แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

40ปี14ตุลา:และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ

ที่มา Thai E-News

 และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฎ


ที่มา เฟซบุ๊ค Thanapol Eawsakul

และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ

ประจักษ์ ก้องกีรติ
บทที่ 1 สู่การเมืองวัฒนธรรมไทยสมัย 14 ตุลาฯ 3
  • การเมืองของอดีต ประวัติศาสตร์ของปัจจุบัน :14 ตุลาฯ กับสังคมการเมืองไทย
  • ปัญหาว่าด้วยขบวนการนักศึกษาปัญญาชนกับการอธิบาย 14 ตุลาฯ
  • ว่าด้วยขอบเขตและวิธีการ
บทที่ 2 การก่อตัวทางสังคมของนักศึกษาและเครือข่ายวาทกรรมของปัญญาชน
  • นักศึกษาธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2500 - 2516
  • นักศึกษาในฐานะชนชั้นนำของสังคม
  • ปัญญาชนกับการสร้างเครือข่ายวาทกรรม
บทที่ 3 รัฐบาลทหารกับวัฒนธรรมสงครามเย็น : สงครามอินโดจีนกับการควบคุมความจริง
  • วัฒนธรรมสงครามเย็น
  • วิกฤตในลาวกับการเข้าพัวพันในสงครามอินโดจีน :คำอธิบายเรื่อง “ศัตรูข้างบ้าน”, การ “ป้องกันตัวเอง” และ “มหามิตร”
  • แหล่งข้อมูลข่าวสารราชการกับสงครามโฆษณาชวนเชื่อ
  • จากลาวสู่เวียดนาม
  • ระบอบเผด็จการทหารกับความลับในสงครามอินโดจีน
  • ข่าวต่างประเทศ : ความจริงจากภายนอก
บทที่ 4 การก่อตัวของกระแสการต่อต้านสงครามเวียดนาม : วาทกรรมจากภายนอก ความคิดประชาธิปไตย และกระแสชาตินิยม
  • บทบาทของปัญญาชน
  • “ซ้ายใหม่”: การต่อต้านสงคราม สังคมนิยม-ประชาธิปไตยและพลังนักศึกษา
  • กระแสต่อต้านสงครามในวรรณกรรม
  • สู่การเคลื่อนไหวในรั้วมหาวิทยาลัย : การคัดค้านสงครามต่อต้านรัฐบาล และกระแสชาตินิยม
  • นักศึกษากับการแพร่กระจายความรู้สู่สาธารณะ
  • วาทกรรมจากอดีตกับการต่อต้านสงคราม
บทที่ 5 การรื้อฟื้นวาทกรรมจากอดีต : กษัตริย์ประชาธิปไตยและความคิดสังคมนิยม
  • รัฐเผด็จการกับการทำลายความทรงจำ และการแยกปัญญาชนออกจากสาธารณะ
  • การรื้อฟื้นวาทกรรม “สังคมนิยม” จากอดีต :การเชื่อมต่อประสบการณ์และแรงบันดาลใจทางการเมือง
  • วาทกรรมกษัตริย์ประชาธิปไตย
บทที่ 6 บทสรุป : แบบเรียนการเมืองวัฒนธรรมจาก 14 ตุลาฯจากสงครามวาทกรรมสู่การเมืองบนถนนราชดำเนิน
  • จาก 14 ถึง 6 ตุลาฯ
  • แบบเรียนทางการเมืองวัฒนธรรมจาก 14 ตุลาฯ
  • เครือข่ายวาทกรรม
  • ชาตินิยมกลายพันธุ์
  • วาทกรรมราชาชาตินิยมประชาธิปไตย
  • ศิลปะและการเมืองของการอ้างอิงนอกบริบท

คำนำสำนักพิมพ์

ยังจะมีอะไรให้ศึกษาอีกหรือ ?
คือ คำถามที่ ประจักษ์  ก้องกีรติ ได้รับอยู่บ่อยครั้ง เมื่อคิดจะศึกษาประวัติศาสตร์14 ตุลาฯ ขณะเรียนอยู่ปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
หากก็เป็นดังที่ผู้เขียนกล่าวไว้ว่า “ยิ่งอ่านยิ่งครุ่นคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ มากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งพบความไม่ลงตัว พบประเด็นคำถามชวนฉงนอันเป็นปริศนาที่ยากแก่การตอบมากขึ้นตามลำดับ 
อันตรงกันข้ามกับความเห็นของคนจำนวนมากที่เชื่อว่า[14 ตุลาฯ] ไม่มีอะไรให้ศึกษาอีกแล้ว” จึงเป็นที่มาของวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเขาเรื่อง “ก่อนจะถึง 14 ตุลาฯ : ความเคลื่อนไหวทางการเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนภายใต้ระบอบเผด็จ การทหาร (พ.ศ. 2506-2516)” ในปี 2545 
ซึ่งภายหลังปรับปรุงมาเป็นหนังสือ และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ : การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ
ข้อเสนอหลักประการหนึ่งของงานชิ้นนี้คือ การก่อตัวทางความคิดของนักศึกษาประชาชนอันนำไปสู่การโค่นล้มอำนาจเผด็จการ ทหารที่สืบทอดอำนาจมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่รัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2500 กระทั่งสิ้นสุดไปในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ นั้นมีที่มาจากหลากหลายแหล่ง ทั้งยังแลดูย้อนแย้งกันชนิดไม่น่าจะไปด้วยกันได้เสียด้วยซ้ำเมื่อมองจากอีก ยุคสมัยหนึ่ง 
ข้อเสนอทำนองนี้อาจฟังดูธรรมดา เพราะขบวนการมวลชนขนาดใหญ่ไม่ว่าที่ไหนในโลก ปรกติแล้วก็หาได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่เฉกเช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่ทำให้งานศึกษาของประจักษ์มีความโดดเด่นและมีความสำคัญยิ่งก็คือ การแสดงให้เห็นว่าความหลากหลายย้อนแย้งดังกล่าวได้กลายมาเป็นมรดกและเพดาน ทางการเมืองที่สืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้ด้วยซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างชัดแจ้งชนิด ยากจะจินตนาการไปถึงก่อนหน้าที่งานศึกษาชิ้นนี้จะปรากฏสู่บรรณพิภพครั้งแรก
ไม่นานหลังหนังสือตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2548 สังคมไทยก็ตกอยู่ภายใต้สภาวะทางการเมืองที่คุกรุ่น ด้วยวาทกรรมพระราชอำนาจอันก่อตัวมาตั้งแต่ 14 ตุลาฯ เริ่มกลับมาทำงานอีกครั้ง จนนำไปสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แล้วเราก็ได้เห็นปรากฏการณ์ที่ปัญญาชน 14 ตุลาฯ จำนวนมากที่ครั้งหนึ่งเคยต่อสู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ของประชาชน กลับขานรับรัฐประหารในครั้งนี้
หนังสือเล่มนี้ช่วยทำความเข้าใจว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวมิได้เป็นเหตุบังเอิญ ทางประวัติศาสตร์ หากแต่มีเชื้อมูลมาตั้งแต่ก่อน 14 ตุลาฯ ที่วาทกรรมพระราชอำนาจหรือ “ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย” ยังคงทำงานอย่างทรงพลังในทางการเมือง และยิ่งทำให้ตระหนักว่า “ประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ” นั้นมีข้อจำกัดอย่างไร
ฉะนั้นคงไม่เกินเลยนักที่จะกล่าวว่า หากเราต้องการเข้าใจการเมืองไทยในปัจจุบันอย่างถึงรากแล้ว หนังสือ และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ : การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ ของ ประจักษ์ ก้องกีรติ มีความจำเป็นอย่างยิ่งการนำงานชิ้นนี้มาพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่ 2 โดย “ฟ้าเดียวกัน” 
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดพิมพ์หนังสือชุด “สยามพากษ์” ซึ่งเราได้คัดเลือกหนังสือที่เห็นว่ามีความสำคัญในการศึกษาทำความเข้าใจความ เปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองไทยในยุคสมัยนั้นๆ ขณะเดียวกันจุดร่วมของหนังสือชุดนี้คือการท้าทายหรือหักล้างงานศึกษาก่อน หน้าด้วยข้อมูลและ/หรือกรอบทฤษฎี 
แน่นอนว่าไม่มีงานวิชาการชิ้นใดปราศจากจุดอ่อนให้วิพากษ์หักล้าง ไม่เว้นแม้แต่งานที่เราได้คัดสรรมาจัดพิมพ์ แต่เราเชื่อว่าหนังสือชุด “สยามพากษ์” นี้เป็นงานที่ “ต้องอ่าน” ไม่ว่าจะเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็ตาม
ท่ามกลางยุคสมัยที่ดูประหนึ่งอะไรๆ ก็กลับตาลปัตรไปเสียหมด อาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้ “มาก่อนกาล” และทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ตัวละครทั้งหลายยัง โลดแล่นมีบทบาทมีชีวิตอยู่ร่วมยุคร่วมสมัยกับเรา ดังที่ผู้เขียนทิ้งท้ายไว้ว่า
“ผลงานทางปัญญาที่ทำไว้ในวันนี้ อาจจะไม่ได้มีบทบาททางการเมืองเพียง ณ เวลาที่มันถูกผลิตขึ้นมา เพราะในฐานะการเป็นคลังสมบัติทางปัญญา มันมีศักยภาพที่จะกลับมามีบทบาทได้เสมอในวันใดวันหนึ่ง เมื่อการเมืองของอดีตมาบรรจบกับการเมืองของปัจจุบัน”

ประจักษ์ ก้องกีรติ

คำนำ สำหรับพิมพ์ครั้งที่ 2

เมื่อครั้งที่ และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏฯ ตีพิมพ์ครั้ง แรกในปี 2548 ผู้เขียนมิได้คาดคิดว่าหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองความยาวกว่า 500 หน้าที่มีเชิงอรรถรกรุงรังจะได้รับความสนใจมากเท่าใดนักจากผู้อ่านทั่วไป 
เพราะคิดว่ากลุ่ม ผู้อ่านคงจะจำกัดอยู่ในกลุ่มนักศึกษาและนักวิชาการวงแคบๆ ที่ศึกษาการเมืองไทยช่วง 2500-2516 
มิพักต้องพูดถึงความนึกฝันว่าจะมีโอกาสได้ตีพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ต่อเมื่อ งานชิ้นนี้เผยแพร่มาแล้วหลายปี จึงได้ทราบ (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) ว่ามันถูกนำไปใช้ในการเรียนการสอนในหลายสาขาวิชานอกเหนือจากประวัติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ด้วย อาทิ นิเทศศาสตร์ วรรณคดี ภาษาไทย วัฒนธรรมศึกษา ฯลฯ 
นอกจากนั้น มันยังถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ อภิปรายถกเถียงในหลายที่หลายโอกาสรวมทั้งในโลกไซเบอร์ (บางกรณีค่อนข้างดุเดือดรุนแรง) 
ที่ผ่านมามีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและเห็นต่างกับการตีความประวัติศาสตร์ที่งาน ชิ้นนี้นำเสนอเอาไว้ ซึ่งย่อมเป็นธรรมชาติของงานวิชาการทุกชิ้นที่ล่วงล้ำเข้าไปในพื้นที่ของกาล เวลาที่ผ่านพ้น คงเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดหวังให้ผู้อ่านทุกคน นักวิชาการทุกท่าน ไม่ต้องพูดถึงตัวละครที่ถูกพาดพิงถึง(ซึ่งในกรณี 14 ตุลาฯ ส่วนใหญ่ยังมีชีวิตโลดแล่นอยู่ในปัจจุบัน) มาเห็นพ้องต้องกันกับข้อเสนอของผู้เขียน
แม้เหตุการณ์ในอดีตจะจบไปแล้ว แต่ประวัติศาสตร์ของอดีตมักจะไม่จบตามไปด้วย และการถกเถียงที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับความหมายทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ใด ก็ตามย่อมเป็นคุณมากกว่าโทษ เพราะมันเป็นเครื่องบ่งชี้สะท้อนให้เห็นว่าสังคมนั้นยังสนใจใคร่รู้เกี่ยว กับรากเหง้าและตัวตนในอดีตของตนเอง
ในแง่มุมนี้ 14 ตุลาฯ เป็นประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ตาย
แรงบันดาลใจเบื้องหลังหนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นมาจากความเชื่ออันแรงกล้าของผู้เขียนเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษา ปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าประวัติศาสตร์ 14 ตุลาฯ เป็นประวัติศาสตร์ที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ลงตัว และไม่มีข้อสรุปอันกระจ่างชัด 
มองในแง่ดีมันคือประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิต เต็มไปด้วยปริศนาที่ชวนให้ค้นหาคำตอบโดยเฉพาะสำหรับคนรุ่นหลังที่เกิดไม่ทัน ยุคทันเหตุการณ์อันพลิกผันปั่นป่วนในทศวรรษดังกล่าว 
ผู้เขียนเองก็นับเนื่องเป็นคนรุ่นที่เกิดไมทันเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ทว่าได้แรงบันดาลใจจากบทบาทอันอาจหาญของคนหนุ่มสาวที่ลุกขึ้นสู้กับระบอบ เผด็จการแม้จะต้องเสี่ยงภัยเสี่ยงชีวิต เพื่อวางรากฐานประชาธิปไตยให้กับสังคมการเมืองที่ตนเองอาศัยอยู่ 
ที่น่าทึ่งมิใช่น้อยคือ วีรกรรมของหนุ่มสาวไทยในครั้งนั้นยังกลายเป็นแรงบันดาลใจให้การลุกขึ้นสู้ โค่นล้มระบอบเผด็จการในอีกหลายประเทศด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่างานชิ้นนี้เริ่มต้นจากความชื่นชมในวีรกรรมอันหาญกล้าของนักศึกษา ปัญญาชนและประชาชนในอดีต แต่มันไม่ได้มุ่งนำเสนอภาพอันโรแมนติกชวนฝัน ตรงกันข้าม งานชิ้นนี้ต้องการคืนความเป็นมนุษย์ให้แก่ตัวละครทั้งหลายในประวัติศาสตร์ ที่อยู่ร่วมยุคสมัย และหลีกเลี่ยงการผลิตซ้ำการนำเสนอภาพขบวนการนักศึกษาปัญญาชนในลักษณะที่เป็น ฮีโร่ประชาชน รู้แจ้งทางปัญญา มีเอกภาพทางความคิดและเป้าหมายของการต่อสู้ร่วมกันอย่างเด็ดเดี่ยว ซึ่งถูกนำเสนอซ้ำแล้วซ้ำอีกในงานเขียนที่ผ่านมาเกี่ยวกับ 14 ตุลาฯ จำนวนมาก จนส่งผลให้ภาพของขบวนการนักศึกษาแข็งทื่อตายตัว ขาดพลวัต และมีลักษณะสูงส่งจนวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้การศึกษาที่เคารพความเป็นมนุษย์ของ ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ที่สุดน่าจะเป็นการศึกษาที่ทำให้ผู้ อ่านเห็นทั้งเลือดเนื้อ ชีวิต ความรู้สึกมุ่งมั่น อุดมคติอันแรงกล้า รวมทั้งความสับสน การลองผิด ลองถูกความขลาดเขลา อ่อนเยาว์ไร้เดียงสาและความใฝ่ฝันอันหลากหลายของพวกเขา งานศึกษาชิ้นนี้พยายามจะทำเช่นนั้นสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร ผู้อ่านคงเป็นคนให้คำตอบได้ดีที่สุด
ในกรณี 14 ตุลาฯ ยิ่งผู้เขียนศึกษาค้นคว้ามากเท่าไร ก็ยิ่งพบความซับซ้อนสับสน ลักลั่น ย้อนแย้ง และอีเหละเขะขะของประวัติศาสตร์ 14 ตุลาฯ มากขึ้น ภาพของการผสมปนเปของวาทกรรมต่างๆ ที่ขัดกัน (กษัตริย์นิยม เสรีนิยม ประชาธิปไตยซ้ายเก่า ซ้ายใหม่ ชาตินิยม) แต่มารวมอยู่ด้วยกันได้ในขบวนการนักศึกษาปัญญาชนในช่วงก่อน 14 ตุลาฯ ที่ถูกนำเสนอในหนังสือเล่มนี้ ก็คือส่วนหนึ่งของความย้อนแย้งและลักลั่นของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อ “ประชาธิปไตย” ที่ดำรงสืบเนื่องมาในสังคมไทย ทั้งก่อนและหลัง 14 ตุลาฯ 
แนวคิดและคำว่า “ประชาธิปไตย” ถูกตีความอย่างแตกต่างหลากหลายจากกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทย ย้อนกลับไปได้ตั้งแต่สมัยกบฏร.ศ. 130 รัชกาลที่ 7 คณะราษฎร กลุ่มเจ้านาย กบฏบวรเดช ขบวนการเสรีไทย กบฏวังหลวง กบฏสันติภาพ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กองทัพบกสมัยสฤษด์ ธนะรัชต์ ขบวนการสามประสานนักศึกษา ชาวนา กรรมกร (2516-2519) กลุ่มนายทหารประชาธิปไตย องค์กรพัฒนาเอกชน/องค์กรภาคประชาชน เจ้าพ่อภูธร นายทุนเจ้าสัว ขบวนการปฏิรูปการเมืองธงเขียว 2540 ราษฎรอาวุโส จนมาถึงกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ
การคลี่คลายของวาทกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตยในสังคมไทยดำเนินไปอย่างน่าทึ่ง และมหัศจรรย์พันลึก สะท้อนผลประโยชน์ อัตลักษณ์ และโครงสร้างความสัมพันธ์ของสถาบันการเมืองต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสลับซับซ้อนและไม่เคยหยุดนิ่ง ลำพังการแปรรูปเปลี่ยนร่างของวาทกรรมจาก “กษัตริย์ประชาธิปไตย” จากทศวรรษ 2490 สู่ “ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย” สมัยก่อน 14 ตุลุาฯ มาจนถึง “เราจะสู้เพื่อในหลวง” (หรือ “ราชาชาตินิยมที่ตัดขาดจากประชาธิปไตย”) 
ครั้งเกิดการรัฐประหาร 2549 ก็ ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์อันซับซ้อนย้อนแย้งไม่ลงตัวระหว่างสถาบันกษัตริย์กับ ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งนับเป็นปมเงื่อนใจกลางของการเมืองไทยตั้งแต่หลังการปฏิวัติ 2475เป็นต้นมา พัฒนาการของวาทกรรมชุดดังกล่าวควรถูกศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบเป็นงานศึกษา ต่างหากอีกหนึ่งชิ้นที่เกินกว่าพื้นที่สั้นๆ ในคำนำชิ้นนี้จะทำได้
การต่อสู้เพื่อช่วงชิงและสถาปนาคำนิยามให้กับประชาธิปไตยจึงเป็นสนามของการ ต่อสู้อันเข้มข้น เป็นพื้นที่ของสิ่งที่งานชิ้นนี้เรียกว่า “การเมืองวัฒนธรรม” (cultural politics) ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาที่ช่วยเปิดมุมมองให้เราเข้าใจการพัฒนาประชาธิปไตย (อันระหกระเหิน) ของสังคมไทยได้อย่างลึกซึ้งถึงราก อุปสรรคของการมีประชาธิปไตยเริ่มต้นตั้งแต่ในระดับความคิดพื้นฐานที่คนใน สังคมไทยยังเห็นต่างกันอย่างสุดขั้ว ว่าประชาธิปไตยคืออะไร กำเนิดจากการพระราชทานหรือการต่อสู้ของคนสามัญ สามารถประสิทธิ์ประสาทความเสมอภาคเท่าเทียมทั้งในทางการเมืองเศรษฐกิจ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้หรือไม่ หรือเผด็จการผู้ทรงธรรมเป็นสิ่งที่พึงปรารถนากว่าประชาธิปไตยของประชาชน ฯลฯ ถึงที่สุดการศึกษาประวัติศาสตร์ 14 ตุลาฯจึงเป็นกระจกส่องสะท้อนให้เราเห็นสายธารประวัติศาสตร์ทั้งก่อนหน้าและ หลังจากนั้นการดิ้นรนแสวงหาสังคมการเมืองที่ดีกว่ายังคงดำเนินต่อไปในสังคม สยามประเทศ
หากมองในประวัติศาสตร์ช่วงยาว ก็จะพบว่าความสับสนและผสมปนเปทางอุดมการณ์ความคิดมิใช่อาการเฉพาะตัวที่ ปรากฏในเหตุการณ์  14 ตุลาฯ เท่านั้น แต่เป็นอาการร่วมของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย ที่กลุ่มพลังจารีตนิยม รอยัลลิสต์ชาตินิยม สังคมนิยม เสรีนิยม และประชาธิปไตย ทั้งปะทะประสานและรอมชอมประนีประนอมกันอย่างซับซ้อนตลอดมาตั้งแต่อดีตจวบจน ปัจจุบัน บ่อยครั้งประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยและผลิตซ้ำตัวเอง เต็มไปด้วยอาการผิดฝาผิดตัว การกลายพันธุ์ทางอุดมการณ์ การอ้างอิงประวัติศาสตร์นอกบริบท การสร้างเครือข่ายวาทกรรมที่สับสนปนเป และการสลับขั้วเป็นพันธมิตรและศัตรูทางการเมืองแบบพิสดารผกผัน ดังที่ความเคลื่อนไหวในช่วงหนึ่งทศวรรษก่อน 14 ตุลาฯ แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างประจักษ์ชัด ทั้งนี้ผู้เขียนหวังใจว่า กรอบความเข้าใจที่งานชิ้นนี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ศึกษาการเมืองสมัย 14 ตุลาฯ สามารถนำไปดัดแปลงประยุกต์ใช้ทำความเข้าใจการเมืองในยุคสมัยอื่นๆ ได้ด้วย
สุดท้าย เพื่อที่จะ “แลไปข้างหน้า” และ “ฝ่าข้ามไป” ซึ่งยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนผ่าน สังคมไทยจึงจำเป็นต้อง “แลไปข้างหลัง” เพื่อเห็นเส้นทางอันยอกย้อนที่ตนเองได้เดินผ่านมาตั้งแต่สมัย 14 ตุลาฯ งานชิ้นนี้มิใช่การศึกษา 14 ตุลาฯ ที่สมบูรณ์รอบด้านที่สุด มันเป็นเพียงความพยายามต่อจิ๊กซอว์ทางประวัติศาสตร์ชิ้นหนึ่งด้วยแนวการ วิเคราะห์แบบการเมืองวัฒนธรรม ที่ไม่ได้มอง 14 ตุลาฯ ในฐานะเหตุการณ์ทางการเมือง (political event) ที่เกิดและจบลงภายใน 10 วันในเดือนตุลาคม 2516 
แต่ในฐานะกระบวนการต่อสู้อันยาวนานยืดเยื้อทางวาทกรรม วัฒนธรรม และ อุดมการณ์ที่ยังคงสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ถึงที่สุด การต่อสู้และขับเคี่ยวทางการเมืองในปัจจุบันแยกไม่ออกอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จากการต่อสู้เมื่อ 40 ปีก่อน 
14 ตุลาฯเป็นทั้งแบบจำลองหรือโมเดลของการเคลื่อนไหว แหล่งอ้างอิงทางอุดมการณ์และวาทกรรม พื้นที่ของความทรงจำและประสบการณ์ ทั้งที่เป็นความทรงจำส่วนบุคคลและความทรงจำร่วมของสังคม ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวในช่วงก่อนการรัฐประหาร2549 ที่เรียกร้องขอนายกฯ พระราชทานผ่านการใช้มาตรา 7 ก็เป็นความพยายามอ้างอิงกับประสบการณ์ 14 ตุลาฯ อย่างมิอาจปฏิเสธได้ 
เช่นเดียวกับความเชื่อของนักเคลื่อนไหวรุ่นหลังจำนวนไม่น้อยใน “14 ตุลาฯ โมเดล” ว่าหากชนชั้นนำ ปราบปรามประชาชนบนท้องถนนอย่างรุนแรงจนเกิดการนองเลือดสูญเสียแล้ว ชนชั้นนำจะถูก“บีบ” หรือกดดันจากชนชั้นนำกลุ่มอื่นด้วยกันให้ลงจากอำนาจไป เป็นต้น 
ในแง่นี้“14 ตุลาฯ” กลายเป็นอดีตที่สร้างกรอบจำกัดจินตนาการของปัจจุบัน จนสังคมไทยอาจจะสูญเสียความสามารถในการจินตนาการถึงการสร้างระเบียบการอยู่ ร่วมกันเป็นสังคมการเมืองแบบใหม่ในอนาคตที่ข้ามพ้นไปจากเดิมประวัติศาสตร์ 14 ตุลาฯ จึงเป็นเรื่องของปัจจุบันมากเท่ากับเป็นเรื่องของอดีตและเป็นสมบัติของสังคม ส่วนรวมเท่าๆ กับเป็นสมบัติส่วนบุคคลของคนที่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ 
แต่ไม่ว่ามันจะมีฐานะเป็นอะไร 14 ตุลาฯ จะมีความหมายอย่างแท้จริงต่อเมื่อมันเปิดให้มีการตั้งคำถาม ท้าทาย และตีความใหม่อย่างไม่รู้จักจบสิ้น โดยไม่ถูกปิดกั้นทั้งจากอำนาจรัฐ หรือจากพลังทางสังคมที่สร้างประวัติศาสตร์ 14 ตุลาฯขึ้นมาเสียเอง
ในการตีพิมพ์ครั้งที่ 2 นี้ ผู้เขียนเลือกจะคงเนื้อหาไว้เช่นเดิม โดยมิได้ดัดแปลงเสริมแต่ง เพราะเห็นว่าต้นฉบับเดิมได้ทำหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ของมันอย่างที่มันควร จะเป็นแล้ว แม้ว่าในใจลึกๆ จะมีความปรารถนาที่จะเพิ่มเนื้อหาบางตอนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ก็คิดว่าควรจะเขียนเป็นบทความชิ้นใหม่ต่างหากออกไป การปรับปรุงคงมีเพียงในส่วนของการแก้ไขตัวสะกด วรรคตอน ชื่อคน เชิงอรรถ และบรรณานุกรมให้ถูกต้องเที่ยงตรงยิ่งขึ้น และการจัดทำนามานุกรมรายชื่อบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในช่วงการเคลื่อนไหวก่อน 14 ตุลาฯ ที่ไม่มีในการพิมพ์ครั้งที่ 1 
ขอขอบคุณสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันที่ให้ความสนใจและใส่ใจในการทำต้นฉบับอย่าง ประณีตและงดงาม ทำให้ต้นฉบับใหม่มีความสมบูรณ์กว่าต้นฉบับพิมพ์ครั้งแรกหลายประการดังที่ กล่าวไป  
ขอขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับคุณธนาพล อิ๋วสกุล สำหรับแรงผลักดัน ความช่วยเหลือและการประสานงานอย่างแข็งขันจนทำให้หนังสือสำเร็จลุล่วง คุณกุลธิดา สามะพุทธิที่ช่วยจัดหารูปประกอบ คุณพัชรี อังกูรทัศนียรัตน์ สำหรับการตรวจทานและแก้ไขต้นฉบับอย่างละเอียดลออและรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง และคุณประชา สุวีรานนท์ สำหรับการออกแบบปกอันสวยสดงดงาม เพื่อนร่วมงานทุกท่านที่ธรรมศาสตร์และต่างสถาบันที่คอยให้กำลังใจและความ ช่วยเหลือต่างๆ 
ที่ขาดมิได้คือทุกคนในครอบครัว ทั้งแม่พี่สาว น้องสาว และน้องชาย ที่เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนเสมอมา
ประจักษ์ ก้องกีรติ
40 ปี 14 ตุลาฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น