่าว
ผู้บริโภคระบุ 2 ปี กสทช.ทำตัวเป็นนายหน้าให้ภาคธุรกิจ
บุญยืน ศิริธรรม ประธานสมาพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า
เจตนารมณ์ของการมี กสทช.คือเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่
และกำหนดกติกาให้เกิดความเป็นธรรม แต่การทำงาน 2
ปีที่ผ่านมากลับทำตัวเป็นนายหน้าให้ภาคธุรกิจมากกว่าทำหน้าที่ในการกำกับให้
เกิดความเป็นธรรม โดยในด้านโทรคมนาคม กสทช.ทำเรื่องประมูลคลื่น 3G
อย่างเร่งรีบ หากใครคัดค้านก็ถูกกล่าวหาว่าขัดขวางความเจริญของประเทศ
ต่อมา ในปี 2556 กสทช.ประกาศให้เป็นปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค
หลังจากถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม
กสทช.ยังให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิผ่านกฎของตนเองเป็นหลัก
โดยละเลยการคุ้มครองสิทธิที่กฎหมายอื่นๆ มี เช่น สิทธิตาม
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค 2552
ทำให้เกิดปัญหาซึ่งผู้บริโภคต้องลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวเรียกร้องหลายต่อหลาย
ครั้งที่ผ่านมา
ยกตัวอย่าง สายด่วนร้องเรียนของ กสทช. หมายเลข 1200
ไม่สามารถใช้การได้จริง
เพราะหากจะร้องเรียนก็บังคับให้ต้องพาตัวเองไปเซ็นชื่ออยู่ดี
มีประกาศไม่บังคับใช้กรณีการตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ให้มีการทำประชาคมก่อน
นอกจากนี้ กสทช.เคยออกประกาศกำหนดอัตราขั้นสูงค่าโทร 3G ไม่เกินนาทีละ 99
สตางค์ แต่ในความเป็นจริงผู้บริโภคถูกบังคับให้ใช้ตามโปรโมชั่น
ซึ่งต้องเสียเงินก่อนอีกหลายร้อยบาท
ไม่มีการบอกความจริงเรื่องโครงสร้างราคา
ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียน ตามประกาศกำหนดให้แก้ไขภายใน 30 วัน
แต่บางเรื่องร้องมาตั้งแต่ปี 53 ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ การแก้ปัญหา
กสทช.ต้องให้ความเป็นธรรม ไม่ทำตัวเป็นนายไปรษณีย์
หรือเป็นตัวแทนบริษัทคอยสกัดเรื่องร้องเรียน
บุญยืน กล่าวด้วยว่า
เป็นเรื่องวิปโยคแน่ถ้าหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคอย่าง
กสทช.ให้ความสำคัญกับการไปดูงานต่างประเทศมากกว่าการแก้ปัญหาและการให้
ข้อมูลกับผู้บริโภค อีกทั้ง กำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการต่างๆ
ตามที่ผู้ประกอบการเสนอ และสนับสนุนกลุ่มองค์กรที่มีเป้าหมายเพียงปกป้อง
กสทช. รวมทั้ง ข่มขู่คุกคามกระบวนการตรวจสอบของภาคส่วนต่างๆ
ในด้านการแพร่ภาพกระจายเสียง ปัญหาวิทยุ
ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีนั้นรอการจัดระเบียบอยู่
แต่ก็ถูกละเลยจึงเกิดกรณี “จอดำ” ขึ้นและมีการฟ้องร้องเป็นคดีความตามมา แต่
กสทช.กลับเร่งปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิตอล
และยังมีการออกประกาศคุกคามความอิสระของสื่อ ทำให้เกิดคำถามว่า
องค์กรใดจะมาทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของ
กสทช.หากคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรร
คลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และ
กิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรา 70 (ซูเปอร์บอร์ด กสทช.)
ไม่ทำหน้าที่อย่างเต็มที่
บุญยืน กล่าวถึงข้อสงสัยต่อการทำงานของ กสทช.ด้วยว่า
พบว่ามีการชะลอกองทุนที่จะส่งเสริมสนับสนุนสื่อที่ดี
แต่กลับมีการนำเงินไปบริจาคให้กลุ่มที่สนับสนุน กสทช.ขณะที่ 2 ใน 5
กลุ่มซึ่งยื่นเรื่องฟ้องร้องให้มีการตรวจสอบการทำงานของ
กสทช.เสียงข้างน้อยต่อวุฒิสภาคือกลุ่มที่ได้รับเงินบริจาคจาก กสทช.เอง
นักวิชาการเผยผลตรวจสอบ ‘กลไกความรับผิดรับชอบ’ ของ กสทช.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คณะทำงานติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC
Policy Watch) กล่าวถึง
การตรวจสอบการจัดทำนโยบายและกลไกความรับผิดรับชอบตามกฎหมายของ
กสทช.ในฐานะองค์กรอิสระที่ใช้งบประมาณปีละกว่า 3,000 ล้านบาทว่า
ในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ กสทช.ทำหน้าที่ได้น่าผิดหวัง
เพราะไม่มีการเปิดเผยผลการลงมติและความเห็นของกรรมการในรายงานการประชุม
ภายใน 30 วันตามที่กฎหมายกำหนดไว้
โดยมติล่าสุดที่มีการเปิดเผยคือรายงานการประชุมเดือนมิถุนายน
และไม่มีการชี้แจงว่าใครโหวตอย่างไร
วรพจน์ กล่าวด้วยว่า นโยบายหลายอย่างของ
กสทช.เกิดจากการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาให้ข้อคิดเห็น โดยเมื่อปี 2555
ใช้เบี้ยประชุมอนุกรรมการกว่า 50 ล้านบาท แต่
กสทช.ไม่เปิดเผยกลไกการออกแบบนโยบายของคณะอนุกรรมการต่างๆ ต่อสาธารณะ
ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าการออกแบบนโยบายต่างๆ
นั้นมีการนำไปใช้หรือไม่อย่างไร อีกทั้ง
ยังไม่เปิดเผยงานวิจัยที่ให้องค์กรภายนอกศึกษา
ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าชุดนโยบายต่างๆ
ตัดสินใจจากฐานองค์ความรู้อะไรหรือไม่
และไม่เคยเผยแพร่ผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของกลุ่มผู้บริโภค
นอกจากนั้น ในส่วนคณะกรรมการกองทุน
มีการกำหนดให้เปิดเผยการจัดสรรเงินกองทุน
โดยชี้แจงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ กสทช.
ซึ่งกองทุนนี้เป็นกลไกสำคัญของสื่อชุมชนที่จะนำมาใช้
แต่หากกระบวนการไม่โปร่งใส อาจทำให้ไม่ถูกนำไปใช้สนับสนุนกิจการเพื่อชุมชน
ส่วนเรื่องการจัดทำนโยบายซึ่งทำโดยคณะอนุกรรมการ
วรพจน์กล่าวถึงปัญหาที่พบคือ
อนุกรรมการมาจากโควตาการสรรหาไม่ใช่ระบบคุณสมบัติ
จึงพบว่าอนุกรรมการในหลายคณะมาจากบุคคลใกล้ชิดของ
กสทช.หรือเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายเดิม มากกว่าจากภาคประชาชน
แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการฟังเสียงจากภาคธุรกิจมากกว่าเสียงของ
ภาคประชาชน
อีกทั้ง ในขณะที่ประชาชนพยายามไปพบกับ กสทช.แต่ไม่มีใครออกมาคุยด้วย
กสทช.กลับเชิญภาคธุรกิจมาพบ หรือเดินสายไปพบ
และเคยถึงกับจัดอบรมให้กับภาคเอกชนที่ทำโทรทัศน์ด้วยซ้ำ ทั้งที่จริงๆ
ควรเอางบส่วนนี้ไปใช้เพื่อการเข้าถึงคนที่มีทรัพยากรน้อยในการส่งเสียง
วรพจน์ กล่าวต่อมาถึงการรับฟังความคิดเห็นว่า
ควรต้องมีการรับฟังความเห็นเชิงรุกในการจัดทำนโยบาย
ก่อนที่จะประกาศนโยบายที่เป็นทางการมากๆ ซึ่งยากต้องการทำความเข้าใจ
โดยมีวิธีการที่เปิดให้สาธารณชนเข้ามาร่วมอย่างแท้จริง
มีการอธิบายที่เข้าใจง่าย แต่ที่ผ่านมา
กสทช.มักมีการปรับนโยบายตามความคิดเห็นของภาคธุรกิจมากกว่า
ตั้งข้อสังเกตงบประมาณปี 2555 กสทช.เงินอู้ฟู่
สำหรับงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้าง วรพจน์ ให้ข้อมูลว่า เมื่อปี 2555
กสทช.ใช้งบประมาณไปว่า 3,400 ล้านบาท แบ่งเป็น 4 ส่วน
โดยนอกจากในส่วนงบประมาณรายจ่ายของ กสทช.และสำนักงาน กสทช.
และเงินจัดสรรเข้ากองทุนแล้ว ส่วนที่ต้องมีการตรวจสอบคือ ค่าภาระต่างๆ
ที่จำเป็น 904 ล้านบาท และงบกลางกรณีฉุกเฉินและจำเป็น 80 ล้านบาท อีกทั้ง
ยังพบว่ามีเงินบริจาคเพื่อการกุศลกว่า 200 ล้านบาท
และงบประมาณไปดูงานต่างประเทศ 207 ล้านบาท เฉลี่ย กสทช. 9
คนใช้งบดูงานต่างประเทศคนละ 20 ล้านบาท ตรงนี้
กสทช.ต้องอธิบายต่อสังคมให้ได้ และองค์กรอย่าง สตง.ต้องลงมาทำการตรวจสอบ
นอกจากนั้น ในส่วนค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ของ กสทช.พบว่า ปี 2555
ใช้งบ 114 ล้านบาท วรพจน์
ตั้งคำถามว่าองค์กรกำกับดูแลสื่อที่พูดเรื่องการนำเสนอข้อมูลให้รอบด้าน
แต่กลับใช้เงินจำนวนมากในการสนับสนุนสื่อในการทำงานด้านเดียว
เอาตัวเองไปขึ้นปกนิตยสาร
ไม่เคยยอมออกรายการร่วมกันคนที่เห็นต่างนั้นยังมีความชอบธรรมในการเป็น
องค์กรกำกับดูแลสื่ออยู่หรือไม่
วรพจน์ กล่าด้วยว่า
กสทช.ที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถสร้างความไว้วางใจให้กับสังคมได้
ต้อมีการปรับปรุงกลไกเหล่านี้ แต่ในส่วนของภาคประชาสังคมคงรอไม่ได้
ต้องมีการต่อสู้เรียกร้อง
และส่วนตัวพร้อมร่วมสร้างองค์ความรู้ในอีกด้านหนึ่ง
หนุนข้อเสนอรวมตัวสร้างความเข้มแข็งสื่อภาคประชาชน
ด้านสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า การทำงาน 2
ปีที่ผ่านมาของ กสทช.ทำให้ประเทศเสียประโยชน์ โดยในส่วน
กสทช.เสียงข้างน้อยก็ออกมาพูดเองหลายครั้ง
และวุฒิสภาก็มีการตั้งกรรมการตรวจสอบว่าอาจมีการดำเนินงานที่อาจหมิ่นเหม่
สร้างความเสียหาย ยกตัวอย่าง การประมูลคลื่น 3G 15 ปี ราว 40,000 ล้านบาท
ขณะที่เมื่อเทียบตัวเลขแล้วบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท
โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ส่งรายได้เข้ารัฐปีละราว 15,000
ล้านบาทต่อปี คำนวณแล้วเป็นรายได้ที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ส่วนความเคลื่อนไหวของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 43 องค์กร
ซึ่งรวมทั้ง สหภาพ บริษัท กสท.โทรคมนาคม สหภาพ ทีโอที
และสหภาพแรงงานสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 ในการยื่นถอดถอน กสทช.ทั้งคณะ รวม 11
คนต่อวุฒิสภา เนื่องจากเห็นว่ามีการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ
และเอื้อเอกชนมากเกินไป
หลังมีการออกกฎระเบียบประมูทีวีดิจิตอลและจัดสรรคลื่นโทรคมนาคมซึ่งส่งผล
กระทบต่อรายได้ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจนั้น สาวิทย์กล่าวว่า
ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบรายชื่อ 20,000 ชื่อ คาดว่าจะยื่นได้ไม่เกินวันที่
10 ก.พ.57
ทั้งนี้ เรื่องสื่อที่เป็นห่วงที่สุดคื อทีวีดิจิตอล เพราะเป็นสื่อที่มีอิทธิ พลทางความคิด หากตกอยู่ในมือธุรกิจที่มุ่งแต่ แสวงหาผลกำไรและต้องการถอนทุนคื นจะเป็นอันตรายต่อสังคมไทย
สาวิทย์ กล่าวถึงข้อเสนอด้วยว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือประชาชนต้ องกำหนดอนาคตตนเองในเรื่ องความร่วมมือและการร่วมเผยแพร่ ข้อมูล ซึ่งอาจนำสู่ การสถาปนาอำนาจประชาชน อำนาจการเมืองได้
นอกจากนี้ รัฐบาลไม่อาจปฏิ เสธบทบาทและอำนาจของตนเองได้ แม้ว่า กสทช.จะเป็นองค์กรอิสระ เพราะ กสทช.ต้องดำเนิ นงานตามแนวนโยบายของรัฐ อีกทั้งการทำงานของ กสทช.ยังคงต้องเกี่ยวพันกั บกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และกระทรวงการคลัง การจัดสรรคลื่นต้องมีทุกภาคส่ วนเข้ามาเกี่ยวข้อง และรัฐบาลเองต้องมีส่วนรู้เห็ นในสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย
ส่วนปฏิวัติ วสิกชาติ กรรมการสภาวิชาชีพข่าววิทยุ และโทรทัศน์ไทย กล่าวถึงข้อเสนอว่า อยากให้วิทยุชุมชนรวมกลุ่มกั นเอาไว้เพื่อเตรียมรับมือกั บการ
เปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิตอล และควรมีการศึกษากฎหมายให้ดี
เพราะจากบทเรียนที่ผ่านมาพบว่า กสทช.กลัวการทำผิดรัฐธรรมนูญ
ไม่ได้กลัวการถอดถอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น